จริงจริ๊ง! ชาวเขาไม่เอาแม้ว ตรวจสอบคะแนนชาวเขาในการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้เลย โดยเฉพาะในอำเภอที่ดิฉันทำงานอยู่ อำเภอที่มีคนชนเผ่ามากที่สุดในจังหวัด เสียงส่วนใหญ่เป็นประชาธิปัตย์ วันก่อนชายเย้าวัยกลางคนลงดอยมาคุยด้วยว่า "ผมดูทีวีไม่ได้เลยนะ ทำไมคนทำไม่ดี คนทำร้ายบ้านเมือง คนไล่ผู้นำประเทศอื่นหนีกลับบ้านไป ยังได้หน้าบานออกทีวีทุกวันทุกช่อง" ออกอาการละเหี่ยใจ ไอ้เราปลอบใจไปก็แอบเซ็งไปด้วย ดิฉันจะเล่าเรื่องบางเรื่องเกี่ยวกับชาวเขาที่รู้จักให้ฟังค่ะ แล้วจะรู้...ทำไมเขาถึงไม่เอา"แม้ว" ครอบครัวชาวเขาหลายครอบครัว พ่อแม่หรือผัวเมียไม่สบาย เขาประคับประคองพากันมาหาหมอ มารับยาให้ ผู้เฒ่าฟังภาษาเราไม่เข้าใจ ลูกหลานก็ใจเย็นอธิบายให้ฟัง บ้างสองผัวเมียอายุเกินแปดสิบแล้ว ไม่มีลูก ผลัดกัน บางทีเมียมาส่งผัว บางทีผัวมาส่งเมีย จนจากกันไปข้าง..อีกไม่นานอีกคนก็ตามกันไป แล้วเราก็ไม่เห็นเขาอีกเลยจนเพื่อนบ้านมาบอกนั่นแหละ ครั้งหนึ่งชาวเขาสูงวัย มาหาหมอด้วยอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง มาคนเดียว ได้รับการรักษาแล้วแต่ไม่มีตังค์ เราจ่ายยาให้และไม่เคยมีสมุดจดบันทึกค่ารักษาติดค้าง ไม่เคยติดตาม คือถ้าใครไม่เอามาจ่ายให้ก็ไม่มีวันรู้ วันนึงคุณลุงเย้าผู้นี้ตั้งใจลงดอยเอาเงินค่ารักษาที่ค้างจ่ายมาให้ 200 บาท บอกว่าเพิ่งขายข้าวโพดได้ ที่จริงเราลืมไปตั้งแต่คนไข้กลับบ้านแล้วล่ะ เลยต้องค้นประวัติมาดู คุณลุงมาจ่ายค่ารักษาของเมื่อเกือบปีที่แล้ว นี่ตั้งใจลงดอยมาเพื่อการนี้เท่านั้น จ่ายตังค์เสร็จก็จะกลับขึ้นดอยเลย...เขาเห็นความซื่อสัตย์ รักษาคำพูด เป็นสำคัญ "แม้ว" อันที่จริงหมายถึงชาวเขาเผ่า "ม้ง" แต่คนพื้นเมืองมักเรียกชาวเขาเผ่าต่างๆโดยรวมว่า "แม้ว" เดี๋ยวนี้เราจะเรียกตามเผ่า เช่น ม้ง(บางคนเรียกแม้วอยู่เป็นอันรู้กัน) กระเหรี่ยงหรือปกาเกอญอ อีก้อหรืออาข่า มูเซอร์ ลัวะ ยาง แต่ละเผ่ายังมีแยกย่อยอีกเยอะ ส่วนอดีตนายกฯชื่อ"แม้ว" ไม่รู้ที่มาเหมือนกัน รู้แต่คนรักความซื่อสัตย์เขาไม่ชอบกันค่ะ ดิฉันรู้จักคุ้นเคยกับคนชนเผ่ามาร่วมยี่สิบปี ตั้งแต่รับราชการ ขึ้นดอยไปหมู่บ้านชาวเขานิเทศงานสถานีอนามัย จนลาออกจากราชการนานแล้วก็ยังพานพบผูกพันกันอยู่เรื่อยมา สัญญากับคนไว้หลายหมู่บ้านว่าจะขึ้นไปเยี่ยม แต่หาโอกาสไม่ได้สักที บางหมู่บ้านถนนลำบากต้องรอหมดฝน ช่วงก่อนเลือกตั้งวันหนึ่งดิฉันขับรถขึ้นดอยไปเยี่ยมบ้านชาวเขาที่ใกล้เมืองที่สุด ท้องฟ้าปลอดโปร่ง บ่ายโมงกว่า เป้าหมายคือ "บ้านขุนแหง" หมู่บ้านนี้มีประมาณ 100 หลังคาเรือน ต้นหมู่บ้านจะเป็นคนไทลื้อ 10 หลัง จากนั้นก็เป็นชาวเขาเผ่าเย้าทั้งหมด ภาพข้างบนนี้เป็นครัวเตาฟืนแยกออกมาจากตัวบ้าน เจ้าของบ้านหลังนี้เป็นชาวไทลื้อกำลังนั่งแกะกระเทียมอยู่ พ่อบ้านไปลงแขกปลูกบ้านในหมู่บ้าน คุณยายเพิ่งสระผมเสร็จ มาปักหลักหน้าบ้านยังไม่ได้ทำอะไรก็มานั่งคุยกับเราซะก่อน เย้าส่วนใหญ่พูดภาษาพื้นเมืองได้ค่ะ ยกเว้นคนสูงอายุมากต้องมีลูกหลานช่วยเป็นล่าม เด็กเย้าเดี๋ยวนี้ก็พูดภาษากลางชัดขึ้นเยอะ เพราะบ้านแทบทุกหลังมีทีวีดู แต่เขาไม่ทิ้งภาษาถิ่น อาจมีพูดทับศัพท์บ้าง แถมยังมีการเอาเพลงของศิลปินดังมาแปลงเป็นภาษาถิ่นร้องกันซะด้วย แกรมมี่โปรดอย่าโวยวาย เขาแค่ร้องเล่นกันสนุกในที่พักอาศัย ไม่ได้เพื่อการพาณิชย์ ฮึ่ม! แย็บถามว่า คุณยายอยากได้ใครเป็นนายกฯ คุณยายบอก "มันมีผู้ชายคน ผู้หญิงคน แบ่งกันไป" ดิฉันบอก "ม่ายด้ายยยย เลือกนายกฯได้คนเดียวยาย" "งั้นใครให้ค่าหูหนวกก็เลือกคนนั้นแหละ" คุณยายหูตึงค่ะ เราเลยต้องตะโกนแลกกันตลอด "ผู้ชายเบอร์สิบยาย" เข้าพกแล้วหนึ่งเสียง อิอิ ที่จริงไม่ได้ทำอะไรหรอก แค่บอกว่าค่าหูหนวกเดือนละ 500 ที่ยายได้รับมาทุกเดือนนั้นผลงานเบอร์สิบเท่านั้นเอ๊ง555 ไหนไหนก็ขึ้นดอยมาไกล ดิฉันถือโอกาสวางทุ่นระเบิดไว้บ้านคุณยาย น้ำเย็นที่ใช้เป็นน้ำที่ไหลลงมาจากดอยเก็บไว้ในถังเก็บน้ำปูนซิเมนต์ ฤดูหนาวคงเย็นจัดเลยทีเดียวเชียวล่ะ แต่วันนั้นเย็นก้นพอทนได้ค่ะ ฮ่า ฮ่า สมัยก่อนยังรณรงค์ให้ใช้ส้วมร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่เลย เดี๋ยวนี้มีส้วมทุกหลังคาเรือน ไม่ต้อง"ไปป่า"เหมือนเดิมอีกแล้ว สนุกกำลังดีแล้ว ขับรถเข้าไปต่อ หมู่บ้านค่อนข้างเงียบ เขาไปทำไร่ข้าวโพดกัน คนอยู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นแม่เฒ่า พ่อเฒ่า หรือคนเกือบเป็นแม่เฒ่าก็อยู่เหย้าเฝ้าบ้านเลี้ยงหลานบ้าง ปักผ้าบ้าง ผ้าที่เขาปักกันอยู่นี่คุณผู้หญิงหลายท่านอาจเคยซื้อมาใช้ เป็นผ้าปักที่ชาวม้ง เอามาฝากไว้ที่ผู้นำหมู่บ้าน พร้อมแบบลายและด้ายมาครบชุด สามารถไปรับมาปักได้ค่าจ้างผืนนึง 500 บาท ใช้เวลาตั้งเดือนกว่าจะได้ผืนนึง แปลกมั้ย เขาปักจากด้านหลัง ไม่เหมือนที่เราปักครอสติชที่ปักด้านหน้า ดิฉันนั่งจ้องเขาทำตั้งนานแล้วเป็นงง แค่ครอสติชที่ปักค้างไว้ตั้งสิบปีแล้วยังปิดจ๊อบไม่ลงเลย เด็กน้อยอายุเดือนกว่า ยายยืนเขย่าตลอดเวลาเลย กลัวตื่นไม่มีนมให้กิน แม่เด็กไปทำไร่ข้าวโพด ที่นี่ไม่มีรถรับจ้างค่ะ ใครจะลงดอยไป"ตลาด" (หมายถึงตัวอำเภอ) ก็จะไต่ถามกันไว้ว่าพรุ่งนี้บ้านไหนมีรถเข้าเมืองบ้าง ก็จะติดรถกันลงไป พึ่งพาอาศัย ทั้งหมู่บ้านนี่ไม่มีรั้วกั้น ปลูกผักกินเอง ใครมาเก็บกินไม่ว่ากัน แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ น่ารักมั้ยคะ ถ้าสังเกต จะเห็นว่าคุณป้าคุณยายเย้าแต่ละคน ผมจะหายไปเยอะ เพราะเมื่อก่อนนุ่งห่มชุดเย้าโพกศีรษะตลอด หลายปีมานี่ไม่ค่อยแล้ว จะแต่งกายแบบลำลองกันหมดแล้ว ดิฉันเคยได้ยินใครน้อว่า เสียดายเย้าน่าจะอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายชนเผ่าของเขาไว้ ก็เรายังไม่นุ่งโจงกระเบน ไว้ผมทรงมหาดไทยเลยนี่นะ...ชาวเขาก็ปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของโลกที่หมุนไป ชุดประจำเผ่านุ่งแล้วร้อนมาก ศีรษะจนเถิกแบบนั้นนั่นไง แต่เขายังแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าในเทศกาลสำคัญ ไม่ใช่แค่เผ่าเย้า แต่อาข่า ปกาเกอญอ มูเซอร์ ก็เหมือนกัน แต่แม้ไม่แต่งเครื่องแบบ เราก็แยกแยะได้ว่าใครเผ่าไหนจากภาษาพูด บุคลิกท่าทางที่แตกต่าง นี่เป็นบ้านของคุณยายคนข้างล่างนี้ คนเย้าโบราณเขาสร้างบ้านคร่อมดินแบบนี้แหละ เมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว บ้านแทบทุกหลังเป็นแบบนี้หมด ไม่มีหน้าต่าง มีห้องนอนเตียงนอนเป็นแคร่วางบนพื้นดิน ชาวเขาจึงมีปัญหาโรคพยาธิเยอะ ไม่มีไฟฟ้า จะใช้ตะเกียงเจ้าพายุเป็นหลัก ภาพเจนตาคือชายชาวเย้านอนแคร่สูบฝิ่น แต่ขึ้นดอยไปคราวนี้ดิฉันเห็นบ้องฝิ่นอยู่อันเดียว เอาท่อพีวีซีมาดัดแปลง ไม่เห็นบ้องไม้ไผ่เหมือนแต่ก่อนแล้ว เดี๋ยวนี้มีไฟฟ้าใช้ทุกบ้านแล้วค่ะ มีตู้เย็น มีทีวีดู มีหม้อหุงข้าว ตั้งเรียงไว้เหมือนในภาพ ถึงบ้านไม่มีหน้าต่างแต่ฝาบ้านเป็นไม้รวกมีร่องรูให้อากาศผ่านได้บ้าง ในบ้านเย็นสบายดีค่ะ ดินพื้นบ้านเรียบแน่นทีเดียว คุณยายทั้งสองต่างหาถุงมาใส่มะม่วงแก้วที่บ่มไว้ข้างบ้านฝากกลับบ้านด้วยถุงเบ้อเริ่มเทิ่ม ประตูเข้าบ้านจะมีผ้าปักลาย เปรียบเหมือนกับผ้ายันต์ เป็นความเชื่อว่า "กันผีร้าย ให้โชค" ปักด้วยลายสามลายเรียงกัน มีผ้ายันต์แบบนี้ติดเหนือประตูเข้าบ้านแทบทุกหลัง บ้านคร่อมดินแบบนี้เหลือน้อยลงแล้วค่ะ เพราะบ้านหลายหลังกลายเป็นบ้านใหม่ก่ออิฐถือปูน หรือบางบ้านก็ยกพื้นสูงมีใต้ถุน บางบ้านกลายเป็นบ้านสองชั้น คุณยายสองคนบนล่างนี้ มานั่งคุยกันไปปักผ้ากันไปค่ะ อารมณ์ดีคุยไปหัวเราะไป บ้านหลังนี้เป็นบ้านตึกสองชั้นหลังใหญ่ อาศัยอยู่ด้วยกันกว่าสิบคน แต่ตอนนี้ลูกหลานไปทำไร่ข้าวโพดกันหมด ฝนเริ่มลงมาปรอยๆ เลยนั่งเอ้อระเหยอยู่บ้านนี้นานหน่อย ฟังคนแก่เล่าโน่นเล่านี่สนุกดี คนที่ยังอยู่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลางคนจนถึงคนแก่ คนหนุ่มสาวเหลือน้อย เพราะไปทำมาหากินในเมืองกันเยอะ หรือบ้างก็ไปหากินต่างจังหวัดกันเลย อาชีพยอดนิยมของคนหนุ่มสาวเผ่าเย้าคือขายน้ำเต้าหู้ ทำรายได้ส่งเงินมาให้พ่อแก่แม่เฒ่าได้พอสมควร เด็กหนุ่มบางคนก็เป็นช่างซ่อมรถ แต่ผู้เฒ่าก็ไม่ได้งอมืองอเท้าขอเงินลูกหลานกิน ปักผ้าไป ปลูกผักไป ไม่มีค่าใช้จ่ายมากมาย ยิ้มแย้มแจ่มใส สบายใจเฉิบ เมฆครึ้มทะมึนขนาดนี้ อีกไม่นานฝนมันคงเทลงมาจนทำให้ลงดอยลำบากแน่ เลยต้องจำจร เกือบ 4 ชั่วโมง กับเสียงเบอร์สิบกลับบ้านอีกพกหนึ่ง ดิฉันลงดอยมาโดยสวัสดิภาพ ไม่กี่วันหลังเลือกตั้ง...คุณยายเย้าคนนึงลงดอยมาบอกว่า "เฮาแพ้แล้ว"..ฮือ ฮือ เสียงบนดอยชนะ แต่เสียงใน"ตลาด"ยับเยิน!! |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ธรรมชาติ ตะวัน และขุนเขา | ||
![]() |
||
ไม่รู้หนาว จะรู้ร้อนได้อย่างไร? |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |