ห้วงวันที่ ๑๗-๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา นับเป็นอีกคำรบที่ผู้เขียนมีโอกาสทำหน้าที่ประสานงานให้แก่ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่า ‘เภสัชกรยิปซี’ หรือ ‘ศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์’ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และคณบดีเกียรติคุณนานาชาติ ของคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาบริการสาธารณะในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ทำให้ได้พบ ได้สัมผัสเรียนรู้เทคนิควิธีการทำงานของผู้มุ่งมั่นทำงานอุทิศเพื่อมวลมนุษยชาติ กระทั่งได้รับการยอมรับระดับนานาชาติและระดับโลก ด้วยวิธีการทำงานที่มองชุมชนเป็น ‘ศูนย์กลาง’ รวมถึงการเลือกใช้วิธีการทำงานที่เคารพผู้คน ชุมชน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างแท้จริง ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นผู้คิดค้น วิจัย และผลิตผลิตภัณฑ์ยาจากพืชสมุนไพรไทยกว่า ๖๐ ชนิด อุทิศตนทำงานด้านมนุษยธรรมเพื่อการเข้าถึงยา และพัฒนาสุขภาพของคนไทยและชาวบ้านในท้องถิ่นใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ กระทั่งได้เล็งเห็นถึงศักยภาพด้านทรัพยากรทางการเกษตรและพืชสมุนไพรของชุมชนในตำบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งความตั้งใจจริง ความพร้อมใจกันของประชากรที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน โดยการสร้างรายได้เสริมจากการปลูกและเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร เพื่อส่งไปยังโรงงานผลิตยาจากสมุนไพรของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อนหน้านี้ ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ลงพื้นที่นราธิวาส-ที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เพื่อไปประชุมร่วมกับชาวบ้านในท้องถิ่นตำบลโคกเคียน จำนวน ๖๐ คน ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โคกเคียน ผู้เขียนและ ‘อาหมัด ตันหยงวารี’ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน โดย ดร.กฤษณา ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบเกี่ยวกับโครงการวิเคราะห์คุณภาพของสมุนไพรและความเหมาะสมของพื้นที่ เพื่อการผลิตและสนับสนุนการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ๒๕๕๓) ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าปัจจัยสำคัญที่น่าสนใจยิ่งคือ สภาพดินในจังหวัดนราธิวาส ปลอดจากสารโลหะหนักและยาฆ่าแมลง ซึ่งนับเป็นผลดีต่อคุณภาพและมาตรฐานของสมุนไพรที่ผลิตได้ในจังหวัด และได้นำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผลิต ณ โรงงานของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เราไม่อยากให้ความหวังแบบลมๆ แล้งๆ กับชาวบ้าน เพราะหากทำไม่ได้จริงชาวบ้านจะผิดหวังแล้วคิดว่าถูกหลอกเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับหลายๆ โครงการ ฉะนั้นเบื้องต้นจึงยังไม่สนับสนุนให้ชาวบ้านลงมือปลูกพืชสมุนไพรอย่างจริงจัง แต่ใช้วิธีสำรวจพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านปลูกกันไว้อยู่แล้วในครัวเรือน หากมีตามที่เราต้องการดังตารางรายชื่อสมุนไพรในหนังสือคู่มือสมุนไพร ๓๘ รายการที่แจ้งชาวบ้านไว้ เราก็พร้อมจะสนับสนุนจัดซื้อ การทำโครงการในลักษณะแบบนี้ต้องใช้เวลา ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำไป อย่าไปเร่งอะไรมาก เบื้องต้นเรานำร่องทดลองทำที่โคกเคียนเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนก่อน” ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าว ‘โคกเคียน’ เป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส มีประชากร ๕,๐๑๑ ครัวเรือน จำนวน ๑๗,๙๙๓ คน สภาพทั่วไปของตำบลเป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สภาพพื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพประมง ทำสวนมะพร้าว ทำสวนผลไม้ และทำนา ประชากรมีอาชีพหลักในการทำประมง ทำสวน รับจ้าง และค้าขาย อาชีพเสริม คือ งานจักสานกระจูด งานประดิษฐ์เรือกอและจำลอง ภายใต้บรรยากาศการพบปะครั้งแรกระหว่าง ดร.กฤษณา และชาวบ้านในพื้นที่ ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นชาวบ้านโคกเคียน แสดงความสนใจอย่างมากที่จะเข้าร่วมโครงการผลิตยาจากสมุนไพรที่โรงงานผลิตยาของมหาวิทยาลัยรังสิต มีการซักถามและปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับชนิดของพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านปลูกในท้องถิ่น การแปรรูปพืชสมุนไพรเบื้องต้น และเครื่องมือที่จำเป็น ก่อนนำส่งไปยังโรงงาน โดยผู้เข้าร่วมประชุมตกลงที่จะไปศึกษาดูว่า มีการปลูกพืชสมุนไพรชนิดใดและในปริมาณเท่าไรในครัวเรือน และในท้องถิ่น เพื่อจะได้แจ้งข้อมูลให้แก่ อาหมัด ตันหยงวารี ประสานงานโครงการในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ต่อไป เมื่อติดตามลงพื้นที่โคกเคียนเป็นครั้งที่ ๒ ในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ปรากฏว่า ‘โครงการผลิตยาจากสมุนไพรของชุมชนโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส’มีความคืบหน้าไปมาก ถึงขั้นชาวบ้านเริ่มลงมือเรียนรู้วิธีการแปรรูปพืชสมุนไพรเบื้องต้น หลังจากได้รับความอนุเคราะห์ตู้อบสมุนไพรแบบภูมิปัญญาชาวบ้านจากผู้ใหญ่ใจดีรายหนึ่งใน จ.ลพบุรี ที่ดำเนินการด้านสมุนไพรอย่างครบวงจร ทั้งนี้วันที่ ๑๙-๒๐ กันยายน ๒๕๕๔ ณ โรงเรียนบ้านทอน มีการจัดการฝึกอบรมหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการปลูกและเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร (Good Agricultural Practices, GAP) การแปรรูปพืชสมุนไพรเบื้องต้น หลังจากนั้น ตามแผนงานจะมีการการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร และการแปรรูปวัตถุดิบเบื้องต้นโดยชุมชนโคกเคียน ระหว่างเดือนตุลาคม–ธันวาคม ๒๕๕๔ และท้ายที่สุดนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรจากวัตถุดิบของชุมชนโคกเคียน ที่โรงงานผลิตยาจากสมุนไพรของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ วัตถุประสงค์หลักของ ‘โครงการผลิตยาจากสมุนไพรของชุมชนโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส’ ประกอบด้วย ๑.เป็นโครงการที่นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยคุณประโยชน์เชิงสุขภาพของพืชสมุนไพรไทยในสถาบันการศึกษาไปสู่ชุมชน สนับสนุนความมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยการคิดร่วมกัน และลงมือทำร่วมกัน เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ๒.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวโคกเคียนมีรายได้เสริม ๓.ส่งเสริมสุขภาพของคนในท้องถิ่นในการนำผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรมาใช้ในครอบครัวและชุมชน ๔.สร้างความภาคภูมิใจ และความเข้มแข็งของชุมชน ๕.เพื่อตอบสนองนโยบายการเพิ่มการใช้ยาจากสมุนไพรของกระทรวงสาธารณสุข อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก หากโครงการดำเนินการสำเร็จตามแผน จะมีประโยชน์มากมายต่อชาวบ้านและชุมชน ทั้งเรื่องการส่งเสริมอาชีพและรายได้ของชาวชุมชนโคกเคียน ทำให้เกษตรกรในท้องถิ่นสามารถผลิต เก็บเกี่ยว และแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรเบื้องต้นที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรไทย มีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยพืชสมุนไพรไทยในสถาบันการศึกษาไปสู่ชุมชมอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้มีการผลิตยาจากสมุนไพรในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง และสร้างความมีส่วนร่วมคิดและร่วมทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ความภาคภูมิใจและความเข้มแข็งของชุมชน คงต้องรอเฝ้าดูกันต่อไปว่า ด้วยความทุ่มเทอุตสาหะ ด้วยวิธีการทำงาน ด้วยปัจจัยเงื่อนไขอะไรอีกหลายๆ ประการ ภายใต้การดูแลของ ‘ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์’ จะทำให้ ‘โครงการผลิตยาจากสมุนไพรของชุมชนโคกเคียน จังหวัดนราธิวาส’ เป็นไปในทิศทางใด จะสร้างคุณประโยชน์มากน้อยเพียงใดต่อชาวบ้านและชุมชนระยะยาวต่อไป
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |