*/
<< | ธันวาคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
เชื่อว่าผู้ปฏิบัติกรรมฐานคงเคยได้ยินชื่อของอาจารย์โคเอ็นกามาบ้างแล้ว บทความนี้ขอเสนอถึงประวัติของท่าน แนวทางการสอน และสำนักปฏิบัติตามแนวทางท่านที่มีอยู่ในประเทศไทย อาจารย์ สัตยา นารยัน โคเอ็นกา เป็นผู้สอนการปฏิบัติกรรมฐานที่มีชื่อเสียง ได้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติกรรมฐานอันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อิคัตบุรี ใกล้นครบอมเบย์ การสอนของท่านเป็นที่นิยมในปัจจุบันมาก จนมีสาขากว่า ๗0 แห่งทั่วโลก
ประวัติความเป็นมา
ประวัติของท่านคือ ท่านเป็นชาวอินเดียที่เกิดในพม่า เดิมเป็นนักธุรกิจ มีโรคประจำตัวคือไมเกรน ท่านได้พยายามหาทางรักษาแต่ไม่หาย สุดท้ายมีผู้แนะนำให้ลองปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงได้ไปศึกษากับอาจารย์ อูบาขิ่น ซึ่งเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานที่มีชื่อเสียงของพม่าในขณะนั้น
หลังฝึกกรรมฐาน ๑0 วัน อาการปวดหัวหายหมดไป อีกทั้งสภาวะจิต และพฤติกรรมก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยความเลื่อมใส ท่านจึงเปลี่ยนจากการนับถือศาสนาฮินดู มาเป็นศาสนาพุทธ และฝึกวิปัสสนาอย่างจริงจังนับสิบปี จนอาจารย์อูบาขิ่นเห็นว่ามีภูมิรู้ภูมิธรรมที่จะสอนได้ จึงอนุญาตให้สอนกรรมฐาน
ต่อมาทั้งอาจารย์โคเอ็นกา และอาจารย์อูบาขิ่นเห็นว่าพุทธศาสนาเกิดที่อินเดีย ขณะนี้มีชาวอินเดียที่เรียนรู้จนสามารถถ่ายทอดได้แล้ว น่าจะได้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปเผยแพร่ในอินเดียอันเป็นแดนพุทธภูมิ ดังนั้น อาจารย์โคเอ็นกา จึงเลิกอาชีพทางโลก สอนการฝึกกรรมฐานเพียงอย่างเดียว
หลักสูตรการสอนตามแนวของอาจารย์โคเอ็นกา
การอบรมตามแนวของอาจารย์โคเอ็นกาคือผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติเต็มอย่างน้อย ๑0 วัน โดยมีวิธีฝึกโดยสังเขปได้ดังนี้
สามวันแรก เจริญอานาปนสติ โดยฝึกสมาธิเป็นหลัก ( สมถะกรรมฐาน) เริ่มจาก ฝึกพิจารณาลมหายใจ เข้า ออก ให้ระลึกรู้ลมหายใจเข้า ออก กำหนดสติรู้บริเวณทางเข้าออกของลมที่ปลาย หรือในช่องจมูก วันต่อๆมากำหนดจุดรับรู้ให้แคบลง เหลือจุดที่ลมกระทบเพียงจุดเดียว ( ช่องใต้จมูก หรือริมฝีปากบน ) เมื่อจุดพิจารณาแคบเข้า จิตก็จะแหลมคมขึ้น สติและสมาธิก็จะแหลมคมขึ้นตามไปด้วย
วันที่ ๔ เป็นต้นไป เลิกฝึกสมถะกรรมฐาน เพราะถือว่าได้ปูฐานสมาธิไว้ระดับหนึ่งแล้ว แต่หันไปทำวิปัสสนาแทน โดยพิจารณาความเป็นจริงในส่วนต่างๆของร่างกายตลอดทั่วร่างอย่างเป็นระบบ โดยเลื่อนจากศีรษะ ค่อยๆเลื่อนไปถึงปลายเท้า โดยพิจารณาพื้นที่แต่ละครั้งประมาณ ๒ ๓ ตารางนิ้ว ไปตามลำดับ ไม่กระโดดไปมาตามอำนาจกิเลส
ต่อมาพิจารณาความรู้สึกบนพื้นผิวของร่างกาย เพราะตามผิวของเราในขณะปฏิบัติมักเกิดความรู้สึกตลอดเวลา เช่น คัน ขนลุก ขนชัน ตัวอุ่น ตัวเย็น ตัวหนัก ตัวเบา จักจี้ เป็นเหน็บ ปวดเมื่อย เป็นต้น
ต่อมาพิจารณาความรู้สึกเข้าไปในร่างกาย เช่น รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนอันละเอียดอ่อน อันเกิดจากการเกิด ดับ ของธาตุ ๔ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ซึ่งทำปฏิชีวสัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดพลังงานไหลหล่อเลี้ยงร่างกายอยู่ตลอดเวลา
ผลการปฏิบัติ
การปฏิบัติตามแนวของอาจารย์โคเอ็นกานี้ ผลที่เห็นได้ชัดอันดับแรกคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจิต โดยพฤติกรรมเก่าๆของจิตคือ จิตจะปรุงแต่งความรู้สึกที่ชอบที่เข้ามากระทบให้เป็นอารมณ์ยินดี ปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ชอบ ให้เป็นอารมณ์ไม่ยินดี ก็คือเกิดการสร้างกิเลสใหม่ให้ไหลไปสมทบกับกิเลสเก่าที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ( อนุสัยกิเลส ) ทำให้มีกำลังแก่กล้าขึ้น
ผู้ปฏิบัติที่มีสติและเฝ้าพิจารณาความรู้สึกที่ปรากฏทางกายอย่างต่อเนื่อง จะพบทั้งความรู้สึกที่ชอบ ( เบาสบาย ปิติ ความสั่นสะเทือนอันละเอียดที่เลื่อนไหลเป็นสายตลอดร่าง ) และความรู้สึกที่ไม่ชอบ ( คัน ปวด เมื่อย ตื้อทึบ ตึงในบางส่วนของร่างกาย ) เมื่อพบความรู้สึกเช่นนี้ จิตก็มักปรุงแต่งไปตามพฤติกรรมเดิมของจิต คือยินดีในสิ่งที่ชอบ ไม่ยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบ ซึ่งเป็นทางสร้างกิเลส ตัณหา และอุปาทานแก่จิต
อาจารย์โคเอ็นกาท่านเน้นการไม่ปรุงแต่งต่อทุกอารมณ์ ให้วางใจเป็นอุเบกขา ให้มีความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าล้วนเหมือนกันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ควรเข้าไปยึดมั่น เมื่อไม่ปรุงแต่งต่อ กิเลสใหม่ก็จะไม่เกิด ขณะเดียวกัน กิเลสเก่าที่ผุดขึ้นมาเพื่อรับการปรุงแต่ง เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองก็จะอ่อนกำลังลง และสลายตัวไปในที่สุด เมื่อเป็นดังนี้ จิตก็จะค่อยๆสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น จนสามารถขจัดกิเลสให้หลุดล่อน เบาบางลง หรือจนถึงกระทั่งหมดไป
......................................................................... ที่มา : รองศาสตราจารย์ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม การฝึกสมาธิ สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์ ๒๑/๑0 ม. ๘ ซ. วัดตะโน ( จรัลสนิทวงศ์ ๑๓ ) บางแวก ภาษีเจริญ กรุงเทพ , พิมพ์ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๔๗ หมายเหตุ : ศูนย์วิปัสสนาตามตามแนวทางอาจารย์โคเอ็นกาในประเทศไทย ศูนย์วิปัสสนาตามตามแนวทางอาจารย์โคเอ็นกาในประเทศไทย อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในสังฆราชูปถัมภ์ มีสำนักงานในจังหวัดต่างๆดังนี้
กรุงเทพ ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพ ๑0๕๑0 โทรศัพท์ 0๒ ๙๙๓ ๒๗๑๑ , 0๒ ๙๙๓ ๒๗00
กาญจนบุรี ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา ๒0๑๖ ม.๒ บ้านวังขยาย ต.ตรังเผล อ.สังขระบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔0 โทรศัพท์ 0๓๔ ๕๓๑ ๒0๙ , 0๘๑ ๕0๖ 0๓๘๙
ขอนแก่น ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ๑๑๒ ม. ๑ ต.บ้านกง อ.หนองปรือ จ.ขอนแก่น ๔0๒๔0 โทรศัพท์ 0๘๖ ๗๑๓ ๕๖๑๗
พิษณุโลก ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา กม.ที่ ๔๙ + ๔00 ทางหลวงหมายเลข ๑๒ ( พิษณุโลกหลุมสัก ) ๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒0 โทรศัพท์ 0๕๕ ๒๖๘ 0๔๙ , 0๘๑ ๖0๕ ๕๕๗๖
ปราจีนบุรี ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา กม. ๑๖๖ + ๙00 ทางหลวงหมายเลข ๓๓ ( สุวรรณนคร ) ๒00 บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕000 โทรศัพท์ 0๓๗ ๔0๓ -๕๑๖
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |