เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
ในหนังสือเรือพระราชพิธี และเห่เรือมาจากไหน? ของสุจิตต์ วงษ์เทศ (พิมพ์ พ.ศ. 2554) อธิบายถึงประเพณีการเห่เรือไว้ว่า เห่เรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นประเพณีที่เพิ่งสร้างใหม่ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ น่าเชื่อว่าเริ่มมีในละครและเพลงดนตรีที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสร้างสรรค์ขึ้นในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เพราะถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานตรงว่ายุคกรุงศรีอยุธยามีเห่เรือแบบเดียวกับที่มีทุกวันนี้ แต่มีผู้พบว่าแรกมีในรัชกาลที่ 4 แล้ว สุจิตต์กล่าวว่าการเห่เรือไม่น่าจะมีรากเหง้าที่เนิ่นนานถึงสมัยอยุธยา เพราะไม่พบประเพณีนี้ในกฎมณเฑียรบาล จะมีก็แต่การละเล่นในขบวนพยุหยาตรา ที่ระบุไว้ให้มีเรือสำคัญสองลำขนาบซ้ายขวา ซึ่งระบุไว้ว่า ซ้ายดนตรี ขวามโหรี หมายถึงเรือลำซ้ายเป็นเรือที่มีวงดนตรี เล่นเพลงศักดิ์สิทธิ์ยอพระเกียรติ ส่วนเรือลำขวามีวงมโหรี ประโคมบรรเลงเพลงสนุกสนานเห่โห่โต้ตอบคร่ำครวญเชิงสังวาสไปตลอดทางเสด็จ ไม่พบข้อความที่ระบุถึงการเห่เรือแบบในปัจจุบัน ซึ่งก็ควรจะเป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะเมื่อคิดถึงสมัยอยุธยาที่เรายังคงไม่มีเครื่องขยายเสียงใช้งาน ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่การเห่เรือด้วยเจ้าพนักงานจะได้ยินไปทั่วคุ้งน้ำที่ใหญ่โตกว้างขวาง นอกจากนั้นการที่บางคนอ้างกลับไปถึงพระนิพนธ์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ก็เป็นการอ้างอย่างลากเข้าความ เพราะคำว่าเห่นั้นมีความหมายรวมๆ หมายถึง “ทำนองขับลำนำเพื่อวิงวอนร้องขอ หรือทำให้เพลินใจแล้วเคลิบเคลิ้มถึงหลับไปก็ได้” ดังนั้นบทกวีที่ว่าด้วยการ “เห่” ของเจ้าฟ้ากุ้งจึงมีมากและหลากหลาย ทั้งเห่เรือ เห่สังวาส เห่ครวญ กระทั่งเรื่องกากี ท่านก็ยังนับเป็น บท “เห่” เรื่องกากี พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งจึงไม่ใช่หลักฐานยืนยันถึงพิธีเห่เรือในอยุธยา ซึ่งไม่เคยมีอยู่จริง ถ้าพูดด้วยภาษาแบบที่นักวิชาการมักใช้กัน ผมคิดว่าพิธีเห่เรือนี้คงจัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า “ประเพณีประดิษฐ์” เท่าที่ผมเข้าใจ ประเพณีแบบนี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการย่างเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และมีที่มาเชื่อมโยงกับการธำรงรักษาอดีตกาลของชาติ ในยุโรป เกิดประเพณีประดิษฐ์ขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงราว พ.ศ. 2410 - 2460 ประเพณีประดิษฐ์จึงแยกไม่ออกจากความเป็นรัฐชาติแบบสมัยใหม่ หัวใจของประเพณีเหล่านี้จึงไม่ใช่ “อดีต” ที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่เป็นการสืบทอด ส่งผ่านไปยัง “อนาคต” เพื่อความมั่นใจในการดำรงอยู่ของรัฐชาติ ประเพณีประดิษฐ์มีตัวอย่างเช่นชุดประจำชาติ (ที่ไม่เคยมีอยู่จริง) นาฏศิลป์ที่ถูกจัดระเบียบใหม่ (หรือกระทั่งสร้างขึ้นใหม่) โดยรัฐหรือชนชั้นนำ หรือเพลงไทย (เดิม) ที่ถูกยกขึ้นเป็นสมบัติของชาติไทยทั้งชาติ ทั้งๆ ที่เพลงไทยที่เรารู้จักกันทุกวันนี้เป็นเพียงการละเล่นของคนจำนวนน้อยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น หรือที่ชัดๆ กว่านั้นก็คือประเพณีรำวง ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามนี่เอง ผมเข้าใจว่าประเพณีประดิษฐ์ ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องวาทกรรมต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐหรือชนชั้นนำ เช่นที่คนไทยมักถูกทำให้เชื่อว่า ความเป็นคนไทยนั้นหมายถึงการเป็นคนรักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด (ซึ่งคงจะหมายถึงรบกันเอง ฆ่ากันเองมากกว่าจะไปรบไปฆ่ากับคนอื่น) หรืออย่างความเชื่อที่ว่าเกิดเป็นคนไทยต้องกินเผ็ด เป็นต้น ประเพณีประดิษฐ์มีทั้งคุณและโทษ ในส่วนของคุณนั้นก็คือการตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงของความเป็นสมัยใหม่ การสร้างความสามัคคีขึ้นในบางสถานการณ์ นอกจากนั้น ในบางกรณียังเป็นการนำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้ปรากฏบทบาทขึ้นมาในรัฐชาติด้วย เช่น ประเพณีการกินเจ ที่อาจแสดงภาพของชาวจีนซึ่งหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับคนไทยได้เป็นอย่างดี แต่ความเชื่อหรือประเพณีประดิษฐ์หลายๆ อย่าง ก็อาจนำผู้คนไปสู่ความคิดที่ล้าหลัง ไม่เป็นประชาธิปไตย และคลั่งชาติแบบขาดสติ ซึ่งผมออกจะสงสัยอยู่เหมือนกันว่า “การปฏิวัติรัฐประหาร” นั้นถือเป็นประเพณีหรือไม่ สำหรับบ้านนี้เมืองนี้ แต่ดูเหมือนโชคยังเข้าข้างเรา ที่ในปัจจุบันทหารดีๆ จำนวนมาก ดูเหมือนจะรู้เท่าทันความเป็นไปของโลก และมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อความ (สิ้น) คิดนี้อย่างค่อนข้างชัดเจน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |