*/
<< | มิถุนายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |
![]() หาดใหญ่ใกล้หน้าฝน... ไม่น่าเชื่อนะครับว่าทุึกวันนี้น้ำท่วมแผ่นดิน น้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินไหว...กลายเป็นข่าวสารปกติที่เราจะได้ยินได้ฟังจากสื่อมวลชนแทบทุกแขนง หลายคนเชื่อว่าเกิดจากความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือภาวะโลกร้อน และเกิดได้ไม่เลือกที่เสียด้วย ส่งผลต่อตัวเราอย่างไม่คาดคิด โลกหดเล็กลงจริงๆ ทุกอย่างเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ จากความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน เราจะพบสาเหตุเช่น ไฟป่า การใช้น้ำมันจากภาคอุตสาหกรรม การใช้พลังงานของบ้านเรือน แสงอาทิตย์ส่องมายังโลก พื้นผิวดินร้อนขึ้นสะท้อนรังสีอินฟราเรดกลับไป การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเช่น พายุ สึนามิ แผ่นดินไหว ดินถล่ม ความแห้งแล้ง โรคอุบัติใหม่(ซาร์ส ไข้หวัดนก อีโบล่า เอดส์ มาลาเรียสายพันธุ์ใหม่) โรคอุบัติซ้ำ(กาฬโรค) ว่ากันว่า โลกเราอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1-2 องศา ฤดูร้อนยาวนานมากขึ้น แต่ไม่แล้ง และหากเราพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำทะเล พายุ และอุณหภูมิ เมื่อวิเคราะห์กับพื้นที่ ยกตัวอย่าง อำเภอหาดใหญ่เป็นแอ่งกระทะ หากเราใช้เครื่องมือที่จะนำมาประยุกต์ใช้ คือ GIS นำข้อมูลต่างๆมาซ้อนทับกันแล้วแปรผล พร้อมกับมีการประเมินความเสี่ยง ประเมินกลุ่มผู้เปราะบาง ข้อค้นพบที่น่าสนใจก็คือ
ปริมาณน้ำฝน โดยเฉลี่ยจะสูงมากขึ้น น้ำทะเลเริ่มกัดเซาะ มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เกิดปัญหาน้ำท่วม ขยะ และภัยพิบัติจากน้ำท่วม · หาดใหญ่น้ำไหลจากทางทิศตะวันตก หากน้ำในอ่าวไทยสูงขึ้น มีโอกาสที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนในอีก 30 ปีข้างหน้า ฝนตกหนักขึ้น มีการผันผวนของการตกมากขึ้น หาดใหญ่มีความเสี่ยงด้านน้ำท่วมแน่ๆ · การเกิดดินถล่ม ดูจากความลาดชัน ลักษณะของดิน เมือ่งหาดใหญ่ยังปลอดภัยแต่จะได้รับผลกระทบจากน้ำที่ไหลชะหน้าดินเข้าเมือง · การเกิดหลุมยุบ
โดยเฉพาะในส่วนที่มีหินปูน แต่หาดใหญ่ค่อนข้างปลอดภัย · การจัดระบบการขนส่ง สัญจร ความช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางได้อย่างไร · หาดใหญ่เป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ยุง · อาคารที่อยู่ในที่ต่ำจะจมน้ำ · ภัยแล้ง
แนวโน้มอากาศร้อนมากขึ้น ดร.ปาริชาติ
วิสุทธิสมาจาร นำคณะศึกษาเสนอพื้นที่เสี่ยงและกลุ่มเปราะบางในอำเภอหาดใหญ่ โดยสรุปคือ อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำฝนมากขึ้น โดยศึกษาผลกระทบจากสภาพอากาศ
3 ด้าน ได้แก่ จากน้ำท่วม จากการท่องเที่ยว
และความมั่นคงด้านอาหาร โดยมีพื้นที่เสี่ยงที่สุด คือ ต.คลองแห ต.คูเต่า ต.ควนลัง
ต.พะตง รองลงมา คือ ต.คลองอู่ตะเภา
ต.คอหงส์ · กลุ่มเปราะบางในพื้นที่เสี่ยง คือ ผู้สูงอายุและเด็ก ที่อาศัยในบ้าน · ปัญหาอื่นๆคือ
การรุกล้ำของน้ำเค็ม น้ำหน้าแล้งไม่พอ มลพิษทางน้ำ ระบบพลังงาน และสุขภาพ · การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำหากมีน้ำน้อย
หรือน้ำท่วม · ความมั่นคงทางด้านอาหาร
แรงงานภาคเกษตรกระจายอยู่รอบนอก อาหารในท้องถิ่นมีน้อย · ความเปราะบางของชุมชน คือ ความตระหนักอันเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ทางเลือก ด้านเทคนิคที่จะปรับตัวรับการพัฒนา เรื่องทรัพยากร และการจัดการ ผอ.ดิเรกฤทธิ์
ทวะกาญจน์ จากเทศบาลนครหาดใหญ่ นำเสนอข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของการทำงาน ว่าปริมาณน้ำหากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เฉลี่ย 2400 มม. แม้เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ประมาณ 4-500 มม. แต่จำนวนวันในการตกน้อยลง (สรุปคือปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น
น้ำไหลเร็วขึ้น) · ค่าระดับน้ำท่วม
จะมีมากกว่าน้ำท่วม ปี 43 แน่นอน · สรุปสาเหตุน้ำท่วม มาจากฝนในพื้นที่ตกหนัก มีปริมาณฝนตกหนักมากกว่าปกติ หรือมีการตกแช่อยู่เป็นเวลานาน · จากการนำเสนอการประเมินความเสี่ยงทางด้านกายภาพ ข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง นำมาสังเคราะห์ร่วมกันมีข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาของนักวิชาการจาก ม.เกษตร โดยใช้มาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้าง และไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง · โดยแบ่งพื้นที่ 3 ส่วน คือ ส่วนถนนหลวง 43 (อ.สะเดา) ให้มีการก่อสร้างพื้นที่ปิดล้อม
ปรับปรุงพื้นที่เป็นแก้มลิงธรรมชาติ สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม · โซนระหว่างทางหลวง 43,44 (ละแวกอ.นาหม่อม) ทำคันกันน้ำปิดล้อมพื้นที่ สร้างคลองระบายน้ำ ร.1 ขุดลอกคลองอู่ตะเภา สร้างอ่างเก็บน้ำคลองต่ำ อ่างเก็บน้ำโตนงาช้าง ปรับปรุงพื้นที่น้ำท่วมถึงธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำคลองหวะและพรุพลีควาย · โซนถนนทางหลวง 414 ลพบุรีราเมศวร์ถึงทะเลสาบสงขลา จะมีการขุดลอกคลองธรรมชาติ สร้างคลอง ร.3 และ ร.4 ที่ว่ามานั้นเป็นการพยากรณ์ จะเรียกว่า ช่วยกันเป็น "หมอดู" พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดในอนาคต นำข้อมูลทั้งหมดมาซ้อนทับกันแล้วพิจารณาอีกครั้ง และครั้นมาดูระบบการบริหารจัดการน้ำท่วมของจังหวัดสงขลาที่มีอยู่ เราพบข้อมูลที่น่าสนใจได้แก่ กลไกการจัดการ หน่วยงานปภ.เล่าว่ามีตั้งแต่ระดับชาติ โดยที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)มีแผนตั้งแต่ระดับชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีแผนระดับจังหวัด เป็นแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกประเภท แผนดังกล่าวจัดกลุ่มงานออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ 1.ขั้นตอนก่อนเกิดปัญหา ได้มีการสร้างเครือข่ายชุมชนโดยเฉพาะในท้องถิ่น จะมีอปท.เลือกคนมาให้ปภ.อบรม ได้แก่ ชุด อพปร. ทีมกู้ภัย(ทำหน้าที่ช่วยเหลือก่อนส่งรพ.1ตำบล 1 ทีมกู้ภัย) ทีมเตือนภัย เครือข่ายดังกล่าวมีทุกตำบล โดยมีอปท.ดูแล 2.ขณะเกิด แต่ละจังหวัดจะมีศูนย์วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ โดยมีปชส.จังหวัดทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ จังหวัดมีงบ 50 ล้านบาท จัดแบ่งให้อำเภอละ 1 ล้านบาท ใช้แก้ปัญหาภายใน 3 วัน และมีคณะกรรมการระดับจังหวัด(กชปจ.)/อำเภอ(กชปอ.)อนุมัติการใช้งบประมาณ หากเกิดปัญหาแล้วงบไม่พอสามารถขอไปที่สำนักนายกฯได้อีก ทั้งนี้เพื่อให้การสั่งการมีประสิทธิภาพ จะให้แต่ละระดับจากท้องถิ่นมาที่อำเภอและจังหวัดจะมีการสั่งการโดยคนๆเดียว 3.หลังเกิดเหตุ จะให้ความช่วยเหลือ/ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยทำงานมาจากท้องถิ่นมาสู่อำเภอไปถึงจังหวัด ให้ใช้งบปกติของหน่วยงาน ปัญหาของหน่วยงานที่พบและต้องการปรับแก้
นั่นคือข้อมูลการเกิดน้ำท่วมมาช้า/ไม่ชัดเจน มาจากการแจ้งเหตุล่าช้า พื้นที่ไม่สามารถสำรวจปัญหาได้
นอกจากนั้นยังพบว่าท้องถิ่นไม่มีอุปกรณ์รองรับ มีเรือกู้ภัยที่เหมาะสมกับพื้นที่
ฯลฯและพบการช่วยเหลือซ้ำซ้อน มีช่องว่างของกฏหมาย/ระเบียบ อาจใช้งบไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ อีกทั้งขั้นตอน/วิธีการตามแผนไม่ได้รับการปฎิบัติจากผู้บริหารท้องถิ่น ถือว่าเป็นงานฝาก ท้องถิ่นเองไม่ได้เตรียมงบฉุกเฉินรองรับเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ข้อเสนอ อยากให้มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่มี ได้แก่ ผู้บริหาร เครือข่ายกู้ภัย ในส่วนของท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบสำคัญในพื้นที่ ปัญหาที่พบได้แก่ เรือกู้ภัยที่ใช้งานกับพื้นที่เพื่อบริการอาหาร/ขนส่ง ไม่สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิต ที่สำคัญชาวบ้านไม่เชื่อข้อมูลการเตือนภัย แม้ว่าจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ข้อเสนอ ทำให้ชาวบ้านเชื่อข้อมูลที่เตือนภัย กรมอุตุนิยมวิทยา สะท้อนมุมมองในความเป็นจริงการพยากรณ์อากาศบอกได้แค่แนวโน้มหรือโมเดลของการเกิด ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เช่นในกรณีขาดข้อมูลรองรับ หรือขึ้นอยู่กับความชำนาญการของบุคลากรในขณะทำงานนั้นๆ โดยสรุปคือทางกรมฯจะพิจารณาข้อมูลจากแผนที่/โมเดล/ประสบการณ์ฯลฯ ปัญหาที่พบ คือ ข้อมูลที่สื่อสารออกไปโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง(ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของกรมอุตุฯ)ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ขณะเกิดเหตุมีข่าวลือจากหลายแหล่ง
บางครั้งพยากรณ์ส่วนกลางและพื้นที่ไม่ตรงกัน
ในพื้นที่มีเครือข่ายประชาสัมพันธ์จากหลายแหล่ง เช่น วิทยุสมัครเล่น/วิทยุเอกชน/วิทยุชุมชน หากจะมีการแก้ไข กิจกรรมที่เราควรจะให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.สร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายทำให้ชาวบ้านเชื่อข้อมูลที่เตือนภัย
ด้วยการสังเคราะห์บทเรียนการเกิดน้ำท่วม จากการเตือนภัย/ความเสียหาย/การเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงาน
รวมไปถึงตัวชี้วัด(ทั้งวิทยาศาสตร์/พฤติกรรมของสัตว์)/รูปแบบของน้ำท่วม ฯลฯ
นำมาสู่การสร้างความรู้ เช่น หลักสูตรหรือคู่มือการแก้ปัญหาน้ำท่วม จากนั้นทำให้ชุมชนมีความเชื่อในข้อมูล ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูล ระบบโทรมาตรของชลประทานและเทศบาล พัฒนาระบบข้อมูล โดยมีศูนย์ระดับจังหวัดรับผิดชอบ ใช้โปรแกรมพัฒนาระบบข้อมูลกลางของจังหวัด/ท้องถิ่น
มีการสื่อสารด้วยภาพ/แผนที่/ทีวี./วงจรปิด สามารถใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางสื่อสาร
และมีหลายช่องทางในการเข้าถึง 2.สร้างเครือข่ายการเตือนภัย ได้แก่ วิทยุสมัครเล่น ครือข่ายสื่อวิทยุกระแสหลัก เครือข่ายโทรมาตร มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กับประชาชน มีการอธิบายศัพท์เฉพาะทางเทคนิคที่ควรรับรู้ ใช้ภาษาง่ายๆ หรือให้มีเสียงตามสาย มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่มี ได้แก่ ผู้บริหารเครือข่ายเมือง โดยจัดให้มีแผน/ความรู้ เครือข่ายเตือนภัย (ในความรับผิดชอบของปภ./กรมทรัพย์น้ำ/ภาคประชาชน) เครือข่ายกู้ภัย ฝ่ายสนับสนุนที่มีการเตรียมความพร้อมในส่วนของอุปกรณ์ การจัดศูนย์อพยพ อาหาร ฯลฯ นอกจากนั้นก็มีฝ่ายป้องกัน ฝ่ายติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ ฝ่ายสื่อสาร มีการพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายท้องถิ่นระดับอำเภอ/ใกล้เคียง 3. ผลักดันในเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาในเชิงระบบต่อไป เช่น ศึกษาระบบการป้องกันหาดใหญ่และเครือข่าย ปรับผังเมือง พลเมืองทั้งหลาย อ่านมาถึงตรงนี้่ผมว่าเราน่าจะมาช่วยกันเป็น "หมอดู" อาศัียข้อมูลที่ว่ามา พยากรณ์เหตุน้ำท่วมและลองหาทางแก้ไขบ้างก็ดีนะครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |