 (ภาพจาก www.chula.ac.th)
ก่อนหน้านี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกหมุนเวียนใช้อยู่ในระบบอย่างพอเหมาะ กระทั่งเมื่อป่าไม้ ซึ่งเป็นผู้บริโภคก๊าซเหล่านี้ลดจำนวนลง ซ้ำด้วยกระบวนการผลิตและการบริโภคที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ที่เพิ่มเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศอยู่ทุกขณะ ทำให้วันนี้เราต้องประสบภาวะใกล้วิกฤติ................... คิดว่าทุกท่านคงได้เห็นสารพัดวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนกันมาบ้างแล้ว ซึ่งปีที่ผ่านมา (2550) มีการสำรวจพบว่า................... "ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่คนไทยให้ความสนใจเป็นอันดับ 1 คือ วิกฤติการโลกร้อน" นั่นหมายความว่า คนไทยให้ความสนใจและติดตามสถานการณ์ พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มากพอสมควรเลยทีเดียว  (ช่วยกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกค่ะ ; www.greenzonethailand.com)
โดยวิธีการชะลอภาวะโลกร้อน และปรับตัวอยู่ร่วมกับสถานการณ์เลวร้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนกำลังร่วมมือร่วมใจกันทำอยู่ในขณะนี้ ที่เห็นได้ชัดคือ การประหยัดพลังงาน และการใช้ถุงผ้า ((รณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก)) ในด้านของการประหยัดพลังงานนั้น นับว่าเป็นโอกาสเหมาะกับที่น้ำมันแพง ส่งผลให้เราทุกคนลดการใช้พลังงานเกินความจำเป็น ที่ไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังลดการเผาไหม้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย ทว่า.....................ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น... เอนทรีนี้จึงขอเสนอ "วิศวกรรมแห่งอนาคต...วิธีแก้ไขภาวะโลกร้อนอย่างเร่งด่วน" มีอะไรบ้าง...มาดูเลยค่ะ  (เอ่อ คงไม่ใช่ร่มแบบนี้ ; www.subtletea.com)
@ ร่มอวกาศ @ โรเจอร์ แองเจล ผู้อำนวยการศูนย์เลนส์ปรับค่าทางดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยแอริโซนา เสนอแนวคิดว่า "หากดวงอาทิตย์เจิดจ้าเกินไปก็กางร่มสิ" เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น แองเจลเสนอให้ใช้แผ่นฟิล์มโปร่งใส 16 ล้านล้านชิ้น โดยแต่ละชิ้นหนา 0.005 มิลลิเมตร กว้าง 0.61 เมตร และมีมวลประมาณหนึ่งกรัม นำทั้งหมดนี้มาประกอบกันเป็นร่มกรองแสงอาทิตย์ให้ส่องลงมาในปริมาณที่พอดี หากนึกภาพไม่ออก ให้คุณลองจินตนาการถึงพิซซาชิ้นเล็กๆ จำนวนมหาศาล แผ่ตัวเป็นร่มทรงกระบอกยาว 90,000 กิโลเมตร และอยู่สูงจากพื้นโลกขึ้นไป 1.5 ล้านกิโลเมตร กางกั้นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำหน้าที่กรองแสงอาทิตย์เพื่อลดอุณหภูมิของโลก แต่...............ปัญหาใหญ่ก็คือ เราจะหาเงินห้าล้านล้านเหรียญที่ไหนมาสร้าง???
 (ก็คง...ไม่ใช่ผ้าห่มแบบนี้ด้วย อิอิ ; http://mng.uru.ac.th)
@ ผ้าห่มกันร้อน @ พอล เจ. ครูตเซน นักวิทยาศาสตร์แผนกเคมีบรรยากาศ สถาบันแมกซ์พลังก์ เยอรมนี ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมีประจำปี 2538 ด้วยผลงานการศึกษาชั้นโอโซน ได้เสนอวิธีแก้ไขในเชิงภูมิวิศวกรรมที่แหวกแนวเป็นมาตรการฉุกเฉิน ในการชะลอภาวะโลกร้อน ด้วยการ ยิงกระสุนปืนใหญ่ บรรจุผงกำมันถันละเอียดขึ้นไปบนชั้นสตราโตสเฟียร์ ซึ่งเมื่อกระสุนระเบิดออก จะทำให้เกิดฝุ่นคลุมไปรอบโลกเหมือนผ้าห่ม (อาจใช้บอลลูนพิเศษหรือจรวดส่งกำมันถันขึ้นไปก็ได้) ทฤษฎีมีอยู่ว่า ผ้าห่มฝุ่นดังกล่าวจะสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์กลับออกในอวกาศ ทำให้โลกเย็นลง........................................... หลักการของทฤษฎีนี้ได้มาจากการที่อุณหภูมิของโลกลดลง หลังการระเบิดของภูเขาไฟพ่นฝุ่นเถ้าขึ้นไปสู้ชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม ครูตเซนได้ชี้ให้เห็นด้วยว่า วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ภาวะโลกร้อน คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล
 (เมฆอ้วนๆ นี่แหละ คือ เมฆสตราโตคิวมูลัส ; http://upload.wikimedia.org)
@ เพิ่มขนาดก้อนเมฆ @ จอห์น ลาแทม นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ โคโลราโด เสนอวิธีที่ดูเหมือนจะเป็นไปได้และอาจใช้ในทางปฏิบัติได้มากกว่า นั่นคือ การพ่นละอองน้ำทะเลขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ เพื่อเพิ่มปริมาณเมฆสตราโตคิวมูลัส ให้สะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปในอวกาศ ลาแทมให้เหตุผลว่า การเพิ่มขนาดเมฆเพียงร้อยละสอง อาจมากเพียงพอที่จะสู้กับผลกระทบของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่ทำให้โลกร้อนขึ้น แต่จะทำให้กองเรือทั่วโลกจะเดินทางไปในมหาสมุทร พร้อมกับพ่นละอองน้ำขึ้นไปในอากาศเหมือนขวดยาพ่นจมูกขนาดยักษ์ได้อย่างไร???
 (คงจะคล้ายๆ กับเครื่องฟอกอากาศแบบนี้ละมั้ง ; www.topcoolair.com)
@ ดูดซับให้สะอาด @ อันที่จริงการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมา ลูกเรือดำน้ำกับนักประดาน้ำต่างก็ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องฟอกอากาศ มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว..................เช่นเดียวกัน การใช้หลักการเดียวกันนี้ อาจดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับล้านตันออกจากชั้นบรรยากาศได้ เดวิด คีท คณะกรรมการวิจัยแคนาดา จากคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยคัลแกรี ได้ทดลองสร้างเครื่องดูดซับก๊าซต้นแบบที่ดูดอากาศเข้าไปผ่านโซเดียมไฮดรอกไซด์ คีทบอกว่า เนื่องจากอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้น การใช้อุปกรณ์นี้ดูดซับก๊าซที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าก็ดูจะแพงเกินไป อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์นี้เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งเล็กๆ เช่น เครื่องบิน หรือรถยนต์ ดูเหมือนจะคุ้มค่ามากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น คีทก็เชื่อว่า ทางที่ดีเราควรพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างแรก
 (สาหร่ายสดๆ ; www.fisheries.go.th)
@ ให้วิตามิน @ รู้กันมานานแล้วว่า สาหร่ายทะเลขนาดจิ๋วในมหาสมุทรทั่วโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลจากอากาศในช่วงสังเคราะห์แสงได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่มากมายในมหาสมุทรที่มีสาหร่ายเจริญอยู่น้อย เพราะขาดธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ดังนั้น ในช่วงทศวรรษ 1990 จอห์น มาร์ทิน นักสมุทรศาสตร์ผู้ล่วงลับ แห่งศูนย์ปฏิบัติการทางทะเลมอสแลนดิงในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอให้เพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น ด้วยการเติมธาตุเหล็กลงไปในทะเลบริเวณที่ขาดแคลน ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้มีการทดลองดังกล่าวอยู่หลายครั้ง และเทคนิคนี้ได้รับการขนานนามว่า ยาน้ำเจอริทอล (ตามชื่ออาหารเสริมธาตุเหล็กยอดนิยม) อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่วิตกกังวลว่า หากนำวิธีนี้ไปใช้กันอย่างกว้างขวาง อาจส่งผลให้มหาสมุทรเสียสมดุลก็เป็นได้
เป็นอย่างไรคะ 5 วิธีจากมันสมองนักวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนจะได้ผล แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ง่ายและถูกที่ถูกทางนัก สิ่งสำคัญทุกวันนี้ คือ เราทุกคนต้องไม่เห็นแก่ตัว แม้ว่าเราจะเป็นแค่คนๆ หนึ่งในโลกสีน้ำเงินใบนี้ แต่สิ่งละอันพันละน้อยที่เราพอจะช่วยเหลือกันได้ ย่อมมีประโยชน์แน่นอนค่ะ ดังนั้น ขอฝากทุกท่านว่า ให้พยายามปรับตัวอยู่ร่วมกับภาวะโลกร้อน ลดการบริโภคที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงาน ขอบคุณจากใจค่ะ ^^
ป.ล. เรื่องยาวโคตรๆ อีกแล้ว และจะหายหัวไปทำธุระที่ต่างจังหวัดอีก 2 วันค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่มาเม้นไว้ล่วงหน้านะคะ  (น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ; www.tpa.or.th)
Ref : Reader's Digest, mar 08.
|