![]() ในขณะที่รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังตั้งรับไม่ทันกับข้อเสนอของทางการสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการขอกลับเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภานั้น รัฐบาลเวียดนาม (คู่อริของสหรัฐฯในสงครามเวียดนาม) ก็ได้ฉวยใช้ประโยชน์จากการแสดงออกถึงความต้องการของสหรัฐฯในอันที่จะขอ กลับเข้าไปใช้ท่าเรือน้ำลึกที่อ่าวกามแร็ง (Cam Ranh Bay) ในภาคใต้ของเวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กล่าวคือถึงแม้ว่าทางการเวียดนามจะยังคงมิได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะตอบสนองความต้องการดังกล่าวของสหรัฐฯหรือไม่ก็ตาม หากแต่การที่ ฝุง กวาง แถ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศของเวียดนามนั้นได้ปล่อยให้ ลีออน เอ็ดเวิร์ด พาเนตต้า รัฐมนตรีป้องกันประเทศของสหรัฐฯเป็นฝ่ายแถลงถึงความต้องการดังกล่าวของสหรัฐฯอย่างเปิดเผยในโอกาสที่เดินทางไปเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยที่ฝ่ายเวียดนามเองก็มิได้แสดงท่าทีปฏิเสธแต่อย่างใดนั้น ก็ได้สร้างความฉงนให้กับนักวิชาการด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าสงครามอินโดจีนอันดุเดือดที่เครื่องบิน B-52 ของสหรัฐฯที่เวียดนามใต้และจากฐานทัพในประเทศไทย (รวมถึงสนามบินอู่ตะเภา) ได้ระดมการทิ้งระเบิดสังหารลงในแผ่นดินเวียดนามคิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 10 ล้านตันในช่วงปี 1964-1973 นั้น นอกจากจะสร้างความเจ็บแค้นที่ฝังลึกในจิตสำนึกของคนเวียดนามแล้ว การที่สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐฯที่ติดตามมาด้วยมาตรการปิดกั้นทางการค้าต่อเวียดนามเป็นเวลาถึง 20 ปี (1975-1994) ติดต่อกันก็ยังได้สร้างความยากลำบากให้กับชาวเวียดนามทั้งประเทศอยู่ไม่น้อยอีกด้วย แต่ครั้นเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ด้วยการล่มสลายทางเศรษฐกิจและการเมืองของอดีตสหภาพโซเวียตรัสเซียในปี 1991 นั้นก็ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนในแนวนโยบายต่างประเทศของทั้งเวียดนามและสหรัฐฯที่ได้ปรับตัวเข้าหากันมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดี บิล คลินตัน นั้นได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการปิดล้อมทางการค้าต่อเวียดนามในปี 1994 เพื่อเริ่มศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนามนับแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ถึงกระนั้น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนามในช่วงปี 1994-2010 นั้น ก็ได้ดำเนินไปในลักษณ์ที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยในด้านหนึ่งนั้นก็มีสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งมาจากการที่สหรัฐฯได้ไปติดหล่มทรายในตะวันออกกลางจนยากที่จะถอนตัวออกมาได้โดยง่ายจนถึงเวลานี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นเพราะพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังต้องการรักษาระยะห่างในการดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับสงครามในตะวันออกกลางที่สหรัฐฯ เป็นฝ่ายถล่มอิรักด้วยระเบิดและอาวุธหนักนานาชนิดอย่างหนักเหมือนกับที่เคยถล่มเวียดนามในสงครามอินโดจีนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ ก็ได้ดำเนินไปอย่างก้าวกระโดดในช่วง 2 ปีหลังนี้ เมื่อกระทรวงป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกองทัพ ซึ่งไม่เพียงจะได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีเพื่อลบเลือนภาพอันเลวร้ายในอดีตของทั้งสองฝ่ายให้ได้เท่านั้น หากแต่กระทรวงป้องกันประเทศของทั้งสองฝ่ายยังได้มองไปถึงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสองกองทัพอย่างใกล้ชิดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในทะเลจีนใต้นั้นย่อมถือว่าเป็นการตกลงร่วมในปัญหาสำคัญที่สมประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายร่วมกันอย่างยิ่ง กล่าวก็คือในขณะที่กองทัพสหรัฐฯ ต้องการที่จะหวนกลับคืนมาสู่ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยหวังที่จะต้านทานการขยายอิทธิพลของจีนที่มากขึ้นทุกขณะให้ได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยการโยกย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ต่างๆ เข้ามาในทะเลจีนใต้ให้มากขึ้นเรื่อยๆนั้น ทางด้านเวียดนามเอง ก็กำลังเผชิญหน้ากับจีนในปัญหาที่ว่าด้วยการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ Spratly และ Paracells ในทะเลจีนใต้ที่ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่พอดี ทั้งนี้โดยจะเห็นได้จากการที่ขบวนการนักศึกษาในเวียดนามภายใต้การจัดตั้งของศูนย์กลางเยาวชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามนั้นได้รวมตัวประท้วงหลายระลอกที่หน้าสถานทูตจีนในกรุงฮานอย เมื่อปีที่แล้ว และถึงแม้ว่าในช่วงปลายปีเดียวกันทางการกระทรวงการต่างประเทศของจีนและเวียดนามจะได้ตกลงร่วมกันว่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวด้วยการเจรจาก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าปัญหาที่เป็นอยู่นี้ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นแล้วแต่อย่างใด เพราะต่างฝ่ายต่างก็ยังคงพยายามเสริมสร้างความได้เปรียบทั้งในด้านการทหารและพยานหลักฐานต่างๆ ที่จะใช้ในการอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะดังกล่าวอยู่ตลอดเวลานั่นเอง โดยสำหรับในด้านการทหารนั้น แน่นอนว่ากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆของฝ่ายเวียดนามย่อมเทียบไม่ได้เลยกับแสนยานุภาพของกองทัพจีน ด้วยเหตุนี้ จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เวียดนามต้องเร่งเสริมสร้างความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ ให้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด ด้วยหวังว่า การเสริมสร้างความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯนั้นจะมีส่วนช่วยในการป้องปรามจีนได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ในโอกาสที่ ลีออน เอ็ดเวิร์ด พาเนตต้า รัฐมนตรีป้องกันประเทศของสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการ โดยทางการเวียดนามยอมให้นำเรือขนส่งลำเลียงกำลังพลของกองทัพเรือสหรัฐฯเข้าเทียบท่าเรือน้ำลึกที่อ่าวกามแร็งในครั้งล่าสุดนี้ ก็คือความจงใจของทางการเวียดนามที่ต้องการแสดงให้ทางการจีนได้เห็นว่า หากมีความจำเป็นเมื่อใดและไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลืออีกแล้วก็ย่อมที่จะมิใช่เพียงเรือขนส่งลำเลียงกำลังพลของสหรัฐฯเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาเทียบท่าที่อ่าวกามแร็ง หากยังจะรวมถึงเรือรบที่พร้อมสรรพด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยของสหรัฐฯด้วย โดยถึงแม้ว่าภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างกระทรวงป้องกันประเทศของเวียดนามกับสหรัฐฯที่ได้ลงนามร่วมกันเมื่อปีที่แล้วจะไม่ได้ระบุถึงความร่วมมือในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเฉพาะเจาะจงก็ตาม หากแต่ในบทบัญญัติข้อแรกจากทั้งหมด 5 ข้อของบันทึกความเข้าใจร่วมดังกล่าว ก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้นำระดับสูงของทั้งสองฝ่ายจะพบปะเจรจากันได้ทุกเมื่อที่เห็นว่ามีสถานการณ์จำเป็น ซึ่งในที่นี้ย่อมรวมถึงภัยคุกคามจากจีนในสายตาของผู้นำเวียดนามด้วยนั่นเอง แต่ถึงกระนั้น ผู้นำเวียดนามก็มิได้นิ่งนอนใจและคาดหวังว่ากองทัพสหรัฐฯนั้นจะเป็นที่พึ่งเดียวที่ตนมีอยู่ในเวลานี้แต่อย่างใด หากผู้นำเวียดนามยังได้มุ่งเน้นการถ่วงดุลระหว่างมหาอำนาจทางทหารในโลกยุคปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือกับรัสเซียในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่น SU-30MK2 จำนวน 44 ลำเพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถของกองทัพอากาศในการตรวจตราและป้องกันเขตอธิปไตยในทะเลจีนใต้ โดยรัสเซียมีกำหนดจะส่งมอบเครื่องบินรบอย่างครบถ้วนทั้ง 44 ลำภายในปี 2015 โดยในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนี้ กองทัพเรือเวียดนามก็ได้สั่งซื้อเรือรบรุ่น Kamorta ซึ่งเป็นเรือรบที่มีเทคโนโลยีในการล่องหนและยุทโธปกรณ์ในการทำลายเรือดำน้ำจากกองทัพเรืออินเดียจำนวน 6 ลำที่มีกำหนดจะส่งมอบให้ครบทั้ง 6 ลำภายใน 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังไม่นับรวมการสั่งซื้อเรือรบจำนวน 4 ลำจากเนเธอร์แลนด์แต่อย่างใด ซึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็จะเห็นได้ว่าผู้นำเวียดนามได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับมหาอำนาจทางการทหารโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางการเมืองแต่อย่างใด หากคำนึงถึงผลประ โยชน์แห่งชาติเป็นสำคัญ ส่วนในไทยจะเป็นไปเพื่อใคร?บางคนหรือเพื่อผลประโยชน์แห่งชาตินั้นก็จงโปรดอย่าได้กระพริบตาเป็นอันขาด เพราะกรณีอย่างเดียวกันนี้เคยเกิดที่สนามบินอุดรธานีมาแล้ว!!! ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
หมอลำลาว-สาละวัน | ||
![]() |
||
ลำสาละวันอยู่ในแขวงภาคใต้ของลาว |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |