คอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2554 อติภพ ภัทรเดชไพศาล เมื่อหลายอาทิตย์ที่แล้วผมได้ชมข่าวช่วงบันเทิงเทศของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจากการรับชมทาง youtube.com ซึ่งในข่าวมีการพูดถึงบทบาทของรัฐบาลจีนในการสนับสนุนดนตรีคลาสสิค และแทรกด้วยบทสัมภาษณ์คุณประภัสสร เสวิกุลและผู้เชี่ยวชาญดนตรีคลาสสิคบางคนถึงกรณีนี้ (ดู http://www.youtube.com/watch?v=9RFkrEIpaWk) คุณประภัสสรทำให้ผมแปลกใจมากตรงที่บอกว่ารัฐบาลจีนส่งเสริมดนตรีคลาสสิค ในขณะที่จำเป็นต้องปิดกั้นดนตรีป๊อป เพราะดนตรีป๊อปเป็นสิ่งที่รับช่วงอารยธรรมหรือวัฒนธรรมของตะวันตกมากไป ก็ดนตรีคลาสสิคนั้นไม่ใช่อารยธรรมหรือวัฒนธรรมตะวันตกหรืออย่างไร? แต่อย่างไรก็ตามการให้สัมภาษณ์นั้นเห็นได้ชัดว่ามีการตัดต่อ และจริงๆ แล้วคุณประภัสสรก็อาจมีคำอธิบายบางอย่างที่สมเหตุสมผลมาขยายความความข้อนี้ก็เป็นได้ เพียงแต่ไม่ได้ถูกนำมาออกอากาศเท่านั้น แต่จากรายการสั้นๆ เพียงห้านาทีนี้ ผมคิดว่าผู้เสนอข่าวหรือผู้ให้สัมภาษณ์คนใดก็ตาม ดูเหมือนจะลืมหรือจงใจที่จะไม่พูดถึงความเป็นตะวันตกของดนตรีคลาสสิคเลยสักนิดเดียว ซึ่งสาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คงจะอย่างที่รู้ๆ กัน คือคนจำนวนมากในสังคมไทยมักถูกครอบงำอยู่ด้วยความคิดที่ว่าดนตรีคลาสสิคเป็นของ สากล และดีสำหรับทุกชนชาตินั่นเอง แนวคิดเรื่องความเป็น สากล ของดนตรีตะวันตกเป็น myth ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยระยะเวลายาวนานกว่าร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีถ้าเราจะเริ่มด้วยความเชื่อที่ว่า สัดส่วนของบันไดเสียงดนตรีตะวันตกนั้นสร้างขึ้นมาจากกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ ซึ่ง Pythagoras เป็นผู้ให้คำอธิบายเป็นคนแรกๆ ว่าเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงอยู่กับสัดส่วนทางธรรมชาติและจักรวาลนั่นเลยทีเดียว ดนตรีคลาสสิคที่มีรากฐานมาจากดนตรีในโบสถ์คริสต์ เมื่อผนวกเข้ากับภูมิปัญญาแบบกรีกโบราณ จึงกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนธรรมดาไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะในสมัยแรกๆ นั้นถึงกับมีการกีดกันไม่ให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องเพลงในโบสถ์ด้วยซ้ำ การแต่งเพลงคลาสสิคไม่ใช่สิ่งที่บุคคลทั่วๆ ไปจะทำได้ ดังจะเห็นได้จากนักแต่งเพลงคลาสสิคคนแรกของโลกคือ Hildegard von Bingen ที่เป็นถึงแม่ชีคนสำคัญและมีบทบาทอยู่ในศาสนจักรเป็นอย่างมาก (ดังนั้นจึงข้ามพ้นข้อห้ามที่เกี่ยวกับความเป็นเพศหญิงไปได้) โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงกรณีของ Gregorian Chant (เพลงสวดบทแรกๆ ของโลกตะวันตกที่มีการบันทึกไว้) ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าจดบันทึกโดยพระสันตปาปาเกรกอรีด้วยซ้ำ กฏเกณฑ์มากมายในการแต่งเพลงคลาสสิคเป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้แน่ๆ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ดนตรีคลาสสิคจะมีบทบาทอยู่แต่ในวัด (โบสถ์) กับในวังเท่านั้นเอง บางคนอาจจะอ้างกรณีของ Mozart ว่าได้แต่งเพลงหรือ opera เกี่ยวกับสามัญชนไว้เหมือนกัน และมีการบรรเลงในโรงละครเก็บเงินที่ประชาชนทั่วๆ ไปก็สามารถชมได้ แต่คำว่า ประชาชน ทั่วๆ ไปที่ชมงานของ Mozart นั้นก็ไม่ใช่ตาสีตาสาแน่ๆ ผู้ชม opera ของ Mozart นั้นเป็นประชาชนในแง่ของ ชนชั้นกลาง หรือ bourgeois ที่เป็นชนชั้นที่เกิดขึ้นใหม่ในตอนนั้น และมีบทบาทในสังคมที่ตีเสมอขึ้นมากับชนชั้นเจ้านายเก่าๆ ต่างหาก ดนตรีคลาสสิคจึงไม่เคยเป็นของ ประชาชน ส่วนใหญ่อย่างแท้จริงมาก่อน แม้จนกระทั่งในปัจจุบัน (ราคาบัตรคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิคทั่วๆ ไปอย่างถูก เฉลี่ยก็อยู่ที่ราวๆ 500 บาทต่อที่นั่ง - ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ราคาที่คนหาเช้ากินค่ำทั่วๆ ไปจะซื้อได้อยู่แล้ว) ดนตรีคลาสสิคชนิดที่พอจะเรียกได้ว่าเข้าถึง ประชาชน มากที่สุดนั้นก็คือดนตรีคลาสสิคที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ Hollywood ซึ่งก็เป็นดนตรีคลาสสิคที่ถูกจับโยนออกมาจากบริบทดั้งเดิมของมัน และถูกทำให้กลายเป็นรสนิยมสาธารณ์แบบป๊อปๆ ไปแล้ว แต่คนส่วนมากก็คงไม่พอใจที่จะนั่งฟังเพลงแบบนี้โดยไม่มีภาพประกอบแน่ๆ โดยเฉพาะในสังคมไทยที่เห็นกันมาตลอดว่าดนตรีคลาสสิคไม่ใช่รสนิยมของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ชอบฟังดนตรีคลาสสิคจริง ป่านนี้เราคงมีสถานีวิทยุที่จัดแต่เพลงคลาสสิคเป็นร้อยๆ รายการไปแล้ว นับตั้งแต่ขั้นตอนการแต่งเพลง ไปจนถึงการกำกับวงดนตรีอย่าง orchestra เห็นได้ชัดว่าดนตรีคลาสสิคมีบุคลิกแบบเผด็จการอำนาจนิยม คือเน้นที่ความถูกต้อง ความพร้อมเพรียง และการตีความเพลงโดย conductor เพียงคนเดียวเบ็ดเสร็จ ลักษณะเผด็จการนี้มาคู่กันกับความเป็น elite (เงินค่าตอบแทนของ conductor เพียงคนเดียวในการกำกับวง orchestra นั้นอยู่ในระดับหลายแสนถึงหลายล้านในแต่ละคอนเสิร์ต) การจัดงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตนั้นเป็นวัฒนธรรมแบบชนชั้นสูงตะวันตกอย่างไม่ต้องสงสัย นับตั้งแต่การแต่งกายแบบสากลนิยม ใส่สูทแต่งชุดราตรีของผู้ร่วมงาน ไปจนถึงการเปิดไวน์ขวดละหลายหมื่นหลายแสน อาหารตะวันตกชั้นดีจากโรงแรมห้าดาวนั้นอยู่คู่กับงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตประเภทนี้จนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ (ในการแสดงคอนเสิร์ต SONG OF THE NIGHT ซิมโฟนีหมายเลข 7 โดย กุสตาฟ มาห์เล่อร์ ของ สยาม ฟิลฮาร์โมนิค ออร์เคสตร้า ในวันที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จำหน่ายบัตรในราคาที่นั่งละ 600, 800 และ 1,200 บาท โดยมีบัตรพิเศษชนิดหนึ่ง ชื่อว่าบัตรพิเศษ เทวทูตกุสตาฟ จำหน่ายในราคาที่นั่งละ 5,000 บาท โดยระบุว่าผู้ที่ซื้อบัตรชนิดนี้จะสามารถเข้าร่วมในงานเลี้ยงหลังคอนเสิร์ตได้ด้วย) การผลักดันดนตรีคลาสสิคให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อประชาชน อย่างฝืนความจริงจึงทำได้เพียงในประเทศเผด็จการสังคมนิยมอย่างโซเวียตหรือจีน (ที่มีสิทธิ์ขาดในการควบคุมสื่อและทิศทางเศรษฐกิจ) เท่านั้น แต่การกระทำเช่นนั้นก็ย่อมเป็นการกระทำที่ย้อนแย้งในตัวเองเชิงอุดมคติ เพราะดนตรีคลาสสิคซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากชนชั้นกลาง-ชนชั้นสูงนี้ ย่อมขัดกับระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมอย่างไม่ต้องสงสัย ทัศนคติของคนทั่วๆ ไปในสหภาพโซเวียต (เมื่อสมัยที่ยังเป็นสังคมนิยม) ที่มีต่อนักแต่งเพลง-นักดนตรีคลาสสิค จึงเป็นทัศนคติครึ่งๆ กลางๆ ที่ทั้งนับถือยกย่องและดูถูกดูแคลนไปพร้อมๆ กัน และเอาเข้าจริงๆ ผมว่าในกรณีของจีนหรือเกาหลีที่ถูกนำเสนอในข่าวนั้น ก็เป็นเพียงการกระทำที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นสำคัญเท่านั้นเอง โดยที่คงไม่ได้มีความคิดที่จะยกย่องเชิดชูศิลปะการดนตรีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยสักเท่าไร ![]() Jean-Baptiste de Lully อภิสิทธิ์ชนนักแต่งเพลงประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |