ศาลาเฉลิมกรุง หรือในปัจจุบันมีชื่อใหม่คือ เฉลิมกรุงโรยัลเธียเตอร์ ที่ดูทันสมัยกว่าเดิม คงเป็นที่รู้จักกันดีของบรรดาคุณลุงคุณป้าคุณน้าคุณอา หรือแม้กระทั่งยุคหลานๆอย่างผม ที่ยังไม่สามสิบดี ก็ยังเคยได้มีโอกาสสัมผัส ความเป็นโรงมหรสพขนาดใหญ่ ที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงโฉม และการทำหน้าที่ไปบ้าง แต่เมื่อได้เห็น " เฉลิมกรุง " ความรู้สึกในวัยเด็กก็ย้อนกลับมาทุกครั้ง มีบทความหนึ่งซึ่งเล่าเรื่องเฉลิมกรุงได้อย่างดีเยี่ยม จนผมไม่อาจที่จะเรียบเรียงข้อมูลไปได้ดีกว่านี้ วันนี้ขออนุญาตพาท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้ซึมซับไปพร้อมๆกัน อาคารเก่า 4 ชั้น อายุกว่าครึ่งศตวรรษหลังนี้ ดูจากภายนอกยังอยู่ในสภาพดีพอใช้ เมื่อเข้าไปภายในตัวอาคาร เราจะสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายความเก่าแก่ ที่ยังคงมนต์ขลังไว้ทุกซอกทุกมุม ภายในแบ่งสัดส่วนออกไปตามลักษณะใช้งาน ชั้น 1 เป็นโรงภาพยนตร์ที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ ชั้นที่ 2 เป็นห้องเมขลา ที่ตกแต่งใหม่อย่างสวยงามและหรูหรา เพื่อเป็นห้องที่ประทับรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเสด็จฯ มาทอดพระเนตรมหรสพ ที่ศาลาเฉลิมกรุงแห่งนี้ ชั้นที่ 3 เป็นห้องที่แสดงหัวโขนต่าง ๆ และจัดเป็นห้องสำหรับไหว้ครูของนักแสดง ส่วนชั้นที่ 4 ของตัวอาคาร ใช้เป็นห้องเก็บอุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้ในการทำฉากของศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเฉลิมกรุงถึงจะดูว่าเป็นอาคารเก่าแก่ แต่โครงสร้างยังคงมีความแข็งแกร่ง สามารถอยู่ได้อีกเป็นร้อยปี เพราะวิศวกรที่ออกแบบใช้โครงสร้างเดียวกับฐานรากของการสร้างสะพานพุทธ เมื่อครั้งอดีตที่มีการฉลองพระนครครบรอบ 150 ปี ได้มีมติคณะรัฐบาลที่จะจัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถอำนวยสาธารณประโยชน์ และเป็นที่ระลึกแห่งการเฉลิมฉลอง ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชดำริให้สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯ กับกรุงธนบุรี ให้มีความเจริญพัฒนาทัดเทียมกัน พร้อมทั้งได้สร้างพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไว้ที่เชิงสะพานฝั่งพระนคร เพื่อรำลึกถึงต้นราชวงศ์จักรี และในรัชสมัยนั้น "ภาพยนตร์" ถือเป็นสิ่งบันเทิงที่เฟื่องฟูที่สุดในโลก เทียบได้กับวงการโทรทัศน์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในสยามสมัยรัชกาลที่ 7 ตามหัวเมืองต่าง ๆ มีอยู่ประมาณ 20 โรง กระจายอยู่ทั้งเขตพระนครและกรุงธนบุรี ซึ่งจัดฉายภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ด เป็นหลัก โรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตอนนั้นก็ไม่ได้ทันสมัย แต่เป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี ไม่มีโรงขนาดใหญ่หรูหรา ( ประตูทางเข้ายังคงมีสัญลักษณ์ตราครุฆ บ่งบอกความเป็นโรงมหรสพหลวง ) กระทั่งปี 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องด้วยพระองค์ท่านโปรดภาพยนตร์เป็นพิเศษ จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์กว่า 9 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนในการจัดสร้างโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โรงภาพยนตร์แห่งใหม่นี้ จัดว่าหรูหราและโอ่โถงที่สุดในเอเชีย ในยุค 70 กว่าปีที่ผ่านมา ดูภูมิฐานเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ มีขนาดความจุผู้ชมได้มากกว่า 2,000 คน สร้างขึ้นบริเวณถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชรมี หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง และนายนารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่ายระหว่างตะวันตกผสมกับไทย นามของโรงมหรสพแห่งนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ศาลาเฉลิมกรุง" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบ และเป็นอนุสรณ์แห่งงานฉลองพระนครครบ 150 ปีกรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.2476 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี ( ม.ร.ว.มูล ดารากร) เป็นผู้แทนพระองค์มาประกอบพิธีเปิด ภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำมาเข้าฉาย คือ เรื่อง "มหาภัยใต้สมุทร" ( บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายยามเช้า ที่ลานด้านข้าง ) ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อแรกเปิด เป็นเสมือนแหล่งนัดพบของผู้มีการศึกษาที่จะมาชุมนุมพบปะสังสรรค์ และต่อมาเมื่อวงการภาพยนตร์เมืองไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ศาลาเฉลิมกรุง จึงได้เปลี่ยนบทบาทเป็นศูนย์กลางของความบันเทิง และเป็นแหล่งรวมศิลปินแขนงต่าง ๆ ไว้ และถือว่าเป็นศูนย์กลางของวงการบันเทิงอย่างแท้จริง นับว่า เป็น "ฮอลลีวู้ดเมืองไทย" ก็ว่าได้ เพราะในยุคหนึ่ง สถานที่แห่งนี้นับเป็นแหล่งรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็นศูนย์รวมของผู้คนในวงการบันเทิงไทย ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้กำกับฯ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน นักพากย์ นักร้อง ช่างเขียนโปสเตอร์ ซึ่งถือว่า เป็นสถาบันในการผลิตบุคลากรทางด้านการภาพยนตร์ และละครไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองไทย ( บังเอิญว่าวันนี้ที่ผมไป มีพิธีบวงสรวงกันเล็กน้อย ด้านในมีงานเลี้ยงจึงไม่ได้เข้าไป ) หนุ่มสาวชาวกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรยุคนั้น หากใครไม่เคยไปสัมผัสกับบรรยากาศของศาลาเฉลิมกรุง ถือว่า "เชย" ที่สุดทีเดียว
( หลังการปรับปรุง ได้ให้ร้านอาหารเอสแอนด์พี มาเปิดบริการอยู่ด้านข้าง นับว่าการตกแต่งภายนอก และเมนูอาหารไทยๆ ผสมอินเตอร์ ของเอสแอนด์พี ก็เข้ากันได้ดีกับศาลาเฉลิมกรุงครับ ) จากนั้น การแสดง "โขนจินตประยุกต์" ก็ได้เปิดแสดงอยู่ประมาณ 100 รอบ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นกลุ่มผู้บริหารที่ร่วมลงทุนในกิจการ ก็เริ่มให้มีการปรับทิศทางจัดกิจกรรมที่เป็นวาไรตี้มากขึ้น คือ มีการแสดงทั้งละครเวทีร่วมสมัย ดนตรี และภาพยนตร์ แต่การดำเนินงานของศาลาเฉลิมกรุงก็ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนสูง เพราะเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ จึงต้องแบกรับภาระขาดทุนจากค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแอร์ และค่าจ้างบุคลากร ไม่คุ้มกับรายรับ เนื่องจากมีจำนวนผู้ชมที่เข้ามาใช้บริการในโรงภาพยนตร์แต่ละรอบน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ในปัจจุบันนี้ ศาลาเฉลิมกรุงมีการปรับปรุงที่นั่งของผู้ชมเหลือเพียง 600 ที่นั่ง (จากเดิมจำนวน 2,000 ที่นั่ง) เพื่อให้สถานที่กว้างขวางขึ้นในการชมการแสดง แต่ก็ยังมีผู้ชมเข้าไปใช้บริการไม่เต็ม ( มีการนำการแสดง ของศิลปินรุ่นเก่า ร่วมสมัย มาให้คุณลุงคุณป้าชมอยู่เป็นประจำ ) ศาลาเฉลิมกรุงล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายปี ในที่สุด สำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ โดย ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฯ จึงได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือในการบริหาร และดำเนินกิจการต่อ และได้ให้นโยบายบริหารงานว่า... ปัจจุบันนี้ ศาลาเฉลิมกรุงจึงมีกิจกรรมบันเทิงที่หลากหลาย ทั้งการแสดงละคร ดนตรี ภาพยนตร์ที่จัดฉายปีละ 3-4 เรื่อง ที่เป็นภาพยนตร์คุณภาพจริง ๆ อาทิ กาหว่าที่บางเพลง สุริโยไท หรือ ภาพยนตร์เก่า ๆ เรื่อง คนเหนือคน ของ มิตร ชัยบัญชา ในกิจกรรม "เทศกาลภาพยนตร์ มิตร ชัยบัญชา" ซึ่งหาดูได้ยากในยุคนี้ ( ที่มาจากนิตยสารหญิงไทย วารสารดีเด่นประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยวชนประจำปี 2542 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 698 ปีที่ 30 ปักษ์แรก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ) ในวันนี้ เฉลิมกรุง มีภารกิจใหม่ คือการนำเสนอศิลปะประจำชาติไทย ที่หาดูได้ยากยิ่ง นั่นคือการแสดงโขน ใช้ภาษาอังกฤษให้ฝรั่งได้เข้าใจว่า Thai Masked Dance แต่ผมว่าจะใช้คำจำกัดความในภาษาอังกฤษคำใดก็คงไม่อาจบรรยาย หรือมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่าโขน จึงน่าจะให้ชาวต่างชาติได้ชมการแสดงเอง ให้เค้าได้เข้าใจคำว่า โขน ( Khon ) ด้วยตัวเองจะดีกว่า ( โปสเตอร์ขนาดยักษ์ด้านหน้าที่บอกถึงการแสดงโขนที่จะเกิดขึ้นในศาลาเฉลิมกรุง ขอชมครับ ทำได้ดีเยี่ยม มีภาษาอังกฤษบอกประวัติความเป็นมา และเนื้อเรื่องที่จะแสดงด้วยครับ ) ( ความเป็นมาของการแสดงโขนในศาลาเฉลิมกรุง ) ณ. วันนี้ ศาลาเฉลิมกรุง หรือ เฉลิมกรุงโรยังเธียเตอร์ ได้รับการปรับปรุง และมีภารกิจสำคัญในการธำรงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมอันมีค่าของประเทศเราไว้ ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้สัมผัสและเรียนรู้ ภารกิจสำคัญอันนี้นับเป็นการจัดที่ทางและตำแหน่งให้โรงมหรสพหลวงแห่งนี้ได้ยืนหยัด อยู่คู่ประเทศเราตลอดไป ท่านผู้อ่านมีเวลาว่างวันไหน ... ลองแวะมาเยี่ยมเยียนเฉลิมกรุงกันนะครับ
( ร้านกาแฟโบราณสุดคลาสสิค ออน ล็อก หยุ่น ที่อยู่เคียงคู่เฉลิมกรุงมายาวนาน คราวหน้านะครับ ได้โปรดอย่าพลาด ) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |