'จ่าเพียร' รับรางวัลสูงสุดแห่งชีวิต : เข้าเฝ้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี (เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ แค่เห็นแววตาที่มุ่งมั่น ทำให้ตัดสินใจได้เลยว่าเราจะฝากชีวิตไว้กับเขา เพราะมั่นใจว่าผู้ชายคนนี้เป็นนักสู้ สามารถปกป้องคุ้มครองเราได้แน่นอน พิมพ์ชนา เอกสมญา เล่าย้อนภาพเหตุการณ์ช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของสาวอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา อดีตเทพีสงกรานต์ผู้เลอโฉมในวัย ๑๗ ปี กับชายหนุ่มใบหน้าคมเข้มอายุย่าง ๒๐ ปีจากบ้านทุ่งหรี่ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนตำรวจภูธร และได้บรรจุรับราชการครั้งแรกในฐานะตำรวจชั้นประทวนประจำสถานีตำรวจภูธรบันนังสตาเมื่อปี ๒๕๑๓ ความที่พลตำรวจหนุ่มกับเพื่อนตำรวจ วิชัย แจ้งสกุล (ปัจจุบันคือ พ.ต.ท. วิชัย แจ้งสกุล รอง ผกก.สส.สภ. บันนังสตา จังหวัดยะลา) เช่าบ้านอยู่ด้วยกันในซอยเดียวกับบ้านพักอาศัยของหญิงสาว บริเวณข้างมัสยิดบันนังสตา ทำให้หนุ่มสาวมีโอกาสได้รู้จักกันครั้งแรกในเดือนมีนาคม ๒๕๑๔ และอีก ๗ เดือนต่อมา คือวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ ทั้งคู่ก็ตัดสินใจเดินเข้าสู่ประตูวิวาห์ในถิ่นเกิดฝ่ายภรรยาซึ่งบิดาของเธอเป็นตำรวจนอกพื้นที่มาปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่บันนังสตาและแต่งงานกับมารดาของเธอผู้เป็นชาวบันนังสตาโดยกำเนิด อย่างไรก็ดี ก่อนจะถึงวันสำคัญแห่งชีวิต ชายหนุ่มก็ลาจากว่าที่ภรรยาเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ตามป่าเขา ปล่อยให้ฝ่ายหญิงเตรียมงานอยู่ที่บ้านคนเดียว กว่าจะมาเห็นหน้าค่าตากันอีกทีก็เมื่อก่อนกำหนดวันงานเพียงวันเดียว และเมื่อพิธีสมรสผ่านพ้นไปแล้ว ชายหนุ่มก็ยังคงทุ่มเททำงานอย่างมุ่งมั่นอดทน ชะตากรรมแห่งการจากพราก ด้วยภาระหน้าที่ของฝ่ายสามี กลายเป็นความชาชินที่ฝ่ายภรรยาต้องจำยอม และจำต้องดำรงตนเสมือนอยู่ตัวคนเดียว เดียวดายในโลกของความเป็น "ครอบครัว" หรือต่อมา คือการอยู่เพียงลำพังกับลูกๆ ทั้ง ๔ คน คือ ชุมพล เสรฐวุฒิ รัฐวิชญ์ และ โรจนินทร์ เอกสมญา ที่ตัวเธอเองต้องเลี้ยงดูสั่งสอน ขณะเดียวกันยังต้องทำอาหาร ซักผ้า ทำงานบ้าน รวมถึงเย็บผ้าหารายได้เสริมไปด้วย นี้คือเศษเสี้ยวของชีวิตคนคนหนึ่งที่จักถูกเชิดชูเป็น วีรบุรุษ ในกาลต่อมา เป็นชีวิตที่ต้องแลกกับ เวลา ที่เบียดบังจากสมาชิกในครอบครัว ๔๐ ปีในชีวิตราชการ เขามุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย ขบวนการโจรก่อการร้าย หรือผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่อย่างจริงจัง มีการรุกไล่อย่างถึงลูกถึงคน และเข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่าจนได้รับการยอมรับทั้งในอดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน อาจนับว่าชีวิตของเขา--พ.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา เริ่มต้น ณ ที่แห่งนี้ ไต่เต้าจากตำรวจยศ พลตำรวจ ค่อยๆ สั่งสมผลงาน สร้างชื่อเสียงจนโด่งดัง กระทั่งอีก ๔๐ ปีต่อมาก็สิ้นสุดชีวิต ณ ที่แห่งเดียวกันในฐานะ ผู้กำกับยอดมือปราบ ความตายของเขาส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงต่อวงการสีกากีและสะท้อนให้เห็นถึงความอยุติธรรมในวงการตำรวจไทย ณ ถิ่นฐานเริ่มต้นและสิ้นสุดเส้นทางชีวิตของ "จ่าเพียร" ถูกเรียกขานกันว่า "บันนังสตา" (โปรดติดตามตอนต่อไป... 'ฉ า ก ชี วิ ต ที่ บั น นั ง ส ต า' ) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเยี่ยม ณ โรงพยาบาลพระมงกุฏ รับพระราชทานปริญญาบัตร ในฐานะ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เด็กชายสมเพียร (เนี้ยบ) แซ่เจ่ง เกิดและเติบโตในวัฒนธรรมแบบผสมผสาน ไทย-จีน นายสมเพียร แซ่เจ่ง ห้วงขณะก้าวสู่ความเป็นวัยรุ่น ใต้ร่มกาสาวพักตร์ ตำรวจน้องใหม่ ประมาณปี ๒๕๑๗-๒๕๑๘ สมเพียร เอกสมญา ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนนักเรียนพลตำรวจ รุ่น ๑๕ ขณะติดยศ "สิบตำรวจโท" จนภายหลังด้วยผลงานการปฏิบัติงานที่โดดเด่น ทำให้สามารถก้าวกระโดดล้ำหน้าเพื่อนตำรวจรุ่นเดียวกันไปมาก ถึงไหน - ถึงกัน !! 'เดียวดาย' ณ จุดเกิดเหตุที่พรากชีวิต 'จ่าเพียร' ไปนิรันดร ลายมือสุดท้ายของ 'จ่าเพียร' ในห้องผู้กำกับ สภ.บันนังสตา รับรางวัลแห่งชีวิตมากมาย, แต่สุดท้าย... ชุมพล เอกสมญา กับชุดที่พ่อสวมใส่ในวันสุดท้ายที่เสียชีวิต แผนที่แสดงจุดลอยอังคาร พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา เหลือไว้เป็น 'ความทรงจำ' ณ ถิ่นฐานเริ่มต้นและสิ้นสุดเส้นทางชีวิต "จ่าเพียร" ถูกเรียกขานกันว่า "บันนังสตา" หมายเหตุ : สารคดีพิเศษชิ้นนี้ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน 'นิตยสารสารคดี' ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓๐๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ (กรณี 'จ่าเพียร' ต้องไม่ถูกลบเลือน, และหวังว่าจักต้องมีการต่อสู้กันต่อไป เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และจริงจังในวงการ 'ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์' และต่อกระบวนการ 'แก้ไขปัญหา' ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |