ฅ. ฅนสิทธิมนุษยชน
วันที่ ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นทั้งวันรัฐธรรมนูญของไทย และวันสิทธิมนุษยชนสากล จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะของประเทศไทย ซึ่งมีด้านทั่วไปของหลักสิทธิมนุษยชนสากลอยู่ด้วย ในแง่มุมหนึ่ง บนใบหน้าประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิของตนเอง เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม มีนักสิทธิมนุษยชนเสียชีวิตไปมากมาย การหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับการ เสียชีวิตของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเป็น บทเรียนหรือประสบการณ์สามารถที่เป็นแรงบันดาลใจเป็นกำลังใจและเป็นแบบอย่างให้บุคคลอื่นในสังคมได้ โดยมีผลต่อความเข้าใจสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยมากขึ้น นับตั้งแต่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงเดือนตุลาคม ปัจจุบัน มีการบันทึกไว้ว่า ท่ามกลางการลุกขึ้นมาของประชาชนในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพนั้น มีการสูญเสียชีวิตไปเป็นจำนวนไม่น้อย สถิติที่มีการบันทึกไว้ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 ราย เฉลี่ยแล้ว ผู้นำภาคประชาชนและผู้เข้าร่วมหรือเกี่ยวข้อง ถูกสังหารเสียชีวิตเฉลี่ยถึงปีละ ๔ คน [ สถิติที่ไม่ใช่ทางการ] ผู้นำประชาชนคนสำคัญที่ถูกลอบสังหารคือ จิตร ภูมิศักดิ์ ในปี ๒๕๐๙ สามปีต่อมา คือ ปี ๒๕๐๒ โกมล คีมทองถูกลอบยิงเสียชีวิตที่ จ.สุราษฎร์ธานี ยุคแรกของการลอบสังหารผู้นำประชาชน เป็นความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่ค่อนข้างโดดเด่น
ความสัมพันธ์ของนักการเมืองระดับชาติต่อกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นทั้งในเชิงผลประโยชน์ การใช้เส้นสายในวงการรัฐบาลหาผลประโยชน์จากโครงการก่อสร้าง หรือจากนโยบายของรัฐ และการขูดรีดทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างไม่ถูกต้องเพื่อลดต้นทุนใรการก่อสร้าง หรือในเชิงความสัมพันธ์ของเครือข่ายหัวคะแนนนักการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่นก็กลายเป็นการอุปถัมป์ช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องใดๆ ต่างหวังเพียงคะแนนเสียงที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการเลือกตั้งแต่ละครั้ง แม้ว่ากลุ่มการเมืองระดับชาติจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำเอง แต่ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจมีผลต่อการคลี่คลายคดีของการคลี่คลายคดี บางคดีที่จับมือปืนที่ลงมือ ฆ่า ได้ ก็กลายเป็นตัวเล็ก และมีหลายคดีที่ปิดตัวไปเพราะไม่สามารถหาพยานมาชี้ตัวได้ ต่อไปนี้ คือบันทึกเลือดจากปากกระบอกปืน เพื่อ การต่อสู้ของนักสิทธิประชาชน นักเคลื่อนไหว นักอนุรักษ์ ... ที่สูญเสียชีวิต เลือดเนื้อ โดยไม่นับรวมถึงการข่มขู่ด้วยระเบิด , การทำร้ายร่างกาย และ การลอบยิงให้ได้รับบาดเจ็บ
[๑] ยุค หลังรัฐประหารตั้งแต่ ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา
ปี ๒๕๓๗ * นางสุชาดา คำฟูบุตร ผู้คัดค้านโรงงานอุตสาหกรรม จ. ลำปาง ถูกอุ้มหายตัวไป ปี ๒๕๓๘ * อ.บุญทวี อุปการะกุล ผู้นำการรณรงค์คัดค้านมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม จ. ลำพูน ถูกทำร้ายตกรถไฟเสียชีวิต * ครูประเวียน บุญหนัก ผู้นำการคัดค้านโรงโม่หิน จ. เลย ถูกยิงเสียชีวิต ในปีเดียวกันนั้นเอง * นายวินัย จันทมโน นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชุมชน ผู้คัดค้านนายทุนตัดไม้ทำลายป่า บ้านน้ำหรา อ.ควนกาหลง จ.สตูล ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๘
ปี ๒๕๓๙ * นายทองอินทร์ แก้ววัตตา แกนนำผู้คัดค้านการสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรมของบริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เจนโก้) จ.ระยอง ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๙ * นายทุนหรือจุน บุญขุนทด ผู้นำสมัชชาคนจน กรรมการบ้านห้วยทับนาย อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภุมิ แกนนำการคัดค้านการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ใช้อาวุธปืน. ๓๘ ยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[ ๒] ยุค รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ปี ๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญ ที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อ การต่อสู้และการผลักดันของประชาชน ในประวัติศาสตร์การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างสูงสุด ต่อจากนั้น การเข่นฆ่าประชาชน นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยนอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
ปี ๒๕๔๒ * กำนันทองม้วน คำแจ่ม ผู้นำการคัดค้านการให้สัมปทานโรงโม่หินจ.หนองบัวลำภู ถูกยิงเสียชีวิต (พร้อมกับนายสมฯ ) ในปีเดียวกัน * นายสม หอมพรหม ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกำนันทองม้วน ฯ ขณะนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไปกับ กำนันทองม้วน ฯ * นายอารีย์ สงเคราะห์ ผู้นำการต่อต้านการบุรุกป่าและรณรงค์ร่วมกับชาวบ้านปกป้องผืนป่า ต้นน้ำคลองคราม จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิต
ปี ๒๕๔๔ มีนักอนุรักษ์ ๕ คน ถูกยิงเสียชีวิต
* นายจุรินทร์ ราชพล ผู้นำการรณรงค์ ปกป้องป่าชายเลนชุมชนบ้านป่าคลอก ๔๐๐ ไร่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต มิให้ถูกนายทุนนากุ้งบุกรุก โดยกลุ่มนายทุนนากุ้งพยายามที่จะย้ายหมุดออกจากป่าชายเลน โดยการเป็นผู้นำตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดสอบเขตป่าชายเลนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ถูกยิงเสียชีวิตในวัย ๕๐ ปี เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม
* นายนรินทร์ โพธิ์แดง ผู้นำการคัดค้านการระเบิดหินเขาชะอางกลางทุ่ง กิ่ง อ.ชะเมา จ.ระยอง ได้เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่เขาชะอางกลางทุ่ง ท่ามกลางความขัดแย้งกับ อบต.ห้วยทับมอญ ที่ให้ความเห็นชอบในเรื่องการตั้งโรงโม่หิน ที่มีความไม่ชอบมาพากลในการพิจารณา และการไม่รับฟังความเห็นของประชาชน รวมถึงผลกระทบจากโรงโม่หินซึ่งมีนักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับประเทศ ถูกยิงเสียชีวิตอยู่ที่หน้าบ้านตัวเอง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม
* นายพิทักษ์ โตนวุธ ผู้นำคัดค้านโรงโม่หินบริษัทร็อค แอนด์ สโตน โรงโม่หินบริษัทอนุมัติการศิลา และ ได้ร้องเรียนให้ตรวจสอบ ส.ค.๑ ของโรงโม่หินในภูเขาแดงรังกาย บ้านชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก พื้นที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ถูก ยิงเสียชีวิตขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านแยกเข้าบ้านชมภูฯ หลังที่พิทักษ์ฯ กลับจากการประชุมร่วมกับคณะตรวจสอบของทางอำเภอเพื่อรับทราบความคืบหน้าฯ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และกลุ่มชาวบ้านกำลังดำเนินการอุทธรณ์
* นายสุวัฒน์ ปิยะสถิตย์ ผู้นำการคัดค้านบ่อฝังกลบขยะราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ของ หจก.ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ เนื่องจากส่งกลิ่นเหม็นสร้างมลพิษรบกวนชุมชนในแถบ ต.ราชาเทวะ ถูกยิงเสียชีวิตขณะนั่งร่วมปรึกษาหารือกับกลุ่ม บริเวณร้านค้ากลางชุมชน ในหมู่บ้านจามจุรี ม.๑๕ต.ราชาเทวะ เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ศาลชั้นต้นพิพากษา ประหารชีวิตผู้จ้างวานจำคุกตลอดชีวิตมือปืนและผู้ที่เกี่ยวข้อง * นายสมพร ชนะพล แกนนำอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองกระแดะ พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในภาคใต้ และสามารถรอดพ้นจากการสร้างเขื่อนในพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิต ขณะนั่งเขียนรายงานข้อมูลของชุมชนอยู่ที่บ้าน
ในปีเดียวกันนี้ * นางฉวีวรรณ ปึกสูงเนิน ผู้นำการต่อต้านการทุจริตในองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ประเด็นการต่อต้านอันเนื่องมาจาก การประมูลงานรับเหมาก่อสร้างในเขต อบต. นากลาง และ การที่ผู้ตายเป็นแกนนำขับไล่ประธาน อบต. และการทุจริตอื่นๆ ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักตัวเอง เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ยังจับกุมคนร้ายไม่ได้ ปี ๒๕๔๕ * นายแก้ว ปินปันมา สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและแกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ที่ดินในพื้นที่ กิ่ง อ.ดอย หล่อ จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๕ เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก ๘ ปี * นายบุญสม นิ่มน้อย ผู้นำคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงกลั่นปิโตรเคมีขนาดใหญ่ ของ บริษัทสยามกัลฟ์ โม่หินบริษัทร็อค แอนด์ สโตน ปิโตรเคมีคอล จำกัด ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ต้องหามอบตัว ๒ ราย แต่ศาลยกฟ้องเพราะไม่มีใครกล้าเป็นพยาน เนื่องจากการถูกข่มขู่และกลัวถูกสังหารโหดเช่นเดียวกับ นายบุญสม ฯ
* นายปรีชา ทองแป้น สารวัตรกำนันตำบลควนกรด อ.ทุ่งสง แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชนจากโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาลตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕ เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ ๒ ราย แต่ให้การปฏิเสธ
* นายบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ ผู้นำการตรวจสอบการทำไม้เถื่อนในพื้นที่ป่าชนะ โดยได้รวบรวมหลักฐานการลักลอบทำไม้เถื่อนของกลุ่มนายทุนและข้าราชการบางกลุ่มเข้าร่วมด้วยและเป็นแกนนำการเรียกร้องการแก้ไข กรณีอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ประการเขตอุทยานทับที่ดินทำกินของชาวบ้านฯ ต่อมา ได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ๔ คน ร่วมกันล้อมสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่ชายป่า ขณะกำลังถางหญ้าบนพื้นที่ทำกินของตนเอง [เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทั้ง ๔ ตัว] อ้างว่าต้องยิงป้องกัน โดยอ้างว่า พ่อผู้เฒ่าจะเอามีดฟัน เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ บริเวณสวนยางพาราและสวนกาแฟ ต.คลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของอุทยานจำนวน ๔ คน และอนุมัติให้ประกันตัวไปแล้ว
* นายบุญยงค์ อินตะวงศ์ ผู้นำคัดค้านโรงโม่หินดอยแม่ออกรู อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ของบริษัทเวียงชัยผางาม ก่อสร้าง จำกัด ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักตัวเองถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕
ปี ๒๕๔๖ * พ่อหลวงคำปัน สุกใส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อดีตรองประธานเครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำปิงตอนบน ป่าชุมชนพื้นที่อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๔ ป่าชุมชน รวมพื้นที่ทั้งสิ้น ๓๘๐,๐๐๐ไร่ โดย นายคำปัน ฯ มาเป็นผู้ใหญ่บ้านก็เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาป่าชุมชนเป็นอย่างมาก มีการจัดทำป้ายแนวเขตพื้นที่ป่าชุมชน ตรวจลาดตระเวณและตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่าบงขึ้นมา อนึ่ง นายคำปัน ฯ และคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่าบงได้จับกุมนายจันทร์แก้ว จันทร์แดง เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวข้อหาบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเมื่อวันที่ ๑๙ มิ.ย. ๔๔ โดยในการจับกุมครั้งนั้นแม้ว่านายจันทร์แก้ว ฯ ได้ยอมรับผิดและเสียค่าปรับเป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท ในเรื่องนี้ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับนายจันทร์แก้ว ฯ เป็นอันมาก ต่อมา พ่อหลวงคำปันฯ ก็ถูก จนท.คนนี้บุกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ศาลได้พิพากษาตัดสินนายจันทร์แก้วฯ จนท.หน่วยพิทักษ์ป่า ฯ ปืนโหดเป็นเวลา ๒๕ ปี
* นายชวน ชำนาญกิจ ชาวบ้านผู้มีใจพิทักษ์ชุมชน เพื่อนำสันติสู่วิถีชุมชนต่อต้านการค้ายาเสพติด ร่วมกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภอ.ฉวาง จ.จ.นครศรีธรรมราชถูกคนร้านบุกยิงเสียชีวิตในบ้านของตนเอง เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
* นายสำเนา ศรีสงคราม ประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่ร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้กับชาวบ้านในพื้นที่ เรื่องผลกระทบจากลำน้ำพองเน่าเสียจากโรงงาน ฟีนิกซ์ พัลพ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด โรงงานผลิตเยื่อกระดาษโครงการส่งเสริมการร่วมทุนระดับชาติโครงการแรกในพื้นที่ภาคอีสาน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน [ ก่อตั้งในปี ๒๕๑๘] โรงงานอภิโปรเจกนิรันกาลนี้ได้ปล่อยน้ำเสียลงในลำน้ำพอง สายน้ำแห่งชีวิตของชาวขอนแก่น จนเน่าเสียตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน นักอนุรักษ์เลือดลำน้ำพองผู้นี้ ได้ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมที่เถียงนาใกล้บ้าน ที่บ้านคำบงพัฒนา ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๔๖ ภายหลังจากนั้นไม่กี่วัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จับกุม นายสมบัติ ทองสมัคร มือปืนผู้ลงมือฆ่านายสำเนา ฯ และได้ให้การซัดทอดถึงนาย สมพงษ์ นารี กำนันในตำบลโคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ว่าเป็นผู้จ้างวานฆ่า ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินให้จำคุกตลอดมือปืนโหด เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ๒๕๔๗ และ ศาลให้ปล่อยตัวผู้จ้างวานไปในภายหลังเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ
ปี ๒๕๔๗ * นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๗ ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ ๑ ทนายสมชายฯ ทำคดีด้านสิทธิมนุษยชน เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย ทนายสมชายเคยมีบทบาทร่วมกับองค์กรมุสลิมต่าง ๆ ในประเทศไทย เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และได้เรียกร้องขอความเป็นธรรม ในการสอบสวน 5 ผู้ต้องหา ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายมูจาฮีดีน ซึ่งทนายสมชายฯ ได้ยืนยันว่าได้พบกับผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ได้ความว่า ทั้งหมดไม่ได้กระทำความผิด แต่จำต้องรับสารภาพ เนื่องจากถูกตำรวจขู่เข็ญทำทารุณกรรม ซึ่งกรณีนี้สร้างความอับอายให้กับกระบวนการสืบสวนสอบสวนของรัฐเป็นอันมาก ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๕ นาย ประกอบด้วย พ.ต.ต.เงิน ทองสุก, พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์, จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง, ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ตำรวจกองปราบปราม ตกเป็นจำเลยที่ ๑ ๕ ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ และข่มขืนใจผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้าย แต่ไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรมหรือข้อหาอื่นที่หนักกว่าได้เนื่องจากยังไม่พบศพหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทนายสมชายตายแล้ว ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศาลตัดสินจำคุก พ. ต. ต. เงิน ทองสุก ในข้อหาขืนใจ ทำให้สูญเสียอิสรภาพและระบุว่าเกิดจากการกระทำของร่วมกันกับบุคคล ๓ -๕ คน ผู้ต้องหาซึ่งเป็นตำรวจอีก ๔ นาย ยกฟ้อง เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ
* นายสุพล ศิริจันทร์ ผู้นำการพิทักษ์ผืนป่าและชุมชน แกนนำคัดค้านขบวนการค้าไม้เถื่อนในลุ่มน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ต่อสู้คัดค้านกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และระดับชาติ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมในหลายครั้ง แม้จะถูกข่มขู่สารพัดวิธี พ่อหลวงนักอนุรักษ์ ก็ไม่เคยหวาดหวั่นแม้แต่น้อย โศกนาฎกรรม สะเทือนขวัญ เย้ยอำนาจรัฐ เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.ของวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ กลุ่มมือปืนผู้มีอิทธิพลมืดในท้องถิ่นภายใต้ขบวนการค้าไม้เถื่อน ได้ลอบสังหารผู้ใหญ่บ้านนักอนุรักษ์ ภายหลังจากเหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและป่าไม้บุกจับขบวนการค้าไม้เถื่อนผ่านไปเพียง ๑๕ ชั่วโมงเศษ
* นายเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจงบคีรีขันธุ์ อายุ ๓๖ ปี แกนนำต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเคลื่อนไหวให้มีการตรวจสอบการใช้พื้นที่สาธารณะของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ โดยเปิดเผยตัวเต็มที่และได้ยื่นข้อเรียกร้องท้าทายอำนาจรัฐ ๒ ข้อ คือ ๑. ขอให้ยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทันที ๒. ถ้าไม่เข้าใจให้กลับไปดู ข้อ ๑. ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลา ๒๑.๓๐ นาฬิกา วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ด้วยอาวุธปืนกว่า ๑๐ นัด ภายหลังลงจากรถโดยสารที่เพิ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ในการมาพบคณะอนุกรรมการปราบปรามการทุจริต วุฒิสภา เรื่องข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ ๕ ราย แต่ไม่สามารถ ขยายผลไปสู่กลุ่มผู้จ้างวานที่ลงขันฆ่านายเจริญฯ ได้ ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล * นางพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น แม่บ้านอนุรักษ์ปกป้องชุมชนจากท่าทราย จ.อ่างทอง ในฐานะรองประธานชุมชนบ้านหัวกระบือ ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นแกนนำคัดค้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทรายของนายทุนผู้ประกอบการบ่อทรายจากกรุงเทพฯ ซึ่งมีภรรยานักการเมืองดังของจังหวัดคอยหนุนหลัง ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗
* พระสุพจน์ สุวโจ อายุ ๓๙ ปี (อายุพรรษาการบวช ๑๓ พรรษา) พระนักพัฒนาและอนุรักษ์ลุ่มน้ำฝาง ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ เดิมท่านสังกัดวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทุกวันนี้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ฝางมีสวนส้มอยู่ถึง ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่ครึ่งหนึ่งของสวนส้มเป็นพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก โดยกฎหมายเอื้อมมือไปไม่ถึง ที่ผ่านมาบุคคลเหล่านี้ได้ใช้กำลังเข้าไปตัดฟันต้นไม้ แผ้วถางทำลายป่าบางส่วนในสวนเมตตาธรรม และยึดเอาไปขายให้กับคนนอกพื้นที่เพื่อปลูกสวนส้มอย่างหน้าตาเฉย
ท่านฯ ถูกฆาตกรรมอย่างโหดร้ายทารุณ ด้วยของมีคมไม่ทราบชนิดและขนาด จากคนร้ายไม่ทราบจำนวน มีบาดแผลฉกรรจ์กว่า ๒๐ แผล ทั้งที่ ศีรษะ ใบหน้า ลำคอ มือ แขน และลำตัว กระทั่งถึงแก่มรณภาพ บริเวณที่เกิดเหตุห่างจากกุฏิที่พักกว่า ๓๐๐ เมตร ในเขตสถานปฏิบัติธรรม สวนเมตตาธรรม บ้านห้วยงูใน ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บนผืนดินของสวนเมตตาธรรมอันเป็นพื้นที่ป่า ๗๐๐ ไร่ กลับเป็นที่หมายปองของบรรดาผู้มีอิทธิพล บุคคลในเครื่องแบบและญาตินักการเมืองที่พยายามทำทุกวิถีทางที่จะบุกรุกป่าผืนนั้น เพื่อหวังจะครอบครองเปลี่ยนให้เป็นสวนส้ม หากขับไล่พระกลุ่มนี้ออกไปได้สำเร็จ
[๓] ยุค ( รัฐประหาร คมชฯ ) หลังปี ๒๕๕๐ ทิศทางสิทธิมนุษยชน กับ ความในรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๑๗
ได้มีการ * ขยายสิทธิชุมชน โดย การเพิ่มสิทธิของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อจะดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน ( มาตรา ๖๖ วรรค ๒ )
* ชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้ององค์กรของรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิชุมชนไว้ได้ ( มาตรา ๖๖ วรรค ๓ )
* ให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้ ( มาตรา ๒๐๘ ) * ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ฟ้องชุมชนมีสิทธิที่จะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้โดยตรง ในกรณที่กฏหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำใดที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ และเป็นผู้เสียหายแทนประชาชน เพื่อฟ้องศาลได้ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ( มาตรา ๒๔๘ (๑),(๒) ) นับต่อนี้ไป ... เราคงต้องเฝ้ามองสถานการณ์การต่อสู้ของ นักสิทธิมนุษยชน ว่า : สิทธิเสรีภาพ ..... จักได้มาด้วยหยาดหยดเลือดเนื้อ ชีวิตที่ลับหายจากปลายกระบอกปืนด้วยอำนาจรัฐและนายทุนการเมือง .... อีกละหรือ ! * ด้วยกระบวนทัศน์แห่งการพัฒนาที่ต้องเผชิญหน้ากับอำนาจรัฐและทุนนิยมสมัยใหม่ ในกระแสยุคโลกาภิวัฒน์อันเชี่ยวกรากทำให้ประเทศไทย กำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง สลับซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากการผูกขาดระบอบอำนาจและความโน้มเอียงทางด้านอำนาจนิยม สถานการณ์แห่งความขัดแย้งเหล่านี้ได้กลั่นกรองและได้สร้างแบบการต่อสู้ของ นักสิทธิมนุษยชน ยืนอยู่แถวหน้าสุดแห่งขบวนการต่อสู้ภาคประชาชน ฤา ... ตายอีกกี่สิบจึงจะเกิดแสน... ? ฤา จะเป็นเฉก เช่น : ใบหน้าประวัติศาสตร์เก่าๆ ที่เราจดจำมาตลอดทั้งชีวิตที่ผ่านมา ... !
บทเรียน .. ประสบการณ์ .. วิธีคิด .. วีการทำงาน ของ นักสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องราวชวนให้ก่อเกิดศรัทธาและเกิดกรณีศึกษาและก่อผลสะท้านสะเทือนอันทรงคุณค่าต่อแผ่นดิน เป็นพลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านเมือง วีรภาพแห่งการต่อสู้ที่ไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจอธรรม ทำให้นักสิทธิมนุษยชน ได้รับความความเจ็บปวด ครอบครัวยากลำบาก และแม้กระทั่งต้องสังเวยด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ท่านฯ เหล่านี้ จากพวกเราไป ก็เพียงแต่ร่างกาย แต่จิตวิญญาณและอุดมการณ์ ของ นักสิทธิมนุษยชน ที่ท่านทั้งหลายได้จุดประกายไว้ในแผ่นดินนี้ จะยืนยงสถิตย์คงมั่นในใจ ของ ผู้แน่วแน่ในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมสืบไปตลอดกาล บันทึก : ความรุนแรงกับการคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน · ฅนขอบคุณ · [ ๑] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ * เวทีสัมมนา ทิศทางสิทธิมนุษยชน ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ * หนังสือ ๒๑ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน สืบสานเจตนารมณ์ ฯ * หนังสือรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปี ๒๕๓๕ ถึง ๒๕๔๘ * หนังสือบันทึกคำนำ ๕ ทนายหนุ่มรุ่นใหม่ ฯ * ภาพประกอบ www.stormy.org / www.anti-war.net [ ๒] ขออนุญาต ต่อ ญาติมิตรผู้เป็นที่รัก ของ นักสิทธิมนุษยชนผู้ล่วงลับ ด้วยการนำประวัติศาสตร์ต่อสู้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์คารวะในการเผยแพร่และเพื่อการสืบต่อฯ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |