เหนือยอดเขาตันหยง ที่มองเห็น ณ เบื้องหน้ายามนี้ คือที่ตั้งของ 'พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์' หนึ่งในพระราชฐานต่างจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งตะวันออก บนเชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเขาตันหยง ในพื้นที่หมู่ ๔ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส หรือตามทางหลวงสายอำเภอเมืองนราธิวาส-ตากใบ ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๗ กิโลเมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดของเขาตันหยง มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒๙๔ เมตร ส่วนองค์พระตำหนักตั้งอยู่บนเชิงเขาส่วนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ๖๐ เมตร ด้านหน้าเขาตันหยงส่วนที่ติดทะเล มีลักษณะทิวทัศน์สวยงามด้วยหาดทรายขาวยาวเหยียด แซมด้วยโขดหินรายเรียง ยามคลื่นลมซัดสาดเข้าหาฝั่ง เห็นเป็นฟองขาวสะท้อนกับแสงอาทิตย์พราวแพรว สำหรับพสกนิกรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง พอจดจำสภาพของพื้นที่แถบนี้ได้ว่า ในยามเดินทางเลาะเลียบผ่านบริเวณเชิงเขาตันหยง เดิมพื้นที่ในเขตพระราชฐานพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เคยเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเขาตันหยง ชาวบ้านต่างปลูกเรือนรายเรียงอยู่ห่างกันพอประมาณ ลักษณะภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นป่าสมบูรณ์ พื้นที่แทบทุกอณูห่มคลุมไปด้วยมวลต้นไม้ขนาดใหญ่ ทำให้มีสัตว์ป่าใหญ่น้อยอาศัยอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เสือ หมี กวางป่า และสัตว์เล็กอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก พุทธศักราช ๒๕๑๕ อันเป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสำรวจพื้นที่โดยทั่วไปของเขาตันหยงด้วยพระองค์เอง และมีพระราชดำริว่าจะสร้างพระตำหนักบนเชิงเขาทางทิศตะวันออกของเขาตันหยง เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะมีที่ประทับทางภาคใต้สุดของประเทศ ณ พื้นที่สุดเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เพื่อจะได้ทรงดูแลเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด ราษฎรบ้านเขาตันหยง ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เมื่อทราบว่าเป็นพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระตำหนัก ต่างรู้สึกปลื้มปีติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ได้พร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบ้านเขาตันหยง เพื่อเตรียมก่อสร้างพระตำหนัก และพากันโยกย้ายไปสร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ เพื่อการอยู่อาศัย ทางทิศใต้ ติดกับเขตพระราชฐาน และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสร็จวางศิลาฤกษ์สร้างพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๕ ล่วงมา ๑ ปีหลังจากมีการน้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน และมีการวางศิลาฤกษ์เพื่อเตรียมการก่อสร้างแล้ว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เข้าดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักองค์แรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๖ โดยได้ละเว้นพื้นที่ที่เป็นสุสานของหมู่บ้านเดิมไว้ มิได้นำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด เพื่อให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้ราษฎรบ้านเขาตันหยง ได้เข้ามาประกอบศาสนกิจ แผ่ส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังได้มีรับสั่งให้ปลูกเฟื่องฟ้าต่างชนิด ต่างสี เต็มไปทั้งบริเวณสุสาน พระราชทานชื่อว่า 'สุสานเฟื่องฟ้า' พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์สร้างมัสยิดไว้หน้าพระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ ตลอดจนพระราชทานค่าใช้จ่ายในการย้ายบ้านแต่ละครอบครับ ตามสมควร เมื่อเริ่มแรก่อสร้างพระตำหนักทิกษิณราชนิเวศน์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๖ เดือน ในเบื้องต้น การดำเนินการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรับผิดชอบดูแลรักษาพระราชฐานมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ กระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงได้มอบโอนความรับผิดชอบให้สำนักพระราชวัง เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาเขตพระราชฐาน พระตำหนัก อาคาร และสิ่งของประจำอาคารทั้งหมด ประกอบด้วย พระตำหนัก ๔ องค์ และอาคารต่างๆ อีก ๘๖ อาคาร รูปแบบของพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ มีรูปลักษณ์เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ลักษณะเป็นทรงปั้นหยาสมัยใหม่ อันเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมของชาวภาคใต้ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้สถาปนิกออกแบบให้มีรูปทรงประสานกลมกลืนกับอาคารบ้านเรือนแบบท้องถิ่นที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ แบ่งออกเป็น ๓ เขตพระราชฐาน ประกอบด้วย เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นใน และเขตพระราชฐานที่ประทับ โดยเขตพระราชฐานที่ประทับ มีพระตำหนักตันหยง และถัดไป เป็นตำหนักทำงานของกองราชเลขาฯ ในพระองค์ ตึกราชองครักษ์ เรือนข้าหลวง ห้องเครื่อง และเรือนรับรอง โดยทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ประมาณ ๕๔๒ ไร่ รวมถึงมีพื้นที่ป่าอีกประมาณ ๑,๘๗๕ ไร่ ที่จะต้องดูแลรักษา ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า การยิงและจับสัตว์บนเขาตันหยง โดยพื้นที่ส่วนนี้นับเป็นเขตพระราชฐานอีกส่วนหนึ่งด้วย นอกจากนี้ บนเขาตันหยง ยังมีสำนักสงฆ์ของพระตำหนัก สำหรับเป็นที่พักของพระราชาคณะ หรือพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตามเสด็จฯ อย่างเป็นสัดส่วน สำหรับภูมิทัศน์ และภูมิสถาปัตย์ของพระราชฐานต่างจังหวัดแต่ละพระราชฐาน จะมีแบบการจัดสวนในราชอุทยานแตกต่างกัน เช่น ราชอุทยานในเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จะจัดสวนแบบสวนหิน ส่วนใหญ่เป็นประเภทใบไม้ สาเหตุเพราะอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ มีแสงแดดไม่เพียงพอที่จะปลูกไม้ดอกให้เจริญงอกงามได้ ต้นไม้พื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ ได้แก่ ปาล์มบังสูรย์ รักนา และดาหลา และบริเวณราชอุทยานในเขตพระราชฐานที่ประทับ มีคอกเลี้ยงกวางป่า และมีกรงเลี้ยงนก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนกหายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยพระองค์มีพระราชดำริให้ขยายพันธุ์นกขมิ้นซึ่งเป็นนกพื้นเมืองที่หายาก เพื่อให้มีจำนวนมากพอที่จะปล่อยเข้าป่าต่อไป ย้อนกลับไปเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วมา ราษฎรในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง ต่างจดจำได้ดีว่ วันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ นับเป็นครั้งแรกที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ และต่อมา ได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับแรมช่วงประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เกือบทุกปี โดยปกติแล้ว พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จะเปิดให้ประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม พร้อมทั้งเที่ยวชมในบริเวณเขาตันหยง ซึ่งมีทิวทัศน์สวยสดงดงามได้ ขณะที่มิได้เสด็จไปประทับแรม ในระหว่างเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา แต่จะงดเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ ที่แห่งนี้ แบมะ, ก็เป็นเช่นเดียวกับพี่น้องไทยมุสลิม ราษฎรไทยพุทธ และรวมถึงศาสนิกชนอื่นๆ ในพื้นที่ชายแดนใต้ ที่รู้สึกปลื้มปีติเป็นล้นพ้น ในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทุกพระอค์ โดยเฉพาะ ทุกคราครั้งที่ได้เสด็จแปรพระราชฐาน มาประทับแรม ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ เพราะ...นี่คือ 'สายฝน' ที่ไร้ซึ่งฤดูกาล แลได้พัดพาความร่มเย็นสู่ผืนแผ่นดินอยู่เสมอมา...มิได้ขาด... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |