*/
OKdesign1 | ||
![]() |
||
งานออกแบบกราฟฟิค ประกอบกิจกรรม โอเค เนชั่น สัญจรฯ รวบรวมไว้แทนความคิดถึง การเดินทางของมวลมิตรชาว OK! |
||
View All ![]() |
Praputhachai Saraburi | ||
![]() |
||
สักการะพระพุทธฉาย จินตนาการแห่งพระพุทธเจ้า |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
คนไทย คนจีน มีสายใยทางวัฒนธรรมแล้ว ประเทศไทยและประเทศจีน ยังมีสายสัมพันธ์ทางการค้ามายาวนาน หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่คืออาคารเก่าแก่ทรงยุโรป ที่ตั้งตระหง่านเคียงคู่อยู่หน้าตึกสูงเสียดฟ้า ของ หอการค้าไทย-จีน บนถนนสาทร เมื่อชาวจีนโพ้นทะเล ได้เดินทางเข้ามาสู่สยามเป็นจำนวนมาก เหมือนกับชาวอินเดีย และฝรั่งจากชาติตะวันตก ที่เดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจการค้า ทำให้สยามประเทศได้รุ่งเรืองนับแต่อดีตมา แม้แต่ผมก็ยังแทบไม่เชื่อ ! เมื่อพ่อบอกว่า ผมนั้นก็เป็นเหลนโหลนพันธุ์มังกร คนหนึ่ง.... ในวันที่ลูกหมีแพนด้า ลืมตาดูเชียงใหม่ ใกล้วันที่นายกฯอภิสิทธิ์ของประเทศไทย จะไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ มหาอำนาจอันดับสองของโลก มังกรเศรษฐกิจแห่งเอเชีย ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ลุ้นแต่เพียงว่า งานมังกร ที่รับมาทำ จะเสร็จทันนำเสนอหรือไม่ ในวันนี้... ก่อนขึ้นตึกสูง ผมเดินชมตึกเก่า ที่ทำการของหอการค้าไทย-จีน ด้วยความหลงใหล ศิลปะสถาปัตย์ แบบตะวันตกเป็นทุนเดิม รู้สึกโชคดีสองต่อ ที่ได้มาที่นี่...ถนนสาทร อาคารเก่าทรงคุณค่าแห่งนี้ สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ เคยเป็นห้างสรรพสินค้า บอมเบย์ ของพ่อค้าชาวอังกฤษ ที่โก้หรูของสังคมบางกอก ก่อนที่กลุ่มมหาเศรษฐีชาวจีน ได้ซื้ออาคารหลังนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสภาหอการค้าไทย-จีน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ อาคารที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ ได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ให้เคียงคู่อยู่ท่ามกลางตึกสูง ท้าทายแรงสั่นสะเทือนของยวดยาน เป็นตำนานของอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่หลั่งไหลเข้ามาในยุคล่าอาณานิคม ที่น่าสนใจเที่ยวชมอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ อาคารทรงยุโรป ๓ ชั้น พร้อมห้องใต้หลังคา ตัวผนังก่ออิฐถือปูน พื้นและฝ้าเพดานเป็นไม้สัก ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบ เรอเนสซองส์ (Renaissance) หรืออาคารแบบโคโลเนียล (Colonial Style) ผสมศิลปะจีนแบบ ชิโน-โปรตุกีส (Chino-Portuguese) ก่อนหน้าอาคารหลังนี้เป็นห้องอาหาร "ไทยจีน" ปัจจุบันได้ถูกซ่อมแซมทาสีใหม่ ปรุงแต่งเป็นภัตตาคารสุดหรู ที่ชื่อ Blue Elephant (ช้างสีน้ำเงิน) ที่ลูกช้างตัวดำๆอย่างผม คง(ไม่)มีโอกาสได้เข้าไปชื่นชมภายใน... วันนี้ ผมเดินเก็บภาพความงามของสถาปัตยกรรมเพียงภายนอกมาฝากผู้อ่าน วันหน้า ผมคงมีโอกาสได้เข้าไปเก็บภาพการตกแต่งภายในที่หรูหรา มาให้ชม...สักครั้ง !!! ถึงเวลานัดหมายที่จะต้องขึ้นตึกสูง บุกถิ่นเหล่าเจ้าสัว บนหอการค้าไทย-จีน ที่นี่ให้รู้สึกเหมือนตัวเอง (และทีมงาน) เป็นคนไทยที่มาเจรจาธุรกิจในเมืองจีนโดยไม่มีล่าม... งานมังกร ถูกติติงในรายละเอียดอย่างถี่ยิบ สัมผัสได้ถึงความรอบคอบของนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จ ก่อนกลับ เจ้าสัว หยิบหนังสือเล่มหนาปึกส่งมาให้... "สมาคมพาณิชย์จีนแห่งกรุงสยาม" เริ่มก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งตรงกับช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงของประเทศจีน โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนรุ่นบุกเบิก ที่เดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจการค้าอยู่ในสยามประเทศขณะนั้น เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล และสร้างสัมพันธ์สามัคคี ในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลด้วยกัน สมัยแรกนั้นหอการค้าไทย-จีน ตั้งอยู่ที่ถนนจักรวัตร เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๓ ได้ย้ายมาอยู่บนถนนสาทร โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดป้ายที่ทำการแห่งใหม่ และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของหอการค้าไทย-จีน หลังจากราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สถาปนาสัมพันธ์การทูต หอการค้าไทย-จีน ได้มีบทบาทที่สำคัญ ในการส่งเสริมมิตรภาพไทย-จีน ผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม จึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ หอการค้าไทย-จีน ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ตึกใหม่ อาคารไทยซีซี ซึ่งตั้งเด่นสง่าอยู่หลังบ้านหอการค้าไทย-จีน หลังเก่า นับเป็นหอการค้าที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีประวัติยาวนานมาถึง ๙๙ ปีแล้ว... มองจากตึกสูงของหอการค้าไทย-จีน บนถนนสาทร เห็นขอบฟ้ากรุงเทพฯไกลลิบไปถึงปากอ่าวไทย ปากแม่น้ำล่องเรือสำเภาของพ่อค้าชาวจีน เรือกลไฟจากพ่อค้าชาวตะวันตก ผ่านลำน้ำเจ้าพระยา เข้ามาตั้งกิจการค้าขายอยู่ในบางกอก... หากมองจากแผนที่ปากอ่าวไทยนั้น ยังมีชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มหนึ่ง ได้ล่องเรือสำเภาต่อไปไกลถึงหัวเมืองปักษ์ใต้... ถึงแม้จะไม่ได้เป็นลูกเจ้าสัว แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้เป็นลูกชาวนา .............................................................................. อ้างอิง ภาพ / ข้อมูล : |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |