สวัสดี ..... เมืองปาย แรกเริ่มที่ได้ยินชื่อ อำเภอเมืองปายเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เท่าที่ทราบมา ... ถนนสายนี้รัฐบาลญี่ปุ่นสร้างผ่านป่าและภูเขา เพื่อนำกองทัพเข้าสู่พม่า ใน พ.ศ.2485 (ค.ศ.1942) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2522 (ค.ศ.1979) รัฐบาลก็ได้เริ่มบูรณะถนนปาย-แม่มาลัย (เชื่อมระหว่างจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่) เมื่อภูเขาถูกฝ่าตัดแล้ว รถราขนาดเล็กแล่นสะดวกไปมาหาสู่กันได้
จากนั้นบรรดาเพื่อนจากโลกฝั่งทิศตะวันตก ฝรั่ง ก็ได้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้านต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง ละฮูร์ ลีซู ม้ง ฯลฯ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ตลอดถึงแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีก ฯลฯ ในปัจจุบัน เขตชุมชนอำเภอปาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ ของ ฝรั่ง รวมถึงหนุ่มสาวจากแดนอาทิย์อุทัยที่มาตามรอยทางอดีตของบรรพชนผู้บุกเบิกเส้นทางนี้ เพื่อเข้ามาเดินป่าและผจญภัย ฯลฯ เมืองปายมีเรือนพักแรมขนาดเล็ก (GuestHouse) ประมาณ 44 หลัง ชาวบ้านแบ่งบ้านพักให้นักท่องเที่ยวเช่าพักตั้งแต่ 5 10 หลัง หรือสร้างโรงแรมขนาดเล็ก ตั้งแต่ 10 20 ห้อง นอกจากนี้ชาวบ้านยังขายของที่ระลึก อาหาร และจัดนำเที่ยว ฯลฯ รายได้จากการท่องเที่ยวขนาดเล็กของชาวบ้านมาจากค่าเช่าที่พัก,อาหาร และการจัดนำเที่ยวประมาณเดือนละ 12,000 20,000 บาทต่อเดือน
ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนกับชาวบ้านแหล่งท่องเที่ยวที่อื่นในสยามประเทศนี้ เช่น เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะภูเก็ต ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว ควบคู่กับการเกษตรและการประมง แต่อย่างไรก็ตามก็มีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่ได้รับข้อเสนอเงินก้อนโตจากนายทุนเพื่อก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ หวังกำไรจากการกลืนกิน เมืองปาย ... ให้อิ่มหนำสำราญใจ ประเทศไทยของผมและคุณ มีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวเป็นอันดับที่ 18 ของโลก ข้อมูลจาก tat.or.th บ่งชี้ว่า ในปี พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากถึง 20.08 ล้านคน (ในขณะญี่ปุ่น ไม่ติดอันดับ 1 20 ของโลก )
การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศในอัตราทวีคูณดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดการขยายพื้นที่ การท่องเที่ยวจากเมืองออกสู่ชนบทอย่างรวดเร็ว ดังนั้น แผ่นดินแม่สำหรับการโหยหาของ มิตรจากโพ้นทะเล ที่สำคัญในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน และเมืองที่เป็นขอบเขตบริวารต่างๆ เช่น หมู่เกาะใกล้เคียงพื้นที่บริเวณเชิงเขาและที่ราบบริเวณที่ใกล้แม่น้ำ จึงได้ถูกบุกรุกจากนายทุนข้ามชาติ และนายทุนในประเทศ เพื่อประกอบธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจข้ามชาติ การบุกรุกจากนักกินเมืองระดับชาติและท้องถิ่น ได้ถูกนายทุนต่างเมือง กว้านซื้อที่ดินที่ติดกับแหล่งท่องเที่ยวจากชาวบ้าน ทำให้วิถีดั้งเดิมชาวบ้านซึ่งเคยทำไร่ ทำนา ทำการเกษตร การประมง เพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเอง ต้องสูญเสียผืนแผ่นดิน ไร้ที่อยู่ บางส่วนก็เข้าป่าเมือง บางรายก็เริ่มต้นบุกรุกป่าสงวนที่แห่งใหม่ หรือที่เป็นเศรษฐีเพียงข้ามเดือนแล้วตกยากก็กลายพันธ์ เปลี่ยนสถานภาพเป็น ลูกจ้าง ขายแรงงาน ในอดีตสังคมไทยส่วนใหญ่ยังเป็นชนบทหรือเมืองเล็กๆที่วิถีชีวิตขึ้นอยู่กับการเกษตรและหัตถกรรมแบบพึ่งพากันและกันในท้องถิ่น รวมทั้งพึ่งพาสิ่งมีชีวิตทั้งหลายและธรรมชาติทั้งหมด คนในชุมชนขนาดเล็ก เฉกเช่น เมืองปาย ก็จะรู้จักกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ความงดงามที่เป็นเสน่ห์ของที่นี่ เช่น การเพาะปลูก การทำไร่ และการทำหัตถกรรม จึงเป็นการผสมผสานที่จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและต่อคนในชุมชนเป็นอย่างมาก การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมแบบชนบท ทำให้วิถีชีวิตสอดคล้องกับการอยู่ร่วมกันกับวิถีธรรมชาติตามแบบวิถีของชาวพุทธที่ดีและมีความสุข ชีวิตประจำวันข้างหน้าของ เมืองปาย ต้องพึ่งพากลไกลโลกแบบใหม่ที่ถูกสร้างโดยคนกลุ่มหนึ่ง (มิใช่ชาวบ้านในชุมชนพื้นบ้านดั้งเดิม ) แทนที่จะเป็นวิถีการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงพึ่งตนเองของชุมชน ขณะที่พุทธศาสนาเสนอว่าทางออกจากการพ้นทุกข์คือการส่งเสริมให้มนุษย์เรียนรู้จักควบคุมแรงจูงใจทางธรรมชาติในการไขว่คว้าที่มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง พวกนายทุนกลับใช้จุดอ่อนความอยากได้อยากมีของมนุษย์ ที่จะเพิ่มการผลิตและการขายสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มกำไรส่วนตัวของพวกเขาแต่โลกที่เป็นจริงคือตลาดที่มีการผูกขาดกลุ่มโดยนายทุนขนาดใหญ่ ที่เน้นหากำไรส่วนตัว มากกว่าที่จะแบ่งปันให้คนชั้นกลางและชุมชนชางบ้านได้บริโภคบ้าง ทำให้หวลนึกถึง ฉากหนังในเรื่อง สะบายดีหลวงพะบาง ( สะกดแบบรากเหง้าภาษาเดิมของภาษาลาว) ความเป็นเมืองท่องเที่ยวไม่ได้ทำให้ หลวงพระบาง เติบโตก้าวกระโดดจนหลงทิศทาง การเคยอยู่ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขแบบสังคมนิยมช่วยทัดทานความเป็นทุนนิยมได้เป็นอย่างดี คนท้องถิ่นยังมีบทบาทในการทำธุรกิจในพื้นที่ ไม่หวือหวาแต่ไม่ขัดสน ผสมผสานความสะดวกสบายแบบตะวันตกท่ามกลางความเรียบง่ายแบบตะวันออกอย่างพอดี โดยมีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างและตึกเก่าแบบตะวันตกที่ตกทอดมาจากยุคอาณานิคมเป็นฉากของเมือง หลวงพระบาง กับ ปาย มีความคล้ายหลายๆ อย่างในศักยภาพเมืองท่องเที่ยวจากธรรมชาติและวัฒนธรรม แต่แตกต่างลิบลับในด้านการบริหารจัดการ ทางออกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เมืองปาย ไม่เจ็บป่วยไข้ คือ การนำทฤษฎีใหม่และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่แก่ชาวบ้าน ให้สร้างเกาะป้องกัน ระบบทุนนิยมผูกขาด แบบรู้เท่าทันและความกล้าหาญในการไปวิเคราะห์ให้เห็นถึงความจริงว่า ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ และการทำลายล้างทั้งสภาพแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรม ทำให้สังคมแตกแยกเป็นเสี่ยงๆ เกิดความไม่เสมอภาค ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหมด ที่จะต้องหาทางเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจชนิดนี้ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจแบบสหกรณ์และผู้ผลิตขนาดกลางขนาดย่อม ในชุมชนขนาดเล็ก ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นโดยใช้เทคโนโลยีทางเลือกที่เหมาะสม ( เคยตั้งข้อสงสัยกันไหม ! ประเทศญี่ปุ่น ถูกสหรัฐทิ้งอะตอมิกบอมบ์จนเมืองเหี้ยนเตียน จนต้องปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นลง แต่เหตุไฉนคนญี่ปุ่นถึงเปิดใจอ้าอ้อมแขนรับเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในอ้อมกอดได้เร็วกว่าชาติอื่นในเอเชีย )
และยังปรารถนาว่า เมื่อกลับไปสู่อ้อมกอดของ เมืองปาย ท่ามกลางแมกไม้ และสายหมอก ภูเขา ธารน้ำใสอีกคราครั้ง ก็ยังตั้งความหวังแรงใจว่าไปคราวหน้า เมืองปาย ก็จะยังสบายดี บทข้อเขียนนี้ เป็นการวิพากษณ์เชิงสังเคราะร่วมกันด้วยการผสาน กับแนวความคิดของหลายท่านผู้รู้ที่ได้บรรยายไว้และเพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนะ มิได้มุ่งหวังผลในด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่อย่างใดไม่ ด้วยจิตคารวะอย่างสูงยิ่ง ฅนขอบคุณ ๑] บทความ ทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง กับการปรับตัวของชาวบ้านในด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผศ.ชูสิทธิ์ ชูชาติ
๒] บทความ .. หลวงพระบาง...สบายดี ? ข้อมูลสยามธุรกิจ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |