มรดกโลกเขาใหญ่ฯ จะอยู่หรือไป? บนถนนสาย 304
![]() |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 7 มิถุนายน 2553 17:34 น. |
![]() |
เรื่องนี้ทำให้สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ออกมาส่งเสียงดังพร้อมคัดค้านการขยายถนนในเส้นทางดังกล่าว สวนทางกับกระทรวงคมนาคมและกรมทางหลวงที่ยืนกรานว่าจะเดินหน้าโครงการต่อไป เพราะชาวบ้านในพื้นที่ต้องการ แม้ว่านายกจะออกมาเบรกโครงการดังกล่าวก็ตาม อย่างไรก็ดีแม้กระแสสังคมจะไม่เห็นด้วยกับการตัดถนนและการตัดต้นไม้ แต่กระแสสังคมก็ตั้งคำถามกลับไปยังเจ้ากระทรวงทส.ว่า ทำไมเพิ่งจะออกมาคัดค้านหลังจากถนนถูกขยาย ต้นไม้ถูกตัดเกลี้ยงแล้ว ทำไมไม่ออกมาคัดค้านเสียตั้งแต่แรกเริ่มโครงการ เพราะต้นไม้ก็จะไม่ถูกตัด ถนนก็ไม่ถูกขยาย นั่นจึงทำให้เรื่องนี้มีคนมองเป็นประเด็นการเมืองว่าทั้ง 2 กระทรวง(คมนาคมและทส.)กำลังเล่นอะไรกันอยู่ | ||||
*ป่ามรดกโลก มรดกโลกเขาใหญ่-ดงพญาเย็น ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกลำดับที่ 5 ของเมืองไทยจากองค์การยูเนสโกในเดือน กรกฎาคมปี พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยผืนป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตราพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ซึ่งการตัดต้นไม้ใหญ่และการขยายถนนสาย 2090 สู่พื้นที่เขาใหญ่นั้น ทำให้หลายคนห่วงว่า อาจจะนำไปสู่การถอดถอนมรดกโลกเขาใหญ่-ดงพญาเย็นในอนาคต เรื่องนี้ ทาง มณฑิรา อูนากูล เจ้าหน้าที่วัฒนธรรม องค์กรยูเนสโกประจำประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับทางยูเนสโกสิ่งสำคัญที่เรามุ่งกระทำ คือ เรื่องการอนุรักษ์มรดกโลก เขาใหญ่ที่เป็นมรดกโลก 1ใน 5ของไทยนั้น เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกล้จะสูญพันธ์หลากหลายชนิด "สำหรับเรื่องการสร้างถนนที่จะการตัดต้นไม้ริมทางใกล้กับพื้นที่ของ อุทยานฯเขาใหญ่ ในขณะนี้ทางยูเนสโกเองก็ได้ประสานกับทางรัฐบาลไทยขอความชัดเจนถึงกรณีที่ เกิดขึ้นอยู่ แต่เท่าที่ทราบในเบื้องต้นส่วนที่เป็นข่าวก็อยู่นอกเขตอุทยานเขาใหญ่ ผลกระทบคงจะเบาลง ไม่ไปไกลถึงเรื่องถอดถอนจากมรดกโลก เนื่องจากการจะถอดถอนมรดกโลกต้องมีระยะเวลาและขั้นตอนที่ยาวนานผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมต้องรุนแรง สำหรับข่าวที่เกิดขึ้นก็เป็นโอกาสที่ดีทีทำให้คนไทยหันมาใส่ใจมรดกโลกอย่าง เขาใหญ่มากขึ้น"เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมยูเนสโกประจำประเทศไทยกล่าว | ||||
ขณะเดียวกัน เสียงสะท้อนจาก แหล่งข่าวผู้ไม่ประสงค์จะออกนามรายหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่เขาใหญ่ เขามองว่า ชาวบ้านรอบเขาใหญ่ไม่ได้มีปัญหาอะไรหากจะขยายพื้นที่ถนน เพียงแต่เสียดายต้นไม้ โดยเฉพาะอุโมงค์ต้นไม้กระถินจะร่มรื่นสวยงาม ใครผ่านมาก็แวะถ่ายรูป แต่ตอนนี้ไม่เหลือแล้ว "แม้กรมทางหลวงจะไม่ได้รุกป่าเพราะตัดต้นไม้ไม่เกินแนวเสาไฟฟ้า และก็เป็นต้นไม้ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมทางหลวง แต่มันน่าเศร้าตรงที่เสียทัศนียภาพ ถ้าเรามองในแง่นักอนุรักษ์ก็คงไม่ถูกต้องที่จะตัดต้นไม้ แต่ในทางกลับกันเชิงอนุรักษ์มากไปก็ปิดกั้นหลายๆอย่าง เพราะในความเป็นจริงเราจะไปกักสิทธิ์นักท่องเที่ยวที่จะมาเขาใหญ่ไม่ได้" นอกจากนี้เขายังตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นทางการ เมืองมากว่า เพราะถ้านักการเมืองตกลงเรื่องผลประโยชน์กันได้เขาใหญ่คงไม่ดังแบบนี้ "เสียดายแค่ต้นไม้เท่านั้น เพราะที่กรมทางหลวงตกลงไว้กับชาวบ้าน คือ จะขุดล้อมย้ายไปปลูกที่อื่นให้ แต่ไม่รู้ทำไมกลายเป็นตอไม้ไปเสียได้ ซึ่งเรื่องนี้มากกว่าที่ผมกังวล ชาวบ้านก็เหมือนถูกหลอก ทางกรมทางหลวงก็บอกเราทีหลังว่าขุดล้อมย้ายไปปลูกที่อื่นค่าใช้จ่ายมันสูง เมื่อเป็นแบบนี้ทำไมไม่บอกเราแต่แรก"ชาวบ้านคนเดิมกล่าว | ||||
อย่างไรก็ตามกระแสการขยายถนนสาย 2090 ทำให้คนไทยหันมาสนใจมรดกโลกเขาใหญ่-ดงพญาเย็นกันมากขึ้น ซึ่งในพื้นที่แห่งนี้มีถนนอีกสายหนึ่งซึ่งสำคัญมากนั่นก็คือ "ถนน สาย 304" ที่จะใช้เชื่อมต่อผืนป่าเขาใหญ่-ทับลานให้เป็นผืนเดียวกัน วันชัย วงกฎ เจ้าหน้าที่สื่อความหมาย ประจำเขตการจัดการอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นอุทยานฯหนึ่งในผืนป่ามรดกโลกเขาใหญ่ กล่าวว่า ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ต่อกรณีที่เกิดขึ้นกับการขยายถนนสาย2090 ตนไม่ห่วงเรื่องถูกถอดจากมรดกโลกเลย เพราะมองว่าเส้นที่กรมทางหลวงจะขยายได้กลายเป็นรีสอร์ทหมดแล้ว "เขาใหญ่มีพื้นที่ 3,800,000ไร่ ยูเนสโกคงไม่บ้าพอที่จะวัดระบบนิเวศนอกพื้นที่อุทยาน แถมยังไม่ใช่ พื้นที่กันชน (Buffer Zone) แบบนี้ แต่ที่ทางกระทรวงคมนาคมออกมาบอกว่า ต้องขยายถนนเพราะเขาใหญ่รถติดจริงๆกฎอุทยานเขาใหญ่ก็กำหนดจำนวนนักท่อง เที่ยวไว้อยู่แล้วข้ออ้างนี้จึงฟังไม่ขึ้น"วันชัยกล่าว แต่วัยชัยกลับเป็นห่วงถนนสาย 304 ที่จะต้องทำเชื่อมผืนป่าระหว่างอุทยานฯเขาใหญ่กับอุทยานฯทับลานมากกว่า เนื่องจากทางยูเนสโกมีข้อเสนอว่าหากอุทยานฯเขาใหญ่เป็นมรดกโลกแล้ว ต้องหาทางทำให้ป่าเขาใหญ่ และทับลาน เชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกันให้ได้ เนื่องจากขณะนี้ป่าทั้ง 4 แห่งได้เชื่อมกันหมดแล้ว เหลือเพียงเขาใหญ่เท่านั้นที่ถูกถนนสาย 304 ผ่ากลางระหว่าง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลานซึ่งทำให้อุทยานฯเขาใหญ่เหมือนเป็นเกาะอยู่อย่างโดด เดี่ยว ก่อนที่ประเทศไทยจะต้องรายงานความคืบหน้าในการเชื่อมผืนป่าต่อคณะกรรมการ มรดกโลกและส่งแผยแม่บทในการทำถนนเชื่อมผืนป่าให้มีความชัดเจนโดยระยะเวลาที่ ยูเนสโกขีดเส้นไว้ใกล้จะมาถึงในเดือนกรกฏาคมที่จะถึงนี้แล้ว "สำหรับถนนสาย 304 เป็นเส้นทางกบินทร์บุรี-ปักธงชัย ที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนครราชสีมา-ปราจีนบุรี อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม และในขณะนี้กรมทางหลวงกำลังดำเนินการขยายถนนจาก 2 เลนเป็น 4 เลน ทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลกที่กรมอุทยานฯพยายามจะเชื่อมต่อผืนป่า ในขณะที่กรมทางหลวงได้ขยายถนนทำให้ผืนป่าทั้ง 2 แห่งห่างไกลกันมากกว่าเดิม"วันชัยกล่าว บนถนนสาย 304 ช่วงกิโลเมตรที่ 27-29 และกิโลเมตรที่ 42-44 มีความเหมาะสมที่จะทำให้ป่าทั้ง 2 แห่งเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมที่แคบที่สุด เพราะแนวป่าเชื่อมต่อกันอยู่แล้ว เพียงแต่มีถนนมาคั่นเท่านั้น และบริเวณ กม.ดังกล่าวไม่มีบ้านเรือนของชาวบ้าน | ||||
การขยายถนนสาย 304 จาก 2 เลนเป็น 4 เลน เมื่อกำหนดเป็นเส้นทางหลวงและเป็นนโยบายเชื่อมระหว่างภาคอีสานกับภาคตะวัน ออก ซึ่งทางกรมทางฯก็มีกฤษฎีกาของตนเอง เป็นกฤษฎีกาเกี่ยวกับเส้นทางของกรมทางหลวง พร้อมประกาศอ้างสิทธิในพื้นที่ว่าเป็นมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2538 กระทั่งลงมือก่อสร้างขยายถนนในปี 2549 โดยไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลาน ทั้งไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 อีกทั้งกรมทางหลวงไม่ได้มีการทำรายงานศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อี ไอเอ) ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ทั้งที่มีมติให้โครงการนี้ต้องจัดทำอีไอเอก่อน กรมอุทยานได้เสนอรูปแบบเบื้องต้นที่เหมาะสม 4 รูปแบบได้แก่ 1.การยกระดับถนน และเปิดพื้นที่ด้านล่างให้สัตว์สามารถเดินได้ 2.การสร้างถนนแบบเจาะอุโมงค์ แล้วเชื่อมผืนป่าด้านบนให้สัตว์เดินข้าม 3.ทางสัตว์เดินด้านบนแบบ Box culvert มีลักษณะเป็นโครงสร้างครอบเส้นทางเดิม 4.สร้างทางสัตว์เดินด้านล่างขนาดเล็กแบบ Culvert ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 304 ซึ่งกรมอุทยานเห็นว่าแนวทางการทำสะพานยกระดับถนนขึ้นมา และเปิดพื้นที่ด้านล่างให้ป่าฟื้นตัวและเป็นทางเชื่อให้สัตว์ป่าสามารถไปมา หาสู่กันได้ สามารถหาอาหารและแลกเปลี่ยนสายพันธุ์กันได้ น่าจะเป็นทางที่เป็นไปได้มากที่สุด "เท่าที่ผมทราบขณะนี้มีการเลือกรูปแบบโดยสรุปไว้แล้วว่า จะสร้างเป็นอุโมงค์ให้รถวิ่งลอดผ่าน(ส่วนด้านบนเชื่อมผืนป่าให้สัตว์ป่าเดิน ในระนาบพื้นปกติ) ซึ่งคิดตีเป็นมูลค่ากิโลเมตรละ100ล้าน แต่หากทำเป็นสะพานเชื่อมข้างบน จะอยู่ที่กิโลเมตรละ 40 ล้าน ซึ่งเรื่องนี้ทางกรมอุทยานเป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินงานอาจจะมีการลดค่าใช้จ่ายลงโดยการทำเป็น 3-4อุโมงค์ในหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งเรื่องนี้น่ากังวลมากกว่าเส้น 2090 ที่เป็นข่าวอยู่มาก เพราะสัตว์ป่าจะได้รับผลกระทบโดยตรง ป่าไม้จะต้องถูกตัดจำนวนมาก หวังว่าเมื่อวันนั้นมาถึงถนนสาย 304 จะได้รับความสนใจไม่แพ้สาย 2090 เช่นกัน"วันชัยกล่าวทิ้งท้าย |