ในฐานะที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม อันหลากหลายของประเทศมาเลเซีย (Malaysians Multiculture City) ทำให้ภาพสถานที่และหลักฐานทางวัฒนธรรมที่ปรากฏแก่สายตาผู้เขียนขณะยืนอยู่เหนือภูเขาขนาดย่อม ซึ่งเป็นสุสานของชาวจีนโพ้นทะเลที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในโลก ชื่อ ซำปอกง หรือ ซานเป่าซาน (Bukit China) ขับเน้นให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และซับซ้อนเชิงประวัติศาสตร์กว่า ๖๐๐ ปีของผืนแผ่นดิน มะละกา ดินแดนทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรมลายู ที่มั่นสำคัญของ มลายู ในพื้นที่ ๑,๖๕๐ ตารางกิโลเมตร ที่ต้องเกี่ยวพันกับทั้งชนชาติจีน อยุธยา อาหรับ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และญี่ปุ่น ช่วงสัปดาห์นี้ นับเวลาหลายวันที่ใช้ชีวิตสัมผัส วิถี ของผู้คนใน มะละกา ซึ่งมีประชากรกว่า ๗ แสนคน แบ่งเป็นชาวมาเลย์ร้อยละ ๖๑ ชาวจีนร้อยละ ๒๗ ชาวอินเดียร้อยละ ๖ และสัญชาติอื่นๆ อีกร้อยละ ๖ ทำให้ผู้เขียนได้สัมผัสสถานที่สำคัญมากมาย ที่สะท้อนถึง รากเหง้า ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ อันกอปรไปด้วยเรื่องเล่าที่น่าสนใจ เมื่อนำมาเทียบเคียงกับพื้นที่ ชายแดนใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ปัตตานี มะละกา ในฐานะเมืองหลวงของรัฐมะละกา คือ ๑ ใน ๑๓ รัฐของประเทศมาเลเซีย เป็นผืนแผ่นดินหนึ่งที่ตั้งอยู่บน คาบสมุทรมลายู เคยเจริญรุ่งเรืองถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น ศูนย์กลางทางการค้าแห่งภูมิภาคตะวันออก (The Emporium of The East) ด้วยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเสน่ห์วัฒนธรรมตะวันตก-ตะวันออก โดยผ่านทางช่องแคบมะละกา (Straits of Malacca) ทำให้คลาคล่ำไปด้วยพ่อค้านักเดินทางจากอาหรับ อินเดีย และจีน เกิดความมั่งคั่งทางการค้าขาย และช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่ออังกฤษประกาศคืนเอกราชให้ประเทศมาเลเซีย ตนกู อับดุล เราะห์มาน นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ได้เลือกมะละกา ให้เป็นเมืองประกาศ อิสรภาพ (Merdeka) ประวัติศาสตร์มะละกา เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.๑๓๙๖-๑๔๐๐ (พ.ศ.๑๙๓๙-๑๙๔๓) เมื่อเจ้าชายปรเมศวร ลี้ภัยจากเมืองเตมุสิก (สิงคโปร์) ขึ้นเหนือมาอยู่ที่มะละกา ก่อนที่อีก ๓ ปีต่อมา คือ ค.ศ.๑๔๐๓ (พ.ศ.๑๙๔๖) กองเรือของจีนที่นำโดยแม่ทัพหยิ่นชิ่งจะเดินทางมาถึงมะละกา และกองเรือของ เจิ้งเหอ จะมาทอดสมอ ณ ชายฝั่งของมะละกาเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.๑๔๐๖ (พ.ศ.๑๙๔๙) กระทั่งลุถึง ค.ศ.๑๔๒๔ (พ.ศ.๑๙๖๗) ศรีมหาราชา โอรสของเจ้าชายปรเมศวร ได้หันมานับถือ ศาสนาอิสลาม พร้อมกับเปลี่ยนพระนามเป็น สุลต่านมูฮัมหมัดชาห์ และเมื่อสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนามะละกาเป็น รัฐอิสลาม โดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ.๑๔๕๕ (พ.ศ.๑๙๙๘) มีการบันทึกในพงศาวดารมลายูว่า พระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพมาโจมตีมะละกา แต่ท้ายที่สุดทั้งสองประเทศก็ได้หย่าศึกและแลกเปลี่ยนทูตในเวลาต่อมา กระทั่งมาถึงศตวรรษที่ ๑๖ มะละกาตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นยุคที่ฮอลันดาเข้ามายึดครอง ศตวรรษที่ ๑๙ กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ กระทั่งศตวรรษที่ ๒๐ ภายหลังการประกาศเอกราชของมาเลเซีย มะละกาก็ได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้เป็นเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญอันดับ ๑ ของประเทศ และโดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของภูมิภาคอุษาคเนย์ กลายเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่ได้ตื่นฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง (A Born-again Culture City) จากที่ได้ซึมซับมนต์เสน่ห์สีสันแห่งเมืองเก่า ได้สัมผัสเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ และศาสนสถานสำคัญ ทั้งพุทธมหายาน อิสลาม ฮินดู โบสถ์คริสต์ ศาลเจ้าจีน ทำให้มองเห็นถึงจุดเด่นของมะละกาหลากแง่มุม ประการแรก ในเชิงวิถีชีวิต ด้วยความหลากหลายของผู้คนที่ต่างความเชื่อ ต่างเชื้อชาติ หรือวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นคนจีน อินเดีย มลายู ฯลฯ แต่การดำรงอยู่ของวิถีชีวิตผู้คน กลับมีการพึ่งพา มีความผูกพันแนบแน่น เกาะเกี่ยวกันในการใช้ชีวิต ไม่เกิดความแบ่งแยก แตกแยก การทะเลาะเบาะแว้ง ซ้ำกลับมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างดียิ่ง ประการที่ ๒ ในเชิงการบอกเล่าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับรากเหง้าและพัฒนาการในแต่ละยุคสมัย แม้จะมีการจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ในแต่ละประเภท แต่ข้อมูล รายละเอียด ข้อเท็จจริง กลับมีการบอกเล่าอย่างชัดเจน ไม่มีการตัดตอนประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์นั้นๆ จะเคยก่อ บาดแผล ทางการต่อสู้ระหว่างเชื้อชาติ หรือระหว่างนักล่าอาณานิคมกับชนพื้นเมืองดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการรุกรานของตะวันตก ตั้งแต่ยุคโปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่น แต่ท้ายที่สุดแล้ว ประวัติศาสตร์เหล่านี้มีการบันทึก จารึก และนำเสนอในแง่มุมต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อการศึกษาเรียนรู้ แต่มิใช่เพื่อการ ตอกย้ำ ให้เกิดความบาดหมางระหว่างกันยิ่งขึ้นไปอีก ประการที่ ๓ นอกจากประวัติศาสตร์ของการ ต่อสู้ หรือการ อยู่รอด จะถูกนำเสนออย่างรอบด้านแล้ว ยังถูกนำมาเป็นจุดเด่นในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเชิงสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับภาพวิถีชีวิตผู้คนในปัจจุบันซึ่งมีความแตกต่าง แต่ไม่ แตกแยก กลายเป็นหนึ่งใน จุดแข็ง สำคัญที่สร้างคุณค่าให้แก่ มะละกา ในปัจจุบัน ประการที่ ๔ การที่รัฐบาลมาเลเซีย ให้การสนับสนุนต่อการพัฒนาเมืองให้เกิดความสวยงาม มีจุดเด่น และมี เอกภาพ มีเป้าหมายที่ชัดเจน เฉลี่ยผลประโยชน์ให้ตกแก่คนส่วนใหญ่ อย่างไม่เลือกวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา และลักษณะการพัฒนาเช่นที่ว่านี้ปรากฏอยู่ในแทบทุกเมืองที่ผู้เขียนได้ไปสัมผัสนอกจากมะละกา ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงเช่น กัวลาลัมเปอร์ เมืองปลายสุดของแหลมมลายูเช่น ยะโฮร์บารู หรือเมืองพิเศษเช่น ปีนัง ย้อนกลับมาพิจารณาในกรณีพื้นที่ ชายแดนใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะ ปัตตานี นั้น ถือว่ามีลักษณะพิเศษคล้ายๆ กันกับ มะละกา ในฐานะ เมืองท่า ศูนย์กลางของการค้าขายสำคัญในอดีต ที่เคยได้ต้อนรับผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ และผู้คนเหล่านี้ต่างได้ทิ้งร่อยรอยของวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ ที่สัมผัสสัมพันธ์กับวิถีของคน พื้นเมืองเดิม กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เปี่ยมด้วยคุณค่าความผูกพัน ผ่านการผสมผสานอย่างลงตัว แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ หลายปีมาแล้วที่พื้นที่ชายแดนใต้ กลับกลายเป็นพื้นที่วิกฤติเนื่องจากเกิดกรณี ไฟใต้ ที่ต้นธารหนึ่งถูกมองว่าเป็นเพราะมีคนบางจำพวกใช้ ประวัติศาสตร์ มาตอกลิ่มให้เกิดความแตกแยก โดยมีการ ตัดตอน ประวัติศาสตร์เป็นบางช่วงบางตอน เพื่อให้เอื้อต่อการถูกใช้เป็นเครื่องมือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย แทนที่จะนำประวัติศาสตร์มารับใช้ให้เกิดความสมานฉันท์ ก่อความรักความสามัคคี เกิดความเข้าใจในความหลากหลาย เพราะจะว่าไปแล้วย่อมต้องยอมรับในความเป็นจริงว่า ผู้คนไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนาใดในโลก ล้วนเกี่ยวเนื่องอยู่กับ สงคราม ทั้งในฐานะ ผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ เช่น มะละกา เคยถูกรุกรานโดยชาติตะวันตก แต่ในบางยุคสมัย ชาวมะละกาก็เคยยกทัพไปตีเมืองอื่นเช่นกัน เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ของ ปัตตานี หรือเมืองอื่นใดในโลก ความหลากหลายเป็นสิ่งสวยงาม เหมือนดอกไม้ต่างสี ต่างชนิด นำมารวมกันได้ อยู่ที่ว่าจะจัดวางอย่างไรให้อยู่ในแจกันเดียวกันได้อย่างลงตัว ซึ่งคงต้องอยู่ที่ความสามารถของผู้จัดวาง เช่นเดียวกับการพัฒนาให้สอดคล้องไปกับการอนุรักษ์อย่างพอเหมาะพอดี ย่อมเป็นจุดที่ผู้นำประเทศควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง ช่างน่าเสียดายว่า ในบางประเทศนั้นผู้นำกลับไม่เคยคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เอาเสียเลย คำรำพึงของเพื่อนร่วมคณะเดินทาง ที่ได้มาสัมผัสแผ่นดิน มะละกา และดินแดนอื่นๆ ในแถบปลายแหลมมลายูในครั้งนี้ ชวนให้ยิ่งน่าคิดคำนึงถึงยิ่งนัก โดยเฉพาะ หากนำมาเทียบเคียงกับคำขวัญประจำรัฐมะละกาที่ว่า ความเป็นหนึ่งเดียวคือพลัง หรือ Unity is Strength |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |