เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
การศึึกษาดนตรีไทยส่วนใหญ่เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่ามีลักษณะอนุรักษนิยมสูง และให้ความสำคัญกับครูบาอาจารย์มาก การแต่งเพลงใหม่หรือเล่นนอกกรอบนอกแบบแผนที่ครูสอน ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่ต้องถูกประณามหยามเหยียด จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่วสุ ทวีลาภ ผู้พยายามสร้างเครื่องดนตรีไทยชนิดใหม่ให้มีระบบเสียง 12 เสียงเท่า (equal twelve tone) จะได้รับการต่อต้านจากนักดนตรีไทยกลุ่มหนึ่ง ที่กล่าวหาว่าเป็นการทำลายระบบเสียงดั้งเดิมแบบของไทย เพราะดนตรีไทยดั้งเดิมมีตัวโน้ตทั้งหมด 7 เสียง ไม่ใช่ 12 เสียง ทั้งๆ ที่วสุก็อธิบายไว้กระจ่างชัดแล้วว่า การสร้างให้เครื่องดนตรีไทยใหม่มี 12 เสียงนั้นเป็นไปเพื่อที่จะสามารถเล่นเพลงสากลต่างชาติได้อย่างหลากหลายขึ้น เพราะดนตรีของต่างชาติ โดยเฉพาะดนตรีตะวันตกนั้นมี 12 เสียง อนึ่ง ผมขออธิบายแทรกไว้ตรงนี้ก่อนว่า การใช้วงดนตรีไทยเล่นเพลงฝรั่งไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ดังที่เรามีหลักฐานว่ามีเพลงไทยที่ดัดแปลงมาจากเพลงฝรั่งจำนวนหนึ่ง เช่นเพลงโยสลัม มาร์ชิง ทู จอร์เจีย หรือเพลงฝรั่งยีแฮม เป็นต้น แต่เพลงเหล่านั้นก็มีพื้นฐานมาจากการใช้เสียงเพียง 7 เสียง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับดนตรีไทย (แต่สำเนียงแตกต่างกัน) ขณะที่เพลงบางชนิดมีการจงใจแสดงโน้ตครึ่งเสียงอย่างชัดเจน เช่นเพลงในสไตล์บลูส์ เป็นต้น ซึ่งสำหรับดนตรีประเภทนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยทั่วไป วสุ ทวีลาภจึงยกกรณีเพลงพระราชนิพนธ์ (ที่เต็มไปด้วยสำเนียงบลูส์) มาเป็นตัวอย่าง ว่าการตั้งเสียงดนตรีไทยใหม่เป็น 12 เสียงจะทำให้วงดนตรีไทยสามารถเล่นเพลงพระราชนิพนธ์จำนวนมากได้ สำหรับผมแล้ว นี่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญมากสำหรับวิวัฒนาการของเครื่องดนตรีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง การตั้งเสียงเครื่องดนตรีเป็นเรื่องที่มีพัฒนาการยาวนานและยังคงมีการทดลองค้นคว้าหาเทคนิควิธีใหม่ๆ อยู่ไม่รู้จบจนกระทั่งปัจจุบัน แนวคิดการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านตะวันออกให้มีเสียง 12 เสียงแบบตะวันตกมีมานานแล้ว อย่างน้อยเท่าที่ผมทราบ ในสหภาพโซเวียตก็เคยมีแนวคิดแบบนี้มาตั้งแต่ราวๆ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั่นคือมีการสร้างเครื่องดนตรีในรัฐต่างๆ โดยเฉพาะแถบตะวันออก อย่างอุซเบกิสถาน หรือคาซัคสถาน ให้เป็นแบบ 12 เสียง โดยมีจุดประสงค์แบบเดียวกับวสุ คือให้วงดนตรีพื้นเมืองเหล่านี้สามารถบรรเลงดนตรีตะวันตก - อย่างของบาคหรือโมซาร์ตได้ แนวคิดนี้ไปไกลถึงขนาดสร้างให้เครื่องดนตรีมีขนาดต่างๆ กัน เช่น ซอรีบับ ถูกเพิ่มให้มีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ ในลักษณะเดียวกับเครื่องสายตะวันตก ที่มีทั้งใหญ่และเล็ก แล้วเรียบเรียงเพลงใหม่ ให้มีการแยกเสียงประสานในลักษณะเดียวกับเพลงคลาสสิคเดิมของบาคหรือโมซาร์ต ผลที่ได้จึงเป็นวงออร์เคสตร้าที่เล่นเพลงคลาสสิคได้อย่างสนิทเนียนเหมือนต้นฉบับทุกตัวโน้ต เพียงแต่ timbre หรือสีสันของเสียงที่ได้ จะเป็นสีสันแบบเครื่องดนตรีพื้นเมืองเท่านั้นเอง เป็นที่รู้ๆ กันว่า แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากนโยบายต้องการสร้างความเป็นเอกภาพให้กับรัฐต่างๆ ในสหภาพโซเวียต (โดยเฉพาะรัฐที่ไกลออกไปจากศูนย์กลาง) โดยสถาปนาดนตรีคลาสสิคว่าเป็นความงามสากล เป็นของบริสุทธิ์ และการที่เครื่องดนตรีพื้นบ้านของแต่ละรัฐสามารถบรรเลงเพลงคลาสสิคได้เช่นเดียวกัน ย่อมหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในเชิงศิลปวิทยาของทั้งสหภาพโซเวียต วงพื้นเมืองตั้งเสียงใหม่เหล่านี้จะเดินทางไปแสดงยังรัฐอื่นสลับสับเปลี่ยนกัน อันเป็นนัยยะแสดงให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวในความหลากหลายได้อย่างชัดเจนที่สุด ที่สำคัญคือวงพื้นเมืองตั้งเสียงใหม่เหล่านี้จะไม่ไปก้าวก่ายกับดนตรีระบบเก่า น่าสังเกตที่ทางการโซเวียตไม่เคยคิดที่จะทำลายล้างดนตรีดั้งเดิมอันเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ ตรงกันข้าม ยังบันทึกเสียงการบรรเลงของศิลปินพื้นเมืองรุ่นเก่าเก็บไว้เป็นคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ทรงคุณค่ายิ่งในปัจจุบัน ดังนั้นนักดนตรีไทยทั้งหลายคงไม่ต้องเป็นกังวลว่าระบบเสียง 12 เสียงแบบใหม่จะทำให้ดนตรีไทยผิดเพี้ยนไปจากเดิม เพราะนั่นคงเป็นเรื่องที่ยากมาก ถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตและรับชมการแสดงวงดนตรีทวีลาภของวสุ ทวีลาภ ผมคิดว่ารูปแบบของเครื่องที่สร้างใหม่ออกจะไม่เอื้อให้บรรเลงได้สะดวกนัก เห็นได้ชัดจากกรณีของระนาด ที่เมื่อเพิ่มเสียงเข้าไปเป็น 12 เสียงแล้ว ส่งผลให้ลูกระนาดแต่ละลูกมีขนาดเล็กลงและทำให้ผู้เล่นสับสนได้ง่าย ทางแก้ปัญหานี้อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบระนาดให้เป็นเหมือน xylophone คือมีคีย์บนคีย์ล่าง หรือไม่อีกทีก็ต้องจัดสีของโน้ตส่วนที่เป็น sharp หรือ flat ให้ต่างออกไป แบบลิ่มเปียโนที่มีสีขาวสีดำ สุดท้ายผมอยากตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ขณะที่เราเพิ่งมาตั้งเสียงเครื่องดนตรีไทยเป็น 12 เสียงแบบฝรั่ง เอาตอนนี้ เรารู้กันบ้างหรือไม่ ว่าฝรั่งเองก็เบื่อหน่ายระบบ 12 เสียงกันมานานแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่เมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว ที่เริ่มมีการคิดค้นระบบ 43 เสียงโดย Harry Partch โดยในส่วนของดนตรีไทย นักปฏิวัติหนุ่มอย่างจิตร ภูมิศักดิ์ก็เคยเสนอไว้ตั้งแต่ใน พ.ศ. 2497 ว่าดนตรีไทยควรเพิ่มเสียงแทรกเข้าไปให้มีโน้ตมากกว่า 7 เสียง นอกจากนั้นยังตั้งคำถามกับเรื่องจังหวะ ว่าทำไมจะต้องยึดติดกับ 8 จังหวะฉิ่งฉับ และชักชวนให้นักดนตรีไทยสร้างงานในแนวทางใหม่ๆ จิตรบอกว่าการปรับปรุงเครื่องดนตรีไทยเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าเราไม่ต้องการให้ดนตรีไทยหายสาบสูญไป โดยในตอนหนึ่งจิตรถึงกับบอกว่าเครื่องดนตรีอย่างจะเข้นั้น ถ้าปรับปรุงให้เสียงใส เล่นง่าย ยกขึ้นดีดแบบกีต้าร์ได้แล้วล่ะก็ “บางทีจะเข้อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ตลอดไปอีกนาน” วสุ ทวีลาภ (ภาพจาก www.whoweeklymagazine.com) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |