*/
<< | พฤศจิกายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |
ราชอาณาจักรไทยเคยมีการกำหนดเป็นความนิยมไว้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นพระโพธิสัตว์ อันหมายถึงกษัตริย์ไทยทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพุทธภูมิด้วย ดังนั้นพระเจ้าแผ่นดินไทยแต่เดิม จึงทรงบำเพ็ญบารมีเป็นหลักยิ่งกว่าการตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม แต่ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงปรารถนาพุทธภูมิแล้วทรงกระสับกระส่าย ฟุ้งไปด้วยตัณหา จึงทรงตั้งความปรารถนาใหม่ คือ ทรงปฏิบัติเพื่อธรรมที่สุดแห่งทุกข์เท่าที่จะพึงเป็นไปได้ จึงทำให้ทรงเน้นการตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมมากกว่าจะบำเพ็ญบารมีเพื่อพุทธภูมิ พระจริยานี้ได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนปัจจุบัน คือ พระเจ้าแผ่นดินไทยทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมเพื่อการปกครองประชาชน และ ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อธรรมอันสุงสุดในพุทธศาสนาประกอบกันไป สันนิษฐานว่าทศพิธราชธรรมเป็นที่ทราบและปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งทศพิธราชธรรมนี้มีที่มาจากชาดกพระไตรปิฎกของพุทธศาสนานั่นเอง โดยชาดกที่กล่าวถึงทศพิธราชธรรมคือชาดกเรื่อง มหาหังสชาดก ซึ่งแปลว่า เรื่องใหญ่แสดงถึงหงส์ พระบาลีอ้างว่า พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวของทศพิธราชธรรมด้วยพระองค์เอง โดยในพระบาลีแสดงแต่ถ้อยคำโต้ตอบกัน ไม่มีเรื่องเล่า ไม่มีเรื่องราวติดต่อกัน อรรถกถาจารย์จึงได้เรียบเรียงคำตอบโต้ให้เป็นเรื่องราวขึ้น โดยยกเอาพระคาถาที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสเล่านั้น มารับเป็นตอนๆไป ซึ่งเนื้อเรื่องที่อรรถกถาจารย์แต่งประกอบพระคาถาที่อ้างว่าเป็นคำตรัส คือเรื่องราวดังต่อไปนี้ เมื่อครั้งที่พระเจ้าสังยมะ (หรือ สังยมนะ หรือ สัญยมนะ) มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางเขมา ครองกรุงพาราณสี ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือพระชาติเป็นพระยาหงส์ซึ่งมีขนเป็นสีทองมีนามว่า ธตรัฏฐ มีหมู่หงส์บริวารเป็นจำนวนมาก ได้ อาศัยอยุู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ มีหงส์ทองอีกหนึ่งเป็นอัครเสนาบดีชื่อว่า สุขุมะ (หรือ สุขุม) คืนหนึ่ง พระนางเขมาทรงพระสุบินว่า มีหงส์ทองสองตัวมาจับที่ราชบัลลังก์แล้วแสดงธรรมกถาด้วยวาจาอันไพเราะ พระเทวีจึงประทานสาธุการ พระเทวีนั้นฟังธรรมยังมิทันอิ่มก็รุ่งแล้ว พระยาหงส์ทั้งสองครั้นเห็นว่าสมควรแก่เวลาจึงพากันบินออกไปทางช่องพระแกล พระนางจึงละเมอรับสั่งออกมาว่า อย่าเพ่อไป และตรัสบอกนางกำนัลทั้งหลายให้ช่วยกันจับ เมื่อทรงตื่นบรรทม เหล่านางกำนัลก็พากันหัวเราะว่า หงส์ที่ไหนพระเจ้าข้า พระนางจึงมีพระดำริ ชะรอยหงส์ทองจักมีในโลกนี้ จึงทูลพระราชาว่าทรงพระครรภ์ ทรงพระประชวรครรภ์ใคร่ฟังหงส์ทองแสดงธรรม พระราชาจึงรับสั่งให้สืบหาและจับหงส์ เมื่อทรงทราบว่าจากพรานคนหนึ่งว่า มีหงส์ทองอยู่ที่ภูเขาคิชกูฎ จึงทรงปรึกษาพราหมณ์บัณฑิตว่าจะใช้อุบายใดจึงจะจับหงส์ได้ พราหมณ์กราบทูลว่า ไม่จำเป็นต้องไปจับถึงป่าหิมพาน เพียงแต่ขุดสระใหญ่ชื่อว่า เขมะ ที่ทางเหนือของพระนคร ปลูกธัญชาติต่างๆให้บริบูรณ์และอย่าให้มนุษย์คนใดเข้าไปใกล้ ให้เป็นเขตอภัยแก่สกุณชาติต่างๆ แล้วหงส์ก็จะบินมาหากินที่สระนี้เอง จึงรับสั่งให้ทำตามที่พราหมณ์บัณฑิตกราบทูล และโปรดให้นายพรานคนหนึ่งคอยดูแล สกุณชาติทั้งหลาย รวมทั้งฝูงหงส์ เมื่อเห็นว่าไม่มีภัยก็พากันมาหากิน นายพรานที่เฝ้าดู ครั้นเห็นหงส์ก็คิดหาอุบายจับ จึงได้วางบ่วงดักไว้ใต้น้ำ พระยาหงส์ลงเล่นน้ำจึงติดบ่วงนายพราน ส่วนเสนาบดีหงส์นั้น แม้จะไม่ติดบ่วงแต่ก็ไม่หนีไปเหมือนหงส์บริวารตัวอื่นๆ แม้พระยาหงส์จะบอกให้หนีไปก็ยังคงเฝ้าอยู่ จนเมื่อนายพรานมาพบ พรานสงสัยว่าทำไมหงส์อีกตัวไม่ได้ติดบ่วงแต่กลับไม่หนีไป เสนาบดีหงส์บอกว่า เจ้านายตนติดบ่วง ตนจะขอยอมตายแทน พรานได้ฟังจึงใจอ่อน ออกปากว่าจะปล่อยหงส์ทั้งสอง แต่หงส์กลับตอบว่า พรานไม่ได้ดักเพราะประโยชน์ตน แต่เพราะรับคำสั่งมาจากผู้อื่นจึงไม่มีสิทธิที่จะปล่อยพวกตน ต้องนำพวกตนไปให้แก่ผู้ที่ได้สั่งพรานมา แต่พรานไม่จำเป็นต้องนำพวกตนใส่กรงเพราะพวกตนจะไม่บินหนี แต่จะจับบนกระเช้าสองข้างที่เป็นคานแล้วให้พรานหาบไป ดังนั้น พรานจึงหาบหงส์ทั้งสองไปถวายพระราชา พระราชาเมื่อเห็นหงส์ก็ดีพระทัย ตรัสว่าให้พักให้สบาย สักระยะหนึ่งก็จะปล่อยกลับ พระยาหงส์จึงได้ทูลถามพระราชาเป็นการปฏิสันถารว่า พระราชาทรงสำราญ ไม่มีโรคาพาธ ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรมหรือ พระราชาตรัสตอบว่าทรงมีอยู่ดี และทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม หงส์จึงทูลถามต่อว่า โทษอะไรๆในเหล่าอำมาตย์ไม่มีหรือ เหล่าอำมาตย์ยอมสละชีวิตเพื่อประโยชน์ของพระองค์หรือ ตรัสตอบว่า เหล่าอำมาตย์ล้วนไม่อาลัยในชีวิตเพื่อประโยชน์ของพระองค์ หงส์จึงทูลถาม พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์เป็นที่น่ารัก ประกอบด้วยโอรสธิดาที่ทรงพระโฉมพระยศ หรือ พระราชาตรัสตอบรับกับพระยาหงส์ พระยาหงส์ทูลถามว่า พระองค์ไม่ได้เบียดเบียนชาวแคว้น ปกครองให้ปราศจากอันตรายด้วยความไม่เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความเสมอหน้าหรือ พระราชาตรัสตอบรับ พระยาหงส์ทูลถามว่า พระองค์ทรงยำเกรงสัตตบุรุษ ทรงเว้นอสัตบุรุษ ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรงประพฤติคล้อยตามอธรรมละหรือ ตรัสตอบว่า ทรงยำเกรงสัตตบุรุษ ทรงเว้นอสัตบุรุษ ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรงประพฤติคล้อยตามอธรรม พระยาหงส์ทูลถามว่า ทรงพิจารณาเห็นชัดซึ่งพระชนมายุอันเป็นอนาคตยั่งยืนยาวอยู่หรือ ทรงมัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ไม่สะดุ้งกลัวปรโลกหรือ ตรัสตอบว่า ทรงเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยั่งยืนยาวอยู่ ทรงตั้งอยู่แล้วในธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก ซึ่งธรรมทั้ง ๑๐ ประการนั้น คือ ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน ความไม่คลาดธรรม เพราะธรรมที่ทรงประพฤติ ปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อยจึงเกิดแก่พระองค์เสมอมา พระยาหงส์จึงถวายอนุโมทนา และหลังจากที่พักอยู่กับพระราชาระยะหนึ่ง พระราชาก็ปล่อยกลับสู่ถิ่น ด้วยชาดกนี้ ทศพิธราชธรรมจึงเป็นที่รับรู้และเป็นที่ถือปฏิบัติของพระเจ้าแผ่นดินไทย ธรรมทั้ง ๑๐ ประการนั้นเองจึงเป็นที่มาของทศพิธราชธรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตั้งอยู่ในอย่างสม่ำเสมอ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมอันยิ่งยวดตลอดพระชนม์ชีพ พอที่จะนำมากล่าวประกอบทศพิธราชธรรมแต่ละข้อได้ดังนี้ ทาน การให้ ทรงบำเพ็ญทานเพื่อความสุขของประชาชน ดังที่ได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือประชาชน ศีล ความประพฤติดีงาม ทรงประพฤติพระจริยา พร้อมทั้งพระกาย พระวาจา สะอาดงดงามตามขัตติยราชประเพณี ดำรงด้วยดีการงดเว้นตามสิกขาบทอันเป็นไปเพื่อประชาชน ทำให้ประชาชนชาวไทยอุ่นใจ ไม่ต้องเกรงราชภัย ปริจจาคะ ทรงสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ ทรงสละประโยชน์ สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน อาชชวะ ความซื่อตรง ทรงประพฤติสุจริต ตรงต่อความดี ตรงต่อธรรม อันแสดงถึงพระปัญญาอันล้ำลึก เพราะความตรงต่อสภาวะนี้จะเกิดได้ก็ด้วยปัญญานั่นเอง มัททวะ ความอ่อนโยน ไม่ถือพระองค์ เพราะความที่จิตพระองค์เป็นสมาธิ ไม่กระด้างด้วยนิวรณ์ จึงทำให้จิตของพระองค์เป็น “มุทุภูตะ” เป็นจิตอ่อน ควรแก่งาน และอ่อนโยน ตปะ ความทรงเดช คือการแผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาย่ำยีจิต ไม่ทรงหลงใหลในสุขปรนเปรอ แต่ทรงมุ่งเพียรให้กิจบริบูรณ์ อักโกธะ ความไม่โกรธ ด้วยพระเมตตาที่มีต่อบุคคลอื่น จึงทำให้ทรงไกลจากความโกรธได้ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ทรงมีพระกิริยาที่ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น สัตว์อื่น ให้เดือดร้อน ซึ่งนอกจากประชาชนจะไม่เดือดร้อนแล้ว ยังได้รับพระราชสงเคราะห์จากพระองค์อีกด้วย ดังเช่น โครงการในพระราชดำริต่างๆ ขันติ ความอดทน ทรงอดทนต่อความเหนื่อยยากพระวรกาย ต่อความยากลำบากต่างๆในการทรงงานในพื้นที่ทุรกันดารต่างๆเพื่อความสุขของประชาชน อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม วางพระองค์ให้เป็นหลัก หนักแน่นในธรรม ไม่ทรงปฏิบัติผิดทั้งในเรื่องของวิชาการ เช่น ทรงทราบขั้นตอนในการทำงานต่างๆอย่างแจ่มแจ้ง และ ในเรื่องของความถูกต้องตามธรรม และเป็นที่น่ายินดีสำหรับปวงชนชาวไทย ที่พระเจ้าแผ่นดินไทยรัชกาลปัจจุบัน ทรงประกอบด้วยทศพิธราชธรรมจนเป็นที่ยอมรับทั้งในและนาๆประเทศ จนมีการถวายพระยศอยู่เนืองๆ จนสามารถกล่าวได้ว่า ทรงเป็นกษัตริย์ของปวงกษัตริย์ ทรงเป็น King of king (ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนท) ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ........................................................ อ้างอิง สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทศบารมี ทศพิธราชธรรม โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย ..... ..... (ขอบคุณน้องส้ม สตังค์ ค่ะที่ส่ง Tag ให้ เพราะเชื่อว่าเราต่างก็อยากเขียนถึงพระองค์ จึงไม่ได้ส่งต่อให้ใครค่ะ) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |