"ฝนตกหนักในภาคใต้และคลื่นลมแรงในอ่าวไทย" บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อยู่ในทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ ๑-๓ พฤศจิกายน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมยังคงแรงต่อเนื่องไปอีก ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งได้ คล้อยหลังประกาศเตือนภัยจากกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ ๑๗ ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เพียงเสี้ยวเวลามิทันได้ตั้งตัว สายฝนที่กระหน่ำลงมาอย่างหนักต่อเนื่องก็พัดพาพายุน้ำทะลักท่วมท้นพื้นที่ชายแดนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ หาดใหญ่-สงขลา กลายเป็นอุทกภัยที่ถูกถั่งโถมโหมซัดให้ผู้คนได้รับความเสียหายหนักหนาสาหัส สภาพความเสียหายปรากฏพร้อมคราบน้ำตาหลากผู้คนไหลนอง บ้านเมืองจ่อมจมอยู่ภายใต้ผืนน้ำกว้างใหญ่ เฉพาะที่พื้นที่ ชายแดนใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส หลายพื้นที่ได้รับผลสะเทือนจากอุทกภัยค่อนหนักเอาการ มีรายงานข่าวว่าบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรม บ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรกรบริเวณริมฝั่งน้ำถูกน้ำทะลักล้นทำลายจนย่อยยับ ส่วนเขื่อนบางลางในจังหวัดยะลา มีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนต้องเร่งระบายน้ำออกจากตัวเขื่อน ทำให้หลายพื้นที่ต้องพลอยเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน ถนนหลายสายน้ำท่วมสูงจนรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ถนนเลียบชายฝั่งทะเลถูกคลื่นลูกใหญ่ซัดจนถนนขาด ชาวบ้านในหลายพื้นที่ไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ ส่วนอำเภอเมืองปัตตานีมีน้ำท่วมขังบนถนนทุกสาย จะว่าไปแล้วการเกิดภัยพิบัติในลักษณะนี้ ดูเหมือนกลายเป็นวงรอบที่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องต้องเฝ้าระวังกันทุกปีไปแล้ว เช่นเดียวกัน สถานการณ์ความไม่สงบ ในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งก็เสมือนการปะทุของเหตุร้ายๆ กลายเป็นวงรอบไปแล้วเช่นเดียวกัน บ้างวนเวียนเกิด-ก่อสถานการณ์เหมือนเป็นวงรอบจากยะลา ปัตตานี นราธิวาส แล้วก็กลับมาที่เดิมอีกครั้ง หรือไม่ก็ตามกาลเวลาหรือฤดูกาลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นฤดูโยกย้าย เปิดเรียน หรือ ตั้งงบ ดีไปอย่างที่เวลาฤดูน้ำหลากทีไร ดูเหมือนว่าเหตุร้ายๆ ในพื้นที่จะพลอยบรรเทาลดลงไปได้บ้าง อาจเป็นเพราะต่างคนต่างต้องประคองเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ เช่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่นานได้เกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ในอัตราที่ค่อนข้างถี่และรูปแบบแปลกแหวกแนวออกไปมากขึ้น อาทิเช่นการฝังระเบิดในสวนยาง ทำให้ชาวสวนยางที่ตั้งตาทำมาหากิน ตื่นเช้ามืดไปตัดยาง ต้องพลอยได้รับอันตรายแข้งขาขาดพิการกันไปหลายราย กระทั่งนำมาสู่การวิพากษ์สถานการณ์ในมิติและมุมมองใหม่ๆ จากหลากหลายผู้คนที่ชักทำตัวเป็น พหูสูตร ทุกคราครั้งไปแล้ว ประเภทรู้ดีไปหมดหลังเกิดเรื่องร้ายๆ แต่ก่อนหน้ากลับทำตัวสงบเงียบเจียมตัวเจียมใจ ประคองรักษาภาพตัวเองให้ ดูดี ไปวันๆ ยงยุทธ สิงหะ ชาวจาแบปะ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ซึ่งอาศัยอยู่ใน กทม. บอกว่า ปกติแล้วน้ำจะท่วมในพื้นที่ชายแดนใต้ทุกปี โดยเฉพาะริมแม่น้ำสุไหงโก-ลก แต่จะท่วมมากน้อยเพียงใด ชาวบ้านก็ช่วยเหลือตัวเองตามมีตามเกิดอยู่แล้ว เพราะบางทีข้าวของจากภาครัฐเข้าไปไม่ถึง ไปไม่ทันเวลา ขาดความช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อเนื่อง แม้จะอยู่ใน กทม. ผมและเพื่อนๆ ได้ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด จึงได้พยายามประสานความช่วยเหลือเท่าที่พอช่วยเหลือกันได้ เช่นระดมของบริจาคเพื่อนำไปมอบให้คนที่เดือดร้อน ส่วนใหญ่คนที่บริจาคคือคนมุสลิมและพี่น้องชาวไทยพุทธใน กทม. รวบรวมกัน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่มีความรังเกียจ ยินดีที่จะช่วยเหลือเต็มที่ ทำให้ลบภาพร้ายๆ ที่บอกว่าทุกวันนี้คนในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นคนชอบใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหากัน กลายเป็นบุคคลน่ารังเกียจของคนนอกพื้นที่ ถูกลบหายไปได้บ้าง ไม่มีใครพูดถึงความรุนแรง การเข่นฆ่า จะมีก็แต่ความเห็นใจซึ่งกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผมถึงว่าน้ำใจไม่เคยเหือดหายไปจากสังคมไทย สำหรับหน่วยงานภาครัฐเอง ก็ใช่ว่าทุกฝ่ายจะนิ่งดูดาย ส่วนใหญ่ ต่างพยายามหาทางป้องกัน แก้ไข เยียวยา อย่างเต็มกำลังความสามารถ จะมีก็แต่ ส่วนน้อย ที่นอกจากจะพยายาม เอาตัวรอด แล้ว อาจในชีวิตคงยังมิเคยซาบซึ้งในหยาดน้ำตาของผู้สูญเสีย และพาลจะแสวงหา ผลประโยชน์ จากเงินงบประมาณอีกด้วยซ้ำไป โชคดีว่าหลายๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน พยายามลงมือให้ความช่วยเหลือผู้เดือดร้อนกันอย่างขมีขมัน เช่น พล.ท. อุดมชัย ธรรมาสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ ๔ ก็ได้ออกแถลงการณ์ว่า กองทัพภาคที่ 4 ได้ตระหนักรวมทั้งได้ติดตามประเมินสถานการณ์ด้านอุทกภัยมายังต่อเนื่อง จึงได้สั่งการไปยังทุกหน่วยให้เตรียมแผนในการช่วยเหลือ โดยให้ทุกหน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ถือว่าการแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยเป็นภารกิจเร่งด่วนสูงสุด ทั้งยังมีคำสั่งไปยังหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข ๒ ตัวทุกหน่วย ให้ร่วมมือกับส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ จัดตั้ง ศูนย์เฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของพี่น้องประชาชน พร้อมเปิดกองอำนวยการติดตามสถานการณ์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยใครที่ต้องการความช่วยเหลือให้ประสานกับหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ หรือโทรศัพท์สายด่วนที่หมายเลข ๑๓๔๑ ซึ่งเป็นเบอร์โทรฟรีตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือหมายเลข ๐-๗๓๒๖-๒๕๗๒ อีกองค์กรหนึ่งที่น่าสนใจ คือ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ (สนน.จชต.) ซึ่งได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายต่างๆ เพื่อแสวงความร่วมไม้ร่วมมือ พร้อมกับประกาศขอเชิญชวนผู้คนร่วมบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ วันที่ ๔-๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ นี้ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี หรือสามารถบริจาคผ่านบัญชีธนาคารออมสิน ชื่อบัญชี สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ สาขาหาดใหญ่ เลขที่บัญชี ๐๙-๖๕๐๒-๒๐-๑๗๐๖๙๑-๔ หรือ โทร.๐๘-๗๒๘๕-๘๑๙๒ ผู้เขียนเองช่วงนี้วนเวียนอยู่แถว รัฐสภา แกนกลางอำนาจรัฐด้วยภารกิจบางประการ ทำให้ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รับรู้ ทั้งทัศนะ ความช่วยเหลือ ฯลฯ จากผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน ที่พยายามยื่นมือให้ความช่วยเหลือประชาชนขณะผจญปัญหาสารพัดอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวเรื่องราวที่ถูกสะท้อนเพื่อค้นหาความจริงในแทบทุกมิติ ท้ายที่สุดแล้วเข้าใจได้ว่า การจะฝ่าสถานการณ์ ชะงักงัน ของปัญหาความไม่สงบและ ความขัดแย้ง ในมิติที่สุดแสนซับซ้อนในพื้นที่ชายแดนใต้นั้น ยังเห็นว่ายากเย็นยิ่งนักกว่าจะปลดพันธนาการทั้งปวงไปได้ เพราะมีหลายเงื่อนไขปัจจัยมาเกี่ยวพัน เสร็จจากการเยียวยาช่วยเหลือจากพายุฝนที่พัดพาโดยธรรมชาติแล้ว ยังตะหงิดๆ อยู่ในใจว่า มรสุมลูกใหม่ ภายใต้น้ำมือมนุษย์ด้วยกันที่เรียกว่า พายุฝนเหนือชายแดนใต้ ที่แท้จริง กำลังจะมา...
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |