*/
<< | ตุลาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ย้อนหลังไปเมื่อปี 2546 ผมเริ่มงานด้านสุขภาพด้วยงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในมุมของภาคประชาสังคมในจังหวัดสงขลา โดยลงไปศึกษากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จากโอกาสในวันนั้นทำให้ในเวลาต่อมาได้เรียนรู้งานที่เกี่ยวเนื่องกับการปฎิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยอีกหลายๆเรื่อง 7 ปีผ่านไป วงจรการเรียนรู้กลับมาบรรจบกันอีกครั้ง
ในช่วงเวลาที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ได้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ และกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้มาร่วมงาน เอชไอเอในวันนี้ก้าวหน้าไปมาก
และเริ่มมีผลต่อสังคมไทยเป็นอย่างมากด้วย จากวีดิทัศน์ “แลหน้า 5 ปี เอชไอเอ
เมืองไทย” บอกเล่าถึงวิถีชีวิตอันเงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติของชุมชนใกล้เหมืองจังหวัดเลย
ด้านหนึ่งเริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนเกิดผลกระทบสุขภาพจากทำเหมืองแร่ทองคำที่มีกระบวนการคัดแยกใช้สารเคมี
จึงเกิดคำถามถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อมาชุมชนที่ได้รับผลกระทบตื่นตัว ได้เริ่มทำแผนที่ชุมชน สร้างข้อมูลวิถีของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบ เก็บข้อมูลผลกระทบที่เกิด ...ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เอชไอเอ จะมีพลังหากมีฐานความตื่นตัวของชุมชนรองรับ และหาใช่แค่เป็นเครื่องมือในการต่อต้านนโยบาย หรือยุติ หรืออนุมัติโครงการเชิงนโยบาย แต่ยังสามารถเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสังคม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายผู้ลงทุน ภาคเอกชน ชุมชน หน่วยงานองค์กรต่างๆ ทำให้การดำเนินงานนโยบายของภาครัฐไม่เกิดผลกระทบ และช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์ นายแพทย์อำพล
จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า
เรื่องทุกอย่างในบ้านเมืองเป็นเรื่องของเราทุกคน และมองย้่อนไปในอดีตตนเองเติบโตจากชุมชนสุทธิสาร
เป็นชุมชนท้องนา แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป และครั้งหนึ่งเคยไปออกค่ายอาสาสมัครที่จังหวัดเลย
มาพบความเปลี่ยนแปลงในวันนี้ยิ่งตระหนักว่าโลกหมุนเร็ว ทุนโลกาภิวัตน์สร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย อุดรธานีมีเหมืองแร่โปแตชส์ ที่พิษณุโลกที่เนินมะปรางมีแร่ทองทำ ภาคตะวันออกเคยมีทะเล สวนผลไม้ แต่ปัจจุบันกลายเป็นมาบตาพุด...จ.สระบุรี เป็นพื้นที่รองรับขยะ เกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาประเทศ? และวันนี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคมที่หลายภาคส่วนมาทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ อยู่ในสังคมเดียวกัน...เอชไอเอ เป็นเครื่องมือสาธารณะ ของคนไทยทุกกลุ่ม ทุกระดับ มีการพัฒนามา 10 ปีแล้วโดย สวรส.(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข) เป็นองค์กรแม่ เอชไอเอ ใช้เป็นเครื่องมือในการอนุมัติ อณุญาต โครงการ กิจการ และเป็นเครื่องมือเรียนรู้ของสังคมในการอยู่ร่วมกัน ปกป้องรักษาสิทธิชุมชนของตน ในการกำหนดอนาคต ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน...เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนา ตามรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม และเอชไอเอ ไม่ได้มีขอบเขตจำกัดแค่ขอบเขตประเทศ เอชไอเอ จะเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและสากลได้อย่างไร นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ ประธานกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ กล่าวถึงสังคมไทยเรียนรู้เครื่องมือนี้มานานแล้ว ในบริบทสุขภาพตามความหมายของพรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 เอชไอเอ เป็นกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือ ในการวัดสุขภาวะทางปัญญา สร้างให้เกิดสังคมสมานฉันท์เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นกระบวนการที่จะทำให้เกิดสังคมสุขภาวะนั้นจึงสำคัญมาก องค์ประกอบทั้ง 4 คือ
สุขภาวะด้านกาย จิต สังคม และปัญญา
สุขภาวะทางปัญญามีความสำคัญมากในสังคมที่หลากหลาย ซับซ้อน มีความขัดแย้ง
หากเราไม่สามารถมีภูมิปัญญา มีระบบ มีเครื่องมือที่ดีพอ เราอาจพบหายยะได้ไม่ยาก ภาคีที่เรามีอยู่
ที่สามารถสร้างระบบ และต้องการการต่อยอดให้เอชไอเอขยายผลต่อไป เอชไอเอ ไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นพันธะสัญญาของประชาคม ซึ่งจะมีความมั่นคง ถาวรกว่าบังคับขู่เข็ญ เอชไอเอเป็นวัฒนธรรมของสังคมมิใช่ข้อกำหนด เป็นสิ่งดีงามที่สังคมควรรับและนำไปใช้กัน และเอชไอเอควรเป็นสาระ แก่นกลางในวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนหลังแนวท่อก๊าซที่ได้รับผลกระืทบ หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ให้ดูน้ำมันหม่องต่อเดือนที่ใช้ ในเบื้องต้นการทำแผนยุทธสาตร์ให้ความสำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ 1.การประเมินผลกระทบสุขภาพกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment : CHIA) 3.การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในระดับนโยบายสาธารณะ กรณี การจัดทำผังเมือง 4.การจัดการศึกษาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 5.การสื่อสารทางสังคมกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 6.การพัฒนาระบบข้อมูลรองรับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ 7.การประเมินผลกระทบในระดับนานาชาติ การจัดทำยุทธศาตร์ 5 ปีของการจัดระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จะเป็นภาพเชิงปฎิบัติการมากกว่าสร้างวาทกรรม...เราอยากเห็นอะไรเกิดขึ้น เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ? วางภาพวิสัยทัศน์ในอนาคต? มีเป้าประสงค์อะไร? จะมีกลยุทธในการบรรลุเป้าหมายอะไร? ใครที่เกี่ยวข้อง? ใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย? มีข้อจำกัด มีข้อเสริมหนุนอะไรมาช่วยขับเคลื่อน? การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในระดับชุมชน (Community Health Impact Assessment :
CHIA) ความหมายของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ
หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของสังคมในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบาย
โครงการ หรือ กิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
หากดำเนินการในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน
โดยมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่หลากหลายและมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว HIA อยู่ในมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ จะเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับการทำ EIA ไม่ได้แยกเป็นการทำรายงานคนละเล่ม โดยเพิ่มขั้นตอนลงไปคือ การกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยสาธารณะ และการตรวจสอบร่างรายงานโดยสาธารณะ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thia.in.th, www.nationalhealth.or.th นโยบายสาธารณะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ 1.การจัดทำและปรับปรุงผังเมือง ที่อาจนำมาสู่โครงการหรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงในอนาคต 2.การจัดทำแผนภูมิภาค เช่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค 3.การจัดทำแผนโครงข่ายการคมนาคม 4.การจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 5.การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแร่/เหมืองแร่ 6.การกำหนดนโยบายและ/หรือการวางแผนการเพาะปลูก/เพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม 7.การกำหนดนโยบายและ/หรือการวางแผนทำการเกษตรขนาดใหญ่ 8.การกำหนดนโยบายและ/หรือการวางแผนเกี่ยวกับวัตถุอันตราย กาของเสียอันตราย และสารกัมมันตภาพรังสี 9.การกำหนดนโยบายการค้าเสรีหรือการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 10.การวางแผนเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางการอนุรักษ์ เช่น พื้นที่ต้นน้ำลำธาร พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1 พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นต้น ประสบการณ์การทำงานในจังหวัดเลย พบว่า CHIA เป็นการเสริมหนุน เตรียมความพร้อมให้ชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ปัญหาโดยมีกรอบเรื่องสุขภาพเป็นแกนในการเรียนรู้ ตั้งแต่การเตรียมข้อมูลชุมชน สร้างฐานข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมพลังให้ชุมชนในการใช้สิทธิตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ขั้นตอนที่สำคัญ · การกลั่นกรองโครงการ · การกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ(มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เข้าร่วม ความรู้ ความเข้าใจ) · การประเมินผลกระทบ · การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ · การเขียนรายงาน · การกำกับ ติดตาม (ควรจะให้สาธารณะมีบทบาทด้วย มิใช่แค่กลไกที่เกิดขึ้นตามระบบ ที่มีปัญหาแยกส่วน ขาดการมองทั้งระบบ) ปัญหาที่พบ · ช่องว่างในด้านข้อมูล มีข้อมูลจากโครงการที่ลงไปในพื้นที่ ที่ไม่ครบถ้วน รอบด้าน มากพอที่จะเข้าใจปัญหา มองภาพอนาคต และข้อมูลของชุมชนที่ยังอยู่ในวิถีชีวิต เป็นที่รับรู้ มีการปิดบังข้อมูลไม่ให้เข้าถึงข้อมูล หน่วยงานภาครัฐมีภารกิจเต็มหน้าตัก ทำให้ไม่สามารถมาช่วยสนับสนุนงานข้อมูล · วัฒนธรรมธุระไม่ใช่ของชุมชน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือมีข้อจำกัดในด้านวิถีชีวิต ต้องทำมาหากิน ทำให้เป็นภาระของชุมชนในการเรียนรู้ข้อมูลโครงการ การตั้งคำถามต่อนโยบาย การพิจารณาร่างรายงาน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |