“อยากเป็นเศรษฐีให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน” วลีคำสอนที่เตือนผู้คนไม่ให้เป็นผู้ค้ำประกันยังคงอยู่ในสังคมไทย ว่าการเป็นผู้ค้ำประกันนั้นถ้าไม่จำเป็นไม่ควรจะไปค่ำประกันให้กับคนอื่น เพราะว่ามีแต่เสียกับเสีย แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องขอเงินกู้และผู้กู้มีคุณสมบัติที่มีความสามารถในการชำระหนี้ต่ำหรือมีหลักประกันที่ไม่คุ้มกับวงเงินที่กู้ ผู้ที่ให้กู้ก็สามารถขอให้มีบุคคลค้ำประกันเพิ่ขึ้นมาได้เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นไม่ว่าในมุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้กู้ คือ ผู้ค้ำประกัน ผู้ให้กู้ องค์กรรัฐที่กำกับดูแล จำเป็นจะต้องศึกษาและหาแนวทางในทางปฏิบัติให้เหมาะสม พ.ร.บ.ลดภาระค้ำประกันใหม่ใครได้ใครเสีย * ตามกฎหมายฉบับเดิม ต้องกำหนดให้ผู้ที่ค้ำประกันร่วมรับผิดชอบความเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เต็มวงเงินที่ค้างชำระ ธนาคารจะทำสัญญาระหว่างลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ร่วมรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน โดยทางธนาคารมีอำนาจฟ้องร้องเอาผิดแก่ผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ได้ * ตามกฎหมายฉบับใหม่ (พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับแก้ไข มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558) กำหนดให้สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับผู้ค้ำประกันตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น 1) ผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้เท่านั้น จากกฎหมายฉบับเดิมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับลูกหนี้ 2) ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดให้เจ้าหนี้ส่งหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน และถ้าเจ้าหนี้ไม่แจ้งเป็นหนังสือผู้ค้ำประกัน จะหลุดพ้นจากการรับผิดชอบในดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าภาระติดพัน 3) ผู้ค้ำประกันสามารถเลือกใช้สิทธิตามเงื่อนไขหรือสามารถรับผิดชอบเฉพาะส่วนได้ จากกฎหมายฉบับเดิมต้องรับผิดชอบทั้งหมดตามสัญญา 4) ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ตามส่วนลดแตู่้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบ จากกฎหมายฉบับเดิมถึงแม้ว่าทำสัญญาประนีประนอม ก็ไม่สามารถพ้นผิดในฐานะลูกหนี้ได้ * ลดภาระผู้ค้ำประกัน โดยทั่วไปกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะเกิดประโยชน์แก่กลุ่มลูกหนี้และผู้ค้ำประกันโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบทางอ้อมคือผู้กู้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอาจจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น เพราะว่าสถาบันทางการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเรื่องผู้ค้ำประกัน ทำให้สถานบันทางการเงินจะต้องพิจารณาเข้มงวดมากขึ้น สำหรับผู้กู้ที่มีปัญหาในเรื่องหลักประกัน อาจจะต้องถูกบังคับให้เป็นผู้กู้ร่วมแทนการค้ำประกันก็เป็นได้ * เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ให้กู้ ธนาคารจะมีความเสี่ยงในฐานะผู้ให้กู้ ตามกฎหมายฉบับใหม่ข้างต้น ธนาคารจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องรับกับกฎหมายฉบับใหม่ซึ่งจะต้องทำก่อนมีผลบังคับใช้ โดยต้องปรับกระบวนการพิจารณาสินเชื่อโดยดูจากความสามารถการชำระหนี้ของลูกหนี้มากขึ้น ในขณะเดียวกันต้องช่วยเหลือให้คนเหล่านี้เข้าถึงสินเชื่อของธนาคารอีกด้วย ในส่วนของลูกหนี้ที่ผิดนัดธนาคารทางธนาคารสามารถฟ้องร้องมากกว่าการประนีประนอมหนี้ได้ เนื่องจากมีการชำระหนี้ได้ ผู้ค้ำประกันอาจจะหลุดพ้นจากการรับผิดชอบได้ * ผู้กำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งกำกับดูแลจากธนาคารพาณิชย์ให้มีความมั่นคง ทั้งสินททรัพย์เสี่ยงและผู้ฝากต้องมีความมั่นคง จะต้องดูในภาพรวมว่าจะสามารถให้ข้อผ่อนปรนนี้ดำเนินการไปได้โดยไม่ติดขัด โดยเฉพาะการผ่อนปรนเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดมากเกินไป อาจจะทำให้ผู้กู้เข้าถึงระบบธนาคารได้น้อยลง ข้อแก้ไขเบื้องต้นอาจจะทำให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้กู้ร่วมได้ แต่บางส่วนอาจจะไม่ยินยอมจะมีแนวทางดำเนินการขั้นตอนต่อไปอย่างไร สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันทางการเงินยังมีบริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทำหน้าที่ค้ำประกันหนี้ให้อยู่ แต่ก็จะมีข้อจำกัดในส่วนของวงเงินอยู่บ้าง * สำหรับผู้กู้สินเชื่อบ้าน อาจจะมีปัญหาในการเป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่ออยู่บ้างนั้น แต่ก็มีผลกระทบไม่มากนักเพราะว่าในปัจจุบันทางธนาคารต้องดูความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นอันดับแรก ต้องดูความคุ้มค่าของหลักประกันข้อรอง ดังนั้นการที่มีผู้ค้ำประกันสินเชื่อบ้านหรือคอนโดจะเป็นข้อที่สามที่ทางธนาคารไม่น่าจะได้รับผลกระทบมากนัก และอาจจะเปลี่ยนผู้ค้ำประกันมาเป็นผู้กู้ร่วมก็ได้เช่นกัน |
<< | กุมภาพันธ์ 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 |