ปฏิเสธไม่ได้ว่า แรงขับเคลื่อนสำคัญประการหนึ่งในการสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่ชายแดนใต้ คือบทบาทหรือการทำหน้าที่ของ สื่อมวลชน ซึ่งว่าไปแล้วได้สร้างคุณูปการมากมายแก่การนำเสนอ ความจริง ที่เกิดขึ้น แม้นอีกด้านจะกลายกลับเป็น จำเลย ในฐานะที่มัก ตอกย้ำ ภาพข่าวแห่งความรุนแรงแบบ ซ้ำซาก แต่ละเลยที่จะนำเสนอแง่งามอีกมากมายมหาศาลที่ยังคงดำรงอยู่ในพื้นที่ ด้วยปัจจัยเงื่อนไขมากมาย ทั้งเชิงบุคคลและเชิงธุรกิจ ทำให้บางผู้คนพอจะ รับได้ กับบทบาทของสื่อที่ถูกเรียกกันว่า สื่อกระแสหลัก แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ที่มีความรุนแรง ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีความเชื่อ ศาสนา ฯลฯ ทำให้อีกด้านหนึ่งมีความพยายามกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมด้วยการก้าวเข้ามาเป็น นักข่าวอาสา เป็นเบื้องต้น ก่อนที่นักเขียนฝึกหัดจะขยับขยายไปร่วมทำงานกับนักข่าวอาชีพจากส่วนกลาง กลายเป็นการถ่ายเทความคิด ประสบการณ์ ฯลฯ แก่กันอย่างต่อเนื่อง นั่นอาจเป็นที่มาของการกำเนิด สื่อชุมชน ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อภาพ สื่อวิทยุชุมชน และสื่อในโลกไซเบอร์หรือ สื่อออนไลน์ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด โดยฝีมือของบุคลากรในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ผ่านการเคี่ยวกรำบนเวทีสื่ออย่างเข้มข้น และหลายหน่วยงานได้เปิดโครงการหรือหลักสูตรอบรมสื่อในลักษณะต่างๆ อย่างชวนสนใจ โดยเฉพาะในห้วงเวลากว่า ๖ ปีที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ทำให้หลายคนได้ แจ้งเกิด ในฐานะ สื่ออาชีพ อย่างเต็มตัว แม้นชื่อชั้นอาจจะยังเทียบไม่ได้บ้างกับสื่ออาชีพส่วนกลาง แต่ก็นับเป็น ความหวัง ที่ต้องผลักดันและให้กำลังใจกันต่อไป สิ่งที่น่าสนใจและชวนดีใจยิ่งประการหนึ่งสำหรับ ทิศทางของสื่อชายแดนใต้ คือการพยายามเชื่อมเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากมีการจัดประชุม เวทีทางเลือกและโอกาสเครือข่ายสื่อเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ ดำเนินการโดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DeepSouthWatch.org) ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพ แห่งประเทศญี่ปุ่น โดยมีการพยายามทำ แผนที่สื่อภาคประชาสังคม เริ่มต้นจากความร่วมมือของ ๒๔ องค์กร มีทั้งกลุ่มที่ทำงานสื่อโดยตรง และทำงานด้านการพัฒนา ทั้งกลุ่มทำงานด้านวรรณกรรมเช่น สำนักหัวใจเดียวกัน กลุ่มแรงงาน กลุ่มงานเยียวยา กลุ่มงานสันติภาพ และกลุ่มสื่ออื่นๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น กลุ่มข้าวยำละครเร่ รวมถึงอาจารย์ นักวิชาการ ด้วยผลพวงจากการพยายามเชื่อมเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ วันที่ ๑๘ กันยายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ ณ โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี ซึ่งยิ่งทำให้เห็นการรวมตัวของ สื่อ ในระดับที่เรียกว่าเป็น ปรากฏการณ์ ครั้งสำคัญ อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวทางการทำงานร่วมกันในลักษณะของการสร้าง ยุทธศาสตร์ ของสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ พร้อมกับแผนการจัดตั้ง กองทุนสื่อภาคประชาสังคมฯ ข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ ได้อรรถาธิบายว่า กองทุนสื่อชายแดนใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเติบโตของ การสื่อสารสาธารณะ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการเชื่อมต่อแบบกลุ่มและเครือข่าย ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่จะสร้างแรงขับเคลื่อนที่ดีในสังคม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์เฝ้าระวังฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพแห่งประเทศญี่ปุ่น ทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายสื่อภาคประชาสังคม ๓ ประการ คือ ประสานให้เกิดการพัฒนายุทธศาสตร์สื่อเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกัน วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันสร้างกลไกการประสานงานเครือข่ายและกำหนดกลยุทธ์ วาระการสื่อสาร และกิจกรรมการพัฒนาเครือข่าย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระบวนการกลุ่ม เพื่อร่วมกันกำหนดกลไกดังกล่าว เตรียมจัดตั้งและออกแบบการบริหารจัดการกองทุนสื่อชายแดนใต้ โดยให้กองทุนนี้ทำหน้าที่เสริมศักยภาพสื่อในพื้นที่ ให้เกิดการดำเนินงาน และขับเคลื่อนสังคมชายแดนใต้ ได้อย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภาคประชาสังคมที่ร่วมกันออกแบบไว้ วัตถุประสงค์เพื่อเริ่มพัฒนา กองทุนพัฒนาสื่อ ในการสนับสนุนกิจกรรมยกระดับศักยภาพผู้ผลิตสื่อ จนยกระดับวิธีคิด ออกแบบการสื่อสาร จริยธรรม กลายเป็นสื่อสาธารณะที่มีอำนาจสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ให้สามารถดำเนินการได้รอบบัญชีปี ๒๐๑๑-๒๐๑๒ โดยในปีนี้จำเป็นต้องมีการเตรียมสำหรับดำเนินการ ทั้งการกำหนดแนวทาง การจัดตั้งและคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุน ประสานงาน ออกแบบกิจกรรม เพื่อให้เกิดเครือข่ายช่างภาพข่าวพลเมือง ๓ จังหวัดชายแดนใต้ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพของ เครือข่ายช่างภาพพลเมือง ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ พัฒนาพื้นที่สื่อสาธารณะ โดยใช้ภาพข่าวเป็นเครื่องมือ และใช้การถ่ายภาพเป็นกระบวนการทางสังคม เพื่อนำเสนอบทสนทนาสาธารณะและจินตนาการร่วมกัน ในการหาวิธีที่จะ อยู่ร่วม ของคนหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในประเทศไทย ให้เป็นข้อเสนอจากคนใน เพื่อสร้างผลกระทบต่อนโยบายสาธารณะระดับชาติ ทั้งนี้ บทบาทหน้าที่ดังกล่าว จักต้องดำเนินการลุล่วงภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ (ระยะเวลา ๗ เดือน : ระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓-มกราคม ๒๕๕๔) จะต้องส่งรายงานการดำเนินงานงวดแรกก่อนสิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๓ และภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ จะต้องส่งแผนงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และกิจกรรมที่นำไปสู่การจัดตั้งกองทุนสื่อชายแดนใต้ โดยมูลนิธิซาซากาว่า ยินดีที่จะสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเพื่อนำไปสู่กองทุนนี้เป็นระยะเวลา ๓ ปี พร้อมกับการช่วยสนับสนุนจัดหาวิทยากรจากต่างประเทศที่มีประสบการณ์จากประเทศต่างๆ อย่างน้อย ๒-๓ คนจากหลากหลายประเทศ มาถ่ายทอดประสบการณ์การก่อตั้งกองทุนสื่อในลักษณะเดียวกับที่ประชาคมชายแดนใต้กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อก่อให้เกิดการร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณ์ หากประเด็นที่มีการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์กันก่อนหน้า ว่าด้วยเรื่องบทบาทของสื่อ ในฐานะของ ความอยู่รอด และการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ผู้เขียนเชื่อว่า การก่อกำเนิดของ กองทุนสื่อภาคประชาสังคมชายแดนใต้ น่าจะ ตอบโจทย์ ได้ในระดับหนึ่ง |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |