ร่วมโครงการทำดีเพื่อพ่อ เป็นความตั้งใจโดยส่วนตัวที่จะทำตัวให้เป็นประโยชน์กับสังคมที่เราอาศัยอยู่ตามกำลังและสติปัญญา ในโครงการทำดีเพื่อพ่อขอทำสองอย่าง อย่างแรกทำในเรื่องส่วนตัว อย่างที่สองคือให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ในวันนี้ขอเริ่มด้วยเรื่องเกี่ยวกับCash Conversion Cycle แล้วจะทะยอยนำเรื่องที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มาโพสเป็นระยะๆ โดยกลั่นกรองและเขียนจากประสบการณ์ที่ได้ร่ำเรียน ได้ทำงานและได้พบปะผู้คนมา หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากความรู้เหล่านี้นะคะ ปิรันย่า
การลงทุนกับการวางแผนก่อนดำเนินธุรกิจ ตอน Cash Conversion cash converson cycle (CCC) คือระยะเวลาที่ใช้ในการแปลงหนี้สินเป็นเงินสดนั่นเอง ไม่เกี่ยวกับการกู้เงินนะคะ คนละเรื่องกัน ในที่นี้หมายถึงการใช้สร้างหนี้สิน มาลงทุนให้เกิดมูลค่าเพิ่มแล้วขายให้ได้เงินสดมาค่ะ ยกตัวอย่าง เช่น ตัวอย่างที่ 1 A เป็นผู้ผลิตสินค้าออกขายให้ร้านค้าปลีกตามจำนวนที่ออร์เดอร์ พ่อค้าวัตถุดิบให้เครดิต 60 วันหลังส่งสินค้าให้ A และ A ให้เครดิตลูกค้า 30 วันหลังส่งสินค้าถึงร้านค้าปลีก CCC ของ A คือกี่วัน ? เพราะ A ต้องจ่ายเงินให้พ่อค้าในวันที่ 60 หลังได้รับวัตถุดิบ คำถามคือ A ใช้เวลาผลิตกี่วัน? สมมติว่าเป็น 10 วัน แล้วส่งสินค้าได้ทันที แสดงว่า A จะได้รับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าในวันที่ 40 หลังจากได้รับวัตถุดิบ ก่อนกำหนดจ่ายให้พ่อค้าวัตถุดิบ 20 วัน

CCC ของ A เท่ากับ -20 วัน ตัวอย่างที่ 2 B เป็นร้านค้าส่ง ที่สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตมาขายให้แก่ร้านค้าปลีก พ่อค้าให้เครดิต 7 วันหลังส่งสินค้าให้ B และ B ให้เครดิตลูกค้า 30 วันหลังส่งสินค้าถึงร้านค้าปลีก CCC ของ B เท่ากับกี่วัน ? B ต้องจ่ายเงินให้พ่อค้าใน 7 วัน คำถามคือ B ต้องใช้เวลากี่วันกว่าลูกค้าจะสั่งของ? สมมติว่าหลังได้รับของจากพ่อค้าแล้ว อีก 15 วันลูกค้าก็โทรมาสั่งซื้อทั้งหมด แสดงว่า B จะได้รับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าในวันที่ 45 หลังก่อหนี้ แต่ต้องจ่ายเงินให้พ่อค้าก่อนนั้น 38 วัน 
CCC ของ B เท่ากับ 38 วัน จากตัวอย่างทั้งสอง ไม่ว่า A หรือ B ต่างต้องพึ่งพาอาศัยบุคคล 2 กลุ่มคือ พ่อค้าและลูกค้า ในการที่จะให้วงจรธุรกิจของตนดำเนินไปได้ ระบบเครดิตได้ถูกนำมาใช้ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอำนาจการต่อรองของคู่สัญญาสองฝ่าย จะสังเกตุได้ว่า A มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าสูงกว่า B มาก เพราะ A ได้เครดิตถึง 60 วัน ขณะที่ B ได้เครดิตเพียง 7 วัน ทำให้กระแสเงินสด (Cash Flow) ที่ไหลเข้า-ออกของธุรกิจเป็นบวก มีเงินทุนหมุนเวียนอกจากจะสร้างความมั่นคงทางฐานะการเงิน และช่วยเสริมความน่าเชื่อถือได้ดีกว่าการจ่ายก่อนรับทีหลัง อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น? - สภาพแวดล้อมของตลาดในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่นตลาดที่มี supply มากกว่า demand
- การต่อรองเงื่อนไขทางการค้า
- การกำหนดราคาสินค้า รวมถึงการให้ส่วนลด
- คุณภาพสินค้าหรือบริการ
- การบริการหลังการขาย
- ทำเลและระบวนการจัดส่ง
- ความต้องการของตลาด เช่น คุณสมบัติ รูปลักษณ์ของสินค้า ราคา การใช้งาน เป็นต้น
- ฯลฯ
วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง รู้เช่นนี้แล้ว ก็ควรวางแผนในการทำธุรกิจเสียแต่เนิ่นๆ โดยวางระบบการซื้อ-ขาย-จ่าย-รับ ให้รัดกุม มีแผนสำรอง สำหรับกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด "วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ้ง" เจ้านายเก่าของผู้เขียนสอนไว้ว่า "ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร Business Model นั้นสำคัญมากโดยเฉพาะ Revenue Model ต้องคิดไว้ก่อนว่าจะสร้างรายได้กับใคร จากอะไร อย่างไร เมื่อไหร่" คนที่เริ่มธุรกิจด้วยการค้นพบสินค้าบริการใหม่ๆ มักจะล้มเหลวในเวลาอันสั้น เพราะ - ไม่รู้หรือไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Customer Needs)
- ไม่เลือกทำเลที่สะดวกกับผู้ซื้อ (Location and Access)
- ไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดีพอ (Business Process)
- ไม่มีระบบดำเนินงานที่ดีพอ (Operations)
- ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ (Working Capital)
- ไม่มีความสามารถในการแข่งขันพอที่จะสู้กับคู่แข่งได้ (Competitive Advantage)
- ฯลฯ
ในเรื่อง Cash Conversion ถ้าเราสามารถต่อรองเครดิตได้ดีกว่าคู่แข่ง มีพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี เชื่อถือได้ทั้งในเรื่องคุณภาพสินค้า ระยะเวลาในการผลิตและการจัดส่ง และอีกหลายๆอย่างที่ตรงข่มกับสิ่งพวกที่ล้มเหลวข้างต้นขาด ก็น่าจะช่วยให้เวลาที่ต้องใช้ในการแปลงหนี้เป็นผลตอบแทนที่ดีย่อมจะสั้นกว่าคู่แข่ง ดังเช่น ตัวอย่างที่ 3 D รับออเดอร์และรับชำระเงินล่วงหน้าจากลูกค้าที่สั่งสินค้าออนไลน์เข้าบัญขีธนาคาร แล้วจึงส่งคำสั่งซื้อออนไลน์ไปซื้อวัตถุดิบจาก โดยได้รับเครดิต 30 วัน หลังผลิตสินค้าเสร็จแล้วจึงนำส่งให้ลูกค้าตามที่นัดไว้ 
CCC ของ D เท่ากับ -30 วัน ในกรณีนี้ D ไม่ต้องลงทุนด้วยการก่อหนี้เลย เพราะได้รับเงินล่วงหน้าจากลูกค้า จึงสามารถนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิต การบริหารต่างๆได้อย่างสบายๆ D จะทำได้ดีกว่านี้ได้อีกไหม? ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายจัดซื้อต้องรู้ว่าตลาดวัตถุดิบเป็นอย่างไร รู้ว่าคู่แข่งซื้อของจากไหน ราคาที่ควรซื้อควรจะเป็นเท่าใด จะสั่งซื้อคราวละเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน จะสามารถกำหนดให้พ่อค้าทะยอยส่งวัตถุดิบได้หรือไม่ พ่อค้ามีศักยภาพแค่ไหน ฐานะการเงินมั่นคงหรือไม่ จะร่วมธุรกิจกันได้ตลอดหรือเปล่า ต้องต่อรองเรื่องราคา ระยะเวลาชำระเงิน ส่วนลด ค่าปรับกรณีส่งของล่าช้า ไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น ฝ่ายผลิต ต้องรู้ว่ามีออร์เดอร์อะไรเข้าบ้าง มีกำหนดส่งสินค้าเมื่อไหร่ จะจัดตารางการผลิตอย่างไร จัดกะคนงานแบบไหน ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายแต่ได้ประสิทธิผลสูงสุด มีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตตามความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา งานส่วนไหนที่จะใช้แรงงานชั่วคราวจากข้างนอกได้ ซึ่งอาจเป็นคนงานค่าแรงต่ำมาทำงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะมากนัก หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถสูง มีการจัดตารางการใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เพื่อหลีดเลี่ยงการเสียค่าใช้จ่ายในการเปิดปิดเครื่องจักรบ่อยๆ จัดให้มีการดูแลซ่อมแซมเครื่องจักรอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ มีการจัดกะพนักงานให้มีการทำล่วงเวลาน้อยที่สุด โดยจ่ายค่าแรงที่ยุติธรรม เมื่อมีงานเข้าเยอะก็จัดให้ทำงานเป็นกะ หรือหาแรงงานจากข้างนอกมาเสริม เป็นต้น ฝ่ายขายและการตลาด ต้องรู้ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ต้องทำงานกับฝ่ายวิจัยผลิตภัณฑ์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับที่ตลาดต้องการ ด้วยต้นทุนที่ต่ำและมีกำไร และคืนทุนได้เร็ว ตัวอย่างการประหยัดต้นทุนการผลิตก็เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันให้สามารถใช้ชิ้นงานร่วมกันได้ มีการติดต่อ update กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และรับฟังคำติชมมาใช้ปรับปรุงแก้ไขให้พนักงานและฝ่ายบริหารทุกคนทำตัวเป็นคู่คิดของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเห็น D เป็น First Choice ในการสั่งซื้อครั้งต่อๆไปและต่อๆไป ทำให้ D ยังคงความเป็นผู้นำในตลาดอยู่ เป็นต้น ฝ่ายจัดส่ง ต้องเคร่งครัดเรื่องการรับ-ส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับตามกำหนดและระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้มีเกิดกรณีลูกค้าขอคืนสินค้าที่ชำรุดเนื่องจากการขนส่ง รวมถึงไม่ทำให้ฝ่ายบัญชีการเงินมีปัญหาในการเก็บหนี้ ทั้งนี้อาจให้บริษัทข้างนอกเข้ามาประมูลงานจัดส่งสินค้า โดยมีการทบทวนสัญญาเป็นระยะก็ได้ เป็นต้น ส่วนปัจจัยอื่นๆที่เสริมให้บริษัทประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจได้ จะนำมาพูดถึงในตอนต่อๆไปค่ะ ปิรันย่า www.oknation.net/blog/nanahahe 6 พฤศิจิกายน 2550 |