*/
<< | กันยายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
คำว่า อุเบกขา ที่เรามักได้ยินจากนักปฏิบัติธรรม ที่เขาแปลกันว่า เป็นกลาง มีอารมณ์เป็นกลาง เป็นการปล่อยวาง ไม่ยึดอะไรไว้ให้ทุกข์ร้อน รู้สึกเหมือนตนได้บรรลุธรรมขั้นสูง บางคนก็ไปเปรียบกับชีวิตที่สโลด์ไลฟ์ สบายๆไม่ทุกข์ร้อน ในภาษาธรรม คำว่าอุเบกขา ถ้าเป็นอุเบกขาที่เป็นความหมายของปัญญา จัดเป็นอุเบกขาที่แท้จริง เป็นสภาวะจิตขั้นสูง ที่จิตรู้ในสัจจะความเป็นจริง ไม่หวั่นไหวทั้งอารมณ์ที่น่ายินดีและน่ายินร้าย แต่อุเบกขาที่เรามักเอามาพูดกันว่าตนเอง ไม่ยึดมั่นอะไร อะไรๆก็ไม่สามารถมาโยกคลอนตนเองได้ เป็นอุเบกขาที่จัดเป็น อุเบกขาที่เป็นเวทนา เวทนานี้ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทย ที่แปลความว่า น่าสงสาร แต่เวทนานี้ แปลว่า ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรู้อารมณ์ที่ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่ออารมณ์ใดที่เรารู้สึกสบาย ก็เป็น สุขเวทนา เช่นลมโชยเย็นๆ เสียงเพลงเบาๆนุ่มๆ แสงนุ่มนวลเย็นตา เมื่ออารมณ์ใดที่เรารู้สึกไม่สบาย ก็เป็นทุกขเวทนา เช่นลมพัดตัวร้อนผ่าว เสียงเสียดแก้วหู เสียงที่ไม่น่ารื่นรมย์ แสงที่แสบตาเคืองตา เป็นต้น สุขเวทนา ทุกขเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยให้เราปรุงแต่งทางจิตต่อไป ที่ภาษาพระเรียกว่า สังขาร คือการปรุงแต่ง ได้สิ่งที่สุขเวทนา บางคนก็เกิดความสุขใจอยากเป็นเช่นนั้น ความอยากได้เช่นนั้นคือการปรุงแต่งจิตเป็นจิตที่เกิดราคะ การย้อมติด ยามใดที่ได้ทุกขเวทนาบางคนก็เกิดความอยากผลักไส ให้พ้นตัวออกไป จิตจึง ปรุงแต่งที่เรียกว่าสังขาร ในความไม่อยากเป็นจิตที่ประกอบด้วย โทสะ ทั้งสุขเวทนา และทุกขเวทนา เป็นการรับรู้ของกาย แต่จิตใจเราต่างหากที่จะไปแปรสิ่งที่รับรู้เข้ามานี้เป็นความอยากหรือความไม่อยาก ชาวนาที่ยืนตากฝน เม็ดฝนที่เย็นฉ่ำ ปะทะผิวกายของเขา(สุขเวทนา) เขาเต็มไปด้วยความสุข เพราะจิตใจปรุงนึกไปถึงต้นข้าวที่กำลังเติบโต ชาวกรุงที่ยืนตากฝน เม็ดฝนที่เย็นฉ่ำ ปะทะผิวกายของเขา(สุขเวทนา) เขาเต็มไปด้วยความร้อนรุ่ม เพราะต้องไปทำงานในชุดที่เปียก การรับรู้ทางกายของคนทั้งสองไม่แตกต่างกัน น้ำฝนให้ความเย็นฉ่ำทั้งคู่ แต่สภาพจิตใจต่างหากที่ไปกันคนละขั้ว คมมีดที่กรีดแหวกผิวตามข้อมือ ย่อมยังความเจ็บปวดทางกาย เป็นทุกขเวทนา คนที่กรีดถ้าเป็นคนที่ตกอยู่ในภาวะมีอาการทางจิตที่อยากทำร้ายตนเอง จิตก็ปรุงแต่งไปทางมีความสุข ได้สาแก่ใจที่ได้ทำร้ายร่างกายตนเอง หรือได้ประชดชีวิต คมมีดที่กรีดแหวกผิวตามข้อมือ ย่อมยังความเจ็บปวดทางกาย เป็นทุกขเวทนา คนที่กรีด ถ้ามีจิตใจปกติย่อมเป็นทุกข์และพยายามดิ้นรนขัดขืน หลีกเลี่ยง การรับรู้ทางกายของคนทั้งสองไม่แตกต่างกัน คือเจ็บทั้งคู่ แต่คนหนึ่งปรุงจิตให้สุข อีกคนปรุงจิตเป็นทุกข์ จิตคนเรานี้ ทุกคนก็มีกิเลสที่นอนเนื่องติดตัวมากันทุกคน ถ้าไม่มีก็คงไม่ได้มาเกิด กิเลสที่นอนเนื่องนี้ เรียกว่า อนุสัย ประกอบด้วย ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสกอง ราคะ โทสะ โมหะ ในรูปถ้ายังไม่มีอะไรไปกวนมันให้ฟุ้งขึ้นมา จิตที่เปรียบดังน้ำในแก้ว ก็ยังใสกระจ่าง ช้อนที่กวนแก้วเปรียบดังอารมณ์คือเวทนา ที่ผ่านมาจาก การเห็น การได้ยิน ฯลฯ ทุกคนตื่นขึ้นมา เราก็ถูกช้อนอันนี้กวนทันที กวนด้วยสุขเวทนา กวนด้วยทุกขเวทนา ถ้าการกวนสองอย่างนี้แรงพอ ตะกอนที่เป็นอนุสัยก็จะฟุ้งขึ้นมาเป็นกิเลส ที่เป็นความอยากได้ อยากเป็น อยากหนี อยากผลักไส ถ้ากวนไม่แรงพอ แต่ก็กวนอยู่ จิตเรายังใสอยู่ ยังไม่ขุ่นด้วยตะกอน ตรงนี้แหละที่ทำให้เราเข้าใจว่าตนเองบรรลุธรรม ไม่มีกิเลส นี่คือ อุเบกขาเวทนา คืออารมณ์ที่เข้ามายังไม่แรงพอให้ตะกอนฟุ้ง ยังไม่แรงพอให้ใจกระเพื่อม ขอยกตัวอย่าง คนที่รวยมากมายมหาศาล ไปเดินดูงานแสดงรถ ไม่มีรถคันไหนที่ทำให้ตนเองอยากได้ เพราะได้มาหมดแล้ว เลยคิดว่าตนเองปล่อยวาง เห็นแล้วเฉยๆ นี่คือ อุเบกขาเวทนา คนที่หลบหลีกผู้คน ครอบครัว เพื่อหนีความยุ่งยากวุ่นวายหรือหนีความรับผิดชอบ ก็เหมือนปิดตา ปิดหู เหลือแต่ใจที่ยังวุ่นวาย พอได้วิธีปฏิบัติสมาธิจากพระ ก็เหมือนช้อนที่คนแก้ว ที่คนเบาๆ ตะกอนไม่ฟุ้งก็คิดว่าตนเองบรรลุธรรม พอออกมาใช้ชีวิตปกติ ก็อยู่ไม่ไหว เพราะทนแรงเสียดทานไม่ได้ ตะกอนที่มีอยู่ยังไม่ได้เบาบางลงเลย ที่สงบอยู่ได้ เพราะปัจจัยเอื้อต่างหาก ไม่ใช่เพราะเห็นแจ้งจากปัญญาจริง คนเหล่านี้จึงต้องคอยหาทางไปหลบอยู่เนืองๆ ความสงบจิตที่ตนเองได้นี้ ก็เป็นอุเบกขาเวทนาอย่างหนึ่ง ขบวนการที่กล่าวมานี้เป็นการพยายามอธิบายตามเนื้อหา โดยสื่อออกมาทางรูปภาพที่ใช้อธิบาย แต่ถ้าไม่มีการปฏิบัติ ที่เราเรียกว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน จิตก็ไม่มีทางรู้จริง ที่รู้เป็นเพียงชั้นของความเข้าใจเท่านั้น เพราะการที่เราได้เห็นได้ยินอะไร เราปรุงเป็นสังขารทันที คือตัดสินในทางชอบหรือไม่ชอบ การกระตุ้นไม่พอก็เฉยๆ เฉยๆแบบนี้แหละคือ อุเบกขาเวทนา ที่หลอกเราว่า เราเป็นคนปล่อยวาง เราเป็นคนบรรลุธรรม ไม่มีอะไรมาโยกคลอนเราได้ มีเรื่องเล่าในอรรถกถา ที่กล่าวถึงนางคนหนึ่ง ร่ำรวย มีบริวารคอยปรนนิบัติรับใช้ นางแทบจะไม่ต้องทำอะไร ทุกอย่างเป็นดังใจทั้งสิ้น ทำให้นางคิดว่าตนเองบรรลุธรรมขั้นสูง ไม่คิดอยากได้อะไร วันๆก็จิตใจปลอดโปร่ง ชิวๆทั้งวัน มาวันหนึ่งสาวใช้ตัวแสบ อยากจะทดลองเจ้านายตนบรรลุธรรมจริงหรือไม่ เลยแกล้งตื่นนอนสายๆ ลุกขึ้นมาทำงานไม่ทัน ดังนั้นเรื่องที่เคยเป็นปกติ ก็กลายเป็นไม่ปกติ สำหรับเจ้านาย อะไรก็ติดขัดไปหมด เธอเลยโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ด่าว่าสาวใช้อย่างกราดเกรี้ยว ที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการเกริ่นนำ ในเรื่องของ อุเบกขา ตอนนี้ผมมีเรื่องจะเล่าเกี่ยวกับอุเบกขานี้หลายเรื่อง ทั้งที่เกี่ยวกับตัวผม และผู้อื่น ทุกครั้งเวลาที่ผมจะเดินทางไปไหนมาไหน ผมต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ มีการเผื่อเวลามากพอสมควร นั่นทำให้การขับรถของผมไม่ต้องเร่งรีบ ผมจึงขับรถด้วยความราบรื่น จิตใจค่อนข้างสงบ และมักพอใจในการมองสิ่งรอบๆตัว แล้วปล่อยวาง ใครจะขอแซงขอแทรก ก็เกื้อกูลไม่หวงกั้น ทำให้ตนเองคิดว่ากิเลสกองโทสะหรือราคะตนเองเบาบางมากรู้สึกตนเองมีอุเบกขา แต่แล้วมีอยู่คราหนึ่ง มีรถเบียดเข้ามาอย่างกระชั้นชิดโดยไม่ทันระวัง ผมเกือบหลุดปากออกไปเป็นภาษาที่มีความหมายถึงสัตว์เลื้อยคลานสี่เท้า จุดนี่เองที่มันมากระตุกตนเองว่า ที่ตนเองรู้สึกอุเบกขานั้น ความจริงมันเกิดจากอารมณ์ที่ล่วงเข้ามายังไม่ถึงจุดที่จะก่อตัวให้เกิดความอยากคือกองราคะ หรือความไม่อยากคือกองโทสะต่างหาก เพราะผมขับรถด้วยการเคารพกฎจราจร ถ้าขับช้าจะชิดซ้ายเสมอ เพื่อไม่กีดขวางทางผู้อื่นที่เขาจะรีบไป เมื่อจะแซงก็รีบแซงแล้วเข้าชิดซ้ายทันที ไม่มีการแช่ขวา ทั้งนี้เพราะเผื่อเวลาไว้เยอะ เลยกลับมาคิดดูว่าถ้าตนเองต้องรีบด่วนเพราะไม่ทันเวลา ตนเองจะยอมให้คนอื่นแทรกหรือไม่ ตนเองจะยอมขับภายใต้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดหรือไม่ หรือตนชอบขับแช่ขวาสบายๆ ใครที่ตามหลังจะด่าอย่างไรตนก็ไม่ได้ยิน แต่ถ้าคันที่แซงซ้ายเพราะทนการขวางทางของเราไม่ได้ เมื่อแซงแล้วขับปาดหน้าเรา จิตใจเราจะยังอุเบกขาอยู่หรือไม่ สภาพการณ์แบบนี้แหละมันคือบททดสอบอย่างดี พอดีครูแบบนี้เป็นแบบที่ผมไม่มีโอกาสได้ทดสอบ เพราะผมไม่นิยมขับรถด้วยวิธีการดังกล่าว ดังนั้น ความรู้สึกว่าตนเองมี อุเบกขานั้น ความจริงเกิดจากการวางแผนล่วงหน้าในการเดินทางเพื่อให้เกิดอุปสรรคน้อยที่สุด จึงทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเกิดอารมณ์ที่จะถึงจุดที่จะก่อให้เกิดทุกเวทนาได้ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เคยเล่าเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนักปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง มีความเพียรในการปฏิบัติธรรมมาก ท่านเดินจงกลมในห้องแอร์ 4-5 ชั่วโมง จิตใจสงบเยือกเย็น รู้สึกว่าตนเอง มีอุเบกขา คือจิตใจสงบเป็นกลาง ไม่หวั่นไหว ไม่ตื่นเต้น มีความเฉยอยู่ หลังจากนั้น ก็เดินออกจากห้องจะกลับบ้าน พอเดินไปที่รถ เจอรถใครก็ไม่รู้จอดขวางทางรถตนเอง ออกไม่ได้ โมโหมาก ด่ากราดไปทั่ว อุเบกขาที่ตนเองคิดว่ามีอยู่ มันหายไปไหนในขณะนั้น ชีวิตเราตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เรารับอารมณ์ที่เข้ามาทาง ทวารทั้งหกตลอดเวลา เราไม่สามารถเลือกได้ว่าเพียงต้องการสิ่งที่น่ายินดี ไม่ต้องการสิ่งที่ไม่น่ายินดี และก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเลือกเพียงสภาพแวดล้อมที่สงบเช่นในห้องแอร์เงียบๆ ในวัดเงียบๆ เพื่อให้ไม่มีอะไรมากวนจิตใจ สิ่งที่เราทำได้ก็เพียงรู้ รู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา รู้สภาวะจิตใจในขณะนั้น แต่เพียงรู้ ไม่ต้องไปวิ่งตามความรู้สึกนั้น มีผู้หนึ่งถามหลวงปู่ดุลว่า อยากให้หลวงปู่สอนวิธีกำจัดความโกรธ หลวงปู่ตอบว่า กำจัดไม่ได้หรอกความโกรธ เพียงแค่รู้ทันมัน เฝ้าดูมันเฉยๆ อย่าไปตามมัน เดี๋ยวมันก็ดับ ตามที่หลวงปู่ว่ามา ก็คือการมีสติรู้ทั่วตัวพร้อม มีอะไรมากวนตะกอนให้ฟุ้ง ก็รู้ว่าตะกอนนั้นกำลังฟุ้ง มันฟุ้งก็ต้องปล่อยมันฟุ้งไปก่อน ไม่ต้องไปพยายามกดการฟุ้ง การพยายามก็เหมือนการไปกวนซ้ำเข้าไปอีก เพียงเฝ้าดูเหมือนเราเฝ้าดูตะกอนที่เรากวนขึ้นมาแล้วเราหยุดกวน เฝ้าดูเฉยๆ ก็จะเห็นตะกอนที่เริ่มนอนก้น นั่นแหละเรารู้ตัวว่าเรายังมีตะกอนอีกมากมายที่ต้องค่อยๆกำจัดออก นั่นคือยามที่เราโกรธ เราอยาก เราต้องมีสติรู้ทัน รู้ความโกรธความอยาก รู้จากอารมณ์ความรู้สึกที่ร้อนผ่าว กระสับกระส่าย ดูไม่ออกก็ดูที่กายเรานี้ นิ้วมือเกร็งไหม หายใจถี่ขึ้นไหม หน้าแดงหน้าซีดไหม ดูที่ตัวเรานี้ ไม่ต้องไปดูคนอื่น การเฝ้าดูซื่อๆเช่นนี้เราจะค่อยๆมีความชำนาญในการเห็นสิ่งที่เกิดสิ่งที่ดับ การฝึกที่สม่ำเสมอเช่นนี้จะทำให้เรารับมือได้ทันเวลามากขึ้น โอกาสที่จะเกิดปรี๊ดแตกก็ยาก เรื่องเหล่านี้ต้องฝึก ไม่ใช่จากการอ่าน แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นบุคคลโดยทั่วไป เกิดตะกอนก็ยังไม่รู้ว่าจิตตนเองเกิดตะกอนขุ่นมัว โกรธใครก็ต้องหาที่ระบายความโกรธ รักใครก็ต้องหาวิธีที่จะให้ได้มา ผิดธรรมก็ยังทำ ขอให้บรรลุผลเท่านั้น อาจารย์เซนท่านหนึ่งกล่าวว่า ยามที่เราลืมตาตื่นขึ้นมา ครูทั้งหกก็มายืนเฝ้าเธอที่ข้างเตียงแล้ว ครูทั้งหก ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ที่รับอารมณ์ ที่เป็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และการนึกคิด ดังนั้นใช้สถานที่ฝึกตนเองก็ที่ กายและใจเรานี่แหละ ไม่ต้องไปที่ไหน มีสติรู้เท่าทันมันเท่านั้น แต่ส่วนมากเราไม่ทัน คือรู้ไม่ทัน วิ่งตามมันไปเสียแล้ว เพราะว่า สติเรายังไม่ตั้งมั่น การฝึกสติปัฏฐานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องฝึกกันทุกวันทุกคืน เพราะถ้ายังไม่นอนหรือยังไม่ตาย ครูทั้งหกก็เข้ามาทดสอบเราตลอดเวลาจนกว่าจะสิ้นอายุขัย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |