*/
<< | ธันวาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
เหล่านี้เป็นการรวบรวมข้อเขียนเกี่ยวกับศาสนาพุทธในข้อธรรม อริยสัจ ๔ และการปริวัฏฏ์ ๓ ( หมุนเวียน ) จากการรจนาของอริยะบุคคลต่างๆ โดยพยายามเรียบเรียงให้เนื้อความติดต่อและสอดคล้องกัน เสมือนหนึ่งรจนาโดยบุคคลคนเดียว เพื่อความเข้าใจในศาสนาที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อเป็นหลักฐานทางการศึกษา ............................................................... มรรค หรือ ไตรสิกขา ............................................................... อธิบายองค์มรรคทั้ง ๘ ๔๔0. ปัญหา องค์แต่ละอย่างแห่งอริยมรรคคืออะไร พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ความดำริออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดจาส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การถือเอาของที่เขามิได้ให้ และการประพฤติที่มิใช่พรหมจรรย์ ( ผิดต่อสามีหรือภรรยาผู้อื่น ผู้รวบรวม ) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังความพอใจให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามากที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่บังเกิดขึ้น...ปรารภความเพียร...เพื่อความตั้งมั่นไพบูลย์ เพิ่มพูนแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นภายในกายเนืองๆ...พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ...พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ...พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียก สัมมาสติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม...จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก...วิจาร...ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก...วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ให้ฌานนี้มีอุเบกขา...สติ...อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์และสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ วิภังคสูตร มกา. สํ. [ ๓๔-๔๑ ] ตบ. ๑๙ : ๑0 ๑๒ ตท. ๑๙ : ๙ ๑0 ตอ. KS. ๕ : ๗ ๙ ศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ฉบับสมบูรณ์ ( หน้า ๓๘๗ ๓๘๙ ) พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างสรรค์บุ๊คส์ ๒๑๗ ซอยสุขุมวิท ๒0 ( สายน้ำผึ้ง ) แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ ๑0๑๑0 .......................................................................... ปัจจุบันมีคนสงสัยอยู่เสมอว่า เราจะสอนจริยธรรมได้แค่ไหน เรื่องจริยธรรมสอนกันไม่ได้ แต่ฝึกอบรมกันได้ เรามักจะคิดแต่จัดหลักสูตรสอนกันในโรงเรียน เราไม่ได้นึกว่าเป็นเรื่องการอบรม และการฝึกอบรมจริยธรรมนั้น จะต้องควบคู่กันไปทั้ง ๓ ด้าน ตามหลักไตรสิกขา เพราะว่าการจะพัฒนาหลักธรรมอะไรก็ตาม ต้องเอาหลักนี้มาจัด เพราะเป็นหลักสำหรับอบรมการฝึกขั้นต้น ได้แก่ ๑ ปัญญาสิกขา คือความรู้ความเข้าใจในหลักการ เป้าหมาย เหตุผล วิธีการต่างๆ รู้ทุกอย่างเท่าที่จำเป็น ปัญญาขั้นนี้ไม่ใช่ขั้นลึกซึ้ง แต่เป็นปัญญาขั้นพื้นฐานที่ต้องทราบก่อน สมมุติว่าเราจะพัฒนาอะไรสักอย่าง เราต้องรู้ก่อนว่าพัฒนาไปทำไม เป้าหมายเป็นอย่างไร และวิธีการพัฒนาจะทำอย่างไร ๒ ศีลสิกขา คือจะต้องทำพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจนั้นด้วย ถ้าหากตีความง่ายๆ คือลงมือทำ รู้ เข้าใจ แล้วลงมือทำ ( หรือจะแปลตามตำราว่าการรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยก็ได้ ) ๓ จิตตสิกขา คือต้องมีกำลังใจมั่นคง แน่วแน่ต่อเป้าหมาย คือเมื่อทำ ต้องทำซ้ำๆซากๆ ต้องทำจนเป็นนิสัย ทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ หลักไตรสิกขา คือ ปัญญา ศีล จิตตะ แต่คนไทยมักเรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามอย่างนี้ต้องทำไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่ทำอันนี้เสร็จแล้วจึงค่อยทำอย่างที่ ๒
พระเทพโสภณ ( ประยูร ธมฺมจิตฺโต ) และ ศาสตราจารย์พิเศษ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณพิต มณีแห่งปัญญา ( หน้า ๗0 ๗๑ ) ธรรมสภา และสถาบันบันลือธรรม ๑/๔ ๕ ถนนบรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑0๑๗0 .............................................................................. ถ้าพูดว่า มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น และสัมมาสมาธิเป็นข้อสุดท้าย องค์ทั้ง ๘ นี้ มีตั้ง ๘ ข้อ ก็จำยาก จึงย่อง่ายๆเหลือ ๓ ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ชาวพุทธจำกันแม่น ว่ามรรคมีองค์ ๘ จำให้ง่ายก็สรุปเหลือ ๓ เท่านั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล นั้นอธิบายง่ายๆว่า เว้นชั่ว สมาธิ ก็คือ ทำความดีให้ถึงพร้อม เพราะความดีแท้จริงที่สุดก็เป็นคุณสมบัติคือคุณธรรมต่างๆในจิตใจ ซึ่งจะต้องบำเพ็ญขึ้นมาให้พร้อม แล้วสุดท้าย ปัญญา ก็ได้แก่ ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ เพราะการที่จิตใจจะบริสุทธิ์หมดจดสิ้นเชิงก็ต้องหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ด้วยปัญญา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต ) ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น ( หน้า ๒0 ) สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ อมรินทร์บุ๊คพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ๑0๑๗0 พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ........................................................................ ขออธิบายว่า วินัย คือการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผนที่รวมทั้งตัวลายลักษณ์อักษร ที่เป็นข้อกำหนดว่าเราจัดวางระเบียบแบบแผนกำหนดพฤติกรรมกันไว้อย่างไร ส่วนคุณสมบัติของคนที่ตั้งอยู่ในวินัยนั้นเรียกว่า ศีล ( หน้า ๘๗ ) การฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกของมนุษย์ให้เป็นไปในทางที่ดีงามเกื้อกูล จนเกิดเป็นคุณสมบัติขึ้นในตัวเขา เรียกสั้นๆว่า ศีล คือการมีพฤติกรรมและการสื่อสารสัมพันธ์ที่พึงปรารถนา เรียกเต็มว่า อธิศีลสิกขา เป็นอันว่า ศีล ก็คือกระบวนการฝึกพฤติกรรมและการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก การพัฒนาด้านจิตใจมีคุณสมบัติที่พึงต้องการ เช่น เมตตา กรุณา ศรัทธา กตัญญูกตเวที ความเคารพ ความเพียร ความเข้มแข็ง อดทน ความมีสติ ความมีสมาธิ ความร่าเริง เบิกบาน ผ่องใส ความสุข ฯลฯ เรียกว่า อธิจิตตสิกขา แต่บางทีเรียกชื่อให้สั้นและง่ายเข้า โดยเอาสมาธิซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เป็นแกนสำคัญมาเป็นตัวแทน จึงเรียกการพัฒนาด้านจิตทั้งหมดว่า สมาธิ ( หน้า ๘๗ ๘๘ ) ส่วนการพัฒนาปัญญาเรียกชื่อเต็มว่า อธิปัญญาสิกขา แต่นิยมเรียกสั้นๆว่า ปัญญา คือกระบวนการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เป็นอันว่าการพัฒนามนุษย์ก็อยู่ที่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดนนี้ ซึ่งดำเนินไปด้วยกันอย่างเกื้อหนุนแก่กันเป็นระบบแห่งบูรณาการ การฝึกฝนพัฒนามนุษย์เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้นี้ ศัพท์บาลีเรียกว่า สิกขา ฉะนั้นการฝึก ๓ ด้านที่พูดมาแล้วจึงเป็นสิกขา ๓ ด้าน คำว่า ๓ นั้นภาษาบาลีคือ ติ ถ้าเป็นสันสกฤตก็คือ ไตร ฉะนั้นจึงเป็นไตรสิกขา ไตรสิกขาก็แยกเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็คือกระบวนการพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา เพื่อให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไปสู่ความสมบูรณ์ คือภาวะที่เป็นผู้มีวิชาแล้ว มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่ต้องมีชีวิตอยู่โดยพึ่งพาอาศัยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน และไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของมันอีกต่อไป ก็คือพ้นทุกข์ โดยกำจัดสมุทัยได้ บรรลุจุดหมายคือ นิโรธ เพราะปฏิบัติตาม มรรค ได้ครบถ้วน ( หน้า ๙0 ) พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต ) ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ อมรินทร์บุ๊คพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ๑0๑๗0 พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ........................................................................ จริยธรรมคือหลักการดำเนินชีวิต พรหม แปลว่าที่ประเสริฐ รวมกันเป็นพรหมจริย คือหลักการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ ซึ่งได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ เป็นปริโยสาน
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเป็นพวกหนึ่งที่เรียกว่า ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเป็นพวกหนึ่งเรียกว่า ศีล แล้วก็มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเป็นหมวดหนึ่งเรียกว่า สมาธิ เป็นอันว่ามรรคมีองค์ ๘ ประการนี้จัดเป็นประเภทได้ ๓ เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต ) ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น ( หน้า ๑๙0 ) สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ อมรินทร์บุ๊คพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ๑0๑๗0 พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ .....................................................................
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |