*/
<< | กุมภาพันธ์ 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 |
สารคดีประวัติศาสตร์ ‘ในหลวง’ขณะทรงศึกษาทหารดันทรูน กระชับความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย 69 ปี
![]() ยังความปลื้มปีติแก่พสกนิกรชาวไทย พลันได้เห็นบันทึกทางประวัติศาสตร์สำคัญ ไม่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อน กับวีดิทัศน์และพระบรมฉายาลักษณ์ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ครั้งทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย ณ วิทยาลัยการทหารดันทรูน ได้จัดทำเป็นสารคดีและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เผยแพร่เป็นของขวัญให้คนไทย จัดทำโดย สถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ในโอกาสเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 69 ปี
![]() การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทอดพระเนตรวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
![]() ภายหลังเสด็จฯ ฯพณฯ นายอัลลัน แมคคินนอน เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย เปิดใจถึงการจัดทำสารคดีและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ว่า เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ.2561 สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้ค้นพบวีดิทัศน์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงประทับและทรงศึกษาที่ออสเตรเลีย
![]() "เรามองว่าสามารถพัฒนาเป็นสารคดีได้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ และเพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์และประวัติศาสตร์ที่พระราชวงศ์ไทยทรงมีร่วมกับออสเตรเลีย จึงไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมกับ “หอจดหมายเหตุแห่งชาติออสเตรเลีย” ได้เจอวีดิทัศน์และพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนเครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม-12 กันยายน พ.ศ. 2505 พร้อมวีดิทัศน์และพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงศึกษาระดับเตรียมทหาร ณ คิงส์สกูล เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ และวิทยาลัยการทหารชั้นสูง ที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ระหว่างปี พ.ศ.2513-2519"
![]() ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ เพราะชุดวีดิทัศน์เหล่านี้ไม่เคยเผยแพร่ต่อสาธารณะมาก่อน ทั้งในประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย ที่สำคัญเป็นวีดิทัศน์ที่ภาพคมชัดและให้เสียงชัดเจน ทำให้ผู้ที่ได้รับชม ต่างรู้สึกคิดถึงและปลื้มปีติเป็นล้นพ้น
![]() อย่างวีดิทัศน์ที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นพระราชอาคันตุกะพระองค์แรกเสด็จฯ เยือนออสเตรเลีย และมีพระราชดำรัสในงานเลี้ยงต้อนรับ ท่ามกลางผู้สำเร็จราชการฯ ออสเตรเลีย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของออสเตรเลียที่มาร่วมงาน
![]() ความตอนหนึ่งว่า “ในอดีต ท่านเรียกประเทศไทยหรือสยาม ว่าเป็นประเทศในตะวันออกไกล แต่ประเทศของเราไม่ใช่ประเทศตะวันออกไกล แต่อยู่ใกล้กันทางเหนือ” ซึ่งได้รับเสียงปรบมือจากผู้ร่วมงานเป็นจำนวนมาก
![]() ครั้งนั้น ในหลวง รัชกาลที่ 9 และพระราชินี เสด็จฯเยือนออสเตรเลียเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ ทั้ง 2 พระองค์ เสด็จฯ ไปทุกรัฐของออสเตรเลีย ซึ่งท่านเอกอัครราชทูตเชื่อว่าน่าจะเป็นเหตุให้ในหลวง รัชกาลที่ 10 ทรงเลือกศึกษาต่อที่ออสเตรเลีย ในเวลาต่อมา
![]() วีดิทัศน์ยังบอกเล่าพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเข้ารับการฝึกฐานต่างๆ ด้านการทหาร เช่น ทรงปีนกำแพงตาข่ายเชือก ทรงปีนกำแพงสูง ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงของพระวรกาย พระราชหฤทัยที่ตั้งมั่นอดทน และความสามัคคีของทีม ซึ่งได้รับการชื่นชมจากพระสหายร่วมชั้นเรียน เช่น ฯพณฯ พลเอก เดวิด เฮอร์ลีย์ ผู้สำเร็จราชการฯ ออสเตรเลีย คนปัจจุบัน, ฯพณฯ พลเอก เซอร์ ปีเตอร์ คอสโกรฟ อดีตผู้สำเร็จราชการฯ ออสเตรเลีย ถูกเชิญมาเปิดมุมมองในสารคดีนี้ด้วย
![]() พระสหายหลายคนต่างตื่นเต้นที่มี “มกุฎราชกุมาร” ต่างประเทศมาร่วมเรียนด้วย แต่ก็ได้รับการปฏิบัติต่อพระองค์ เสมือนเพื่อนนักเรียนทหารทั่วไป
พระสหายหลายคนยังกล่าวชื่นชม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“พระองค์ทรงงานหนักมากมาย และทรงได้รับการยอมรับของพระสหายร่วมชั้น พระองค์ทรงทำได้ดียิ่ง” พลเอก เซอร์ ปีเตอร์ คอสโกรฟ อดีตผู้สำเร็จราชการฯ ออสเตรเลีย กล่าวในสารคดี
![]() “ทรงประทับที่วิทยาลัยช่วงกลางวัน และเสด็จฯไปสถานทูตไทยประจำออสเตรเลีย ช่วงกลางคืน เพื่อทรงร่วมงานเลี้ยง หรือกิจกรรมต่างๆ ที่แตกต่างกันอย่างมาก พระองค์ทรงเป็นนักเรียนนายร้อย แต่เมื่อทรงก้าวย่างออกจากดันทรูนไปสู่ชุมชนชาวไทย ก็ทรงมีสายสัมพันธ์ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ส่วนพระสหายไม่ต้องทำเช่นนั้น ไม่ต้องปรับเปลี่ยนดั่งเช่นพระองค์ คิดว่าสิ่งนั้นคือความท้าทายอันยิ่งใหญ่” พลเอก เดวิด เฮอร์ลีย์ ผู้สำเร็จราชการแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย คนปัจจุบัน กล่าวในสารคดี
![]() “สิ่งที่ประทับใจผมมากคือ ทรงสนพระราชหฤทัยด้านศิลปะ โดยเฉพาะดนตรี สมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ทรงเป็นนักดนตรีที่ยอดเยี่ยม พวกเราจะนั่งฟังพระองค์ทรงดนตรี นั่นเป็นสิ่งที่เราทั้ง 2 ฝ่ายรักและไม่เคยลืม ผมมักจะบอกกับเพื่อนๆ ว่า พระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง และจะทรงมีความมั่นใจตามแบบกองทัพ เพราะทรงได้รับการฝึกฝนจากดันทรูน” สาธุคุณอาร์เธอร์ บริดจ์ บาทหลวงและอดีตพระสหายร่วมชั้นเรียน กล่าวในสารคดี
![]() เป็นเวลา 4 ปีแสนทรหด ในวิทยาลัยนายร้อยทหารบกที่มีชื่อเสียง ได้สร้างนักเรียนนายร้อยที่แข็งแกร่ง ในวันสำเร็จการศึกษา ท่ามกลางพ่อแม่พี่น้องและญาตินักเรียนนายร้อย ที่มาร่วมแสดงความยินดี
![]() ครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯไปทรงแสดงความยินดีด้วย ท่ามกลางการเดินสวนสนาม ตั้งแถวที่แข็งแกร่งด้วยระเบียบวินัย สง่างาม ก่อนทรงเป็นทหารประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ ในนครเพิร์ธ ซึ่งนับเป็นกองปฏิบัติการทางการทหารชั้นนำของออสเตรเลีย
![]() เป็นสารคดีเฉลิมพระเกียรติที่สถานทูตตั้งใจทำถึง 2 ปี มีความยาว 19.30 นาที ตั้งใจอยากมอบเป็นของของขวัญแก่คนไทย
![]() นายอัลลันกล่าวอีกว่า ตอนแรกสารคดีทำเป็นภาคภาษาไทย แต่ภายหลังทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตร ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า พระสหายพูดเป็นภาษาอังกฤษ อาจด้วยทรงอยากฟังเสียงของพระสหาย และบรรยากาศที่ทรงประสบด้วยพระองค์เอง เราจึงทำสารคดีเป็นภาคภาษาอังกฤษเพิ่มเติม และนำมาฉายในงานพิธีที่พระองค์ และพระราชินี เสด็จฯ ทอดพระเนตร
![]() “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระทัยมากกับสารคดีดังกล่าว ทรงมีพระราชดำรัสกับผมว่า ได้ทอดพระเนตรสารคดีนี้หลายครั้ง” นายอัลลันกล่าวด้วยน้ำเสียงประทับใจ
![]() เอกอัครราชทูตยังเล่ารำลึกวันที่ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายพระราชสาส์นตราตั้ง มีรับสั่งว่า “รักออสเตรเลีย” ซึ่งท่านทูตเชื่อว่านี่เป็นเหตุให้พระองค์ และพระราชินี เสด็จฯมาพิธีดังกล่าว
![]() “ภายหลังพิธี มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทยหลายคนเดินมาขอบคุณกับผมว่า สารคดีนี้ทำให้เขาได้ทราบประวัติศาสตร์ลึกซึ้งขึ้น จากที่ทราบเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ก็เชื่อว่านี่จะเป็นคะแนนทางการทูตให้สถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทยต่อไป เสริมสร้างความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และจะนำสารคดีและพระบรมฉายาลักษณ์นี้ มาจัดแสดงอย่างเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียครบรอบ 70 ปี ในปี 2565 ต่อไป” นายอัลลันกล่าวทิ้งท้าย
----------------
ที่มา: มติชน
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |