![]() กระแสข่าวเกี่ยวกับการยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองทวาย โดยทางการรัฐบาลพม่านั้นย่อมจะสร้างความวิตกกังวลให้กับเอกชนไทยผู้ลงทุนในโครงการอย่างกลุ่มอิตัลไทยอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับทางการรัฐบาลทหารพม่าที่แปลงร่างมาเป็นรัฐบาลพลเรือนอย่างสมบูรณ์แบบตามวิถีการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปี 2010 ที่ผ่านมาแล้วนั้นย่อมจะถือว่าเป็นการเสี่ยงที่น่าจะคุ้มค่าอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกะวัตต์ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ และป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ นอกจากจะสามารถสร้างภาพพจน์ของการเห็นความสำคัญของสิ่งแวด ล้อมธรรมชาติและการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนให้กับรัฐบาลพม่าได้ในระดับหนึ่งแล้ว การตัดสินใจเช่นนี้ของรัฐบาลพม่าก็ยังจะนำมาซึ่งการยอมรับจากนานาชาติมากขึ้นอีกด้วย แน่นอนว่าเหตุการณ์เช่นนี้ย่อมมิใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการวางแผนแต่อย่างใด หากถือเป็นความชาญฉลาดโดยแท้ของผู้นำในพม่าที่ได้กำหนดจังหวะก้าวต่างๆไว้อย่างเป็นขั้นตอนอยู่แล้ว ซึ่งก็จะเห็นได้จากการดันร่างรัฐธรรมนูญออกมาบังคับใช้จนเป็นผลสำเร็จในปลายปี 2008 ต่อเนื่องด้วยการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปี 2010 แล้วจัดตั้งเป็นรัฐบาลพลเรือนและครองอำนาจทางการเมืองในพม่าโดยชอบธรรมเรื่อยมาจนเท่าทุกวันนี้ ทั้งก็ยังเชื่อว่าจะยังคงครองอำนาจต่อไปอีกนานถ้าหากรัฐบาลพม่ายังจะแสดงออกในสิ่งที่ชาญฉลาดและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติเช่นนี้ต่อไป ถึงแม้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้นางอองซาน ซูจี และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย จะเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองด้วยก็ตาม โดยกรณีตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่ามีความมั่นใจว่า การตัดสินใจดำเนินในแนวทางนี้จะทำให้ตนได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่านั้น ก็คือการตัดสินใจให้หยุดโครงการก่อสร้างเขื่อนมิตสอน (Myitsone) โดยการประกาศของประธานาธิบดี เต็ง เส็ง เมื่อปลายปี 2011 ที่ไม่เพียงจะทำให้ประชาชนในรัฐคะฉิ่นและบรรดาองค์กรอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติทั้งหลายทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากลเท่านั้นที่ได้แสดงความชื่นชมต่อการตัดสินใจดังกล่าว หากยังทำให้มหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐอเมริกานั้นได้แสดงการชื่นชมอย่างออกหน้าออกตาอีกด้วย เพราะว่าการตัดสินใจดังกล่าวของ เต็ง เส็ง นั้นถือเป็น การขัดผลประโยชน์ของจีนในพม่าอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การตัดสินใจดังกล่าวนี้ของ เต็ง เส็ง ก็นับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่าง บารัก โอบามา นั้นได้ประกาศอย่างชัดเจนในโอกาสร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 19 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2011 ที่ผ่านมาว่ารัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน จะเดินทางไปเยือนกรุงย่างกุ้งและเมืองเนปิดอว์ในต้นปี 2012 ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงตามการประกาศดังกล่าว ครั้นเมื่อสหรัฐฯ ได้เริ่มแง้มประตูเพื่อที่จะทำการคบค้าสมาคมกับรัฐบาลพม่าเช่นนี้ (หลังจากที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลทหารพม่านับตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมา) ก็ได้ยังผลทำให้นานาชาติหันมาให้ความสำคัญกับการเรียกร้องให้มีการยุติการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลพม่ามากขึ้นติดตามมาโดยมีกลุ่มอาเซียนที่พม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วยนั้นเป็นตัวตั้งตัวตี และล่าสุดก็คือรัฐบาลออสเตรเลียนั้นถึงกับได้ประกาศยกเลิกรายชื่อนายทหารพม่าที่ถูกห้ามเดินทางเข้าไปในออสเตรเลียอีกต่างหาก ส่วนรัฐบาลญี่ปุ่น อังกฤษ สหภาพยุโรปรวมถึงสหรัฐฯด้วยนั้น ถึงแม้ว่าจะยังคงวางท่าด้วยการวางเงื่อน ไขให้รัฐบาลพม่าปฏิบัติตามในเรื่องต่างๆนานาก่อนที่จะพิจารณายกเลิกการคว่ำบาตรดังกล่าวก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงแบบวิธีปฏิบัติทางการทูตเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้วทุกประเทศต่างก็เกรงว่าการยึดมั่นถือมั่นตามแบบวิธีดังกล่าวนี้ ย่อมจะทำให้ตนต้องเสียโอกาสในการที่จะเสริมสร้างผลประโยชน์ในพม่าได้หรือตามไม่ทันประเทศอื่นเป็นแน่ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่ โคอิจิโร เกมบะ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของญี่ปุ่น ได้ตกลงร่วมกับ วันนา หม่อง วิน รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของพม่าว่า จะเร่งจัดทำข้อตกลงทวิภาคีว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนระหว่างญี่ปุ่นกับพม่าเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการให้เร็วที่สุดเพื่อที่ว่าจะได้ทำ ให้การลงทุนของญี่ปุ่นในพม่านั้นไล่ตามทันจีนและไทยให้ได้ รายงานล่าสุดของกระทรวงแผนการและการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการของพม่า) ระบุว่าการลงทุนของต่างประเทศในพม่ามีมูลค่าสะสมกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ โดยประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในพม่ามากที่สุดนั้นก็ได้เปลี่ยนมือจากประเทศไทยมาเป็นจีนอย่างเบ็ดเสร็จแล้วในเวลานี้ กล่าวสำหรับการลงทุนในภาคพลังงาน น้ำมันและแก๊สธรรมชาติในพม่าจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ปรากฏว่ามีมูลค่ารวมกันมากถึง 32,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนเพื่อการสำรวจขุดค้น หาน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินั้นถือเป็นภาคการลงทุนที่มีแนวโน้มจะแข่งขันกันอย่างดุเดือดมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากรายงานของวิสาหกิจน้ำมันและแก๊ส (MOGE) ของรัฐบาลพม่า ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าในปัจจุบันนี้ได้อนุมัติให้สัมปทานในการสำรวจขุดค้นหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติทั้งบนบก และในทะเลที่เป็นเขตน่านน้ำของพม่าไปแล้วมากกว่า 100 พื้นที่ โดยผู้ที่ได้รับสัมปทานนั้นก็มีทั้งบรรษัทจากจีน ฝรั่งเศส อินเดีย รัสเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และไทย ส่วนสหรัฐฯและอังกฤษนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงทุนโดยตรงก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วก็เข้าไปในฐานะผู้ร่วมลงทุนอยู่แล้ว ดังเช่นในกรณีของ Chevron Corporation ได้ร่วมลงทุนในสัด ส่วน 25.5% ในโครงการขุดค้นและท่อส่งแก๊สธรรมชาติจากแหล่ง YADANA ที่อ่าวเมาะตะมะในเขตทะเลอันดามันของพม่า มาขายให้ไทยในปริมาณเฉลี่ย 500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมาแล้ว ซึ่งทำให้พม่าได้รับผลประโยชน์จากการขายแก๊สฯให้กับไทยมากกว่า 9 หมื่นล้านบาทในปี 2011 ที่ผ่านมาและคาดว่าจะถึง 1 แสนล้านบาทในปี 2012 นี้ด้วย แน่นอนว่าผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดนั้น ก็คงจะไม่มีใครเกินบรรษัทข้ามชาติของจีนอย่าง China National Petroleum Corporation (CNPC) และ China National Offshore Oil Corporation (CNOOC) ไปได้ แต่การที่รัฐบาลพม่าเชื่อว่าในเขตอธิปไตยของพม่าทั้งบนบกและในทะเลนั้น ยังคงมีทรัพยากรน้ำมันและแก๊สฯอีกอย่างมหาศาลหรือมากกว่าที่สำรวจพบแล้วในเวลานี้นับร้อยเท่า จึงทำให้รัฐบาลพม่าต้องการที่จะดึงการลงทุนทั้งจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ตลอดจนอาเซียนด้วยกันให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลประโยชน์จากการส่งออกน้ำมันและแก๊สฯให้ได้ถึง 2 หมื่นล้านดอล ลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2020 (เพิ่มขึ้นจากในปัจจุบันนี้มากกว่า 10 เท่า) ซึ่งด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใดที่บรรษัทข้ามชาติในธุรกิจด้านพลังงานทั้งหลายอย่างเช่น CHEVRON Corp. จากสหรัฐฯ TOTAL S.A. จากฝรั่งเศส PETRONAS จากมาเลเซีย DAEWOO จากเกาหลีใต้ ONGC จากอินเดีย DANFORD EQuities จากออสเตรเลีย SUN ITERA จากรัสเซีย และ PTT-EP จากไทยต่างก็เตรียมการที่จะขยับขยายการลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้นในเร็วๆนี้ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลพม่ายังได้ฝากความหวังในการพัฒนาทางเศรษฐกิจแห่งชาติไว้กับ Mega-Project อย่างโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทวาย ที่จะต้องใช้เงินลงทุนมากถึง 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้ตกลงในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับรัฐบาลไทยตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาแล้วอีกด้วย โดยถ้าหากว่า Mega-Project ที่ใหญ่กว่ามาบตาพุดของไทยถึง 7 เท่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงเมื่อใด ก็ไม่เพียงจะทำให้พม่ากลายเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการค้าทางทะเลระหว่างเอเชีย-ยุโรปและแอฟริกาเท่านั้น หากยังจะทำให้พม่ากลายเป็นศูนย์กลางการค้าด้านพลังงานที่สำคัญของโลกอีกด้วย ซึ่งด้วยผลประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่รัฐบาลพม่าได้พยายามกระทำในทุกวิถีทางเพื่อทำให้นานาชาติเกิดความมั่นใจในแนวทางปฏิรูปไปสู่การเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองในพม่าและก็ดูเหมือนว่าจะได้รับการตอบสนองจากนานาชาติเป็นอย่างดียิ่ง ดังจะเห็นได้จากการได้รับฉันทานุมัติจากประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันให้เป็นเจ้าภาพซีเกมส์ในปี 2013 และเป็นประธาน เวียนของกลุ่มอาเซียนในปี 2014 และนั่นก็หมายความว่าผู้นำของประเทศคู่เจรจาทั้งหลายของอาเซียน อย่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรปนั้นก็จะเดินทางไปกรุงเนปิดอว์ของพม่าด้วย เพราะฉะนั้น การยกเลิกโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของเอกชนไทยที่เมืองทวาย (ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย) นั้น จึงถือเป็นการยอมเสียชิ้นปลาหมอ ด้วยหวังที่จะได้ชิ้นปลาวาฬยักษ์จากมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกนี้เป็นสิ่งตอบแทนนั่นเอง!!! ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
หมอลำลาว-สาละวัน | ||
![]() |
||
ลำสาละวันอยู่ในแขวงภาคใต้ของลาว |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |