ในช่วงเวลาที่สิบปีที่ผ่านมา การตลาดมะนาวของไทยยังมีรูปลักษณะที่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พบว่ามะนาวมีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน ทำให้ราคาที่จำหน่าย ได้ตกต่ำลงอย่างมากจนเกือบไม่มีราคาและเริ่มขยับสูงตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็น ต้นไปและมีราคาสูงที่สุดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนเรียกกันทั่วไป ว่า “มะนาวหน้าแล้ง” ส่งผลให้ราคามะนาวที่เกษตรจำหน่ายได้มีราคาสูงมากขึ้นหลายสิบเท่าตัว 1.ฤดูกาลผลิตมะนาวในรอบ 1 ปี ต้นมะนาวที่ออกตามฤดูกาลนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกต้นมะนาวออกดอกในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน ผลมะนาวที่นำมาใช้ประโยชน์ จากน้ำขั้นได้ตั้งแต่ ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยว อยู่ระหว่าง ˜4 ½ ถึง 5 ½ เดือน ต้นมะนาวมีดอกชุดสุดท้าย ประมาณปลายเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม ซึ่งผลชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป อันเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลปกติ ต้นมะนาวจะมีดอกที่เป็นชุดใหญ่อีกครั้ง ประมาณเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนเมื่อผ่านช่วงของฤดูแล้งและได้รับฝนติดตามมา การเก็บเกี่ยวของผลมะนาวในรุ่นนี้จะตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและมีการ ออกดอกมากอีกครั้งในเดือนสิงหาคมและกันยายนและเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือน ธันวาคมและเดือนมกราคม อันเป็นช่วงปลายของฤดูกาลของผลมะนาวและราคาของผลมะนาวจึงเริ่มเขยิบตัวสูงตั้งแต่ในช่วงนี้เป็นต้นไป 2.คุณภาพของดอกมะนาว การออกดอกของมะนาวนั้นโดยปกติมักเกิดขึ้นพร้อมกับยอดอ่อนที่ผลิขึ้นมาใหม่ ดอกมะนาวนั้นสามารถแบ่งระดับชั้นของคุณภาพ(ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดผลและขนาดของผล)ได้เป็น3ระดับดังนี้ คือ (2.1)ดอกที่เกิดพร้อมกันปลายยอดอ่อนที่ผลิใหม่ จัดเป็นดอกที่มีคุณภาพสูง (2.2)ดอกที่เจริญจากตาข้างของใบที่มีอายุมากกว่า 1 ฤดูกาล ดอกเหล่านี้ถือเป็นดอกที่มีคุณภาพรองมาลงมา สาเหตุอาจเนื่องมาจากการที่มีการผลิใบอ่อนนั้นยังไม่มีคุณภาพสมบูรณ์หือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (2.3)ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบจะเป็นดอกที่มีคุณภาพเลวที่สุดเนื่องจากไม่มีใบในการสร้าง อาหารมักพบเป็นดอกตัวผู้ (ไม่มีเกสรตัวเมียหรือลีบไป)โอกาสที่จะติดผลจึงต่ำมากมักมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ 3.การออกดอกของมะนาวต้นมะนาวออกดอกได้ดีเมื่อช่วงผ่านความแล้งมาระยะหนึ่งประมาณ 20- 30 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของต้นขนาดของทรงพุ่มต้นและสภาพของดินหากเป็นดินทรายจะชักน้ำได้นานกว่า สิ่งที่ควรจดจำไว้ให้มากสิ่งหนึ่งคือ มะนาวจะไม่มีการออกดอกใบกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้น หากต้องการให้กิ่งมีการออกดอกในช่วงที่ต้องการตามที่กำหนดไว้ ก็จะจำเป็นที่จะต้องกำจัดดอกหรือผลอ่อนในกิ่งเหล่านั้นออกไปให้หมดเสียก่อน 4. เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกันดังนี้ (4.4) การใช้สารเคมี สารในกลุ่มชะลอการเจริญเติบโต เช่น พาโคลบิวทราโซล มีบทบาทในการยับยั้งการสังเคราะห์ GA ในธรรมชาติของต้นพืช ดังนั้น พืชจึงมีการเจริญทางกิ่งใบลดลง ส่งผลให้มีโอกาสในการออกดอกมากขึ้น ขั้นตอนการเตรียมใช้การใช้สารกับต้นมะนาวมีดังนี้ 1.เลือกต้นมะนาวที่มีสภาพสมบูรณ์(ให้ปลิดผลและตัดช่อดอกออกให้หมดเพื่อให้มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกที่ดีขึ้น) 2. วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพุ่มต้น 3.ควรให้น้ำกับต้นมะนาวให้ชุ่มก่อนการราดสาร 4.ให้สารพาโคลบิวทราโซล 1.5 ลิตร (a.i) ต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางพุ่มต้น 1 เมตร ผสมน้ำ 1 ลิตร (สารการค้าส่วนใหญ่มีเนื้อสารออกฤทธิ์ 10 % ดังนั้นจึงต้องใช้สาร 15 กรัม / 1 เมตร) ราดบริเวณรอบโคนต้น 5. รดน้ำตามภายหลังการให้สารเพื่อช่วยให้การดูดดึงสารขึ้นสู่พุ่มต้นได้ดียิ่งขึ้น 6.บำรุงต้นให้สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ ข้อควรคำนึง 1. การใช้สารพาโคลบิวทราโซลราดลงดินอาจมีผลข้างเคียงไปยับยั้งการเจริญเติบโตใน ส่วนของระบบรากของต้นมะนาวได้ในกรณีที่ใช้สารนี้เกินกว่าที่แนะนำต้นมะนาว อาจทรุดโทรมหรือตายได้ 2. ควรเลือกใช้เฉพาะกับต้นที่สมบูรณ์เท่านั้น 3.ต้นที่เคยราดสารมาแล้ว ควรเว้นการใช้สารเคมีอีในปีต่อมา การใช้สารนี้กับต้นมะนาวต่อเนื่องกันอาจทำให้ต้นตายได้ การบังคับการออกดอกของมะนาวด้วยการราดสารพาโคลบิวทราโซลอัตรา 1.5 กรัม (a.i) พุ่มต้น 1 เมตร ในช่วงเดือนสิงหาคมต้นมะนาวออกดอกในเวลา 6 วัน ต่อมาควรปลิดผลที่ติดอยู่ทิ้งไปเพื่อเปอร์เซ็นต์การออกดอกที่ดีขึ้น สรุป การผลิตมะนาวนอกฤดูจำเป็นต้องใช้หลายๆ กรรมวิธีมาประมวลร่วมกันจึงจะได้ผลดี จากประสบการณ์ที่เคยแนะนำให้ชาวสวนปฏิบัติมักได้ผลไม่มากนักตามที่คาดหวัง เนื่องจากชาวสวนยังคงยึดถือวิธีที่ได้กระทำกันอยู่ปัญหาที่เกษตรกรได้สำเร็จ อาจสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ 1.เกษตรกรไม่มีความตั้งใจจริง ซึ่งหากต้นมะนาวมีผลผลิตเต็มต้นในทุกกิ่งโอกาสชักนำให้ ออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ธรรมชาติของมะนาวและส้มจะไม่มีการออกดอกตามกิ่งที่มีผลติดอยู่ 2.ชาวสวนมะนาวไม่เข้าใจวงจรการออกดอกติดผลของมะนาวอย่างแท้จริง ทำให้ไม่อาจนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้ได้ 3.เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวหัวพึ่งเพียงกรรมวิธีที่เป็นสูตรอย่างง่ายๆ 4.สภาพต้นมะนาวขาดความสมบูรณ์ไม่เหมาะสมสำหรับการผลิต ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |