โดย โรม บุนนาค
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประชวรหนัก ทรงตระหนักถึงการถ่ายทอดราชบัลลังก์ตามกฎมณเฑียรบาลอาจจะไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะขณะนั้น เจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชองค์โอรสองค์โตในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระชนมพรรษา ๒๐ ปี แต่ พระองค์เจ้าชายทับ พระราชโอรสที่ประสูติจาก เจ้าจอมมารดาเรียม มีพระชนม์ถึง ๓๗ ปี และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยพระราชบิดาว่าราชการมาตลอด ดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อยู่ในตอนนั้น ฉะนั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระชนมายุครบเกณฑ์อุปสมบทเป็นพระภิกษุพอดี จึงทรงรับสั่งรับสั่งให้เจ้าฟ้ามงกุฎที่มีสิทธิจะได้ขึ้นครองราชย์ตามกฎมณเฑ๊ยรบาล รีบทรงผนวชอย่างเร่งรัด ไม่ต้องดูฤกษ์ดูยาม ไม่ต้องมีพิธีรีตรองครบตามราชประเพณี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงมีประสบการณ์ในการกำกับราชการกรมท่า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐกิจ คือดูแลงานด้านการคลัง หัวเมืองชายทะเล และการต่างประเทศ ทั้งสำเภาสินค้าและเครื่องราชบรรณากร อีกทั้งยังต้องดูแล กรมพระตำรวจ กลาโหม และการตัดสินคดีทั้งปวง จึงเป็นหลักทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอยู่แล้ว จนถึงรัชกาลที่ ๕ เงินที่รัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ใน “ถุงแดง” สามารถจ่ายค่าไถ่ประเทศให้ฝรั่งเศสผู้รุกราน นำเรือรบฝ่าป้อมพระจุลจอมเกล้าเข้ามา แต่กลับเรียกค่าเสียหายจากไทยถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ ฟรังต์ภายใน ๔๘ ชั่วโมง จึงทรงศึกษาหาความรู้ในพระปริยัติธรรมโดยลำพังพระองค์เอง จนได้ทรงพบกับพระเถระชาวรามัญรูปหนึ่งซึ่งอุปสมบทมาแต่เมืองมอญ เป็นผู้ชำนาญพระวินัยปิฎก ประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สามารถทูลอธิบายเรื่องวัตรปฏิบัติของสงฆ์รามัญได้โดยละเอียด ทำให้ทรงเลื่อมใสและรับเอาวินัยแบบรามัญมาทรงปฏิบัติ ถึงกับทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งตามแบบมอญ จนใน พ.ศ.๒๓๗๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาเจ้าฟ้ามงกุฎมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ จึงทรงแก้ไขการปฏิบัติของพระสงฆ์ให้สมบูรณ์เต็มตามพระราชประสงค์ จนถือได้ว่า “ธรรมยุตินิกาย” ที่แตกต่างจากนิกายเดิมคือ “มหานิกาย” ได้เริ่มขึ้นที่วัดบวรนิเวศ ณ บัดนั้น เมื่อเสด็จขึ้นครองราชบ์ก็ยังเสด็จประพาสตามหัวเมืองต่างๆอย่างน้อยปีละ ๑ เดือนจนตลอดรัชกาล นับเป็นกษัตริย์องค์แรกที่เปลี่ยนสถานะจากนักรบมาเป็นนักปกครอง เสด็จออกจากวังเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎรและรับฟังความคิดเห็นด้วยพระองค์เอง ส่วนทูลกระหม่อมพระก็ขอให้สังฆราชคาทอลิกสอนภาษาลาตินและภาษาอังกฤษถวาย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน ฝ่ายท่านสังฆราชก็มีความรู้ขนบธรรมเนียมเมืองไทยจนเรียบเรียงหนังสือฝรั่งว่าด้วยเมืองไทยได้หลายเล่ม ชาวยุโรปจึงได้รู้จักเมืองไทยมากขึ้น เมื่อทูลกระหม่อมพระขึ้นครองราชย์ ท่านสังฆราชอธิการวัดบ้านเขมร ยังนำสาส์นของพระสันตะปาปามาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ แล้ว ยังได้นำสาส์นไปถวายพระสันตะปาปา เป็นการเปิดประตูไปสู่ตะวันตกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงรู้และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดี ทำให้พระองค์เองและขุนนางที่ใกล้ชิดล่วงรู้ความเป็นไปในโลกตะวันตก และคาดการณ์ได้ว่จะมีอะไรเกิดขึ้นกับประเทศสยาม แต่เมื่อมหาอำนาจตะวันตกทราบว่าพระองค์ขึ้นครองราชย์ ต่างก็รู้จักพระองค์ดีจากจดหมายที่โต้ตอบกับคนตะวันตกหลายคน รวมทั้งนักเรียนในยุโรปก็ยังเขียนมาทูลถามเรื่องราวของเมืองไทย ซึ่งพระองค์ก็ทรงตอบทุกคน กองเรือรบของอังกฤษจึงเบนหัวเรือไปพม่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช” ทรงเป็น “มหาราช” อีกพระองค์ของกษัตริย์ไทย ดังเช่นมีพระบรมรูปของพระองค์รวมอยู่ใน ๗ วีรกษัตริย์ของชาติ ที่อุทยานราชภักดิ์ หัวหิน ในขณะนี้
ขอบคุณ MGR Online
คุณโรม บุนนาค
สวัสดิ์สิริศนิวารค่ะ
|
<< | เมษายน 2020 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |