*/
<< | พฤษภาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
Entry นี้เป็นเรื่องที่ผมอยากจะบันทึกไว้สำหรับให้เพื่อนๆ โอเคและผู้ที่สนใจ ได้รู้จักคำต่างๆที่ใช้ในบท "พิธีสู่ขวัญควาย" ซึ่งผมได้ไปเก็บเรื่องราวนี้ ในระหว่างวันที่ผมได้ไปออกบูธที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ (1-3 พค.58) ซึ่งในเดือนพค.58 นี้เป็นเดือนที่จัดงาน และเน้นวิถีเกษตรและวัฒนธรรมพื้นบ้านเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (อ่านเรื่องที่ผมไปออกบูธเดือนพค.58 คลิกที่นี่)
พิธีสู่ขวัญควาย ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีอยู่ในงาน ซึ่งทางผู้จัดงานได้จัดให้ชมกัน 3 วันๆ ละ 1 รอบ ช่วงเวลาที่จัดจะประมาณ 11-12 น. ใช้เวลา ~1 ชม. แต่ก่อนอื่น ขอเชิญเพื่อนๆ มารู้จักพิธีสู่ขวัญควาย กันก่อนนะครับ ....
ถอดคำมาจากแผ่นป้ายที่จัดในงาน พิธีสู่ขวัญควาย หรือ ฮ้องขวัญควาย เป็นพิธีที่ทำกันเมื่อเสร็จจากการปลูกข้าวแล้ว เป็นการเตือนใจให้ระลึกถึงบุญคุณของควาย ที่ได้ให้แรงงานไถนา ให้คนสามารถปลูกข้าวได้ ซึ่งบางครั้งอาจมีการเฆี่ยนตี ดุด่า จึงต้องทำพิธีนี้เพื่อเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกิน เป็นการสอนให้คนรู้จักความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตากรุณา สำนึกในความผิดของตน ผู้ทำพิธีมักเป็นเจ้าของควายเอง หรือในกรณีที่ไม่สันทัดในการทำพิธีอาจให้ผู้อื่นทำแทนได้ การทำพิธีสู่ขวัญควาย จะประกอบพิธีบริเวณคอกควาย โดยจะต้องจัดเตรียมหญ้าอ่อนมากเพียงพอให้ควาย กินตลอดช่วงทำพิธีประมาณ 1-2 กวย(ตะกร้า) ดอก ไม้ ธูป เทียน 3 กรวย (ธูป 4 ดอก เทียน 4 แท่ง) ไก่ต้ม 2 ตัว เหล้าขาว 1 ขวด ข้าวเหนียว 1 ปั้น กล้วยลูก 1 ลูก หมาก 1 คำ พลู 1 ใบ ด้ายสายสิญจน์และน้ำส้มป่อย ผู้ประกอบพิธีจะนำเครื่องพิธีวางไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของคอกควาย แล้วใส่แอกเข้ากับควาย จากนั้นกล่าวคำเชิญขวัญ เมื่อกล่าวถึงท่อนที่ว่า "ปลดแอกแล้ว" ก็ให้ทำการปลดแอกออก แล้วนำกรวยดอกไม้ธูปเทียนมัดไว้ที่เขาควายข้างละ 1 กรวย อีกกรวยผูกไว้ที่ด้านหลังของหัวควาย หลังจากกล่าวคำเชิญขวัญจบลง ก็จะทำการป้อนข้าว ป้อนน้ำให้แก่ควาย พร้อมกับน้ำส้มป่อยมาประพรมควายเป็นการขอขมา การประกอบพิธีนี้อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างในแต่ละท้องถิ่น
ทางพิพิธภัณฑ์ ได้จัดควายมา 2 ตัว(แม่-ลูก) เพื่อใช้ใน"พิธีสู่ขวัญควาย"
ก่อนเริ่มพิธี ผมได้ขออนุญาติพ่อหมอทำขวัญ (มาจากจ.สกลนคร) บันทึกภาพอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ที่เห็นก็มีกรวยดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์ เหล้าขาว หญ้า น้ำและหญ้าที่ใช้ปะพรมควาย เงิน 32 บ. และอื่นๆ
และเมื่อในไปเทียบกับภาพแรกที่ให้ความรู้พิธีนี้ ก็จะพบว่า ของที่ใช้ในพิธีในวันนี้ จะมีบางสิ่งที่ไม่ได้นำมาใช้ เช่น ไก่ต้ม น้ำส้มป่อย กล้วย เป็นต้น
~ 11 โมงเช้า พ่อหมอทำขวัญ(เสื้อขาว) ก็เริ่มพิธี คำต่างๆ ที่ใช้ในพิธี ผมฟังไม่จะค่อยเข้าใจเลยครับ เพราะภาษาที่ใช้ก็จะเป็นภาษาอีสาน แถมมีการร้องแบบเอื้อนเข้าไปอีก เลยยากที่คนภาคกลางอย่างผม จะจับใจความได้สักเท่าไรนัก แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า เป็นการตอบแทนคุณควายที่ช่วยในการทำมาหากินในฤดูกาลที่ผ่านมา เมื่อฟังไม่ค่อยจะเข้าใจก็ขอเก็บภาพรอบๆ พิธีละกันครับ
ทางพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ก็มีการบันทึกภาพและเสียงในพิธีไว้ด้วย
พ่อหมอทำขวัญก็ร้องบททำขวัญไปเรื่อยๆ ส่วนผู้เข้าร่วมพิธีก็นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ กัน
คุณควาย แม่-ลูกทั้ง 2 ตัวก็ยืนฟังพ่อหมออย่างตั้งใจ ในพิธีจะมีการโยงสายสิญจน์มาที่คอกควายด้วย
การทำพิธีสู่ขวัญควายใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ก็เสร็จพิธี
และเมื่อเสร็จพิธีแล้ว ผมก็เลยเข้าไปคุยกับพ่อหมอทำขวัญควาย ว่าปัจจุบันยังทำกันอยู่หรือไม่? พ่อหมอบอกว่า "ปัจจุบันนี้ ชาวนาใช้ควายทำนาน้อยลงแล้ว เพราะใช้ควายเหล็กซะมากกว่า แต่ก็ยังมีบางบ้านยังให้ไปทำพิธีสู่ขวัญควายอยู่บ้าง" นอกจากนี้ ผมก็ถามพ่อหมอว่า ถ้าพ่อหมอไม่อยู่แล้วจะมีใครทำพิธีนี้ได้หรือไม่?? พ่อหมอบอกว่า "ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ก็พยายามให้น้องชาย(ก็ดูแก่เหมือนกัน :ผู้เขียน) ได้ฝึกทำอยู่ แต่ปัจจุบัน คนที่ทำพิธีก็มีน้อยลงทุกทีแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าพิธีนี้ ต่อไปจะยังมีอยู่อีกหรือไม่?"
เมื่อได้คุยกับพ่อหมอฯ แล้ว ผมก็เลยขออนุญาติบันทึกภาพบทที่ใช้ในพิธีสู่ขวัญควาย ซึ่งพ่อหมอ ได้บันทึกเอาไว้ในสมุดเล่มใหญ่ หน้าปกสีน้ำเงิน และอนุญาติให้ผมบันทึกภาพได้ วัตถุประสงค์การบันทึกบททำขวัญควายนี้ เพื่อจะได้ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษากัน เพราะไม่แน่เหมือนกันว่า พิธีนี้จะยังอยู่คู่กับสังคมชนบทไทยไปอีกนานแค่ไหนเหมือนกัน
ดังนั้น ขอเชิญเพื่อนๆ ไปอ่านบททำขวัญควายซึ่งมีอยู่ 2 หน้าครึ่ง กันได้เลยนะครับ ...
หน้าที่ 1 บททำขวัญขึ้นต้นด้วย "ศรีๆ สิทธิพระพรขอพรอะดิเรก ข้าพเจ้า ...." พออ่านถึงตรงนี้ เริ่มเสียวว่าทางบก.โอเคเนชั่น จะเซ็นเซอร์เรื่องนี้ให้ผ่านหรือไม่? แต่คำที่่ใช้เรียก"ควาย" ทางภาษาอีสาน เขาก็ใช้คำนี้กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายกันนานแล้ว
สรุปบทที่ใช้ในการทำขวัญ หน้าที่ 1 จะเป็นบทที่ให้เกียรติควาย โดยให้เทพยาดามาให้ศีลให้พรควาย ให้มีกำลังวังชาในการทำงาน มีพลังดั่งราชสีห์ ให้รู้จักบุญคุณของเจ้าของผู้เลี้ยง <ขออภัยคำบางคำอ่านออก แต่ก็ไม่รู้ความหมายก็มีครับ>
หน้าที่ 2 สรุปหน้า 2 ได้กล่าวถึงการที่ให้ควายทำงานอย่างขยันขันแข็ง ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ และเรียกขวัญต่างๆ มาที่ควาย <หลายๆ คำในหน้า 2 อ่านแล้วก็ไม่รู้ความหมายเต็มไปหมดเลย>
หน้าที่ 3 บททำขวัญควายหน้าสุดท้าย (~ครึ่งหน้า) ก็เป็นการเรียกขวัญต่างๆ มาที่ควาย
************************************************ วันนี้ ผมได้แนะนำเพื่อนๆ ได้รู้จัก"พิธีสู่ขวัญควาย" ซึ่งเป็นพิธีที่ทำกันเมื่อเสร็จจากการปลูกข้าว เป็นการเตือนใจให้ระลึกถึงบุญคุณของควาย ที่ได้ให้แรงงานในการไถนา ให้คนสามารถปลูกข้าวได้ ซึ่งบางครั้งอาจมีการเฆี่ยนตี ดุด่า จึงต้องทำพิธีนี้เพื่อเป็นการขอขมาที่ได้ล่วงเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นการสอนให้คนรู้จักความกตัญญูรู้คุณ มีเมตตากรุณา สำนึกในความผิดของตนอีกด้วย
ถึงแม้บทที่ใช้ทำขวัญอาจจะอ่านยาก(และเสียว)ไปหน่อย แต่ผมก็อยากให้เพื่อนๆ ได้รู้จักพิธีนี้กัน ถึงแม้ปัจจุบันชาวนาส่วนมากจะมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่ควายแล้วก็ตาม ซึ่งพิธีที่ดีๆ แบบนี้ ควรที่จะได้มีการอนุรักษ์ไว้ จนถึงชั่วลูกชั่วหลานกันต่อไป
เพื่อนๆ คิดว่า"พิธีสู่ขวัญควาย" จะยังคงอยู่คู่สังคมชนบทไทยกันต่อไปอีกหรือไม่ครับ ?? -333- |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |