คอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2554 อติภพ ภัทรเดชไพศาล ประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้น กล่าวกันว่าเป็นยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลง อำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือโชกุน ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว การติดต่อค้าขายกับประเทศจีนทำให้เกิดการถ่ายเทแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรต่างๆ มากมาย และเป็นที่มาของพุทธศาสนาแบบเซ็นที่อิงอยู่กับอำนาจรัฐ วัดเซ็นประเภทนี้จัดอยู่ในระบบ โกซาน ซึ่งเป็นระบบที่เลียนแบบมาจากเมืองจีน ซึ่งพระสงฆ์จะทำหน้าที่จัดการสอนวัฒนธรรมและพุทธศาสนาให้กับชนชั้นนักรบเพื่อแลกเปลี่ยนกับการอุปถัมภ์ค้ำชู เจ้าอาวาสในวัดเซ็นใหญ่ๆ เหล่านี้มักทำหน้าที่เป็นครู ที่ปรึกษา ทูต นักธุรกิจ กวี และศิลปิน มากกว่าที่จะเป็นนักบวช พุทธศาสนาในลักษณะนี้จึงมีลักษณะที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปกับลักษณะทหาร-รัฐนิยมอย่างแนบแน่น (ดู เมฆบ้า ของเพิร์ล เบสเซอร์แมน สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง) อิคคิวมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้น พระเซ็นผู้แปลกประหลาดรูปนี้อธิบายบุคลิกลักษณะของตนเองไว้ในบทกวีว่าเป็นประดุจ เคียวอุน ซึ่งแปลว่าเมฆบ้า อิคคิวปฏิเสธการปฏิบัติธรรมแบบกระแสหลักที่เหลวไหลจอมปลอม และเคร่งครัดกับการพยายามจะเข้าให้ถึงเซ็นอย่างแท้จริง อิคคิววิพากษ์วิจารณ์สถาบันสงฆ์ในขณะนั้นอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการฝักใฝ่ทางโลกย์ การแบ่งลำดับชั้นของพระภิกษุ รวมถึงการเข้าไปมีส่วนในการเมืองด้วย อิคคิวเป็นพระนักอนาธิปไตยอย่างแท้จริงและไม่ใส่ใจกับขนบธรรมเนียม มีเรื่องเล่าว่าเมื่ออาจารย์ของท่านออกใบรับรองความเป็นอาจารย์เซ็น (หรือที่เรียกว่าอินคะ - ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากของพระเซ็นทั่วๆ ไป) ให้ อิคคิวโยนมันทิ้งลงกับพื้นและเดินจากไปอย่างไม่แยแส อิคคิวเร่ร่อนจาริกเป็นเวลาหลายสิบปี และตั้งสำนักเล็กๆ ในกระท่อมทรุดโทรมที่ชื่อว่า กระท่อมลาตาบอด ในอาศรมเล็กๆ นี้ ท่านเขียนบทกวีโจมตีวัดเซ็นที่ขูดรีดชาวบ้าน และยืนอยู่ข้างประชาชนผู้ยากไร้ กรณีที่ต้องนับว่าแหกคอกที่สุด ก็คือการที่อิคคิวปฏิเสธการสั่งสอนด้วยระบบวิธีคิดแบบ เพศชาย ของสำนักเซ็นกระแสหลักในสมัยนั้น ท่านเริ่มรับลูกศิษย์ผู้หญิงและพัฒนาหลักการ เซ็นด้ายแดง ขึ้นในซ่องโสเภณีและโรงเกอิชา ซึ่งนับเป็นการท้าทายต่อขนบเดิมอย่างสุดขั้ว สาเหตุที่ทำให้ศาสนาพุทธนิกายเซ็นปรากฏพระภิกษุแบบอิคคิวได้นั้น เป็นเพราะว่านิกายเซ็นนั้นจัดอยู่ในพุทธศาสนาแบบมหายาน พุทธแบบมหายานมีหลักการที่แตกต่างไปจากพุทธแบบเถรวาทตรงที่เน้นการใช้เหตุผลมากกว่าการปฏิบัติ นั่นคือการเห็นรูปแบบเป็นเรื่องรอง และเห็นปรัชญาและการคิดเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ถ้าพูดอย่างคร่าวๆ อาจอธิบายได้ว่าศาสนาพุทธแบบเถรวาทนั้นเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับเบญจขันธ์ เน้นการท่องจำและปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ คือมุ่งไปที่เรื่องการดับทุกข์ส่วนบุคคล ขณะที่พุทธแบบมหายานนั้นเน้นภาพรวมของโลกทั้งหมด ยึดถือหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นแก่น และเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ได้มากกว่า (ดู ปรัชญามหาแสง ของ ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร) โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีพุทธเถรวาทเป็นแกนหลัก ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์หลักธรรมหรือวัตรปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง โดยความเข้มแข็งของพุทธเถรวาทแบบในปัจจุบันนี้มีที่มาและผูกโยงอยู่กับคติชาตินิยมที่เริ่มต้นขึ้นในราวรัชกาลที่ 5 อย่างแนบแน่น ดังจะเห็นได้จากหลักการสอนธรรมะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในกรณีคำสอนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสที่มุ่งเน้นไปที่ หน้าที่ หรือข้อปฏิบัติที่ผูกติดอยู่กับสถานะความเป็นพลเมืองของรัฐ กล่าวสั้นๆ ได้ว่าขณะที่พุทธเถรวาทสมัยก่อนหน้ามุ่งสร้าง คนดี แต่พุทธเถรวาทแบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับมุ่งที่จะสร้าง พลเมืองดี (ดู พุทธศาสนาไทยในอนาคต ของพระไพศาล วิสาโล สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง) การปกครองของคณะสงฆ์จึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการปกครองของรัฐ (แบบอาณานิคม) ที่มุ่งเน้นที่ความจงรักภักดีต่อชาติและไม่ส่งเสริมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้ง และสุดท้ายคณะสงฆ์ไทยก็กลายเป็นเพียงองค์กรหนึ่งที่มีไว้เพื่อรับใช้ชาติ ซึ่งลำพังการรับใช้ชาติก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรนัก แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ว่า - คณะสงฆ์มักแยกไม่ออกว่าอะไรคือ รัฐ และอะไรคือ ชาติ และไม่ตระหนักว่าการรับใช้ รัฐ นั้นก็เป็นคนละเรื่องกับการรับใช้ ชาติ โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้เกิดวาทะอันลือลั่นของพระกิตติวุฒโฑที่ให้การสนับสนุนอาชญากรรมของรัฐอย่างเต็มตัวในเหตุการณ์ตุลาคม 2519 ว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป ![]() อิคคิว (พ.ศ. 1937-2024)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |