การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้สูญเสียการได้ยินสามารถฟัง สื่อสาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้เครื่องช่วยฟังสามารถช่วยให้ ผู้ที่มีปัญหาทางการได้ยินสามารถได้ยินมากขึ้นทั้งในสถานการณ์ที่เงียบสงบและมีเสียงดังอย่างไร ก็ตามการเข้าถึงเครื่องช่วยฟังยังเป็นปัญหาของผู้มีปัญหาทางการได้ยินทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักคือ จำนวนเครื่องช่วยฟังที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ โดยในปี ค.ศ. 2011 องค์การอนามัยโลก ประมาณการว่าในประเทศกำลังพัฒนามีผู้มีปัญหาด้านการได้ยินร้อยละ 20 หรือประมาณ 72 ล้านคน ที่มีความต้องการใช้เครื่องช่วยฟัง แต่อย่างไรก็ตามพบว่าเครื่องช่วยฟังมีเพียงพอต่อความต้องการเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้นและเมื่อพิจารณาเฉพาะ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนามีผู้มีปัญหาที่สูญเสียการได้ยิน และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ได้รับเครื่องช่วยฟังสำหรับ ประเทศไทยจากข้อมูลการสำรวจความมีปัญหาปี พ.ศ. 2550 พบว่าคนมีปัญหาทางการได้ยินและ สื่อความหมายมีสัดส่วนการใช้อุปกรณ์และเครื่องช่วยฟังเพียงร้อยละ 18 เท่านั้น โดยในกลุ่มวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนการใช้อุปกรณ์และเครื่องช่วยฟัง ร้อยละ 9 และร้อยละ 25 ตามลำดับ การให้บริการเครื่องช่วยฟังในประเทศไทย ผู้มีปัญหาทางการได้ยินสามารถขอรับบริการเครื่องช่วยฟังได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจากสถานพยาบาลภายใต้เงื่อนไขของสิทธิประกันสุขภาพแต่ละระบบ โดยในส่วนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดหา อุปกรณ์เครื่องช่วยฟังให้กับหน่วยบริการที่ผ่านการตรวจประเมินความพร้อมในการให้บริการ เครื่องช่วยฟัง ดังนั้นการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นทำการศึกษาสถานการณ์การใช้เครื่องช่วยฟัง ระบบบริการภายหลังจากผู้มีปัญหาได้รับเครื่องช่วยฟัง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เครื่องช่วยฟัง รวมถึงภาระ งบประมาณหากภาครัฐต้องสนับสนุนสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม ข้อมูลเครื่องช่วยฟังเครื่องช่วยฟัง (Hearing aids) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่สวมใส่ในหูหรือหลังใบหู เพื่อทำหน้าที่ขยายเสียงจากภายนอกทำให้ผู้ฟังรับรู้เสียงได้ดี หรือได้ยินมากขึ้นทั้งในสถานการณ์ที่เงียบ สงบและมีเสียงดัง โดยเฉพาะผู้ที่สูญเสียการได้ยินจะช่วยให้สามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ เครื่องช่วยฟัง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือเครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางอากาศ (Air Conduction Hearing Aid) เป็นเครื่องที่ใส่ไว้ที่หูโดยให้เสียงผ่านเข้าทางช่องหู และเครื่องช่วยฟังชนิดฟังเสียงทางกระดูก (Bone Conduction Hearing Aid) เป็นเครื่องที่ใส่ไว้ที่หูโดยให้เสียงผ่านเข้าที่บริเวณหลังใบหู (mastoid) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใส่เครื่องทางช่องหู เช่น รูหูตีบ ไม่มีรูหู ผู้ป่วยที่มีหนองไหลจากหู ตลอดเวลา เครื่องช่วยฟังประเภทดังกล่าว มีทั้งชนิดที่วางอยู่ภายนอก และชนิดที่แพทย์ต้องท าการ ผ่าตัดเพื่อฝังไว้ที่กะโหลกศีรษะโดยมีตัวรับเสียงอยู่ภายนอก (Bone-Anchor Hearing Aid) ระบบเสียง ของเครื่องช่วยฟังโดยทั่วไปมีสองระบบ ได้แก่ ระบบเสียงแอนาล็อก (analog) และระบบเสียงดิจิทัล (digital) ข้อดีของระบบดิจิทัลคือมีสัญญาณเสียงที่ชัดเจน บางรุ่นสามารถปรับสัญญาณเสียงและระดับ ของการขยายเสียงที่มีควาดมถี่ต่าง ๆ ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีหลายชนิด โดยมีความแตกต่างกันทั้ง ขนาด ก าลังขยาย ความดังสูงสุด และมีข้อบ่งชี้ในเครื่องช่วยฟังแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน ชนิดเครื่องช่วย ฟังที่นิยมใช้กันในปัจจุบันส่วนใหญ่มี 3 ชนิด ได้แก่
การเลือกใช้เครื่องช่วยฟังแต่ละชนิดผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินต้องได้รับคำแนะนำจาก นักโสตสัมผัสวิทยา เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องช่วยฟังนั้นเหมาะกับผู้ใช้จริง รวมทั้งการเรียนรู้การใช้ การดูแล รักษาเครื่อง การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อเครื่องขัดข้อง และการติดตามผลการใช้เครื่องเป็นระยะ ๆ เพราะในขณะใช้เครื่องช่วยฟังอาจเกิดโรคหูอย่างอื่นแทรกซ้อน ทำให้หูเสียมากขึ้น ความสามารถใน การฟังเสียงลดลง และต้องพบแพทย์เพื่อพิจารณารักษาหรือทำการปรับเครื่องใหม่ให้เหมาะกับการ สูญเสียการได้ยินที่เปลี่ยนไปเครื่องช่วยฟังทุกชนิดต้องอาศัยแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง หรือถ่านเครื่องช่วยฟังในการให้พลังงานแก่เครื่องช่วยฟัง โดยถ่านของเครื่องช่วยฟังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
รายงานการศึกษาระบบบริการหลังการให้เครื่องช่วยฟังและการใช้เครื่องช่วยฟังในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แผ่นกระดาษวงกลมสีต่าง ๆ จากโรงงาน บริเวณด้านขั้วบวกจุดตรงกลางซึ่งจะมีรูเล็กขนาดเท่าปลาย เข็มเพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนในอากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับถ่านเครื่องช่วยฟังก่อนใช้งาน เมื่อดึงกระดาษออก ออกซิเจนในอากาศจะผ่านรูนี้เข้าไปกระตุ้นให้ถ่านเครื่องช่วยฟังอยู่ในภาวะพร้อมใช้งาน ถ้าหากเปิดทิ้งไว้โดยไม่ใช้งานนานไปถ่านเครื่องช่วยฟังจะเสื่อมหรือมีอายุใช้งานที่สั้นลง เมื่อแกะสติกเกอร์ออกแล้วแม้จะปะติดเข้าไปใหม่จะไม่ ทำให้ถ่านเครื่องช่วยฟังมีอายุใช้งานนานขึ้น ถ่านเครื่องช่วยฟังชนิดนี้มีขนาดแตกต่างกันตามขนาดเครื่องช่วยฟังแต่ละรุ่น แต่ที่นิยม ใช้กันทั่วไปมี 4 ขนาดคือ เบอร์ 10, 13, 312 และ 675 (รูป 2) โดยแต่ละเบอร์จะมีสีที่เป็นมาตรฐานถ่าน เครื่องช่วยฟัง นอกจากนี้ถ่าน Zink air จะให้ก าลังไฟขนาด 1.4 -1.45 โวลต์ต่างจากถ่านนาฬิกา หรือ ถ่านไฟฉายทั่วไปที่ให้กำลังไฟ 1.5 โวลต์ ถ้านำถ่านนาฬิกาไปใช้กับเครื่องช่วยฟังจะทำให้เครื่องช่วยฟัง ได้รับไฟแรงเกินไป แอมปลิไฟร์ซึ่งเป็นไมโครชิพจะเสียง่าย ทำให้เครื่องชำรุดง่าย ถ่านเครื่องช่วยฟังชนิดนี้ไม่สามารถ หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป แต่มีจำหน่ายตามร้านขายเครื่องช่วยฟัง สถานพยาบาลที่มีการบริการ เครื่องช่วยฟัง หรือตามเวปไซต์ www.intimexhearing.com โดยมีราคาเฉลี่ยประมาณ 300 บาทต่อแผงโดย 1 แผงบรรจุ 6 ก้อน ปัจจุบันผู้ใช้เครื่องช่วยฟังทั้งสามสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อเอง
เกณฑ์ในการใส่เครื่องช่วยฟังส่าหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน1. สูญเสียการได้ยิน 2 หูและมีการได้ยินที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ในหูข้างที่ได้ยินกว่าหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยา 1.1) ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด หรือมีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัด 1.2) สูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสื่อมอย่างเฉียบพลันหลังการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 100 วัน 1.3) การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความหมาย และการด่ารงชีวิตประจ่าวันหรือท่าให้คุณภาพชีวิตลดลง 1.4) การสูญเสียการได้ยินเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูดหรือมีความมีปัญหาการได้ยินซ้อน 2. ระดับการสูญเสียการได้ยินมีการสูญเสียงการได้ยินทั้งสองข้าง โดยข้างที่ดีกว่าจะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับ การเลือกและการประเมินเครื่องช่วยฟังโสต สอ นาสิกแพทย์ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ที่ท่างานภายใต้การก่ากับดูแล ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเครื่องช่วยฟัง
นอกจากปัจจัยที่ช่วยให้ประสบผลส่าเร็จในการใช้เครื่องช่วยฟังแล้ว ยังมีปัจจัยที่รบกวนการใช้เครื่องช่วยฟัง มีการศึกษาที่กล่าวถึงปัจจัยรบกวนการใช้เครื่องช่วยฟังพบว่า สิ่งที่ท่าให้การใช้เครื่องช่วยฟังลดลงได้แก่ เสียงที่รบกวนจากเครื่องช่วยฟัง ปัญหาจากเสียงสะท้อนกลับ ราคาของแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง และการขาดแรงจูงใจในการใช้เครื่องช่วยฟัง ภูมิหลังและเหตุผลของผู้ใช้เครื่องช่วยฟังความบกพร่องทางการได้ยิน (hearingimpairment) เป็นปัญหาทางประสาทสัมผัสที่พบบ่อยที่สุดในประชากรทั่วโลก(1) จากข้อมูลด้านการแพทย์พบว่า การได้ยินของมนุษย์จะเริ่มเสียเมื่ออายุ40 ปีขึ้นไป เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของประสาทรับเสียงในหูชั้นใน และอาการหูตึงในผู้สูงอายุจะพบมากเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่าคนสูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป มีความชุกของการสูญเสียการได้ยินมากกว่าคนอายุต่ำกว่า 65 ปีถึง 5เท่า และสำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว ระดับการได้ยินจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 เดซิเบลต่อปี องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการว่าในปีค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) มีประชากรมากกว่า 360 ล้านคน หรือร้อยละ 5 ของประชากรทั่วโลกที่มีความมีปัญหาด้านการได้ยิน โดยส่วนใหญ่ มีอายุ15 ปีขึ้นไป (ร้อยละ90) หรือประมาณ328 ล้านคน สำหรับประเทศไทยนั้น องค์การอนามัยโลกรายงานว่าปีพ.ศ. 2550 มีประชากรที่มีปัญหาการได้ยินประมาณ 8.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.3 ของประชากรทั้งประเทศทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนมีปัญหาการได้ยิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รายงานว่ามีคนพิมีปัญหาทางการได้ยินและการสื่อความหมายที่ขึ้นทะเบียนคนมีปัญหาการได้ยินจำนวนสะสมประมาณ 2.8แสนรายในขณะที่คนมีปัญหาทางการได้ยินและการสื่อความหมายที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2559 มีจำนวนสะสม 2.1 แสนรายการสูญเสียการได้ยินส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่นไม่สามารถตีความหมายจากเสียงพูดได้ทำให้ความสามารถในการสื่อสารลดลง พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า มีความแปลกแยกจากสังคม รู้สึกมีตราบาป รู้สึกโดดเดี่ยว หงุดหงิดง่ายโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้สูญเสียการได้ยินสามารถฟัง สื่อสาร และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงเครื่องช่วยฟังยังเป็นปัญหาของคนมีปัญหาทางการได้ยินทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักคือจำนวนเครื่องช่วยฟังที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ที่จำเป็นต้องใช้โดยในปีค.ศ. 2011 องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในประเทศกำลังพัฒนามีคนมีปัญหาด้านการได้ยินร้อยละ 20 หรือประมาณ 72 ล้านคน ที่มีความต้องการใช้เครื่องช่วยฟังแต่พบว่ามีเครื่องช่วยฟังเพียงร้อยละ10ของคนที่มีความจำเป็นเท่านั้น และในความเป็นจริงมีเพียงร้อยละ 3 ของคนที่มีความจำเป็นเท่านั้นที่ได้รับ เครื่องช่วยฟัง ทั้งนี้สาเหตุดังกล่าวอาจเนื่องมาจากเครื่องช่วยฟังมีราคาค่อนข้างสูงและส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้องค์การอนามัยโลกได้ แนะนำให้ประเทศเหล่านั้นทำการผลิตเครื่องช่วยฟังขึ้นเอง สำหรับประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้วิจัยพัฒนาและผลิต เครื่องช่วยฟังดิจิทัล ซึ่งผลจากการทดสอบกับผู้ใช้พบว่ามีความพึงพอใจต่อเครื่องช่วยฟังดังกล่าว อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นก่อนที่จะนำเข้าสู่ตลาดต่อไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้ สนับสนุนการจัดบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังสำหรับคนมีปัญหาทางการได้ยินที่ขึ้นทะเบียนภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(สิทธิท.74) โดยสนับสนุนค่าอุปกรณ์รวมค่าบริการสูงสุด12,500 บาทต่อเครื่อง ภายใต้กรอบวงเงินร้อยละ10-15ของงบค่าใช้จ่ายเพื่อบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและอุปกรณ์เครื่องช่วยความมีปัญหาที่สปสช. เขตได้รับการจัดสรร โดยคนมีปัญหาทางการได้ยินสามารถขอรับบริการเครื่องช ่วยฟังในหน ่วยบริการทุกแห ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามประกาศของ สปสช. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556-2557 มีหน่วยบริการจำนวน123แห่งครอบคลุม 70 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนการเบิกจ่ายเครื่องช่วยฟังในช่วง3 ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2559) พบว่ามีคนมีปัญหาทางการได้ยินที่ได้รับเครื่องช่วยฟังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสะสมจำนวน 22,404 ราย จำนวนเครื่องช่วยฟังที่เบิกสะสมจำนวน 23,428 ชิ้นจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้ สปสช.จะพยายามสนับสนุนเครื่องช่วยฟังแต่เนื่องด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับเครื่องช่วยฟังที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์เครื่องช่วยความมีปัญหาประเภทอื่นๆ รวมถึงสถานที่ให้บริการเครื่องช่วยฟังมีเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น ทำให้มีคนมีปัญหาทางการได้ยินจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงบริการหรือไม่ได้รับเครื่องช่วยฟัง ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่คนมีปัญหาทางการได้ยินที่ได้รับเครื่องช่วยฟังไปแล้วจะต้องมีการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ากับงบประมาณที่รัฐได้สนับสนุนการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้เครื่องช่วยฟังของผู้ที่ได้รับเครื่องช่วยฟังภายใต้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการใช้ความพึงพอใจ สาเหตุของการเลิกใช้ปัญหาที่เกิดจากการใช้รวมถึงงบประมาณที่สูญเสียจากการเลิกใช้เครื่องช่วยฟังก่อนครบอายุการใช้งานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการจัดบริการเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับผู้ใช้ให้มากขึ้นต่อไป 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้เครื่องช่วยฟังการศึกษานี้มีกลุ่มคนมีปัญหาทางการได้ยินจำนวนทั้งสิ้น 364คน (คิดเป็นร้อยละ 96 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด) อย่างไรก็ตาม คนมีปัญหาทางการได้ยินตามรายชื่อที่สุ่มได้พบว่ามีการกระจายของกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างมาก และด้วยระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด จึงเก็บข้อมูลคนมีปัญหาทางการได้ยินบางส่วนที่มารับบริการในโรงพยาบาลแทนทำให้มีคนมีปัญหาทางการได้ยินแบ่งเป็นสองส่วนคือ
2. การใช้เครื่องช่วยฟังในกลุ่มตัวอย่างคนมีปัญหาทางการได้ยินจำนวน 364 คนนั้น พบว่าส่วนใหญ่ได้รับเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูระบบดิจิทัล (ร้อยละ 69.8) รองลงมาคือ แบบใส่ช่องหูระบบดิจิทัล (ร้อยละ 17.0) แบบกล่องระบบดิจิทัล (ร้อยละ 13.0) และแบบนำเสียงผ่านกระดูก (ร้อยละ 0.3) ในส่วนของการใช้งานเครื่องช่วยฟัง พบว่า คนมีปัญหาทางการได้ยินที่ถูกสัมภาษณ์ในโรงพยาบาล (164 คน) มีจำนวน 3คน (ร้อยละ 2) ที่เลิกใช้เครื่องช ่วยฟัง และกลุ่มที่ถูกสัมภาษณ์ในชุมชน (200 คน) พบว่า มีผู้ที่ยังใช้เครื่องช่วยฟังอยู่จำนวน 143 คน (ร้อยละ 71) และมีจำนวน 57 คน(ร้อยละ 29) ที่เลิกใช้เครื่องช่วยฟัง
3. ปัญหาที่เกิดจากการใช้เครื่องช่วยฟังพบว่ากลุ่มคนมีปัญหาทางการได้ยินที่ยังคงใช้งานเครื่องช่วยฟังส ่วนใหญ ่ไม ่มีปัญหาจากการใช้เครื่องช่วยฟัง(ร้อยละ 65.8) ส่วนผู้ที่มีปัญหาในการใช้เครื่องช่วยฟัง (ร้อยละ 34.2) ส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องการมีเสียงรบกวน(ร้อยละ75.0)รองลงมาคือรู้สึกไม่สบายหูคับ แน่น หลวม(ร้อยละ39.4)ถ่านเครื่องช่วยฟังราคาแพง (ร้อยละ31.7) คุณภาพเสียงไม่ดีไม่สะดวกต่อการใช้งาน (เท่ากันที่ร้อยละ 44) และอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังไม่แข็งแรง (ร้อยละ 11.1) 4. ความรู้สึกที่มีต่อเครื่องช่วยฟังและประโยชน์ที่ได้รับกลุ่มคนมีปัญหาทางการได้ยินทั้งหมดทั้งที่ใช้และไม่ใช้เครื่องช่วยฟังในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีความคาดหวังต่อการใช้เครื่องช่วยฟังว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น (ร้อยละ95.1) เมื่อสอบถามคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสอบถามถึงระดับคุณภาพชีวิตภายหลังจากใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว ส่วนใหญ่ระบุว่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก (ร้อยละ 53.6) ในส่วนของความมั่นใจ ส่วนใหญ่มีความมั่นใจขึ้นภายหลังจากได้ใส่เครื่องช่วยฟัง (ร้อยละ94.0) ในด้านของความพึงพอใจที่มีต่อเครื่องช่วยฟังที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ(ร้อยละ52.2) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าเครื่องช่วยฟังที่ได้รับมีประโยชน์มาก(ร้อยละ51.9)
5. การซ่อม/แก้ไขเครื่องช่วยฟังคนที่มีปัญหาทางการได้ยินส่วนใหญ่ยังไม่เคยนำเครื่องช่วยฟังไปซ่อม/แก้ไข (ร้อยละ 70.6) ส่วนผู้ที่เคยนำเครื่องช่วยฟังไปซ่อม/แก้ไขส่วนใหญ่เคย1-2ครั้ง (ร้อยละ88.6) รองลงมาคือ 3-4 ครั้ง (ร้อยละ 6.7) และมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไป (ร้อยละ 4.8) สถานที่นำไปซ่อมส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาล (ร้อยละ 91.6) รองลงมาคือร้านจำหน่ายเครื่องช่วยฟัง (ร้อยละ 6.5) และอื่นๆ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา(ร้อยละ 1.9) ในด้านค่าใช้จ่ยในการซ่อมแก้ไข พบว่าร้อยละ 52.3 เคยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อม/แก้ไข โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,060 บาท (SD = 1,087ค่ามัธยฐาน = 800บาท ต่ำสุด = 150 บาท และสูงสุด = 7,000 บาท)
เครื่องช่วยฟัง ... เครื่องช่วยฟังคุณภาพสูงที่ช่วยคุณหูตึง รักษา หาย ไม่หาย พิจารณาใส่เครื่องช่วยฟังเกณฑ์การพิจารณาใส่เครื่องช่วยฟัง
สิทธิการรักษา เบิกจ่ายเครืองช่วยฟัง
ทำไมต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ?
ข้อจำกัดของเครื่องช่วยฟัง ?
ปัญหาของผู้สูญเสียการได้ยินใส่เครื่องช่วยฟังเครื่องช่วยฟังเสียงดังไป
การปรับตัวใส่เครื่องช่วยฟัง
กรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียดเครื่องช่วยฟังเพิ่มเติม
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2019 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |