๑ ปี ๖ เดือน ๕ วันของการเดินทางครั้งสำคัญในชีวิต โดยการพายเรือรอบน่านน้ำไทยกว่า ๑๕๐๐ ไมล์ ทำให้ก่อเกิดเป็นสายสัมพันธ์กับผู้คนมากมายระหว่างการเดินทาง แต่แล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตต้องเปลี่ยนไปอีกครา “ก่อนพายเรือผมคิดในใจว่าคงกลับมาทำธุรกิจหรือดูแลครอบครัว สร้างครอบครัวให้ปกติสุขเหมือนก่อนที่คุณแม่ผมจะเสียชีวิต” แต่แล้วกลายกลับเป็นว่า เขาต้องเดินทางย้อนไปเส้นทางเดิมอีกครั้งหนึ่งบนฝั่งทะเลอันดามัน ท่ามกลางความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย เพื่อไปเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจเหล่า ‘เทวดา’ ของเขาที่ต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ในชีวิต โดยเฉพาะที่ ‘บ้านน้ำเค็ม’ ด้วยฐานะ ‘เพื่อน’ คนหนึ่งที่พอจะปลอบขวัญเพื่อนให้คลายจากความสูญเสียและเศร้าโศกได้บ้าง
คลื่นยักษ์สึนามิ เทวดาพลัดพราก นำไปสู่การตั้งมูลนิธิฯ ข้อเขียนใน ‘รัฐภูมิ - สหพล : Front Line ชั้นเลวแห่งบ้านน้ำเค็ม’ สะท้อนภาพสิ่งที่สังคมโดยทั่วไปอาจมองว่าเป็น ‘ความบ้า’ ของเขาได้เป็นอย่างดี “รัฐภูมิ อยู่พร้อม และ สหพล ดิเรกวัฒนสาร ออกเดินทางสู่บ้านน้ำเค็ม ด้วยความไม่มีอะไรเลย เป็นการเดินทางที่แทบจะไม่มีการเตรียมการใดๆ ทั้งสิ้น อุปกรณ์ทั้งหมดที่มีคือกล้องวีดีโอที่ใช้ตลอดระยะเวลากว่า ๒ ปีของการพายเรือของรัฐภูมิ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าและใกล้จะพังเต็มที พวกเขาไม่มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลใดๆ ไม่มีทุนรอนหรือสินทรัพย์ใดๆ ที่จะนำไปมอบให้ กระทั่งค่าน้ำมันในการเดินทาง พวกเขายังต้องโทรศัพท์ไปขอจากเพื่อนๆ ร่วมชมรมให้โอนมาให้ ในเมื่อเครือข่ายของชมรม 1500 ไมล์ เกือบทั้งหมดคือผู้ประสบภัย พวกเขาจึงแทบจะไม่เหลือผู้ใดที่จะคอยให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านกำลังทรัพย์ หรือแม้กระทั่งให้ข้อมูลความเสียหายของเส้นทาง พวกเขาไปโดยไม่มี-ไม่รู้อะไรทั้งนั้น รู้แต่ว่าจะไป และเมื่อไปถึงก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้บ้าง กระทั่งเมื่อไปถึงแล้ว พวกเขาจะเป็นผู้ช่วยเหลือหรือเป็นภาระ สำหรับผู้ประสบภัยก็ยังไม่รู้ ทั้งสองคนนี้ ช่างเป็น FrontLine ชั้นเลว โดยแท้ ถึงพวกเขาทั้งสองคนจะเป็น FrontLine ชั้นเลว แต่พวกเขาคือปฐมบทของ FrontLine ของมูลนิธิ 1500 ไมล์ในเวลาต่อมา ประสบการณ์และปัญหาในการเข้าสู่พื้นที่คราวนั้น ได้ถูกกลั่นกรองเพื่อวางเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานครั้งต่อๆ ไป”
“ผมดูทีวีแล้ว ผมทนไม่ได้ครับ รีบลงมาทันทีเลย” ภาพข่าว CNN นำเสนอเรื่องราวของเขา-รัฐภูมิ อยู่พร้อม ขณะโอบกอดเพื่อนผู้ทุกข์ยากจากภัยสึนามิพร้อมด้วยหยาดน้ำตาที่ไหลหลั่งอาบนองเต็มสองแก้ม หลังจากที่กลับมาจากพื้นที่ประสบภัยสึนามิ บางสิ่งบางอย่างก็ก่อตัวในใจอย่างเงียบๆ “ผมคงจะรอคอยแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น หากเราไม่ตั้งรับ หรือว่าไม่มีการเตรียมการที่ดี ความสูญเสียที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนพวกเราว่า เรากำลังอยู่ในความประมาท เราไม่มีทีมที่จะช่วยเหลือผู้คนให้ทัน เราไม่มีทีมที่จะเข้าไปทำให้ผู้ประสบภัยอย่างแท้จริงนั้น ได้รับความช่วยเหลืออย่างแน่นอน” ผ่านปัจจัยหลายๆ ประการ ทำให้เขาและพรรคพวกต้องกลับมาคิดตั้งต้นกันใหม่ โดยเริ่มตั้งต้นโครงการอย่างเงียบๆ กระทั่งนำไปสู่การปรากฏตัวของ ‘มูลนิธิ 1500 ไมล์’ ซึ่งมีวิธีการทำงานเป็น ๒ แบบ ในเหตุการณ์ปกติ ทีมงานจะเตรียมการเรื่องการหาเงินทุน ทำร่วมกับชุมชน เป็นการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง “ในบริเวณของ ๙ ลุ่มน้ำที่เรามองไว้นั้น เราจะเข้าไปทำงานเพื่อเซอร์เวย์ สร้างความเข้าใจกับพื้นที่ว่า เขาสามารถนำสิ่งที่เขามีอยู่ในความพอเพียงตรงนั้นเอามาเป็นต้นทุน แล้วก็สร้างความเจริญมาจากภายใน ออกมาสู่ภายนอก ส่วนในยามที่เกิดอุบัติภัยสาธารณะใหญ่ๆ ทีม 1500 ไมล์จะส่งทีมเข้าไปบันทึกเทป ถ่ายภาพต่างๆ นำออกมาเผยแพร่ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต เป็นภาพสด ๒๔ ชั่วโมง ให้ทุกท่านได้รับชม แล้วก็สามารถนำความช่วยเหลือนั้นไปตรงจุด ตามความต้องการของผู้ประสบภัยอย่างแท้จริง ให้ได้ถูกต้อง ถูกคน ถูกเวลา แล้วก็ทันเวลา” กาลต่อมา ข้อมูลการก่อตั้งของมูลนิธิ 1500 ไมล์ ให้ข้อมูลความเป็นมาว่า จากการพายเรือรอบทะเลไทยกว่า ๒ ปีของ รัฐภูมิ อยู่พร้อม เพื่ออุทิศให้กับคุณแม่ของเขา ทำให้มีผู้คนจำนวนมากมายคอยติดตามข่าวคราวจนมีการรวมตัวของกลุ่มคนเหล่านั้นขึ้นภายใต้ชื่อ ‘ชมรม 1500 ไมล์’ ซึ่งมีกิจกรรมต่อเนื่องตั้งแต่เขายังพายเรืออยู่ กระทั่งหลังจากพายสุดท้ายที่เกาะช้างก็ยังคงมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง วันวิปโยคของสึนามิ รัฐภูมิซึ่งผ่านแต่ละวันของการพายรอบทะเลไทยได้ด้วยน้ำใจและการแบ่งปันของชาวทะเลรายทางเหล่านั้น ตัดสินใจเดินทางไปพร้อมๆ กับ ‘สหพล’ อีกหนึ่งกำลังหลักของ ‘ชมรม 1500 ไมล์’ เพื่อนำความช่วยเหลือไปสู่เพื่อน ๆ ชาวอันดามันของเขา ‘ชมรม 1500 ไมล์’ เป็นอาสาสมัครกลุ่มแรกๆ ที่มุ่งสู่บ้านน้ำเค็ม และหลังภาพข่าว ‘บ้านน้ำเค็ม’ ของชมรม 1500 ไมล์ได้ออกอากาศครั้งแล้วครั้งเล่าทาง Modern 9 TV ชาวไทยทั้งประเทศจึงได้รับรู้ถึงความเสียหายอันใหญ่หลวงของชาวบ้านน้ำเค็ม และหลังจากนั้นสถานีข่าวระดับโลกอย่าง CNN ก็ได้ให้เกียรติเผยแพร่ภาพข่าวนี้ออกไปสู่ระดับนานาชาติ กิจกรรมดีๆ ยังคงมีสู่สังคมเรื่อยมา ในที่สุด ‘ชมรม 1500 ไมล์’ ได้มีการตกลงว่าจะจัดตั้งเป็น ‘มูลนิธิ 1500 ไมล์’ สืบสานเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ จนถึงทุกวันนี้ มูลนิธิ 1500 ไมล์มีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ ๒ แห่ง สถานที่แรก คือ ชุมชนบ้านดอนหวายแห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน บริหารงานโดยกลุ่มคนในชุมชนดอนหวาย เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการช่วยเหลือตนเอง ในการหารายได้ช่วยเหลือคนทำงานมากกว่าการขอรับบริจาค โดยมีรูปแบบของการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์และความเป็นชุมชนโบราณเข้ามาร่วมในกิจกรรม และเตรียมพื้นที่สำหรับใช้ในการฝึก Front Line ในอนาคตอันใกล้นี้ อีกพื้นที่หนึ่ง คือ บริเวณชั้น ๔ อาคาร Software Park ถนนแจ้งวัฒนะ หรือที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรมในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความคิดและเป็นศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยได้รับความกรุณาจากทาง Software Park ให้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นฐานการปฏิบัติงาน หลังจากพื้นที่ดอนหวายลงตัวแล้ว ต้นแบบนี้จะถูกนำไปใช้ใน ๙ ลุ่มน้ำ ให้ครอบคลุมพื้นที่ในแนวชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อให้การเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยระหว่างนั้นจะเริ่มมีการฝึก Front line ให้มีความสามารถเข้าช่วยเหลือพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติเบื้องต้น ตลอดจนนำข่าวสารความเป็นไปต่างๆ ออกจากพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อให้ผู้ต้องการให้ความช่วยเหลือต่อไป สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกที่ ถูกคน ถูกต้อง และถูกเวลา
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
แสงและเงาที่พรุโต๊ะแดง นราธิวาส | ||
![]() |
||
เพริศไปตามจินตนาการแห่งแสงสีของป่าพรุ |
||
View All ![]() |
เหมือนสายลม | ||
![]() |
||
บทเพลงประกอบหนังสือจิตวิญญาณระหว่างขุนเขา บูโด-สันกาลาคีรี โดยชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |