*/
<< | มิถุนายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
กับการกระทำต่างๆในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น -กดไลค์บทความของเพื่อนทั้งๆที่ไม่ชอบหรือยังไม่ได้อ่าน -หมอบอกคนไข้ว่ายังมีโอกาสหายสูงอยู่ทั้งๆที่ผลการประเมินบ่งว่าเขาจะอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่เดือน -ตอบผู้ที่ถามว่าได้ทำเรื่องบางเรื่องว่าทำแล้วหรือยัง ว่าทำแล้วทั้งๆที่ยังไม่ได้ทำ
การกระทำเล็กๆน้อยๆเหล่านี้แม้จะ เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเรายังใส่ใจเขาอยู่ เพื่อเป็นการให้กำลังใจเขา เพื่อต้องการถนอมน้ำใจ แต่ก็จัดเป็นการทำวจีทุจริตทางกายทวารบ้าง (เช่น การกดไลค์ที่เปรียบเสมือนการบอกว่าชอบด้วยการกระทำด้วยมือแทนการพูด) ทำวจีทุจริตทางวจีทวารบ้าง อย่างไรก็ดี การกระทำบางอย่าง บางครั้ง บางเรื่อง ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการวจีทุจริตเช่นการโกหกได้ค่ะ เพียงแต่หลังจากทำแล้ว เรามีทิฏฐิหรือความเห็นต่อการกระทำนั้นๆอย่างไร หากเราไม่สมาทานสิกขาบทอยู่ก็จะไม่รู้สึกว่ากำลังประพฤติผิดศีล และก็มักจะเกิดความเห็นตามมาแก้ต่างให้ตัวเองว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่ทำเพื่อให้ผู้อื่นอยู่เป็นสุขตามสภาพปัจจุบันของเขา ดังเช่นคำตอบของหมอที่ต้องการให้กำลังใจคนไข้ อาจจะเพราะหมอเห็นว่าคนไข้โรคมะเร็งที่ตนดูแลเป็นคนที่ขาดกำลังใจ จิตใจท้อแท้ เห็นว่าหากบอกความจริงไปก็อาจจะเร่งเวลาของการจากไปก็ได้ จึงไม่กล้าบอกความจริง เป็นต้น ในกรณีที่หมอต้องพูดโกหกกับคนไข้ พุทธพจน์ในพระคาถานี้ อธิบายการกระทำของคุณหมอได้เป็นอย่างดีค่ะ ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา, ................... น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ, ..................ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย ฯ ถ้าบุคคลพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น (เพราะว่า) การสั่งสมขึ้นซึ่งบาปเป็นเหตุนำทุกข์มาให้ การที่หมอเห็นว่าผิดแต่จำใจทำ กับการที่หมอทำโดยไม่เห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด นั้น ต่างกันนะคะ เพราะอย่างแรก จะทำให้หมอเกิดความพยายามที่จะหาวิธีบอกคนไข้ พยายามให้คนไข้ค่อยๆรับความจริงของชีวิต ให้คนไข้ค่อยๆคลายความกังวล ค่อยๆเห็นตาม จนกระทั่งสามารถบอกความจริงได้ในภายหลัง ซึ่งถึงแม้คนไข้จะยังไม่เห็นตาม แต่อย่างน้อยก็ได้มีความทรงจำใหม่ๆในเรื่องของสัจธรรมไว้ใคร่ครวญบ้าง ส่วนอย่างหลัง หมออาจจะไม่รับผิดชอบต่อคำพูดของตน พูดแล้วก็ผ่านเลย คนไข้ก็อาจจะลาโลกโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่ทำได้ทำบางอย่างที่เขาเห็นว่าควรทำในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนการโกหกว่าทำทั้งๆที่ยังไม่ได้ทำ อาจจะเพราะเรื่องที่ถูกถาม เราเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับใคร ตรงข้าม กลับจะถนอมน้ำใจกันเสียอีก เพราะการที่เราจะทำแล้วหรือทำตามในภายหลังก็ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ คงรู้อยู่แต่ตนที่ใจเท่านั้น การกดไลค์ทั้งๆที่ไม่ชอบก็เช่นกันค่ะ นอกจากเราไม่ควรจะยินดีในการกระทำที่จำเป็นต้องทำทั้งที่รู้ว่าผิดศีล ที่จำเป็นต้องทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่นโดยไม่มีตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นั้นๆแล้ว ยังมีอีกคำตรัสว่าเราควร “มีปกติเห็นภัยแม้ในโทษเพียงเล็กน้อย” ก็คือ แม้แต่เรื่องที่เป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ ก็ไม่ควรเห็นว่าไม่มีโทษ แต่ควรพิจารณาหาโทษของเรื่องนั้นๆ เพื่อป้องกันการเกิดความเคยชิน จนในที่สุดกลายเป็นเห็นในสิ่งที่ผิดว่าถูก เพราะหากเราชินกับการทำผิดเล็กๆน้อย นอกจากจะค่อยๆขยายความเคยชินที่จะทำโดยไม่รู้สึกผิดไปสู่การกระทำผิดในเรื่องใหญ่ๆแล้ว ยังโน้มเราไปสู่การเห็นกิเลสตนเป็นกิเลสคนอื่น นั่นคือ ไม่เห็นอโยนิโสมนสิการอันนำไปสู่กิเลสประเภทโมหะของตน ไม่เห็นความกลัวอันเป็นกิเลสประเภทโทสะของตน แต่กลับเห็นกิเลสดังกล่าวของตนเป็นความติดใจยินดีอันเป็นกิเลสประเภทราคะของคนอื่น แล้วทั้งโมหะ โทสะ ก็ย้อมเราให้ติดกับการกระทำนั้นๆ หมุนวนเป็นราคะ โทสะ โมหะของเรา เป็นกิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน (อนุสัย) ของเราต่อๆไป วาจา เป็นสิ่งเบา เราจึงทำผิดได้ง่ายมากค่ะ ดังพระคาถาที่ว่า คนที่ไม่ใส่ใจวาจาสัตย์ มักพูดโกหกโดยไม่กลัวปรโลก จะไม่ทำบาปเป็นไม่มี (หรือก็คือ สามารถทำผิดอะไรก็ได้) ปรโลก เรามักหมายถึงโลกหน้า โลกหลังความตาย แต่เมื่อดิฉันพิจารณาจากคำตรัสที่ว่าทรงบัญญัติโลกด้วยกายอันกว้างคืบยาววา อันมีสัญญาและใจครองนี้นี่เอง และเนื่องจากจิตเกิดดับต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา จึงมองว่า การไม่กลัวปรโลกน่าจะหมายความรวมถึงการไม่กลัวความเป็นไปในขณะจิตหน้าที่จะเกิดต่อเนื่องจากขณะจิตนี้เป็นลำดับต่อๆไปด้วย คือ การไม่กลัวว่าหากได้ทำเรื่องนั้นๆลงไปแล้วต่อไปใจของเราจะเป็นอย่างไร จะเคยชินกับการกระทำอย่างไร กิเลสอะไรจะยิ่งงอกงามจนไหลซ่านออกมาย้อมจิต (กิเลสที่ไหลออกมาย้อมจิตนี้เรียกว่าอาสวะ) จนเป็นเหตุให้มีการกระทำทางกาย วาจา ใจ ต่างๆได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ในยามที่ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆอย่างไร กระทั่ง สั่งสมความทรงจำอันค่อยๆโน้มไปสู่ทิฏฐิอย่างไร ดังนั้น การมีปกติเห็นภัยแม้ในโทษเพียงเล็กน้อย และไม่ทำบาปบ่อยๆ จึงเป็นอีกธรรมที่เราควร น้อมเข้ามาในตน ค่ะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |