เรื่องที่ดินงอก ตามประมวลกฎหมายมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอยู่ครับ คงต้องมีการตรวจสอบกันอีกครั้งให้ชัดเจน นายอรรถสิทธิ์ ณ พัทลุง นักวิชาการที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดปัตตานี ให้ข้อสังเกตและตั้งสมมติฐาน โดยยกข้อความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในหัวข้อเรื่อง 'การออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่ง' ว่า ความตามมาตรา ๑๓๐๘ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ไว้ว่า ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยที่งอกริมตลิ่งหมายถึงที่ดินซึ่งงอกไปจากตลิ่ง และเวลาน้ำขึ้นตามปกติท่วมไม่ถึง ทั้งต้องเป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติด้วย ที่ดินซึ่งถมลงไปในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ย่อมมิใช่ที่งอกริมตลิ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๔/๒๕๐๑) หรือลำคลองที่ถมเป็นถนน ไม่เรียกว่าเป็นที่งอกริมตลิ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๔/๒๔๕๕) ทั้งนี้ ที่ดินที่จะถือว่าเป็นที่งอกริมตลิ่งนั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้ ๑.ต้องงอกไปจากริมตลิ่ง ไม่ใช่งอกจากกลางแม่น้ำมาสู่ที่ดินของเจ้าของที่ดิน ๒.ต้องเป็นการงอกตามธรรมชาติ ไม่ใช่งอกโดยการถม ๓.น้ำท่วมไม่ถึง ๔.ต้องไม่มีอะไรคั่น นอกจากนี้ในหัวข้อ 'กรรมสิทธิ์ : การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์' ยังระบุในมาตรา ๑๓๐๖ ว่า ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน นายอรรถสิทธิ์ ณ พัทลุง นักวิชาการที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดปัตตานี กำลังอธิบายข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน หากเจ้าของที่ดินซึ่งชาวบ้านเช่ามาทำนาเกลือ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเหล่านี้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อพิสูจน์ได้ว่าที่ดินด้านหน้าติดทะเลเป็นแผ่นดินงอกจริง ก็จะมีสิทธิ์ในที่ดินงอก ไม่ใช่ชาวบ้าน ๓๗ ครอบครัวที่ปลูกสร้างบ้านอยู่บนที่ดินแห่งนี้ สภาพชุมชนซึ่งค่อนข้างอัตคัตขัดสน สภาพแวดล้อมมีปัญหา ทั้งน้ำ ไฟฟ้า สาธารณสุข ฯลฯ หากพิจารณจากแผนที่และจุดระวางที่ดิน เข้าใจว่าที่ดินที่ชาวบ้านเข้าไปอาศัยอยู่เป็นที่ดินสาธารณะแปลงใหญ่แปลงหนึ่งที่มีการตรวจสอบไว้ชัดเจนแล้ว หรือหากเป็นกรณีที่ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ แต่เป็นที่ดินงอก ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ดี เพราะไม่ได้ถือครองโฉนดหรือกรรมสิทธิ์ที่ดินใดไว้ คนที่จะครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินงอกได้ ต้องเป็นคนที่มีโฉนดที่ดินติดกับที่ดินงอกเท่านั้น ประมวลภาพจากพยานหลักฐานและข้อมูลเท่าที่ได้ประจักษ์ นับว่า 'ชะตากรรม' ของชาวบ้านยังคงแขวนอยู่กับโชคชะตา และการพยายามแสวงหาทางออกที่ดีที่สุด เพื่อหวังยกระดับสถานภาพเช่นที่ดำรงอยู่ แทนที่จะจมปลักกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้คุณภาพตามสิทธิพลเมืองเท่าที่พึงมีพึงได้ตามสิทธิแห่งพลเมืองไทย แม้กระทั่งในหลักปฏิบัติระดับสากล ซึ่งเป็นกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ (UN) ก็มีการบัญญัติว่าด้วย 'สิทธิ' ไว้มากมาย ถือเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights ICESCR) ที่มีการรับรองว่า อุดมการณ์ที่ว่าเสรีชนจะต้องปลอดจากความกลัวและความขาดแคลนนั้น จะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างสภาวะซึ่งทุกคนจะได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของตนเท่านั้น โดยในภาค ๓ ข้อ ๗ ระบุว่า รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ ซึ่งประกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง (๒) ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับตนและครอบครัวตามบทบัญญัติแห่งกติกานี้ (ข) สภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ข้อ ๑๒ ๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ ๒. ขั้นตอนในการดำเนินการโดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทำให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์จะต้องรวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อ (ก) การหาหนทางลดอัตราการตายของทารกก่อนคลอดและของเด็กแรกเกิดและการพัฒนาที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็ก (ข) การปรับปรุงในทุกด้านของสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม (ค) การป้องกัน รักษาและควบคุมโรคระบาด โรคประจำถิ่น โรคจากการประกอบอาชีพและโรคอื่นๆ (ง) การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย์ และการให้การดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณีเจ็บป่วย รวมถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ภาค ๑ ข้อ ๑ ภาค ๒ ข้อ ๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ภาค ๑ ข้อ ๑ ข้อ ๗ ในหลักปฏิบัติระดับสากล เป็นกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ (UN) ก็มีการบัญญัติว่าด้วย 'สิทธิ' ไว้มากมาย ถือเป็น 'ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน' ที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม นายอรรถสิทธิ์ ณ พัทลุง นักวิชาการที่ดิน ให้คำอรรถาธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ทางภาครัฐก็ได้พยายามแสวงหาหนทางในการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากเรื่องที่ดิน โดยได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย โดยการดำเนินการแบ่งกิจกรรมตามภารกิจออกเป็น ๖ กิจกรรม คือ การจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของกลุ่มมวลชน การรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง การจัดที่ดินเพื่อประชาชน การคุ้มครองที่ดินของรัฐ และการจัดการที่ดินของรัฐ ทางเลือกที่รัฐเปิดให้ประชาชน จะทำให้เขาได้ประโยชน์ในเรื่องที่อยู่อาศัย ประชาชนผู้ยากจนจะได้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศํยอย่างมั่นคง สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ซึ่งจะก่อประโยชน์ที่ดีแก่ทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน ทั้งนี้ในเอกสาร 'ที่ดินของรัฐกับภารกิจของกรมที่ดิน' โดยสำนักจัดการที่ดินของรัฐ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีการกำหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกแปลงที่ดินไว้ด้วย เช่น ผู้ครอบครองหรือบุกรุก ต้อยอมรับว่าที่ดินที่ครอบครอง เป็นที่สาธารณประโยชน์ และยอมรับการดำเนินการตามนโยบายการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด ให้ความเห็นชอบ และถ้ามีผู้ใดโต้แย้งสิทธิในที่ดินหรือคัดค้านแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ ให้กันที่ดินส่วนนั้นออกจากโครงการ เพื่อดำเนินการพิสูจน์สิทธิตามแนวทางของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) กฎกระทรวงฯ และระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องต่อไป ชาวบ้านที่ต่างก็เฝ้าคอย 'ความหวัง' ในขณะที่ นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดปัตตานี ให้ข้อมูลว่า ช่วงที่ผ่านมาทางประมงจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือประมงพื้นบ้านเป็นระยะๆ โดยมีการดำเนินโครงการมากมายหลายลักษณะ ล่าสุดคือการซื้ออวนไปมอบให้กับชาวประมงพื้นบ้านทั้งหมด รวมถึงชาวบ้านปาตา ตำบลตันหยงลุโละด้วยที่ได้รับความช่วยเหลือลักษณะนี้ พื้นที่ปัตตานีมีรายได้จากการประมงถึงปีละ ๓,๙๐๐ ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากเรือประมงพื้นบ้านซึ่งมีกว่า ๒,๐๐๐ ลำในปัตตานี ดังนั้นหากชาวประมงพื้นบ้านรายใดหรือกลุ่มใด มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ ก็ติดต่อมาได้ทันที ทางเจ้าหน้าที่จะได้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป เพราะถือเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญ และจะได้ช่วยเหลือวิถีความเป็นอยู่ของผู้ประกอบอาชีพประมงด้วย นายสุนันท์ ศิริมากุล ประมงจังหวัดปัตตานี ให้ข้อมูลว่า ช่วงที่ผ่านมาทางประมงจังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือประมงพื้นบ้านเป็นระยะๆ โดยมีการดำเนินโครงการมากมายหลายลักษณะ ถึงที่สุดแล้วเส้นทางต่อสู้ของชาวประมงพื้นบ้านทั้ง ๓๗ ครอบครัวแห่งบ้านปาตา ตำบลตันหยงลุโละ คงเป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ และประการสำคัญ ต้องดำเนินต่อไปภายใต้วิถีที่เป็นธรรมและถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อสร้างที่อยู่ที่ยืนของชีวิตและครอบครัวให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้น เช่นที่ นายแวซอเฮาะ เวาะโซะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านตันหยงลุโละ กล่าวทิ้งท้ายว่า หากไม่สามารถได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายหรืออะไรก็ตามแต่ ก็ขอเพียงให้ภาครัฐได้เข้ามาดูแลและให้ความช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่ดำรงอยู่ในทุกวันนี้ชาวบ้านก็พอใจในระดับหนึ่งแล้ว เพราะได้ร่วมมือกันช่วยเหลือตัวเองมาโดยตลอด และมีบ้างที่ภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อร่วมคลี่คลายประเด็นที่เป็นปัญหา อย่างน้อยก็ให้สมกับนิยามของคำ 'ตันหยงลุโละ' ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินที่บรรณาการทุกอย่างให้ชีวิตนับตั้งแต่อดีตจนถึงกาลปัจจุบัน เพียงสิ่งจำเป็นและเป็นความหวังคงเป็นเช่นไม้ใหญ่ที่ต้องมีรากหยั่งลึก เสมือน 'บ้าน' ที่จะบรรจุไว้ซึ่งความสำคัญทุกอย่างของชีวิต เพื่อจะนำไปสู่สิ่งดีอื่นๆ อีกมากมาย และนั่นย่อมเป็นไปตามนัยสำคัญยิ่งว่า ณ ผืนแผ่นดินที่เรียกว่าเป็น 'บ้าน' แห่งนี้ เป็น แหลมที่เต็มไปด้วยเพชร พลอย และสิ่งของที่มีค่า ที่ทำให้ประชาชนในตำบลทำมาหากินง่าย เป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์ตามความหมายของชื่อชุมชน...อย่างแท้จริง นายแวซอเฮาะ เวาะโซะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านตันหยงลุโละ กล่าวว่า หากไม่สามารถได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายหรืออะไรก็ตามแต่ ก็ขอเพียงให้ภาครัฐได้เข้ามาดูแลและให้ความช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น 'บ่อน้ำจืด' หนึ่งเดียวที่มีอยู่ในชุมชนแห่งนี้ ชะตากรรมของ 'เด็กน้อย' อยู่ที่ความเอาใจใส่ของ 'ผู้ใหญ่' ทุกคน "ต้นไม้ขาดรากหยั่งลึก ผู้คนไร้บ้านคุ้มอาศัย อาจเป็นเฉกเช่นมวลวิหคที่ถูกจำกัดอิสรภาพ หากหวังจักโบยบินอย่างเสรีในโลกกว้างไกล, คงเป็นเรื่องยากเย็นยิ่ง" - ปราณชลี หมายเหตุ : ด้วยฐานะเป็นหนึ่งใน 'นักเรียนน้อย' ใคร่ขอขอบคุณ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม อินเตอร์นิวส์ คณะวิทยากร ล่าม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่จัดให้มีโครงการอบรม 'การทำข่าวด้านสิทธิมนุษยชน' ระหว่างวันที่ ๓-๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี และสำนักงานของอินเตอร์นิวส์ จ.ปัตตานี ซึ่งนับว่ามีประโยชน์ยิ่งต่อการเพิ่มพูนประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ รวมถึงเพื่อนผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่านที่แสดงให้เห็นพลังของ 'มิตรภาพ' อันเป็นแก่นสำคัญของทุกชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว, ข้าพเจ้าขอขอบคุณเป็นพิเศษต่อ ดร.เจยา เชรดฮาร์ ผู้มีประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชนกว่า ๑๕ ปีจากประเทศอินเดีย และ ดร.เจรามี ซาร์กิน ประธานคณะทำงานด้านคนหายขององค์การสหประชาชาติ นักสิทธิมนุษยชนผู้มากประสบการณ์ ที่ได้สอนทฤษฎี บอกเล่าประสบการณ์ ฯลฯ ด้วยความมุ่งมั่น อดทน และสมค่ากับการเป็น 'อาจารย์' ที่แท้จริง ผลงานเขียนเรื่อง 'ชีวิตที่ยังคงไร้ราก : ชุมชนประมงพื้นบ้านแห่งตันหยงลุโละ' เป็นหนึ่งในผลิตผลจากการนำความรู้ที่ได้ผ่านการอบรม ลงสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ซึ่งอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง -ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |