เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีงานประกวดวงดนตรียามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ครั้งที่ 10 งานนี้เป็นการประกวดวงดนตรีจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ มีการแข่งขันย่อยในระดับภาคมาตั้งแต่เดือนกันยายน ภาพที่เห็นบนเวทีบอกได้ทันทีว่าวงดนตรีทุกวงทุ่มเทกับการแสดงมาก โดยเฉพาะในส่วนของเสื้อผ้า ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นเงินจำนวนมหาศาลทีเดียว ผมไม่แน่ใจว่าวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมเริ่มมีขึ้นเมื่อไร แต่เข้าใจว่าแรกเริ่มน่าจะเกิดจากการนำวงโยธวาทิต (ที่โรงเรียนใหญ่ๆ มักมีประจำโรงเรียนอยู่นานแล้ว) มาปรับใช้บรรเลงเพลงลูกทุ่งและออกเล่นในงานเทศกาลต่างๆ ในโรงเรียน ก่อนจะขยับขยายไปรับงานนอกโรงเรียนในโอกาสพิเศษอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน แต่ความนิยม (จนถึงขนาดคลั่งไคล้) วงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมาปรากฏชัดก็เมื่อมีรายการ ‘ชิงช้าสวรรค์’ ขึ้นในปี 2547 นับแต่นั้นมา โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศก็พากันทุ่มเทแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งกันอย่างเอาจริงเอาจัง เห็นได้จากการแสดงของวงดนตรีแต่ละวงที่มีความพร้อมมาก ซึ่งหมายความว่าทั้งนักดนตรี นักร้องจะต้องผ่านการซ้อมมาอย่างหนักหน่วง รวมถึงลีลาการแสดง การเต้นรำอย่างสวยงามพร้อมเพรียง ไปจนถึงเครื่องแต่งกาย ที่ดูแล้วแทบไม่ผิดจากวงดนตรีลูกทุ่งอาชีพเลยแม้แต่น้อย เท่าที่ผมทราบ การตั้งวงดนตรีลูกทุ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เฉพาะค่าเครื่องดนตรีทั้งวงก็ต้องใช้เงินจำนวนหลักล้านแล้ว นี่ยังไม่รวมค่าชุด ค่าใช้จ่ายในการซ้อม การแสดงแต่ละครั้ง ว่ากันว่าแค่งบประมาณในการเก็บตัวซ้อมเพื่อการแสดงหนึ่งครั้ง ก็ปาเข้าไปสองแสนสามแสนบาทแล้วเป็นอย่างต่ำ ยิ่งถ้าเป็นวงของโรงเรียนใหญ่ๆ งบในการเก็บตัวซ้อมแต่ละครั้งนี้อาจจะมากถึงหนึ่งล้านบาทด้วยซ้ำ เรามักเห็นแต่ภาพในด้านที่สวยหรูของวงดนตรีลูกทุ่ง ที่ปรากฏออกมาเป็นนักร้องดาวรุ่ง อย่าง ตุ้ม พิชิตชัย ศรีเครือ จากโรงเรียนจ่านกร้อง ผู้ซึ่งได้มีโอกาสเข้าสู่วงการเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงจริงๆ และอีกหลายๆ คนเช่น ปิ๊ก อรวรรณ นวมศิริ หรือ ดิว ธนิดา ไชยกิตติ ที่เริ่มสร้างชื่อเสียงในวงการดนตรีเช่นกัน แต่เรามักไม่เห็นภาพของนักดนตรีจำนวนมาก ที่ต้องคร่ำเคร่งฝึกซ้อมเป็นระยะเวลายาวนาน (มากกว่าที่นักร้องต้องซ้อมเสียอีก) ซึ่งแน่นอนว่าการซ้อมอย่างหนักนี้ย่อมเบียดบังเวลาเรียนวิชาปกติไปด้วย ถ้าเป็นโรงเรียนที่ดีก็อาจมีการจัดให้มีการเรียนการสอนชดเชยเป็นพิเศษแก่นักเรียนเหล่านี้ แต่เท่าที่ผมรู้ ดูเหมือนน้อยโรงเรียนที่จะทำอย่างนั้น นอกจากนั้น จากคำบอกเล่าของผู้เคยทำงานลักษณะนี้ การเรียนดนตรีของนักเรียนในวงลูกทุ่งเหล่านี้ยังเป็นไปอย่างเร่งรัด เพราะครูผู้ฝึกสอนต้องการให้เล่นเพลงโน้นเพลงนี้ได้อย่างรวดเร็ว จึงเน้นไปที่การซ้อมเพลงมากกว่าการซ้อมทักษะขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้นักดนตรีจำนวนหนึ่งในวงดนตรีเหล่านี้ขาดพื้นฐานการบรรเลงดนตรีที่ถูกต้อง ปัญหาการเรียนยังส่งผลกระทบต่อนักเรียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียนจบ ม. 6 อย่างทุลักทุเล เพราะเอาเวลามาทุ่มเทกับวงดนตรีมากเกินไป นักเรียนเหล่านี้จบไปอย่างไม่มีคุณภาพ แล้วยังส่งผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ครั้นจะยึดดนตรีเป็นอาชีพก็ทำไม่ได้ เพราะสิ่งที่ตนเรียนรู้นั้นไม่นับเป็นงานอาชีพ แต่เป็นการโชว์เฉพาะกิจ กระทั่งเครื่องดนตรีก็ยังไม่มีเป็นของตนเอง จึงมีคำถามว่าการทุ่มเทเวลาและงบประมาณให้กับวงดนตรีแบบนี้ในโรงเรียนมัธยมนั้นทำไปเพื่ออะไรหรือเพื่อใคร และส่งผลดีอย่างไรกับนักเรียนส่วนมาก ยิ่งในส่วนของงบประมาณ เคยมีคนเล่าให้ฟังว่าเปิดช่องให้มีการทุจริตคอรัปชั่นได้โดยง่าย รวมถึงการได้รับเปอร์เซ็นต์จากร้านขายเครื่องดนตรี หรือกระทั่งการกำหนดสเป็คเครื่องดนตรีไว้อย่างหลวมๆ เพื่อเอื้อให้เกิดการซื้อของคุณภาพต่ำมาใช้ในราคาแพง วงดนตรีโรงเรียนมัธยมเหล่านี้รับงานแสดงในโอกาสต่างๆ แน่นอนว่าเงินที่ได้จากการแสดงส่วนหนึ่ง นอกจากจะแจกจ่ายให้นักเรียนแล้ว คงต้องมีการเก็บเข้าเป็นทุนส่วนกลางของโรงเรียน ซึ่งในกรณีเช่นนั้น เราอาจพูดว่าโรงเรียนกำลังใช้นักเรียนประกอบธุรกิจดนตรีเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เข้าโรงเรียนได้หรือไม่ และการกระทำเช่นนั้นเหมาะสมและชอบธรรมแค่ไหน สำหรับความเป็นสถานศึกษา เรื่องของวงดนตรีลูกทุ่งในโรงเรียนมัธยมจึงไม่ใช่เรื่องที่สามารถดูจากผิวหน้าที่ฉาบเคลือบด้วยความงามความสำเร็จของนักร้องหนุ่มสาวไม่กี่คน แต่ยังต้องมองให้เห็นเบื้องหลังที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำและร่องรอยของความผิดปกติอีกมากมาย
ภาพจากรายการชิงช้าสวรรค์ (http://thanankorng.files.wordpress.com) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |