ต้นน้ำฮาลา ไหลล่องสร้างความชุ่มเย็นให้แก่ผืนป่าฮาลา-บาลา 'อเมซอนแห่งอาเซียน' สิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับมหาขุมทรัพย์ป่าฮาลา-บาลา คือการถูกจดจ้องทำลายจากน้ำมือมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงชุลมุนของปัญหาไฟใต้นั้น นอกจากถูกใช้เป็นพื้นที่แฝงตัวของผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนแล้ว ภาคส่วนอื่นๆ ต่างก็หันมาเมียงมองผลประโยชน์ที่จักได้จากขุมทรัพย์แห่งนี้ด้วยตาเป็นมันวาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องหันมาให้ความใส่ใจกับการอนุรักษ์ผืนป่าแห่งนี้อย่างจริงจัง ภายใต้การผนวกนโยบายและการบริหารจัดการจากทุกภาคส่วน กรณีของ อารี หนูชูสุข ในฐานะปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ซึ่งดูแลพื้นที่บางส่วนของผืนป่า ที่ทั้งวางแผน เตรียมการ และได้ดำเนินการไปแล้ว จึงเป็นกรณีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเขาเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ขยันขันแข็ง ทำงานฝังตัวอยู่ในพื้นที่มานาน ทำงานเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับผู้นำและสมาชิกชุมชน ไม่ว่าจะเป็น แวมะยูโซ๊ะ ตุสาตู นายกฯ รวมถึงสมาชิก อบต.อัยเยอร์เวง และ มนเทียร แตปูซู กำนันตำบลอัยเยอร์เวง กำนัน ๖ แหนบทองที่เกิดและเติบโตในพื้นที่ ตลอดจนได้รับการสืบทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าฮาลาจากบิดา คือ มูเซ็ง แตปูซู กำนันคนแรกของตำบลอัยเยอร์เวง ปลัดอารีฯ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหลักยึดและแนวคิดการทำงานที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ณ เบตง รวมถึงวิทยาลัยชุมชนอำเภอเบตง อีกด้วย โดยงานเขียนชิ้นหนึ่งของ อารี หนูชูสุข คือเรื่อง มหาป่าฮาลา-บาลา : อเมซอนแห่งอาเซียน กล่าวถึงการหาจุดแข็งจากการทำ SWOT ขององค์การบริหารตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่มีป่าฮาลา-บาลาเป็นเป้าหมายในฐานะป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาค ป่าแห่งเดียวที่ยังคงมีชนเผ่าซาไกอาศัยอยู่ในแบบวิถีดั้งเดิม ประกอบกับมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์โดยรอบอีก ๒๗ แห่ง เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำปัตตานี แหล่งพันธุ์ไม้และสมุนไพรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แหล่งผลิตพืชผลทางเกษตรหลากชนิด พร้อมด้วยกลุ่มอาชีพผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ภูมิอากาสดีตลอดปี ชุมชนมีความสามัคคีภายใต้ความความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีชายแดนติดประเทศมาเลเซีย และมีเส้นทางสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ปัตตานี-ปีนัง ตัดผ่านกลางตำบล ประกอบกับพร้อมด้วยโอกาสทางการพัฒนา เพราะถือเป็น ประตูสู่เมืองเบตง เมืองท่องเที่ยวชายแดนใต้ ที่ตั้งห่างเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียเพียง ๘๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเลสาบเขื่อนบางลางในอุทยานแห่งชาติบางลาง โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบบางลาง ความยาว ๓๐๐ เมตร, โครงการเจาะอุโมงค์ ความยาว ๘๐๐ เมตร เพื่อร่นระยะทางของทางหลวงหมายเลข ๔๑๐ จากเดิม ๑๔๐ กิโลเมตรให้เหลือ ๑๐๐ กิโลเมตร โครงการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ทางทิศใต้ของตำบลยะรม ประกอบมีพื้นที่ติดตำบลตาเนาะแมเราะ แหล่งท่องเที่ยวข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์การต่อสู้พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) เหล่านี้จึงเป็นที่มาของวิสัยทัศน์ตำบลว่า "ภายในปี ค.ศ.๒๐๒๐ ตำบลอัยเยอร์เวง คือ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติระดับอาเซียน (อเมซอนแห่งอาเซียน) ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสมานฉันท์ ภายใต้ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และเป็นแหล่งผลิตสินค้าการเกษตรคุณภาพสูง ทั้งนี้ อบต.อัยเยอร์เวง กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท้องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๖ โซน ได้แก่ โซนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แหล่งท่องเที่ยวแวะพักริมทาง แหล่งท่องเที่ยวผจญภัย แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาการเกษตรโฮมสเตย์ จุดสำคัญสุดที่ อบต.อัยเยอร์เวง ต้องดำเนินการผลักดันให้บรรลุวิสัยทัศน์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลที่ว่า ตำบลอัยเยอร์เวงคืออเมซอนแห่งอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๒๐ คือต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในโซนเอ โซนแห่งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือโซนป่าฮาลา-บาลา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีคุณภาพให้ได้ จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้ศึกษาหาแนวทางที่จะพัฒนา โดยระมัดระวังอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ทางวัฒนธรรม และทางสังคมเสมอมา เพราะจากการศึกษาดูงาน ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำแควใหญ่ที่กาญจนบุรี, เกาะพีพีที่จังหวัดกระบี่, เกาะพะงันที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ล่องแก่งที่นครนายก , ศูนย์วิจัยศึกษาป่าบาลา-ฮาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือที่ทะเลสาบโตบาในประเทศอินโดนีเซีย ล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่สามารถนำมาปรับเป็นแนวทางในการพัฒนาได้ดียิ่ง โดยเฉพาะปัญหาที่จะตามมาจากการพัฒนา เพราะเป็นที่ทราบกันว่าพื้นที่ชายแดนใต้ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่เคร่งครัดในหลักศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงผลกระทบจากการพัฒนาหรือกระการอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมเองในฐานะ ปลัด อบต.อัยเยอร์เวง มีนโยบายในการพัฒนาโดยยึดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้บริเวณปากคลองฮาลาเป็นมหาวิทยาลัยป่าของมวลชน เป็นแหล่งศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์โดยเฉพาะ มีเป้าหมายเพื่อรองรับการศึกษาธรรมชาติของป่าดิบชื้นของนักเรียนนักศึกษา ตลอดจนประชาชนนักท่องเที่ยวทั่วไป ในลักษณะการออกค่ายค้างแรมเพื่อทัศนศึกษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนิน โครงการอบรมเยาวชนเพื่อสร้างนักเขียนและสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ป่า ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ร่วมกับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔๕ ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสได้ไปร่วมด้วย จึงเป็นหนึ่งในตัวอย่างของความเอาใจใส่ของชุมชนและผู้นำชุมชน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน สร้างสัมพันธภาพ ของผู้คนในพื้นที่ อารี หนูชูสุข บันทึกไว้อย่างน่าสนใจช่วงทำกิจกรรมตามโครงการฯ ว่า ค่ำคืนหนึ่งในวงสนทนาที่ประกอบด้วยผู้เฒ่าชาวหมู่บ้านฮาลา อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา และเจ้าหน้าที่ อบต. ๓-๔ คน ทำให้รู้สึกมีความสุขกับการแลกเปลี่ยนความรู้ ประวัติเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวหมู่บ้านฮาลา (หมู่บ้านที่สาบสูญ) และข้อมูลชุมชนอื่นๆ อีกมากมาย เราไม่ต้องอาศัยเครื่องดื่มใดๆ มาเสริม มีเพียงห่อใบจากกับยาเส้น และรอยยิ้มที่จริงใจ คืนนั้นผมได้ฟังเรื่องราวดีๆ หลายเรื่อง อย่างเช่นเรื่องที่เกี่ยวกับต้นตอของประวัติหมู่บ้านฮาลา เรื่องที่เกี่ยวกับที่มาของชื่อตำบลอัยเยอร์เวง เรื่องที่เกี่ยวกับประวัติเหมืองทองโต๊ะโมะในอีกแง่มุมหนึ่ง ฟังเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติการของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาต่อชาวฮาลาและชาวอัยเยอร์เวง เรื่องที่เกี่ยวกับความสมบูรณ์และความลึกลับของป่าฮาลา เรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ศาสนาอิสลามในอดีต ซึ่งแม้จะเป็นการสนทนาผ่านการแปลภาษาไปมาระหว่างภาษาไทย-มลายูถิ่น แต่ก็สนุกเพลิดเพลินจนเวลาล่วงเข้าตี ๒ ของวันใหม่ นี้คือตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมที่ลงลึกถึงเนื้อหาสาระ ได้ผลเป็นรูปธรรม แทนที่จะละลายงบประมาณหมดไปกับอีกหลากหลายโครงการในหลายหน่วยงานที่มุ่งเพียง สร้างภาพ และสวาปาม งบประมาณ กันอย่างเอร็ดอร่อย โดยท้ายที่สุดมิได้ก่อประโยชน์โภชผลใดๆ แก่ชุมชนชายแดนใต้ที่กำลังเผชิญปัญหาหนักหนาสาหัสจากปมไฟใต้ ทั้งหลายทั้งปวงของการบันทึกเรื่องเล่าประสบการณ์จากผืนป่าฮาลา-บาลา โดยสะท้อนผ่านตัวละครเล็กๆ ในพื้นที่ แต่ยิ่งใหญ่ในสำนึกของการรักษ์ป่า รักษ์แผ่นดิน เป็นหนึ่งในภารกิจที่เกี่ยวพันกับความเป็น ชายแดนใต้ ซึ่งมากครั้งที่การดำเนินการของภาครัฐมักจะ ล่วงละเมิดอธิปไตยทางชีวิต ของประชาชน อันนำมาซึ่งปัญหาที่พัวพันกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่จากการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเล็กๆ แห่งหนึ่ง พยายามดำเนินกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณโดยรอบและใกล้เคียง มีส่วนดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการคงอยู่ของทรัพยากร พร้อมรับผิดชอบต่อผลประโยชน์จากการพัฒนา โดยสร้างเครือข่ายป้องกันความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอีกทางหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็ไม่ได้ละเลยภาคเอกชนซึ่งต่อไปถือเป็นเครือข่ายที่ดีในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะเป็นธุรกิจที่เสริมซึ่งกันและกัน และต่างให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เจ้าของถิ่นเช่นกัน เราไม่ได้คิดเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง เพื่อมุ่งหาเงินรายได้เข้ากระเป๋าแต่ถ่ายเดียว การจะได้งบประมาณพัฒนามาช่วยนั้น ช้า-เร็วไม่สำคัญ เพราะยังไงเสียป่าฮาลา-บาลายังทรงคุณค่าในพื้นที่ตำบลนี้อีกนานเท่านาน ผู้ที่ได้ประโยชน์จากป่าฮาลา-บาลาต่างหากที่สำคัญ ขอให้ยึดส่วนรวมเป็นที่ตั้งก็เพียงพอ อารี หนูชูสุข ทิ้งท้ายด้วยคำคมก่อนจากลากันอย่างมีนัยสำคัญต่อทิศทางการอนุรักษ์ขุมทรัพย์ฮาลา-บาลา ผืนป่าสำคัญที่ถูกเปรียบเทียบถึงขั้นเป็น อเมซอนแห่งอาเซียน องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง : กรณีศึกษา 'ต้นแบบ' การบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นที่น่าสนใจยิ่ง แผนที่ 'อเมซอนแห่งอาเซียน' ยอดเขาสูงในพื้นที่อัยเยอร์เวง ถูกเรียกขานว่า 'ฟูจิยามาแห่งอัยเยอร์เวง' ถนนนี้...กลับบ้าน วิถีแห่ง...อัยเยอร์เวง อเมซอนแห่งอาเซียน !! สมบูรณ์ สง่างาม และเปี่ยมมนตร์ขลัง ลำนำให้ความชุ่มฉ่ำ ผู้คนสร้างความเข้มแข็ง มองมุมฟ้า, ฮาลา-บาลา มองมุมน้ำ, ฮาลา-บาลา ผลิตผลจากโครงการค่ายเยาวชนสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ป่า และสร้างคุณค่าผ่านการ 'เขียน' ครั้งที่ ๑ (๒๕๕๒) ผลิตผลจากโครงการค่ายเยาวชนสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ป่า และสร้างคุณค่าผ่านการ 'เขียน' ครั้งที่ ๒ (๒๕๕๓) ดลเดช พัฒนรัฐ นายอำเภอเบตง (ขวามือ) ประธานกล่าวเปิดโครงการค่ายอบรมเยาวชนนักเขียนฯ เดินทักทายเยาวชนฯ ร่วมกับ มณเฑียร แตปูซู กำนัน ๖ แหนบทองแห่งอัยเยอร์เวง มณเฑียร แตปูซู กำนันตำบลอัยเยอร์เวง ขณะสทนากับปลัดหนุ่มอนาคตไกล 'อารี หนูชูสุข' แวมะยูโซะ ตุสาตู นายกฯ อบต.อัยเยอร์เวง สบายๆ อยู่เหมือนลิง แต่คิดเหมือน 'ปราชญ์' โรงเรียนใต้ร่มไม้ เคียงผืนน้ำ... อารี หนูชูสุข ปลัด อบต. หนุ่มแห่งอัยเยอร์เวง ความทรงจำในผืนป่าฮาลา-บาลา กับต้นสมพงยักษ์และเมล็ดพันธุ์เยาวชนที่รอเติบโตอย่างมีคุณภาพ ปลัดอารีฯ นำคณะผู้บริหาร อบต.อัยเยอร์เวงศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ยิ้มกับผืนน้ำ... ยิ้มกับมิตรสหาย... บันทึกความทรงจำซึ่งกันและกัน อัยเยอร์เวง โชคดีที่มี 'ปราชญ์ชาวบ้าน' เพียบพร้อมด้วยความรู้และประสบการณ์ โชคดีที่มีผู้นำที่แข็งขันมองการณ์ไกล และคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเป็นแก้วที่ยัง 'พร่อง'... เรียนรู้ ฝึกฝน เพื่ออนาคต... เวิ้งน้ำ เกาะแก่ง และสีสัน ข้ามสายน้ำ ฤาเหมือนข้ามอุปสรรคปัญหา? ประกายมุ่งมั่นของ 'อารี หนูชูสุข' ที่กำลังสร้าง 'ต้นแบบ' การจัดวางยุทธศาสตร์พัฒนาน่าสนใจที่ 'อัยเยอร์เวง' สนใจติดตามอ่านซีรี่ส์ 'มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา' ได้ที่... มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา (โหมโรง) http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2010/03/08/entry-1 มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา (ไขปริศนา 'คาบสมุทรทองคำ') http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2010/03/10/entry-1 มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา (ขุมทรัพย์ในมือเยาวชนนักเขียน ตอน ๑) http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2010/04/17/entry-1 มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา (ขุมทรัพย์ฯ ตอน ๒) http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2010/04/21/entry-1 มหากาพย์แห่งผืนป่าฮาลา-บาลา (ขุมทรัพย์ฯ ตอน ๓ อเมซอนแห่งอาเซียน) http://www.oknation.net/blog/narapong-sak/2011/04/19/entry-1
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |