วัดมิ่งเมือง เชียงราย (ตอนที่ 1) ประวัติความเป็นมาที่ยังสับสน ตั้งใจจะเขียนถึงวัดมิ่งเมือง มาหลายเพลา แต่ด้วยยังหาหลักฐานได้ไม่เพียงพอ จึงได้แต่จดๆจ้องๆ มีโอกาสได้ตามลุงปิงไปสนทนากับหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง ก็ได้รับความรู้ที่เกี่ยวกับวัดมาพอสมควร ทั้งได้รับทราบว่าได้นำประวัติของวัดเขียนไว้ใน วิกิพีเดีย แล้ว http://th.wikipedia.org/wiki จึงขออนุญาตคัดลอกมาลงไว้ก่อน พอสังเขป แล้วค่อยสนทนาในรายละเอียดต่อไปนะครับ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เขียนไว้ว่า "วัดมิ่งเมือง หรือวัดช้างมูบ เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษรพม่าว่า วัดตะละแม่ศรี ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัดมีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรี ทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็งกษัตริย์พม่าเจ้าเมืองพะโค (หงสาวดี) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งรายมหาราชเมื่อทรงชนะสงครามจากพม่า และวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย-พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่งเป็นวีรสตรีของชาวไทยลื้อที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกสู้รบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง ทรงเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานของวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่วัดมิ่งเมืองปีละสองครั้งคือในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวีอุษาปายะโค นอกจากนี้วัดมิ่งเมือง ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดช้างมูบ (วัดช้างหมอบ) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเชียงรายทั่วไปเรียกและทางวัดมิ่งเมืองก็ใช้รูปช้างมูบเป็นสัญลักษณ์ของวัดมิ่งเมือง เป็นวัดที่ได้รับการบันทึกให้เป็นวัดเก่าแก่สำคัญทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่งของเมืองเชียงราย ในครั้งที่ที่พระเจ้าสามฝั่งแกนอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปเชียงใหม่โดยอัญเชิญพระแก้วมรกตตั้งขบวนจากวัดพระแก้ว เชียงราย มาประดิษฐานบนหลังช้างทรงซึ่งหมอบรออยู่หน้าวัดมิ่งเมืองแล้วเคลื่อนขบวนออกจากประตูเมืองที่ติดกับวัดไปเมืองเชียงใหม่จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่าวัดช้างมูบตั้งแต่นั้นมา เมื่อเข้าสู่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ ได้ทำการต่อสู้กับพม่า เรียกว่า ฟื้นม่าน โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) ให้ขจัดอิทธิพลของพม่าออกไปจากล้านนา ซึ่งขณะนั้นพม่าได้ใช้เมืองเชียงแสนเป็นฐานที่มั่นในการรบ ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระยากาวิละได้ยกทัพได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสนได้ หลังจากที่เคยโจมตีมาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เมื่อสามารถยึดเมืองเชียงแสนได้จึงเผ่าทำลายเมืองขับไล่กองทัพพม่าออกจากเมืองเพื่อมิให้พม่าใช้เป็นฐานกำลังได้อีกต่อไปและพระยากาวิละก็ได้กวาดต้อนผู้คนครัวเรือนจากเมืองเชียงแสน และหัวเมืองรายทาง เพื่อมิให้กลับไปเป็นกำลังไพร่พล แรงงานทั้งทางการทหารเป็นเมืองร้าง อันรวมถึงเมืองเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๓๔๗ ไทยสู้รบกับพม่าทำให้เมืองในอาณาจักรล้านนา รกร้าง ผู้คนระส่ำระสาย แม้แต่เมืองเชียงใหม่เองก็ถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างถึง ๒๐ ปี ส่วนเมืองเชียงรายเองก็เป็นเมืองร้างนานเกือบ ๔๐ ปี ภายหลังจากความยุ่งยากของสงครามเมื่อเมืองสำคัญในล้านนา เช่น เมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ มีความมั่นคงดีแล้ว เจ้านายเชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนนำโดย พระยากาวิละ (ที่กลายเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่) ซึ่งสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงโดยการดำเนินนโยบาย เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง (ซ้า แปลว่า กระเช้า)กวาดต้อนประชาชนและครัวเรือนมายังเมืองเชียงใหม่ ก็เริ่มขยายอาณาเขตและฟื้นฟูเมืองต่างๆ ที่รกร้างว่างเปล่าโดยให้บุตรหลานไปเจ้าเมืองปกครอง เมืองเชียงรายได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง ในสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา ซึ่งเป็นเจ้าเมืององค์แรกมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ มีการบูรณะบ้านเมืองที่รกร้างและซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดตลอดจนกำแพงเมือง ต่อมาเมื่อมีการขยายเมืองออกไปนับ จึงมีการก่อสร้างต่อมาทางด้านทิศใต้ จนกระทั่งด้านทิศตะวันตกคือประตูเชียงใหม่สำเร็จลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมเวลาที่ก่อสร้างนานถึง ๑๗ ปี มีการสมโภชเมืองและเสาหลักเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ กำแพงเมืองและประตูเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยนี้ เป็นบริเวณอนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก ครั้งที่พญาเม็งรายสร้างเมืองพุทธศักราช ๑๘๐๕ ไม่ปรากฏมีบันทึกบอกไว้ว่าประตูเมืองมีกี่ประตูและชื่อประตูอะไรบ้าง ในสมัยต่อมาคงมีการสร้างกำแพงเมืองพร้อมประตูขึ้นอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่ปรากฏว่าเมืองเชียงรายมีกี่ประตู จนถึง พ.ศ. ๒๔๐๐ หลังจากเจ้าหลวงธรรมลังกาเริ่มบูรณะชื่อของประตูมีปรากฏหลายประตูจนสร้างแล้วเสร็จในสมัยเจ้าหลวงอุ่นเรือน พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงทราบว่าช่วงนี้ประตูเมืองเชียงรายมี ๑๒ ประตู คือประตูสรี ประตูนางอิง ประตูเชียงใหม่ ประตูยางเสิ้ง ประตูท่านาค ประตูเจ้าชาย ประตูท่าทราย ประตูหวาย ประตูท่อ ประตูป่าแดง ประตูล่อ หรือประตูขะต๊ำ และประตูผีหรือประตูฮ่อม ซึ่งการทำประตูในสมัยโบราณนั้นน่าจะทำตามหลักทักษา คือก่อนที่จะกำหนดความกว้างยาวของเมืองต้องแทรกวัดระยะว่าประตูจะอยู่ตรงไหน เพื่อให้ถูกต้องตามหลักทักษา อันได้แก่ บริวาร อายุ เดช ศรี มูลละ อุตสาหะ มนตรีและกาลกิณี ช่องไหนที่ตรงกาลกิณี ก็มักจะทำเป็นประตูสำหรับเอาศพออกจากเมืองไปสุสาน เชื่อกันว่าถ้าสร้างประตูถูกต้องตามหลักความเชื่อ จะทำให้บ้านเมืองมั่นคงถาวรเป็นที่หวั่นเกรงของศัตรู วัดมิ่งเมืองนี้เป็นวัดที่ตั้งอยู่ตรงประตูเมืองที่เรียกกันว่าประตูป่าแดงซึ่งตรงกับหลักทักษา คือ อุตสาหะ ในประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม ๘ กล่าวว่า วัดมิ่งเมืองสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ซึ่งอาจเป็นได้ว่า วัดมิ่งเมืองได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในปีนี้โดยกลุ่มชาวไทใหญ่ที่ถูกกวาดต้อนมาจากนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เพราะจะพบว่าก่อนที่จะซ่อมแซมวัดมาเป็นรูปแบบอย่างเช่นรูปทรงดั้งเดิมของสิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นรูปทรงไทใหญ่ทั้งหมด พบภาพวาดศิลปะพม่า ภาพวาดอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์และพระพุทธรูปไม้แกะสลักอีกหลายองค์ ที่เป็นศิลปะพม่าในช่วงแรกที่สร้างวัด นอกจากนั้น พิธีกรรมของวัดบางอย่างในปัจจุบันก็ยังมีลักษณะแบบชาวไทใหญ่หลงเหลืออยู่ วัดมิ่งเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓" พระพุทธศรีมิ่งเมือง พระประธานในอุโบสถ เพลงเอื้องฟ้าเวียงเจียงฮาย คำร้อง/ทำนอง ทิพย์ธัญญา ขับร้องโดย โจณัฐ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เพลงสี่แยกหอนาฬิกา | ||
![]() |
||
เพลงสี่แยกหอนาฬิกา คำร้อง/ทำนอง โดยวง คิง & ฮา โฟล์คซองเชียงแสน ขับร้องโดย โจณัฐ |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |