แม่น้ำปัตตานี : เส้นเลือดใหญ่ของ 'บันนังสตา' พุทธศักราช ๒๔๕๐ อำเภอบันนังสตามีชื่อเรียกขานแต่เดิมว่า "บาเจาะ" ขึ้นกับเมืองรามันสมัย ๗ หัวเมือง กระทั่งต่อมาได้มีการยกเลิกหัวเมืองต่างๆ และย้ายอำเภอมาตั้งในที่แห่งใหม่แล้วตั้งชื่อว่าอำเภอบันนังสตา คำว่า "บันนังสตา" เป็นภาษามลายูปัตตานี แปลว่า "นามะปราง" หรืออีกความหมายหนึ่ง "บือแน" แปลว่า "หมู่บ้านหรือทุ่งนา" และ "สตา" แปลว่า "การหยุดพักชั่วคราว" อันหมายถึง "พื้นที่ที่ผู้คนผ่านทางมาในแต่ละยุคสมัย" ในอดีตบันนังสตาเป็นชุมชนสำคัญเสมือนเป็น "เมืองหน้าด่าน" ด้วยที่ตั้งเป็นชัยภูมิสำคัญ มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับอำเภอยะหา อำเภอกรงปินัง และอำเภอรามัน ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอรือเสาะและอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส และทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐเกดะห์หรือไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ที่สำคัญคือบันนังสตาเป็นพื้นที่ที่ "แม่น้ำปัตตานี" ไหลผ่าน จากสันปันน้ำบนเทือกสันกาลาคีรีเขตพรมแดนไทย-มาเลเซียในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เลาะเลียบผ่านใจกลางป่าฮาลา-บาลา ผ่านอำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอเมืองยะลา และไหลผ่านจังหวัดปัตตานีที่อำเภอยะรัง ลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองปัตตานี สายน้ำปัตตานีที่มีความยาวตลอดลำน้ำประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร นอกจากจะถูกใช้เพื่อการเกษตรและบริโภคแล้ว ยังเป็น "เส้นทางคมนาคม" สำคัญยิ่งในยุคประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักรลังกาสุกะ-ศรีวิชัย ในฐานะเส้นทางข้ามคาบสมุทรเกดะห์-ปัตตานี และเประ-ปัตตานี สามารถเชื่อมต่อการเดินทางค้าขายทางเรือระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ และมีเส้นทางบกข้ามคาบสมุทรจากเกดะห์และเประทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมายังฝั่งตะวันออก ผ่านทางช่องเขาซึ่งมีความสูงไม่มากนัก มีลำน้ำเชื่อมต่อฝั่งทั้งสอง จากปากแม่น้ำเกดะห์ในมาเลเซียหรือไปไกลถึงเกาะปีนัง และปากแม่น้ำปัตตานีฝั่งไทยเพื่อออกสู่ทะเลโดยสะดวก และนั่นแน่นอน, ย่อมต้องสัญจรผ่าน จุดพักพลนักเผชิญโชค-บันนังสตา แหล่งพบปะของสารพัดผู้คนจนถูกกล่าวขานว่าเป็นจุดรวมพลของ นักเผชิญโชค และแหล่งกบดานของเหล่ามิจฉาชีพจนกลายเป็นเสมือน แดนคนเดน เพราะมีภูมิประเทศเหมาะแก่การหลบซ่อนตัวและเคลื่อนไหวไปในพื้นที่ใกล้เคียงได้โดยสะดวก ห้วงเวลาที่ "สมเพียร" ตำรวจหนุ่มมาประจำการอยู่ที่บันนังสตาในปี ๒๕๑๓-๒๕๑๔ เป็นช่วงขณะที่กองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พคม.) เข้ามาเคลื่อนไหวในประเทศไทย ทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลมาเลเซีย หลังเกิดจลาจลเชื้อชาติในมาเลเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๒ รัฐบาลไทยและมาเลเซียต้องร่วมมือทำการโหมปราบอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวของขบวนการเรียกร้องสิทธิแห่งดินแดนรัฐปัตตานีคืน หรือที่ถูกเรียกว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งคุกรุ่นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ มาถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เริ่มเกิดขึ้นเป็นระยะๆ บ้างรุนแรง บ้างเงียบหาย โดยฝีมือของกลุ่มขบวนการ เช่น กลุ่มพูโล บี.อาร์.เอ็น. และอื่นๆ กระทั่งเกิดเหตุ "ปล้นปืน" ในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ ชื่อเสียงของบันนังสตาโด่งดังถึงขีดสุด เมื่อปรากฏข่าวกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก่อเหตุร้ายหลายครั้ง กระทั่งถูกจับตามองในฐานะเป็นแหล่งเคลื่อนไหวสำคัญแห่งหนึ่งของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบรอบใหม่ ส่งผลให้สัดส่วนประชากรชาวไทยพุทธประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลดลงอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะเหตุการณ์กรือเซะเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ กลุ่มก่อการเปิดฉากโจมตีพื้นที่หลายจุด หนึ่งในนั้นก็คือ "โรงพักบันนังสตา" ซึ่งมีเยาวชนพร้อมอาวุธปืนและมีดบุกเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ถึงในโรงพัก ก่อนถูกตอบโต้จนเสียชีวิตร่วม ๑๐ ราย นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจักรยานยนต์บอมบ์ข้างโรงพัก การซุ่มยิง การลอบวางระเบิด ฯลฯ จากชุมชนใหญ่ในอดีตที่มีทั้งโรงภาพยนตร์ฉายกันถึงเที่ยงคืน มีไฟฟ้าใช้ตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน ผู้คนหลากหลายอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบ ข้อมูลเชิงลึกของหน่วยงานความมั่นคงมีตัวเลขบ่งชี้ว่า ราษฎรไทยพุทธอพยพออกจากพื้นที่อำเภอบันนังสตาไปเป็นจำนวนมาก เช่นในปี ๒๕๕๐ มีคนไทยพุทธอาศัยอยู่ที่บันนังสตา ๑๐,๓๒๓ คน แต่เพียง ๑ ปีให้หลัง คือปี ๒๕๕๑ เหลือคนไทยพุทธ ๕,๙๐๐ คน และปัจจุบันนับว่าเหลือน้อยยิ่งนักจากประชากรทั้งหมด ๕๓,๖๐๒ คนใน ๕๐ หมู่บ้าน ๖ ตำบล ดังนั้นแล้ว เมื่อเป็นแหล่งซ่องสุมสำหรับผู้คนที่คิดร้ายทั้งในเชิง อุดมการณ์ หรือในแง่มุมของการแสวงหาสารพัด ผลประโยชน์ ด้วยมีเส้นทางคมนาคมโยงใยเชื่อมโยงเป็นใยแมงมุมไปถึงสถานที่หลายแห่งได้ ทำให้ใครก็ตามที่ต้องมารับผิดชอบพื้นที่นี้จำเป็นต้องทุ่มเททำงานอย่างหนัก สำหรับจ่าเพียร นี้คือพันธกิจสำคัญอันเป็นผลพวงจากที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างผลงานเลื่องชื่อด้วยวีรกรรมปราบโจรจนเป็นที่โจษขานไปทั่วชายแดนใต้มาแล้ว ทำให้ถูกเลือกมาประจำพื้นที่นี้อีกครั้ง และตัวเขาก็มุ่งมั่นทำการปราบปราม หวัง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชน ท่ามกลางไฟสงครามรอบใหม่ในชายแดนใต้ เป็น สงครามครั้งสุดท้าย ที่ต้องยอมสละแม้ชีวิตที่เหลืออยู่ ................................ (โปรดติดตามตอนต่อไป... 'ก ว่ า จ ะ ม า เ ป็ น นั ก สู้ ผู้ ยิ่ ง ใ ห ญ่ แ ห่ ง เ ทื อ ก เ ข า บู โ ด' ) อ่านเรื่องย้อนหลัง จ่าเพียร ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ตัวจริง (บทเกริ่นนำ : ร่วมรำลึกทำบุญ ๑๐๐ วัน - - ๒๐ มิ.ย.๕๓) http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2010/06/18/entry-1 เส้นทางเดินทางข้ามคาบสมุทรรอยต่อไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่สมัยลังกาสุกะ-ศรีวิชัย ซึ่งส่งอิทธิพลถึงการเปลี่ยนแปลงของบันนังสตา น้ำ คือ ชีวิต พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) ย้ายฐานเคลื่อนไหวจากมาเลเซียมายังชายแดนใต้ โดยเฉพาะเทือกเขาสูงแถบบันนังสตา ภาพเหตุการณ์คดีสำคัญ สมัย 'จ่าเพียร' นาฬิกา 'อาชญากรรม' ติดตั้งไว้ในห้องประชุมที่ สภ.บันนังสตา บรรยากาศสงบเงียบของบันนังสตา แต่แฝงด้วยพลังกดดันบางอย่าง จ่าเพียร ทำงานแบบ 'ลุย' ตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งเสียชีวิต (ภาพก๊อปปี้จากบ้านจ่าเพียร) ทุกครั้งที่นำลูกทีมลงปฏิบัติงานในพื้นที่ พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา จะยืนอยู่เคียงข้างทีมงานเสมอ (ภาพก๊อปปี้จากบ้านจ่าเพียร) พร้อมลุย (ภาพก๊อปปี้จากบ้านจ่าเพียร, ถ่ายโดย...จรูญ ทองนวล) บันทึกภาพร่วมกันกับทีมงานกู้เฮลิคอปเตอร์ตก ราวปี ๒๕๓๐ (ภาพก๊อปปี้จากบ้านจ่าเพียร) เส้นทางสู่บันนังสตา คือเส้นทางที่นำไปสู่การทำ 'สงครามครั้งสุดท้าย' ของ 'จ่าเพียร' |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |