![]() ![]() โครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล
กับ SEA ลวงโลก แนวคิดครอบงำการจัดการน้ำ สูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมที่ครอบงำสังคมเราอยู่ปัจจุบันคือ
การสร้างเขื่อน การสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ โครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำต่างๆ
ทั่วประเทศ
ดังเช่นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาลอย่างโครงการบริหารจัดการน้ำ
โขง-เลย-ชีมูล โดยแรงโน้มถ่วงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่กำลังดำเนินการในปัจจุบันนี้ การดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนดังกล่าวนี้จะต้องลงทุนลงแรงมหาศาล
และเป็นเรื่องที่ประชาชนชาวบ้านทั่วๆ ไปเข้าไปมีส่วนอะไรได้ยากมาก
เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิควิศวกรรมแหล่งน้ำ
ที่ผูกขาดอยู่ในกลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายที่เติบโต ร่ำเรียน
และทำงานอยู่กับเรื่องดังกล่าว คือ ศึกษา ออกแบบ วางแผน แล้วก็สร้างเขื่อน ฝาย
อ่างเก็บน้ำ คลองส่ง คลองซอย หรือผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ ฯลฯ
ระเกะระกะเต็มไปหมดทุกสายน้ำ ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเบื้องแรกของโครงการนี้คือ
การใช้งบประมาณของรัฐทำการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ
จัดทำรายงานการศึกษาเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำ ซึ่งแต่ละปีใช้เงินหลายพันล้านบาท
เช่น การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy
Environmental Assessment: SEA) ซึ่งเครื่องมืออย่างหลังนี้เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยที่น่าสนใจ
และไม่ควรถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ SEA คืออะไร หากอธิบายอย่างง่าย SEA หรือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(Strategy Environmental Assessment: SEA) น่าจะหมายถึง การศึกษาถึงยุทธศาสตร์ทางเลือกของการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เหมาะสมที่สุด และยั่งยืนที่สุด
โดยพยายามที่จะทำขั้นตอนกระบวนการให้เกิดความรอบคอบรอบด้านที่สุด
มีส่วนร่วมกับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เมื่อได้ทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว
จึงเอาแนวทางนี้ไปออกแบบโครงการ หลังจากนั้นจึงค่อยไปทำ
EIA หรือ HIA จนดำเนินการโครงการต่อไป
หรือหากได้ทางเลือกและแนวทางที่เหมาะสมที่ไม่ต้องทำโครงการขนาดใหญ่แล้ว
อาจจะไม่ต้องทำ EIA ก็ได้ อาจจะทำแค่ IEE (การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น) ก็พอ เช่น
สมมุติว่าโจทย์ของการแก้ไขปัญหา ฝนแล้ง น้ำท่วมในลุ่มน้ำยม
น่าจะมีทางเลือกที่ดีที่สุดคืออะไร หากกระบวนการ SEA ทั้งหมดได้ข้อสรุปออกมาว่าต้องทำ
๓ เรื่อง คือ ๑)
การฟื้นฟูศักยภาพและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ๒)
การทำแก้มลิงกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำยมตอนกลางและตอนล่าง และ ๓)
การจัดการระบบการผลิตให้สอดคล้องกับภูมินิเวศและอุทกวิทยาลุ่มน้ำ ดังนั้น
ทางเลือกจึงไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ไม่ต้องมีโครงการขนาดใหญ่
ไม่ต้องเสียพื้นที่ป่าสักทอง ไม่ต้องเสี่ยงกับแผ่นดินไหวแล้วเขื่อนแตก
ไม่ต้องอพยพคนท่าสะเอียบ ไม่ต้องทะเลาะกัน ไม่ต้องจัดม็อบมาตีกัน และไม่ต้องผูกขาดการจัดการเอาไว้ที่กรมชลประทาน
เพราะเรื่องฟื้นฟูป่าต้นน้ำกรมชลประทานทำไม่เป็น
และการปรับปรุงระบบการผลิตพืชผลที่เหมาะสมกับสภาพลุ่มน้ำกรมชลประทานก็ทำไม่เป็นอีก SEA จึงต้องมีเจ้าภาพหลายฝ่ายที่ทำงานูบูรณาการกัน
ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งทำในทุกเรื่อง
(ทั้งเรื่องที่ตนเองถนัดและไม่ถนัด) อย่างนี้ล่ะเรียกว่า SEA
จากนั้นค่อยไปออกแบบรายละเอียดในเรื่องยิบย่อยต่อไป หากทั้งหมดแล้วโครงการต่างๆ
ในยุทธศาสตร์ทางเลือกที่กำหนดออกมาไม่ใช่โครงการอะไรที่ใหญ่โต
หรือไม่มีผลกระทบอะไรมาก ก็ไม่ต้องไปเสียเงินเสียทองเสียเวลาทำ FS, EIA,
HIA ให้มันวุ่นวายก็ได้ ดังนั้น SEA จึงเป็นกระบวนการที่ควรต้องทำก่อน
FS และ EIA และโดยหลักการแล้วต้องคำนึงถึงข้อจำกัดและเงื่อนไขต่างๆ
อย่างรอบคอบ โดยเฉพาะนโยบาย กฎหมาย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
และเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในลักษณะ ร่วมคิดร่วมทำ
ไม่ใช่แค่มาร่วมเวทีเฉยๆ โดยอย่างน้อยต้องมีข้อตกลงหรือมีเป้าหมายร่วมกัน
คือ ประโยชน์สูงสุด ความยั่งยืน
และไม่สร้างปัญหาเรื่องอื่นให้ซ้ำซ้อนขึ้นมา รวมถึงขึ้นอยู่กับ
Concept ของการพัฒนาด้วย
เช่น หากต้องเน้นการพัฒนาในลักษณะโครงการที่ ถูก ง่าย
ดี อะไรที่แพงๆ ยากๆ และสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้เกิดปัญหาก็ต้องตัดออกไป เป็นต้น SEA ผันน้ำกับฅนอีสาน ฅนอีสานคงเคยได้ยินโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ในช่วงรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ความฝันของรัฐบาลสมัครตั้งใจจะสานต่อโครงการโขงชีมูลเดิม จนกระทั่งต่อมานายกสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้มีการผลักดันโครงการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดย ครม. มีมติเห็นชอบให้ทำการศึกษาโครงการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๒ จะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ ๗๒๐ วัน (ตั้งแต่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒ ๕ กันยายน ๒๕๕๔) แต่ไม่มีการเปิดเผยจำนวนเงินในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่ทำการศึกษาครั้งนี้ รายละเอียดของการศึกษาครั้งนี้ จะมีการจัดทำรายงาน ๓ ฉบับคือ ๑) รายงานการประเมินยุทธศาสตร์ทางสิ่งแวดล้อม (SEA), ๒) รายงานการศึกษาความเหมาะสมของการผันน้ำโขงโดยแรงโน้มถ่วง (Feasibility Study)เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,
๓) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแนวทางผันน้ำที่ปากแม่น้ำเลยมายังพื้นที่ลุ่มน้ำชี
ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำโขงอีสาน, ๔) รายงานการประเมินผลกระทบด้านสังคม (SIA) และรายงานการผลกระทบด้านสุขภาพ
(HIA) ตามแนวนโยบายของสำนักงานแผนและนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาได้คืบหน้าอย่างเงียบๆ โดยบริษัทที่ปรึกษาจำนวน
๔ บริษัท ซึ่งเป็นบริษัเดิมๆ ที่เคยทำงานศึกษาโครงการต่างๆ ในอีสานมามากมาย เช่น
บริษัทปัญญา คอนซัลเทนต์ และบริษัททีม คอนซัลเทนต์ เป็นต้นฯ งานศึกษาครั้งนี้ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๒
จนถึงสิ้นกรกฎาคม ๒๕๕๓ โดยขณะนี้รายงานการประเมินยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมหรือ
SEA กำลังจะ แล้วเสร็จ
ท่ามกลางความงุนงงสงสัยของคนอีสาน ชุมชนที่อยู่ในเขตได้รับผลกระทบและได้รับประโยชน์ยังไม่เคย
หรือรับรู้งานศึกษาครั้งนี้ แต่ผู้ศึกษาได้กำหนดเวทีการสัมมนาเพื่อเปิดเผยรายงานการศึกษาที่กำลังจะแล้วเสร็จ
และเสนอทางเลือกให้ประชาชนในอีสานได้เลือกว่า
จะเอาทางเลือกในการพัฒนาโครงการผันน้ำนี้อย่างไรบ้าง เส้นทางไหน
พร้อมกับยกเหตุผลว่า เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโครงการตามรัฐธรรมนูญไทย ปี
๒๕๕๐ หมวดที่ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ว่าด้วยเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร,
สิทธิชุมชน แนวนโยบายการมีส่วนร่วมของรัฐ
การมีส่วนร่วมครั้งนี้จะใช้เวลาเพียงครึ่งวัน ใน ๔ เวที ๔ วัน ๔ จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี นครพนม
และอุบลราชธานี โดยจะมีตัวแทนจาก ๑๙
จังหวัดในภาคอีสานเข้าร่วม ภาคประชาชนที่ติดตามสถานการณ์นโยบายการจัดการน้ำของภาคอีสานมาตลอดจึงมีคำถามว่า ระยะเวลาเพียงครึ่งวันกับการตัดสินใจอนาคตของคนอีสาน
เป็นเรื่องสมควรแล้วหรือ ทางเลือกที่ซ้ำรอยเก่า รายงานการศึกษาครั้งนี้
มีข้อสรุปทางเลือกที่จะนำเสนอให้กับภาคประชาชนได้เลือกนั้นมี ๓ ทางเลือกคือ
ทางเลือกที่ ๑ การพัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักความยาว ๕๓๐ กม.
จะส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเดิม ๑.๘๓ ล้านไร่ ทางเลือกที่ ๒ พัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักความยาว ๑,๑๙๕
กม.ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเปิดใหม่ จำนวน ๓๑.๒๔ ล้านไร่ ทางเลือกที่ ๓ พัฒนาคลองส่งน้ำสายหลักให้เต็มศักยภาพ (ความยาวประมาณ ๒,๑๔๓ กม.)
จะส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานเดิมและพื้นที่เปิดใหม่ จำนวน ๓๓.๐๗ ล้านไร่ ชีวิตคนอีสานที่คนอื่นเลือกให้ รายงานฉบับนี้มีการจัดเวทีเพื่อรับฟังความเห็นต่อการตัดสินใจมาแล้วใน
๓ ระดับคือ ระดับ นโยบาย คือ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ,
เลขาธิการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และรองนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ซึ่งคณะระดับนโยบายนี้ให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อประโยชน์ของชาติ
เพื่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทย ในส่วนของข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืนเมื่อปี
๒๕๓๘ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า (๑) โครงการนี้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การผันน้ำในฤดูน้ำมากและใช้น้ำภายในลุ่มน้ำ
ซึ่งหากมีการพัฒนารัฐบาลไทยเพียงต้องแจ้งไปให้ประเทศภาคีทราบเท่านั้น
และหากจะต้องผันน้ำในฤดูแล้งต้องหารือก่อน (๒) โครงการนี้จะไม่มีการก่อสร้างในแม่น้ำโขงทำให้ไทยสามารถตัดสินใจได้ตามลำพัง
(๓) การสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนของจีน
ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้งและลดปริมาณน้ำในฤดูฝนอันเป็นผลดีต่อท้ายน้ำของไทย ส่วนการจัดเวทีการพิจารณาระดับภูมิภาค
(กลุ่มจังหวัด) มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรเลือกทางเลือกที่ ๓
คือการพัฒนาเต็มศักยภาพจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้ครอบคลุมพื้นที่อีสานทั้งหมดได้
โดยการทำคลองส่งน้ำและอุโมงค์ผันน้ำเป็นองค์ประกอบ
พร้อมกับมีข้อสรุปถึงผลประโยชน์ที่จะตามมาว่า · มีปริมาณน้ำที่จะผันเข้ามาประมาณ ๑๕,๒๓๘
ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อตอบสนองพื้นที่ชลประทานทั้งหมด
๓๓.๐๗ ล้านไร่ โดยเป็นพื้นที่ชลประทานเดิม ๓๑. ๒๔
ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานใหม่ ๑.๘๓ ล้านไร่ · ครัวเรือนที่จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจำนวน ๑,๕๔๕,๓๒๗ ครัวเรือน หรือประมาณ ๕๔.๔๕ เปอร์เซ็นต์ และจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น
๑๐๓,๐๓๗ บาทต่อปี (รายได้เพิ่มขึ้น ๕๔ เปอร์เซ็นต์/ปี) · ครัวเรือนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ ๒,๒๘๑ ครัวเรือน
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการประมาณ ๒๘๓,๕๕๒.๗๕ ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
และพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างรองลงมา · แนวผันน้ำนี้จะตัดผ่านแนวดินเค็มเพียง ๒๕๕ ไร่
และจะมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ประมาณ ๑,๔๕๙,๘๓๑ ครัวเรือน
โดยจะทำให้คนจนในอีสานที่มีอยู่ประมาณ ๒.๘ ล้านคน ลดลงประมาณ ๑.๙ ล้านคน
และจะทำให้คนจนเหลือเพียง ๑.๒๙ ล้านคนเท่านั้นในภาคอีสาน
โดยมีเพียงจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดชัยภูมิเท่านั้นที่อยู่นอกเหนือจากองค์ประกอบของแนวผันน้ำและคลองส่งน้ำหลักเดิมในพื้นที่ชลประทาน
จึงทำให้โครงการนี้ครอบคลุมเพียง ๑๗ จังหวัดในภาคอีสาน นี่เป็นข้อสรุปเบื้องต้นที่มีการศึกษาผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการผันน้ำนี้
โดยยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า จะต้องส่งเสริมรูปแบบการผลิตให้กับชุมชนอย่างไร
จะต้องเพาะปลูกหรือสร้างระบบเกษตรแบบใด จึงจะสามารถเพิ่มรายได้ให้มากถึง ๕๔
เปอร์เซ็นต์ต่อปีได้
และการนำน้ำปริมาณมหาศาลเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำท่าทั้งหมดต่อปีในภาคอีสานนั้น
ปริมาณน้ำที่เหลือจากการเกษตรจะจัดการอย่างไร ลำพังเพียงฤดูน้ำหลากน้ำก็มากมายเพียงพอแล้ว หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า
รายงานผลการศึกษาดังกล่าว ไม่ใช่ ทางเลือกใหม่ในการจัดการทรัพยากรน้ำของภาคอีสาน
และไม่อาจจะถือได้ว่าเป็นกระบวนการ SEA เป็นเพียงแนวทางพัฒนาโครงการแบบเดิมๆ
ของกรมชลประทานที่อาศัยชื่อ SEAมาใช้ประโยชน์แบบสุกเอาเผากิน
ไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาคอีสาน
และผลที่ออกมาก็สะท้อนความคับแคบของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ
นักเทคนิควิศวกรรมทั้งหลายที่ไม่เข้าใจบริบทภูมินิเวศวัฒนธรรมของอีสานทั้งระบบ เป็น SEA จอมปลอมลวงโลกที่ดูถูกภูมิปัญญาคนอีสานอย่างที่สุด
เป็นการเสนอทางเลือกปัญญาอ่อนให้คนอีสานเลือกว่าจะเอาคลองยาวกี่กิโลเมตร SEA
โครงการนี้ไม่ได้แสดงถึงภูมิปัญญาอะไรใหม่ๆ
ที่บ่งชี้ถึงความชาญฉลาดของกรมชลประทานที่ก่อตั้งมากว่าร้อยปีเลย และที่สำคัญและน่าเจ็บปวดที่สุดก็คือมันเป็นทางเลือกที่ซ้ำซ้อนกับแนวคิดเดิมของ โครงการโขงชีมูล ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ ที่ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ในโครงการนี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ
วิถีชีวิตและละเมิดสิทธิของชุมชนอีสานอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ในขณะนี้ปัญหาผลกระทบดังกล่าวก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้
กรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการโขงชีมูลในปัจจุบันน่าจะรู้ดี นอกจากนี้
สิ่งที่เสนอในทางเลือกยังบอกเอาไว้ว่า หากมีการผันน้ำเข้ามามากถึง ๑๕,๐๐๐
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีนั้น
ควรเป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ก็ไม่รู้ว่าการผันน้ำเข้ามาช่วยให้เกิดการใช้น้ำอย่างประหยัดได้อย่างไร
เพราะแค่ต้นทุนการผันน้ำก็มีค่าใช้จ่ายมากมายแล้ว
และก็ไม่แน่ว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหากเกษตรกรอาจจะต้องจ่ายค่าน้ำ
โครงการนี้จึงน่าจะขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่า
เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการพึ่งตนเองและสร้างระบบการจัดการน้ำในระดับไร่นาเพื่อตอบสนองการผลิตในระดับครัวเรือน ดังนั้น
ประชาชนอีสานทั้งหลายคงต้องร่วมกันเสนอความเห็นต่อการจัดการน้ำที่เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นที่ภูมินิเวศและวัฒนธรรมการผลิตของคนอีสาน
และข้อสำคัญ คือ การร่วมกันติดตามและตรวจสอบ ธุรกิจการศึกษารายงานความเหมาะสม ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในอีสานต่างๆ
ที่แต่ละปีมีรายงานในลักษณะนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก
แต่สุดท้ายโครงการและทางเลือกที่ไม่ควรจะเลือกมาตั้งแต่ต้นเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำเนินโครงการได้
แต่ที่ได้แน่นอนคือ งบประมาณของรัฐที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ปรึกษาหลายแห่งทำการศึกษาในลักษณะนี้มันคือภาษีของประชาชนเป็นจำนวนมหาศาลซึ่งหากศึกษาให้ดีจะพบว่า มีการศึกษาซ้ำซ้อนกันหลายหน่วยงานมาก
และก็มีไม่กี่บริษัทที่รับงานแบบนี้ไปทำ
โดยที่กระบวนการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย คือ
เป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ และนักเทคนิคทางวิศวกรรมชลประทาน คนอื่นอย่าเข้ามายุ่ง
หากนับรวมงบประมาณที่จ้างบริษัทที่ปรึกษาเหล่านั้นไปทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการต่างๆ
คงสามารถสร้างระบบจัดการน้ำที่เหมาะสมให้กับชุมชนอีสานได้อีกมากมายหลายรูปแบบ เช่น
การพัฒนาระบบจัดการน้ำตามภูมินิเวศ การขุดสระน้ำในไร่นา
หรือแม้แต่การปรับปรุงระบบชลประทานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คนอีสานอยากได้น้ำก็จริง
แต่ไม่เอาโครงการผันน้ำ อยากเสนอทางเลือกเองบ้าง และไม่เอา SEA (ฉบับเลือกความยาวของคลอง)
ฉบับนี้... ฅนขอบคุณ ฅนต้นเรื่อง : ไพรินทร์ เสาะสาย เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน ๑] เอกสารประกอบการเขียน
: เอกสารประกอบการประชุมหารือผู้ทรงคุณวุฒิ,
โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategy Environment
Assessment : SEA) โครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล
โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มิถุนายน ๒๕๕๓ ๒] ข้อมูลชมรมนักข่าวสีเขียว
,มูลนิธีโลกสีเขียว www.greenworld.or.th/greenworld |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |