*/
ดอกบัว | ||
![]() |
||
ภาพวาดดอกบัวด้วยสีน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
คราวที่แล้วเกริ่นถึงภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ของอาจารย์เอกชัย อ๊อดอำไพผู้ล่วงลับ เอาไว้ ขอยกยอดมาเล่าต่อกันในคราวนี้นะคะ อยากเล่าถึงภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ว่าคืออะไร ควบคู่ไปกับเสนอภาพวาดของอาจารย์ที่ดิฉันไม่รู้จักเป็นส่วนตัวนะคะ ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific Illustration ) เป็นหลักฐาน หรือการนำเสนอข้อมูลในลักษณะของรูปภาพ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอที่นอกเหนือไปจากการนำเสนอในรูปแบบตาราง ตัวเลข สถิติ หรือคำบรรยาย เป็นวิธีที่สามารถอธิบายรายละเอียดของข้อมูลได้ชัดเจน นักวิทยาศาสตร์สามารถสื่อสารกันได้ โดยปราศจากอุปสรรคทางด้านภาษา ดังนั้นการสร้างภาพทางวิทยาศาสตร์จึงต้องทำอย่างถูกต้อง แม่นยำ วัดขนาดอย่างละเอียด ผู้วาดไม่สามารถเติมแต่งจินตนาการของตนลงในภาพวัตถุที่วาดได้เลย เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดเท่านั้น ทำไมจึงไม่ใช้ภาพถ่าย เนื่องจากการถ่ายภาพอาจมีบริเวณเงามืด ทำให้ไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนของวัตถุได้ และวัตถุบางชนิด เช่นกลีบดอกไม้ ปีกแมลง กล้ามเนื้อคน มีบริเวณที่ทับซ้อนกัน ภาพถ่ายไม่สามารถแสดงส่วนที่ถูกทับซ้อนอยู่ข้างใต้ได้ หากภาพวาดสามารถทำได้ หรือประกอบส่วนที่แตกหักออกจากกัน ให้สมบูรณ์ในภาพวาดได้ หรือการถ่ายภาพภายในช่องท้องมนุษย์ อาจมีแสง หรือเลือด ออกมาทับรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอ ภาพวาดสามารถแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้นได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงยังจำเป็นสำหรับการศึกษาไม่ว่าศาสตร์แขนงไหน ภาพวาดพฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์ทั้ง ๒ ภาพที่เห็นเป็นผลงานของอาจารย์เอกชัย อ๊อดอำไพค่ะ ท่านวาดไว้ตอนที่ทำงานวิจัยร่วมกับ รศ. ดร. อบฉันท์ ไทยทอง ชื่อ กล้วยไม้ไทย : ข้อมูลประจำชนิดและภาพวาดสีน้ำ ซึ่งหากท่านไม่เสียชีวิตไปเสียก่อน และผลงานชิ้นนี้สำเร็จ จะเป็นผลงานภาพวาดทางวิทยาศาตร์ของกล้วยไม้ชิ้นแรกของประเทศไทย จะเห็นว่าภาพแรก ท่านต้อง ผ่าตัด ดอกออกเป็นชิ้นๆ ภาพที่สอง แสดงภาพต้นจริงพร้อมถิ่นที่อยู่ ท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติได้เป็นสมาชิก The Society of Botanical Artists แห่งประเทศอังกฤษ ( ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ) ซึ่งผู้ที่จะได้รับเกียรตินี้ต้องได้รางวัลเหรียญทองจากการประกวดภาพวาดทางพฤกษศาสตร์ทั้งที่อังกฤษ และอเมริกา หรือเป็นผลงานที่โดดเด่นมากๆ การทำงานวิจัยนั้นลำบากค่ะ ท่านเล่าไว้ในการให้สัมภาษณ์ว่า งานแบบนี้ช้าไม่ได้นะครับ ต้องทำงานแข่งกับเวลา กล้วยไม้บางชนิดบานเช้า บางชนิดบานตอนเย็น บางชนิดบานอยู่นาน บางชนิดก็บานอยู่เดี๋ยวเดียวก็เหี่ยว นิดเดียวก็เปลี่ยนสี ถ้าวาดไม่ทัน ก็หมายถึงว่าเราจะต้องรออีกหนึ่งปี กว่าที่จะกล้วยไม้ชนิดนี้จะบานอีก น่าชื่นชมการทำงานของท่านจริงๆค่ะ ข้อมูลประกอบการเสนอบทความนี้ได้มาจากนิตยสารสารคดี ปีที่ ๑๕ ฉบับ ๑๗๐ เดือนเมษายน ๒๕๔๒ และจากหนังสือ เรียนวาดเพื่อเรียนรู้ ผู้แต่งคือ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ปัจจุบันท่านสอนอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะสอนแล้ว ท่านยังเป็นประธานเครือข่ายวิทย์สานศิลป์อีกด้วย ( ซึ่งทางเครือข่ายเค้ามีการเปิดคอร์สสอนการวาดภาพวิทยาศาสตร์ระยะสั้นเป็นครั้งๆไป ถ้าสนใจก็ลองติดต่อดูนะคะ หรือจะเข้าไปดูงานใน http://www.sciartnetwork.net ก่อนก็ได้ค่ะ
|