ภาพถ่ายสะท้อนวิถีชีวิตดั้งเดิมของ 'อัสลี' ที่รอยต่อผืนป่าฮาลา-บาลา พื้นที่เขตอัยเยอร์เวง เบตง จ.ยะลา, ๒๕๕๒. ลงสัมผัสพื้นที่ชายแดนใต้เที่ยวนี้ มีเรื่องราวมากมายที่ได้พานพบ โดยเฉพาะกับเหตุรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในบางพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำมาซึ่งความเสียหาย บาดเจ็บ และการเสียชีวิตของผู้คน แต่ภายใต้สถานการณ์ร้ายๆ ทุกชีวิตยังคงต้องมีความหวังที่ต้องดิ้นรนไขว่คว้า ขณะหลากหลายหน่วยงาน องค์กร ฯลฯ ยังคงทำงานกันอย่างแข็งขันเพื่อร่วมกัน ดับไฟใต้ เท่าที่พอมีกำลังและศักยภาพ นั่นทำให้ได้เห็นว่า ในความสูญเสียย่อมมีความหวัง และหากเมื่อรวมพลังกันได้ ก็ย่อมเปี่ยมด้วยพลานุภาพมากพอที่ทุกฝ่ายจักร่วมคลี่คลายหรือหยุดยั้งสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินได้ ทั้งนี้ กิจกรรมหนึ่งที่ผู้เขียนได้เข้าร่วม คือ โครงการจัดประชุม 'สัมมนาอนุกรรมการกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติ' วันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรม ซี.เอส. จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนระดมความคิดเห็นในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่คณะทำงานและคณะอนุกรรมการกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติ และรวบรวมข้อเสนอเพื่อผลักดันเข้าสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี ภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โสภณ สุภาพงษ์ อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ว่าที่ ร.ต.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นักวิชาการ อนุกรรมการกองทุนฯ ผู้บริจาคเงิน หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ได้รับผลกระทบ เข้าร่วมกว่า ๒๐๐ คน
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติ กล่าวเปิด และกล่าวปาฐกถาพิเศษ. เสวนาและนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกองทุนฯ มอบประกาศเกียรติคุณแก่คณะทำงานฯ งานนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติ เป็นผู้กล่าวเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษอันมีเนื้อหาที่น่าสนใจยิ่ง โดยกล่าวถึงภาพรวมของกองทุนสมานฉันท์แห่งชาติว่า ได้จัดตั้งเมื่อปี ๒๕๔๘ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ และสนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ ซึ่งตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗-๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ มีผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายทั้งเสียชีวิตและบาดเจ็บทรัพย์สินเสียหาย จำนวน ๑๓,๕๐๐ คน ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากกองทุนฯ จำนวน ๔,๘๕๗ คน แยกเป็น จ.ปัตตานี ๑,๖๑๗ ราย จ.ยะลา ๑,๒๐๓ ราย จ.นราธิวาส ๒,๐๓๗ ราย นอกจากนี้ส่วนของกิจกรรมโครงการที่สนับสนุนการสร้างความสมานฉันท์ในชาติมีหลายโครงการ เช่น โครงการช่วยเหลือประชาชนกรณีเกิดอุทกภัย โครงการเกี่ยวกับหญิงหม้าย เด็กกำพร้า โครงการศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์ โครงการภาคีองค์กรสื่อเพื่อการพัฒนายุทธศาสตร์ดับไฟใต้ และโครงการศูนย์ข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ สำหรับทิศทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี แสดงทัศนะไว้ว่า ช่วงที่ผ่านมา มีการทำงานที่ชัดเจนและเป็นแนวทางเดียวกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการช่วยเหลือเยียวยา มีประชาชนในพื้นที่ ในชุมชนได้ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานมากยิ่งขึ้น สังคมปัจจุบันประชาชนต้องอยู่ด้วยการเยียวยาร่วมกัน ไม่ควรอยู่แบบสังคมเห็นแก่ตัว และการที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ร่วมมือกันสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในทุกเรื่องและอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ทำด้วยใจ เชื่อว่าในระยะยาวจะเกิดความสันติสุขขึ้นในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนจริงๆ วันถัดมา, เป็นอีกครั้งที่ผู้เขียนมีโอกาสได้พบเพื่อนเครือข่ายสื่อต่างๆ มากมายที่ได้มาแลกเปลี่ยนความเห็นและวิธีการทำงาน เพื่อสร้างทางเลือกและโอกาสการทำงาน สื่อเพื่อสันติภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำแผนที่คนทำงานด้านสื่อในสถานการณ์ความขัดแย้งอันนำไปสู่การทำงานร่วมกันในอนาคต ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ออกแบบร่วมกัน บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความเห็นและวิธีการทำงานของ 'เครือข่ายสื่อเพื่อสันติภาพ' รูปแบบของการจัดงานนี้เกิดขึ้นเพราะ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ได้รับการติดต่อจากองค์กร The Sasakawa Peace Foundation (SPF) ของประเทศญี่ปุ่น ทำงานพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมสื่อในพื้นที่ความขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การสร้างสันติภาพในหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ติดต่อเข้ามาในฐานะแหล่งทุน ที่ปรารถนาเข้ามาเสริมศักยภาพคนทำงานด้านสื่อที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งก็ปรากฏว่ามีเครือข่ายสื่อเข้ามาร่วมกันหนาตา ส่วนใหญ่เป็นคนคุ้นเคยที่ทำงานเกี่ยวกับกับพื้นที่ชายแดนใต้มานาน รวมถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เปี่ยมพลังและพยายามสรรค์สร้างกิจกรรมดีๆ สู่สังคม ซึ่งหวังร่วมกันถักทอเครือข่ายสื่อเพื่อทำงานร่วมกันนำไปสู่การผลักดันให้เกิด กระบวนการสันติภาพ ในที่สุด สำหรับกิจกรรมประการที่สามที่จะกล่าวถึงรายละเอียด ณ ที่นี้ อันถือเป็นหมุดหมายสำคัญหนึ่ง คือ การสานต่อโครงการนิทรรศการภาพถ่ายเคลื่อนที่ของ สำนักหัวใจเดียวกัน ซึ่งหลายปีมานี้ที่ทีมทำงานได้สะสมภาพถ่ายอันงดงามมากมายในพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมนำไปเร่จัดแสดงตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในพื้นที่ชายแดนใต้และพื้นที่อื่นๆ รวมถึงการจัดเป็น โครงการธนาคารภาพถ่ายชายแดนใต้ ที่รวบรวมภาพถ่ายสวยงามในแง่มุมต่างๆ และพร้อมให้ทุกองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคล นำไปใช้ได้อย่างเสรีหากเป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล ด้วยประจักษ์ว่า ผลสืบเนื่องจากการเกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ทุกภาคส่วนพยายามเรียกร้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการผลักดันให้บุคคล องค์กรภาคประชาชน หรือกลุ่มเยาวชน มีเวทีนำเสนอข้อมูลข่าวสารในพื้นที่สู่สาธารณะด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการเขียน การถ่ายภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เพื่อสะท้อนเรื่องราวดีๆ ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ อันเป็นต้นทุนสำคัญยิ่งของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีการสะท้อนเรื่องราวความงดงามของพื้นที่ชายแดนใต้สู่สาธารณะวงกว้าง ด้วยสื่อประเภทต่างๆ แล้วมากมาย แต่ด้วยเชื่อว่าการใช้สื่อประเภท ศิลปะภาพถ่าย น่าจะหนึ่งในช่องทางที่จักทำให้ผู้คนเข้าใจพื้นที่ เกิดความภาคภูมิใจ เกิดสำนึกรักบ้านเกิด และมีส่วนร่วมในการคลี่คลายปัญหาประดามีที่เกิดขึ้นตลอดหลายปีมานี้ได้ดียิ่งขึ้น จึงนับเป็นโอกาสดีหากจะมีการจัดงาน มหกรรมภาพถ่ายชายแดนใต้ (Photo for Peace Festival) เพื่อสะท้อนเรื่องราวดีงามในพื้นที่ผ่านศิลปะภาพถ่าย ภายใต้ภาคีร่วมจัดหรือเครือข่ายองค์กร ชมรม สถาบัน ฯลฯ ที่มีความปรารถนาดีต่อแผ่นดิน เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้คนให้หันกลับมามองความเป็นมาเป็นไปของพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในแง่มุมของความรัก ความอาทร การให้กำลังใจ และความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้เชื่อว่า การจัดงานลักษณะนี้จักเป็นการกระตุ้นภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่ายในพื้นที่ และธุรกิจต่อเนื่อง เช่น การท่องเที่ยว ร้ายถ่ายรูป ร้านจัดทำกรอบรูป ร้านคอมพิวเตอร์ ฯลฯ รวมถึงการเข้าใจต้นทุนทางสังคมที่สามารถแปรเป็นมูลค่าเชิงธุรกิจได้ เช่นกรณีของการนำภาพถ่ายมาเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ หากมีการระบบบริหารจัดการที่ดี เป็นต้น โดยงาน 'มหกรรมภาพถ่ายชายแดนใต้' มีกำหนดจัดงานรวม ๓ วัน คือ ระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๒-อาทิตย์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๓ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทุกท่านนำภาพถ่ายมาร่วมจัดแสดง ร่วมนำภาพประกวดชิงรางวัล ร่วมเสวนาบอกเล่าประสบการณ์ ฯลฯ ด้วยยินดี เพราะถือว่างานนี้เป็นของทุกคน ที่จะได้ร่วมกันนำเสนอสิ่งดีๆ ผ่านภาพถ่ายสู่สายตาสาธารณะ แม่ค้าที่ตลาดปัตตานี, ๒๕๕๒. มองผ่านม่านฝน ขณะมุ่งเข้าพักแรมในเขตผืนป่าบาลา-ฮาลา เขตอำเภอแว้ง นราธิวาส. ๒๕๕๒. วัตถุประสงค์ของการจัดงานถูกกำหนดไว้ว่า ๑.เพื่อใช้ศิลปะภาพถ่าย เป็นเครื่องมือเสริมส่งให้เยาวชนเกิดสำนึกและภาคภูมิใจในถิ่นเกิด ก่อเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนต่างศาสนาและต่างถิ่น กระตุ้นให้เยาวชนให้ความสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งเชิงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สถานที่ ฯลฯ ๒.ผลักดันให้เกิดเวทีสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชน ในการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเชื่อมโยงปัจจัยทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว มีคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน และ ๓.เพื่อปูพื้นฐานในการให้เยาวชนหรือคนทั่วไปหันมาให้ความสำคัญกับศิลปะการถ่ายภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงปัจจัยอื่นๆ ทั้งเชิงส่งเสริมศิลปะ ภาคธุรกิจ และการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนใต้ วิธีการดำเนินการกิจกรรมครั้งนี้ เป็นการจัดงานมหกรรมภาพถ่ายชายแดนใต้ และการจัดเสวนา ฝึกอบรมให้ความรู้ ในด้านการถ่ายภาพ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของการถ่ายภาพ การบริหารจัดการหรือทำธุรกิจด้านการถ่ายภาพ ฯลฯ ดำเนินการในลักษณะพันธมิตรเครือข่าย โดยหน่วยงานที่ตอบรับเป็นภาคีร่วมจัดแล้วในขณะนี้ ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส (รับผิดชอบพื้นที่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สำนักหัวใจเดียวกัน และยังพร้อมเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่สนใจทั้งภาครัฐและเอกชน แสดงเจตจำนงร่วมถักทอเป็นพันธมิตรเครือข่ายในการจัดงานมหกรรมภาพถ่ายชายแดนใต้ในครั้งนี้เพิ่มเติม สำหรับกรอบการดำเนินงาน มีการจัดตั้งตั้งคณะทำงานร่วมโดยใช้คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นแกนหลักเพื่อเตรียมการ ส่วนสำนักหัวใจเดียวกัน ทำหน้าที่ประสานเพื่อจัดเตรียมภาพถ่ายที่จะนำมาแสดงเป็นนิทรรศการภาพถ่ายชายแดนใต้ ประกอบทั้งภาพในอดีตและปัจจุบัน โดยรวบรวมภาพจาก บุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่หลากหลายทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงประสานงานวิทยากรเพื่อมาถ่ายทอดประสบการณ์ เทคนิคการถ่ายภาพ ฯลฯ ในหัวข้อ ภาพถ่าย : เรื่องใกล้ตัวในยุคดิตอล จัดประชุมร่วมเพื่อกำหนดกรอบเรื่องการจัดประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ โลกรอบตัว และจัดหาคณะกรรมการตัดสิน โดยแบ่งการประกวดเป็น ๒ ประเภท คือ ระดับเยาวชน อายุไม่เกิน ๒๒ ปี และบุคคลทั่วไป ประชุมร่วมเพื่อกำหนดรายละเอียดการเสวนาหัวข้อ แปลงภาพถ่ายเป็นทุนธุรกิจ และประชุมร่วมเตรียมการเรื่องการนำผู้สนใจลงพื้นที่ เพื่อบันทึกเรื่องราวผ่านภาพถ่าย (Workshop) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แสงศรัทธา ณ ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ อ.สุไหงโก-ลก นราธิวาส. ๒๕๕๒. ทุกฝ่ายหวังเพียงว่า ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ การดำเนินการจัด มหกรรมภาพถ่ายชายแดนใต้ ในครั้งนี้ นอกจากจะได้สะท้อนแง่มุมสวยงามของพื้นที่ชายแดนใต้ผ่าน ศิลปะภาพถ่าย ด้วยความร่วมมือร่วมใจของผู้คนที่พร้อมแสดงเจตจำนงมีส่วนร่วมแล้ว ยังเป็นสะท้อนถึงพลังของ ทุนเครือข่าย ซึ่งพร้อมร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน องค์กรภาคประชาชน ภาคการลงทุน รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป เพื่อถักทอให้สัมฤทธิ์ผลในการก่อให้เกิดแรงหนุนเนื่องของ พลังสันติภาพ ในพื้นที่ได้จริง หมายเหตุ : สนใจส่งภาพถ่ายเข้าร่วมแสดงได้ที่ pfpf2553@gmail.com พร้อมระบุชื่อ ที่อยู่ รายละเอียดภาพ ฯลฯ ด้วย- ขอบคุณครับ. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |