ชั้นชั้นในสังคมไทย ฅนต้นเรื่อง ; อาจารย์อรทัย ปิ่นเก็จมณี ฅนเล่าเรื่อง ; กุลา กุลี อาณาบริเวณที่เป็นที่ตั้งประเทศไทยในปัจจุบัน เคยมีชุมชนมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่ยุคหินเก่าเช่นที่ถ้ำผี ลุ่มแม่น้ำสาละวิน แม่ฮ่องสอน เมื่อประมาณ ๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว หรือที่นครศรีธรรมราช ประมาณ ๑๑,๐๐๐ ปีก่อน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมยุคแรก ๆ ของโลก ( โดยมิได้รับจากจีนหรืออินเดีย ) รวมทั้งที่บ้านเชียง อุดรธานี ในยุคหินใหม่ เมื่อประมาณ ๕,๖๐๐ ปีที่ผ่านมา อาณาจักรขอม นี้ ถือว่าเป็นอาณาจักรทาสที่ก่อตั้งหลังสุด มีความเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิก็ว่าได้ ปราสาทหินต่าง ๆ เช่น นครวัด ( หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ) นครธม ตาพรหม บันทายสรี เขาพนมรุ้ง เขาพระวิหาร ปราสาทหินพิมาย พระปรางค์สามยอด กระทั่งถึงปราสาทหินวัดพระสิงห์ ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดี ๑. ชนชั้นศักดินา สั สังคมไทยก่อนจะมาถึงยุคปัจจุบัน นั้น ชนชั้นศักดินาเป็นผู้ปกครอง ผู้ยึดกุมโครงสร้างชั้นบนของรัฐที่มีโครงสร้างชั้นล่างหรือรูปแบบการผลิตแบบศักดินา โดยมีวัฒนธรรมแบบศักดินาไว้คอยหล่อเลี้ยงให้สังคมศักดินาปกครองกันได้อย่างราบรื่น ชนชั้นที่สำคัญและมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมมากที่สุดในสังคมทุนนิยมก็คือ " ชนชั้นนายทุน " แต่กล่าวสำหรับสังคมไทย แม้ว่าโดยข้อเท็จจริง การผลิตแบบทุนนิยมจะเข้ามาในสังคมไทยตั้งแต่ยุคสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อร้อยปีเศษที่ผ่านมา ภาคการผลิตในสังคมไทยยังล้าหลัง ด้อยพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่ช้ามาก และต่อมาถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ( หรือเมื่อ ๗๔ ปีมาแล้ว ) กลุ่มนายทุนซึ่งเป็นตัวแทนพลังการผลิตที่ก้าวหน้ากว่า ก็มิได้ผลักดันพลังการผลิตของสังคมให้ก้าวหน้าไปมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ๕๐ ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มทุนภายในประเทศไม่ได้พัฒนาการผลิตของตัวเองให้เติบโต และสะสมทุนขึ้นมาตามลำดับแล้วค้าขายแข่งขันกับกลุ่มทุนต่างชาติ เหมือนการก่อกำเนิดของกลุ่มทุนชาติตะวันตก ทั้งยุโรปและอเมริกาในอดีต หากแต่กลุ่มทุนการผลิตของไทยถูกครอบงำและควบคุมโดยจักรพรรดินิยมต่างชาติมาตั้งแต่ต้น เกือบทั้งหมดจึงเป็นพียงกลุ่มทุนการค้าพาณิชย์ที่อยู่ในรูปของ " นายทุนขุนนาง " และ " นายทุนนายหน้า" มีบทบาทเป็นได้แค่เพียงส่วนหนึ่งของวงจรธุรกิจข้ามชาติของจักรพรรดินิยม ซึ่งมีหน้าที่หลัก ๆ คือ
ตลอด ๓๐ ปีที่ผ่านมา ขณะที่ชนชั้นนายทุนสัญชาติไทยส่วนน้อยนิดได้พัฒนาเติบใหญ่จนกลายเป็นกลุ่มทุนผูกขาดแห่งรัฐไปแล้วนั้น "ชนชั้นกลาง" ก็เป็นอีกชนชั้นหนึ่งซึ่งปรากฏตัวขึ้นในสังคมไทยอย่างโดดเด่น คนกลุ่มนี้มีบทบาทในความสัมพันธ์ทางการผลิตเป็นสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มทุนผูกขาดแห่งชาติกับกลุ่มชนชั้นล่างสุดของสังคม ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการรองรับและตอบสนองความต้องการของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งด้านการผลิตและจำหน่าย " สินค้าและบริการ " ในตลาด ตลอดจนการเผยแพร่วัฒนธรรมใหม่ที่รับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ขณะเดียวกันก็เป็นผู้เสพย์ผู้บริโภคสินค้าและบริการที่สำคัญที่สุดของกลุ่มทุนผูกขาดแห่งชาติด้วย กลายเป็นฐานขนาดใหญ่ในทางเศรษฐกิจให้กลุ่มทุนผูกขาดระดับชาติสามารถก้าวขึ้นไปสู่การมีอำนาจรัฐจนกลายเป็นกลุ่มทุนผูกขาดแห่งรัฐได้ในที่สุด ชนชั้นกลาง นี้ มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าชนชั้นนายทุนชาติอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเทียบกับชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรส่วนใหญ่แล้ว ก็มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดเช่นเดียวกัน และแม้ว่าบางส่วนของชนชั้นกลางจะเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิต เช่น โรงงานขนาดกลาง-ขนาดเล็ก แต่รายได้ก็อาจไม่แตกต่างกับพนักงานระดับกลางของบริษัทกลุ่มทุนข้ามชาติ หรืออาจน้อยกว่ารายได้พนักงานระดับสูงของบริษัทในกลุ่มทุนผูกขาดด้วยซ้ำ และในที่นี้ใช้ในความหมายเฉพาะในสังคมไทย เพราะในอดีตชนชั้นกลางในยุโรปมีความหมายถึงชนชั้นอื่น ๆ ที่มิใช่ชนชั้นหลัก ๆ ได้แก่ เสรีชน ช่างฝีมือ ฯลฯ ชนชั้นนายทุนน้อยเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางที่ว่านี้ ชนชั้นกลางที่เป็นนายจ้างจึงได้รับผลกระทบโดยตรงและอ่อนแอลง เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องจ่ายเพิ่มนั้น เมื่อคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับกำไรระหว่างผู้ประกอบขนาดกลางและขนาดเล็กกับบริษัทยักษ์ใหญ่แล้ว มีความแตกต่างกันเป็นอันมาก อีกทั้งไม่สามารถทำกำไรได้เท่ากับกิจการขนาดใหญ่ของกลุ่มทุนผูกขาดแห่งรัฐ เพราะไม่ได้สิทธิ์ผูกขาดสัมปทาน ไม่มีเงินทุนซื้อเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างกลุ่มนายทุนใหญ่ ๆ เพราะไม่สามารถใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนเอง กล่าวโดยสรุปแล้ว กลุ่มทุนจักรพรรดินิยมจ่ายค่าจ้างให้คนงานไทยเพียงวันละ ๔.๖๐ ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น คิดแล้วลดลงไปถึง ๒๗.๕๖ % อยู่เฉยๆ ก็จ่ายเงินค่าจ้างน้อยลง มีกำไรเพิ่มขึ้นจากการขูดรีดแรงงานข้ามชาติอย่างถูกกฎหมาย ( ของชนชั้นนายทุน ) ภายใต้กฎกติกาสากลที่รัฐบาลไทยรับรอง ( ความถูกต้อง) ! การล้มหายจากไปของร้านค้าของชำท้องถิ่นจำนวนมากเมื่อร้านค้าปลีกอย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น มาตั้งใกล้ๆ ฯลฯ เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นนายทุนชาติ ชนชั้นกลางและชนชั้นชาวนา กับชนชั้นนายทุนผูกขาดแห่งรัฐ ด้วยรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ".....ในปัจจุบัน บรรดาชนชั้นที่เป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นนายทุนนั้น มีแต่ชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่เป็นชนชั้นปฏิวัติที่แท้จริง ชนชั้นอื่น ๆ ล้วนแต่เสื่อมลงทุกทีและดับสูญไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ชนชั้นกรรมาชีพนั้นเป็นผลิตผลของตัวอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เอง ๔. ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นกรรมกรปรากฏตัวขึ้นในสังคมไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มจากกรรมกรโรงสีข้าว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็เกิดกรรมกรรถไฟ กรรมกรเหมืองแร่ กรรมกรลากรถ และกรรมกรรถราง เป็นต้นฯ ต่อมาเกิดภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ เรื่อยมา ผลักดันให้พี่น้องกรรมกรจำนวนมากต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องหลักประกันด้านค่าจ้างแรงงานและสวัสดิการ จนกระทั่งรัฐบาลจอมพลถนอมต้องยอมออกกฎหมายแรงงาน ประกาศให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศ ก่อนเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ มีการต่อสู้เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ เพิ่มสวัสดิการ ลดเวลาทำงานเหลือวันละ ๘ ชั่วโมง ฯลฯ เกิดการต่อสู้เรียกร้อง การประท้วง - การนัดหยุดงานในช่วงนี้ทั้งหมด ๑,๒๓๒ ครั้ง ทั่วประเทศ รวมทั้งมีการเดินขบวนใหญ่อีกหลายครั้งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้ประสานงานร่วมมือกับชาวนาชาวไร่และนิสิตนักศึกษาในเมืองอย่างแน่นแฟ้น ผนึกกันเป็นพลังสามประสานคือ กรรมกร ชาวนา และนักศึกษา ที่เป็นจริง กลายเป็นแนวร่วมขนาดใหญ่และทรงพลังอย่างยิ่ง
หลังจากนั้นเป็นต้นมา การต่อสู้ของกรรมกรในเมืองก็ถูกปิดกั้นลงอย่างสิ้นเชิง อีกครั้งหนึ่ง ในสถานการณ์เช่นนั้นกองหน้าของกรรมกรส่วนหนึ่ง ได้หันไปจับอาวุธขึ้นต่อสู้ต่อไปตามอุดมการณ์ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในชนบท
กล่าวให้ถึงที่สุด สิ่งที่กรรมกรจะได้มาจากชัยชนะของการต่อสู้ก็คือ โลกทั้งโลก ! หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ขบวนการกรรมกรที่เหลืออยู่ในเมืองถูกแทรกแซงอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจาก ป่าแตก ในปี ๒๕๒๕ เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ สูญเสียการนำขบวนการกรรมกรในเมืองไปจนเกือบจะหมดสิ้น ขบวนการกรรมกรจึงเริ่มแตกออกเป็นหลายฝ่าย บางส่วนนำโดยกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน ( NGOs ) * NGOs มาจากคำว่า Non Governmentat Organization หมายถึง องค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น สมาคม, ชมรม, สโมสร, หรือ มูลนิธิสมาคม, กลุ่มแครือข่าย กลุ่มประสานงานต่างๆ ฯลฯ )
NGOs บางส่วนต่อสู้กันต่อไปแบบไร้ทิศทาง บางส่วนถูกแบ่งแยกและควบคุมโดยรัฐ และบางส่วนถูกลวงโดย รัฐบาลและชนชั้นปกครอง ก็ได้สรุปบทเรียนท่ามกลางการปราบปรามเข่นฆ่าพี่น้องกรรมกรเช่นเดียวกันว่า การใช้กำลังอาวุธและอำนาจเผด็จการเข้าปราบปรามนั้น ไม่มั่นคง ไม่สามารถควบคุมขบวนการกรรมกรได้อย่างแท้จริง แต่หากเปลี่ยนมาใช้วิธีการหลอกล่อและหลอกลวง จะสามารถควบคุมกรรมกรทั้งขบวนได้ดีกว่า เช่น การให้ค่าแรงและสวัสดิการกับกรรมกรรัฐวิสาหกิจมากกว่าค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนควบคุมไม่ให้สหภาพแรงงานเข้มแข็ง ผ่านผู้นำน้ำเน่าที่แสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของกรรมกรพื้นฐาน โดยรับเศษเงินจากนายทุนและรัฐบาล เช่น ช่วยเหลือเจือจุนให้ผลประโยชน์เล็กๆ น้อย ๆ หรือ การจัดอบรมสัมมนาแล้วพาผู้นำกรรมกรจำนวนหนึ่งไปทัศนาจร หรือเชิญผู้นำกรรมกรบางคนไปดูงานต่างประเทศ เมื่อได้ผลประโยชน์เฉพาะหน้าก็ละทิ้งการต่อสู้ ตีสองหน้า ต่อหน้ากรรมกรทำเป็นวีรบุรุษ แต่ลับหลังคอยรับใช้นายทุนอย่างไม่ละอายใจ
การต่อสู้เรียกร้องของขบวนกรรมกรในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นข้อเรียกร้องที่แตกต่างกันบ้าง เช่น ขณะที่กรรมกรภาคเอกชนของกลุ่มนายทุนไทยซึ่งมีจำนวนมากที่สุด เรียกร้องขอให้เพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ กลุ่มกรรมกรรัฐวิสาหกิจอาจไม่ได้เข้าร่วม เพราะค่าจ้างแรงงานของตนนั้นสูงกว่าอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เมื่อกลุ่มกรรมกรรัฐวิสาหกิจต่อสู้เรียกร้องมิให้รัฐบาลขายรัฐวิสาหกิจ ( ซึ่งคุกคามรายได้และหลักประกันในอนาคตของตน ) กรรมกรกลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็มีท่าทีวางเฉย
ขณะเดียวกัน ก็ถูกครอบงำโดยอิทธิพลของจักรพรรดินิยมและชนชั้นศักดินาอย่างแน่นหนา การผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยจึงเป็นแหล่งลงทุนเพื่อกอบโกยกำไรมหาศาลของจักรพรรดินิยมต่างชาติ ทุกวันนี้เงินที่ไทยได้จากการผลิตสินค้าออกไปขายต่างประเทศ ได้มาน้อยกว่าเงินที่เอาไปซื้อสินค้าที่ต่างประเทศผลิตแล้วส่งเข้ามาขายในประเทศไทยปีละหลายแสนล้านบาท * ( ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ปี ๒๕๔๘ ไทยขาดดุลการค้าเป็นมูลค่าถึง ๓๑๕,๓๒๖.๗ ล้านบาท และนับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมปี ๒๕๔๙ นี้ ก็ขาดดุลการค้าไปแล้ว ๑๐๖,๕๑๖.๖ ล้านบาท ) สาเหตุสำคัญของการขาดดุลการค้า นี้ ก็คือ ใช้เงินซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาจำนวนมหาศาล ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ข้อมูลที่น่าตกใจอีกว่า เงินที่ไทยส่งออกข้าวตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกรกฎาคมในปี ๒๕๔๙ นี้ เป็นมูลค่า ๕๔๑๗๖.๑ ล้านบาทนั้น เอาไปซื้อน้ำมันมาใช้ได้เพียง ๒๕ วันเท่านั้น ( ไทยนำเข้าน้ำมันดิบ ๗ เดือนแรกในปีนี้ เป็นมูลค่าถึง ๔๕๕,๗๕๒.๙ ล้านบาท ) อนาคตทางเศรษฐกิจของไทยจึงไม่สามารถฝากไว้กับภาคการผลิตอย่างเดียว
๒. จัดตั้งองค์การที่เป็นกองหน้าเพื่อปลดปล่อยชนชั้นของตนเองอย่างแท้จริงขึ้นมาให้ได้ ๓. หลุดพ้นจากรูปการจิตสำนึกที่หลงใหลมัวเมาอยู่กับวัฒนธรรมที่ชนชั้นอื่นครอบงำ มอมเมา หรือหยิบยื่นหลอกล่อ
หมายเหตุ ** ฅนอ้างอิง - คนบันดาลใจ * สื่อสารบัญ ไฟลามทุ่ง ฉบับเมื่อ วันอาทิตย์ ๑๒ พฤศจิกายน๒๕๔๙ * สื่อหนังสือ บันทึกลับ Ngos * การประชุมภาคีพี่น้องชนเผ่าภาคเหนือฯ ที่..อำเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤษภาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |