*/
ดอกบัว | ||
![]() |
||
ภาพวาดดอกบัวด้วยสีน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
เราได้ยินคำว่า การศึกษาไม่ควรเน้นการท่องจำ แต่ควรเน้นความเข้าใจมานาน จนชวนให้คิดว่า การท่องจำไม่ใช่สิ่งที่ดีในกระบวนการศึกษา จนอาจเข้าใจเลยไปถึงความจำ ว่าไม่ใช่สิ่งสำคัญต่อการศึกษา สมัยผู้เขียนยังเป็นเด็ก จำได้ว่า ช่วงเวลาเย็นก่อนเลิกเรียน เป็นช่วงเวลาของการท่องสูตรคูณ เป็นช่วงเวลาที่สนุกมากๆ เพราะเด็กๆแต่ละห้องจะแข่งกัน กระจายเสียง ของท่องสูตรคูณ แข่งกันว่าห้องไหนจะท่องได้ดังกว่า จนกระทั่งห้องไหนท่องได้เร็วกว่า การแข่งกันอย่างนี้ทำให้เด็กต้องมีสมาธิเป็นอย่างมาก เพราะหากเผลอใจไปใฝ่กับเสียงของห้องข้างๆ ตัวเองก็จะลืมว่าตนได้ท่องไปถึงไหนแล้ว ดังนั้น การท่องจึงเป็นการฝึกสมาธิได้อีกวิธีหนึ่ง เวลาทำเลข พอจะคูณ จะหาร เสียงท่องก็ดังก้องเข้ามาในหู ทำให้การไม่ลำบากกับการต้องเปิดดูสูตรคูณที่มักพิมพ์อยู่บนปกหนังของสมุดนักเรียน หรือไม้บรรทัด การท่อง จึงไม่ใช่จะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว เพราะทำให้เด็กได้สัมผัสทั้งภาพที่ต้องดูในขณะที่ต้องฝึกการจำ ทั้งเสียงของตนเองที่ส่งออกไป จนสามารถดึงเสียงที่ได้ยินในความทรงจำมาใช้งานในยามที่ต้องการได้ เราคงละเลย ไม่ให้ความสำคัญกับความจำไม่ได้ เพราะความจำ นอกจากจะทำให้เรามีข้อมูลมาใช้ประกอบการคิดในกระบวนการคิดแบบต่างๆ มีการตัดสินใจที่เหมาะสมเพราะเป็นการตัดสินใจที่ได้หลังจากผ่านกระบวนการคิด เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ได้ใช้สมองซีกขวาพัฒนาซีกซ้ายอีกด้วย ปัจจุบันมีการให้ความสำคัญในด้านการจำแบบรูปภาพ เข้ามาแทนที่การจำแบบท่อง เนื่องจากการจำโดยจำเป็นรูป สามารถคงอยู่ในสมองได้นานกว่า ซึ่งเป็นไปได้ทั้งที่จะจำโดยที่ทำความเข้าใจแล้ว หรือ จำโดยที่ยังไม่เข้าใจ หากเป็นการจำที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่จำ การนำเรื่องในความทรงจำอันเป็นศักยภาพของสมองซีกขวาขึ้นมาขบคิดซึ่งเป็นศักยภาพของสมองซีกซ้าย เป็นสนับสนุนให้ใช้สมองทั้งสองซีกอย่างเต็มประสิทธิภาพ การใช้สมองทั้งสองซีกอย่างสมดุล เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากเรามีสมองซีกซ้ายได้รับการพัฒนามากเกินไป แม้จะทำให้เราชอบคิดหาเหตุผล การสรุปสิ่งที่หาได้จากเหตุผลเป็นผลลัพธ์ และนำทักษะของกระบวนการคิดนี้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน แต่เราก็อาจเกิดความเครียดได้ง่าย และอาจกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว เพราะมักคิดถึงเรื่องผลประโยชน์ การแพ้ชนะ มากกว่าน้ำใจที่จะให้ผู้อื่น แต่หากสมองซีกขวาได้รับการพัฒนามากเกินไป แม้จะทำให้กล้าที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ไม่นิยมลอกเลียนแบบ มีความมั่นใจ อ่อนโยน รู้จักสังเกต รู้จักการให้ แต่ก็อาจทำให้เราก็เฉื่อยชาเกินไปได้เช่นกัน หน้าที่ของสมองแต่ละซีก นอกจากจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย แล้ว ยังมีหน้าที่อื่นอีก โดยที่ซีกซ้ายทำหน้าที่ทางด้านการคิดหาเหตุผลหรือความสามารถทางตรรกะ ความสามารถในการใช้ภาษา เช่น การพูด การอ่าน การเขียน การวางแผนจัดการ การคำนวณ ส่วนสมองซีกขวา มีความสามารถทางการรับรู้ การจำ การผสมผสานความคิด ดนตรี ศิลปะ พบว่าผู้ที่ใช้สมองทั้งสองซีกอย่างสมดุลมีชีวิตที่เป็นสุข และมีการแสดงออกที่เหมาะสมกว่าผู้ที่ใช้ซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกซีก อีกทั้งยังมีงานวิจัยว่า เด็กที่มีความสามารถทางด้านศิลปะ จะสามารถแก้โจทย์เลขคณิตได้ดีกว่าเด็กที่ไม่สนใจวิชาศิลปะอีกด้วย แต่การฝึกการจำแบบรูปภาพนี้ หากเด็กมีพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ประกอบด้วยก็จะได้เปรียบเด็กที่ไม่มีความสามารถทางด้านศิลปะ ดังนั้น การแทนที่การจำแบบท่องด้วยการจำแบบภาพ การจำแบบ Mind Map คงต้องเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป มิฉะนั้น เด็กที่ไม่มีความสามารถด้านศิลปะ ไม่คุ้นเคยกับการออกแบบภาพที่จะวาดไว้ในความคิดก่อนลงมือวาดจริง ก็อาจไม่สนุกกับการจำแบบภาพ จนเครียดกับการเรียนได้ (ส่วนการจำแบบ Mind Map นั้นมักไม่ค่อยมีปัญหา) ในพุทธกาล บางครั้ง พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุเพียงหัวข้อธรรม แต่ไม่ได้อธิบายให้พิสดาร ภิกษุจึงยังสงสัย มักพากันไปไต่ถามพระเถระที่มีความรู้ เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น ซึ่งการซักถาม การสนทนาในทางธรรม (สากัจฉา) การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อหาข้อสรุปนี้ ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น จำนานขึ้น แต่อย่างไรก็ดี การจำแบบท่องแม้จะจำได้สั้นกว่าการจำแบบภาพ และใช้เวลาในการจำมากกว่า แต่ในเวลาคับขัน บางครั้ง เสียงท่องของตนเองกลับดังก้องเข้ามาได้เร็วกว่าภาพที่เห็นในห้วงคำนึ่งเสียอีก โดยเฉพาะการท่องข้อความสั้นๆที่อยู่ในรูปคำคล้องจอง หรือ บทกวีที่ใช้ถ้อยคำสละสลวยจนจับใจและประทับไว้ในความทรงจำ การจำแบบท่อง จึงไม่ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เสียทีเดียว การจำแบบไม่ต้องท่อง หรือการท่องจนจดจำ จึงล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาได้ทั้งสิ้น
|