ปรับปรุงจากคอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2554 อติภพ ภัทรเดชไพศาล องค์ บรรจุน อธิบายถึงธรรมเนียมมอญร้องไห้ไว้ในเว็บไซต์ www.monstudies.com ว่า มอญร้องไห้ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของชาวมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลานต่อผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการรำพันคุณงามความดีของผู้ตาย ที่กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีลมหายใจ ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณกวี เนื้อหาที่ร้องนั้นไม่ตายตัว และเป็นภาษามอญทั้งสิ้น ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมนี้ไม่มีใครทราบและเหลือตกค้างเป็นแต่เพียงตำนาน บ้างก็ว่าเป็นพิธีกรรมตั้งแต่พุทธปรินิพพาน บางตำนานก็บอกว่าเป็นอุบายในการทำสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช ที่สมิงอายมนทยาปลอมตัวเป็นคนตายเพื่อออกไปแจ้งข่าวเรื่องข้าศึกแก่พระเจ้าราชาธิราช โดยให้หญิงสาวชาวมอญเดินร้องไห้ตามขบวนศพออกมาเพื่อลวงทัพพม่า องค์ บรรจุน บอกว่าพิธีกรรมมอญร้องไห้นี้ทำกันในช่วงดึก ระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศลและช่วงเช้ามืด อีกช่วงก็คือช่วงชักศพขึ้นเมรุเตรียมฌาปนกิจ โดยผู้ที่ร้องจะเป็นญาติของผู้ตายฝ่ายหญิงที่สูงอายุแล้ว และการร้องนั้นก็ไม่ได้หมายถึงร้องไห้จริงๆ แต่เป็นการร้องเพลงด้นคำไปเรื่อยๆ โดยมีเนื้อหาพรรณาคุณงามความดีของผู้ตาย และปนด้วยเสียงสะอื้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงขนาดตีอกชกหัว โดยพิธีกรรมนี้จะมีวงปี่พาทย์มอญประกอบหรือจะไม่มีก็ได้ ธรรมเนียมนี้ก็คือธรรมเนียม นางร้องไห้ ในราชสำนักสยามนั่นเอง ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่าทางราชสำนักสยามเป็นฝ่ายรับเอาประเพณีมอญเข้ามาใช้ หรือว่าทางฝ่ายมอญเป็นผู้รับประเพณีของราชสำนักสยามไปดัดแปลงเป็นมอญร้องไห้ตั้งแต่เมื่อใดอย่างไรกันแน่ (ขณะที่คำอธิบายอีกชุดหนึ่งนั้นว่าทั้งมอญทั้งไทยรับขนบประเพณีนี้มาจากทางวัฒนธรรมจีนอีกทีหนึ่ง) ใน จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี เคยมีบันทึกถึงธรรมเนียมนี้ไว้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในการจัดงานพิธีพระศพของสมเด็จพระศรีสุราไลย พระราชชนนีในรัชกาลที่ 3 ว่า ณ วันพุธ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ยกพระโกศสมเด็จพระยานุมาศ ตั้งแห่เป็นขนาดกระบวนเครื่องสูง เทวดาประณมมือถือดอกบัว ประณมเรียงเคียงพระโกศ สนั่นโสตสำเนียงเสียงนางร้องไห้ นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานถึงธรรมเนียมนี้อยู่ใน คำให้การของขุนหลวงหาวัด อีกด้วย ซึ่งก็แปลว่านางร้องไห้น่าจะมีมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยาแล้ว เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ (พ.ศ. 2433-2526) เคยเป็นต้นเสียงร้องนางร้องไห้ในงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าฯ และเล่าไว้ว่าธรรมเนียมนางร้องไห้นั้นใช้ต้นเสียง 4 คน และมีหญิงลูกคู่อีกราว 80-100 คนทำหน้าที่ร้องรับ โดยบทร้องนางร้องไห้มีบันทึกไว้ด้วยกันห้าบท และอาจสลับสับเปลี่ยนลำดับกันได้ นางร้องไห้ในครั้งนั้นปรากฏว่าเป็นนางร้องไห้ครั้งสุดท้ายของราชสำนักสยาม เพราะพระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฏเกล้าไม่ทรงโปรดประเพณีนี้ และทรงบันทึกไว้ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 ว่า ได้ยินเขาๆ ชมกันเปาะ ว่านางร้องไห้นั้นหัดเร็วนักและว่าร้องเพราะ แต่ส่วนฉันไม่เห็นว่าอัศจรรย์อะไร เพราะทำนองก็ไม่ยาก และคำที่จะต้องท่องก็ไม่มีกี่คำ และฉันรู้สึกอยู่ในใจด้วยว่าไม่ชอบ เพราะไม่เห็นว่าเปนการแสดงความโศกจริงจัง ดูเปนการบรรเลงมากกว่า และ ให้รู้สึกรกหูเสียจริงๆ จะข่มใจให้นึกชอบเท่าไรก็ไม่ได้เลย และทรงบันทึกไว้ว่าผู้ที่ชื่นชอบธรรมเนียมนางร้องไห้นี้ เพราะเหตุต่างๆ พวกชนชั้นเก่า มีกรมนราธิปเปนต้น ชอบเพราะเห็นว่าหรู ในพวกชั้นใหม่ๆ ไปฟังกันแน่นๆ เพราะไม่เคยฟังจึ่งอยากฟังฉนั้นก็มี ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจก็คือมุมมองที่พระบาทสมเด็จฯ พระมงกุฏเกล้าฯ มีต่อธรรมเนียมนางร้องไห้ดูเหมือนจะเป็นมุมมองที่เห็นธรรมเนียมนี้เป็น การแสดง ดังนั้นจึงทรงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะมีผู้เสแสร้งแสดงความโศกเศร้าอยู่หน้าพระบรมศพ ขณะที่มุมมองของข้าราชสำนักแต่ก่อนที่มีต่อนางร้องไห้ น่าจะเป็นในแบบของ พิธีกรรม มากกว่า จึงไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร แต่ถึงทางราชสำนักจะยกเลิกนางร้องไห้ไปแล้ว ความเป็น พิธีกรรม ของนางร้องไห้นี้ก็ยังคงได้รับความนิยมในหมู่ชาวบ้านทั่วไปในช่วงหลังจากนั้น ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะว่าธรรมเนียมนี้เป็นเครื่องแสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ตายด้วย ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ เป็นผู้ริเริ่มจับความเป็น พิธีกรรม แบบมอญร้องไห้ ลงไปใส่ในละครที่เป็นรูปแบบของ การแสดง คนแรก โดยร้องเพลง มอญร้องไห้ ในละครเรื่องราชาธิราชด้วยท่วงทำนองที่ผสมเสียงสะอึกสะอื้น ซึ่งไม่เคยมีนักร้องคนใดทำมาก่อน ส่งผลให้เพลงมอญร้องไห้ของครูเหนี่ยวสามารถสร้างอารมณ์ที่เศร้าสร้อยคร่ำครวญอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการเพลงไทย และได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก เพราะการร้องเพลงไทยก่อนหน้านั้นจะเน้นที่ความชัดเจนของถ้อยคำและการออกเสียงที่มีระเบียบแบบแผนเคร่งครัด ดังนั้นการสอดแทรกเสียงสะอึกสะอื้นลงในเพลงมอญร้องไห้ของครูเหนี่ยว ในแง่หนึ่งจึงนับเป็น creativity ที่ออกนอกขนบเพลงไทยแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง และการที่ครูเหนี่ยวนำ พิธีกรรม แบบมอญร้องไห้ มาบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของ การแสดง ก็ทำให้เราตระหนักได้ว่าในสังคมไทย แท้ที่จริงแล้วทั้งสองสิ่งนี้มีเส้นแบ่งที่เลือนรางอย่างยิ่ง และ creativity ของครูเหนี่ยวในการสร้างสรรค์เพลงมอญร้องไห้แบบใหม่นี้ยังเป็นที่น่าสนใจสำหรับผมอย่างมาก เพราะเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยหยิบยืมเอามาจากสิ่งเก่าๆ ที่มีอยู่แล้ว จัดเป็น creativity ที่ไม่ต้องพึ่งพาแนวคิดของฝรั่ง ไม่ต้องไหลไปตามกระแสความนิยมแบบ pop culture แต่เป็นงาน creativity ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่บนฐานความรู้เดิมล้วนๆ ในขณะที่ดนตรีไทยร่วมสมัยปัจจุบัน ดูเหมือนจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ หรืออย่างเก่งก็แค่แปลงร่างไปเป็นลูกครึ่งไทยครึ่งฝรั่งเท่านั้นเอง * เพลงมอญร้องไห้ของครูเหนี่ยว on you tube : http://www.youtube.com/watch?v=h4Q5JPC-E3g ![]() ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ (พ.ศ. 2459-2498) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |