*/
<< | กุมภาพันธ์ 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
โพลล์ หรือที่เรียกว่า ผลสำรวจความคิดเห็น กลับมาเป็นข่าวฮือฮาระดับ Talk of the Town อีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่า ผู้สมัครผู้ว่า กทม.ไปร้องเรียนต่อ กกต. ว่า โพลล์ที่ทำออกมาในช่วงนี้มีลักษณะเป็นการชี้นำ ทางด้าน “สวนดุสิตโพลล์” แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ก็ยอมรับว่าได้เคยรับการว่าจ้างจากฝ่ายการเมือง เคยรับจ้างรัฐบาล กระทรวงหน่วยงานต่างๆ ให้ทำโพลล์ รวมทั้งจัดเวทีเสวนาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาก็ได้มีกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตท่านหนึ่งประกาศลาออกจากนายกสภามหาวิทยาลัยเพราะเห็นว่า สวนดุสิตโพลล์นั้น ทำโพลล์โดยไม่คำนึงถึงจริยธรรม
โพลล์ หรือ การสำรวจความคิดเห็นเรื่องต่างๆ ของประชาชนในเมืองไทยเริ่มถูกจับตามองมากขึ้นในห้วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะในช่วงของการเลือกตั้งต่างๆ มักมีโพลล์สำรวจกันจนเกร่อ อย่างคลางแคลงสงสัย...? แต่ในสังคมที่พัฒนาแล้ว โพลล์ส่วนใหญ่มักจะมีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง และไม่เป็นการชี้นำประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งจนเกินไปนัก เนื่องจากวิธีการทำโพลล์ (Methodology) เอง และสติปัญญา (Wisdom) ของประชาชนของประเทศนั้นเองก้ด้วย เขาจึงมักไม่ค่อยมีปัญหาเหมือนบางประเทศ
โพลล์ กับ การวิจัย มีความแตกต่างกันหลายอย่าง เพราะโพลล์อาจไม่ต้องรับผิดชอบในบางกระบวนการจัดทำ เช่น การออกแบบแบบสอบถาม (Questionnaire) อาจทำเพียงแค่ให้ผู้รอบรู้ช่วยตรวจสอบความเหมาะสมของการตั้งคำถาม หรือวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น “ตัวแทนของประชากร” ในการทำโพลล์ก็อาจไม่เข้มงวดนัก เช่น ใช้วิธีการโทรศัพท์ไปสอบถามตามบ้านแทน บ้างก็ให้นักศึกษาออกไปสอบถามตามย่านการค้า ซึ่งอาจไม่ได้เป็น “ตัวแทนของประชากร” ที่ต้องการศึกษาอย่างแท้จริงก็เป็นได้ โพลล์มักจะไม่มีเรื่องของความรับผิดชอบในด้านจริยธรรมของนักวิจัย (โดยอ้างว่าเป็นโพลล์ เพียงแค่เป็นสำรวจความคิดเห็น) เมื่อโพลล์ไม่ได้ลงลึกไปในบางกระบวนการของระเบียบวิธีวิจัยแล้ว ย่อมส่งผลให้โพลล์ขาดความน่าเชื่อถือขึ้นมาได้ เนื่องจากวิธีการทำโพลล์มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบการสำรวจความคิดเห็น การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล ไปจนถึงการเผยแพร่ผลโพลล์ ทุกขั้นตอนอาจมี “ความคลาดเคลื่อน” ได้ ดังนั้น โพลล์ทุกสำนักซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างกัน บางสำนักอาจไม่เข้มงวดในบางขั้นตอน ย่อมทำให้ข้อมูลบางอย่างหลุดรอดไปจากการควบคุม จึงอาจทำให้เกิดมี “ความคลาดเคลื่อน” ไปจากความถูกต้องอย่างง่ายดาย กล่าวกันในหมู่นักวิชาการว่า การโกหกด้วยวิธีการในทางสถิตินั้นทำได้ง่าย และอาจง่ายกว่า....การลอกวิทยานิพนธ์เสียด้วยซ้ำไป ชื่อเสียงของทุกๆ สำนักวิจัย จึงขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หากปล่อยปละละเลยย่อมสะท้อนไปถึงชื่อเสียงในภาพรวมของมหาวิทยาลัยที่สังกัดอยู่นั้นด้วย ยิ่งบางสำนักวิจัยอาจทำตัวเป็น "มือปืนรับจ้าง" อยู่กับการถูกว่าจ้างให้ทำโพลล์และผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง ประชาชนก็ยิ่งต้องระมัดระวังในการรับฟังพิจารณาข้อมูลโพลล์นั้นๆ ประเด็นจริยธรรมของการทำโพลล์หรือการวิจัยจึงเป็นความรับผิดชอบลำดับแรกๆ ที่สำนักวิจัยต่างๆ ของเมืองไทยที่พึงมี
แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันโดยหลักๆ ของโพลล์และการวิจัย (สำรวจความคิดเห็น) คือ เป็นการเปิดเผยความลี้ลับ ความคลุมเครือที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจของประชาชนเหล่านั้นให้เห็นว่า ความคิดเห็นส่วนใหญ่และส่วนน้อยคิดเห็นเป็นอย่างไร โดยนับเป็นจำนวนตัวเลขของแต่ประเด็นการสำรวจความคิดเห็นนั้นได้เท่าไร และแปลความออกมาว่าอย่างไร
เช่นว่า ผู้สมัครเลือกตั้งหมายเลข .... มีคะแนนความนิยมนำหน้า ผู้สมัครเลือกตั้งหมายเลข .... อยู่ร้อยละเท่าไร ฯลฯ
โพลล์ในสมัยนี้จึงเป็น “เครื่องมือที่ทรงพลังที่สุด เรียบง่ายที่สุด และปฏิวัติวงการมากที่สุด” หรือที่เรียกกันว่า "โพลล์ชี้นำ" อย่างที่กำลังเป็นข่าวในการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ที่กำลังเข้มข้นขึ้นทุกขณะนี้
แต่เดิมนานมาแล้ว ประเทศที่เป็นต้นแบบของการสำรวจทำวิจัยนั้น ได้มีการนำการวิจัยและผลการวิจัยเข้ามาเพื่อใช้วางวางรากฐานของการพัฒนาประเทศ จึงทำให้รัฐบาลของเขาเป็นรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ เพราะได้อาศัยข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยอย่างรอบคอบ ถูกต้องตามหลักการทางสถิติ ตัวอย่างเช่น ใช้ในการวางแผนเพื่อให้เกษตรกรของตนทำการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ชนิดใดในแต่ละรอบปี เพื่อวางแผนว่าจะแปรรูปผลผลิตเหล่านั้นอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เกษตรกรได้กำไร หรือ นักอุทกศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินสร้างแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น
เรื่องทำโพลล์ก็คงแตกต่างกับประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ ที่ยังมะงุมมะงาหรากับการตัดสินใจที่ไร้ทิศทางนโยบาย เพราะมัวแต่หาผลประโยชน์ใส่ตัว ยิ่งพัฒนากลับยิ่งทำให้ประชาชนหลงทางกันตกขอบ หนำซ้ำยังใช้ข้อมูลการสำรวจผลกระทบด้านต่างๆ หรือการทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นขึ้นมาเพื่อตบตาหลอกลวงประชาชน
รัฐบาลและนักวิชาการในบางกระทรวงของบางประเทศจึงทำโพลล์ เพื่อสนับสนุนคำพูดของ Frederick Mosteller (1916 – 2006) เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์และสิถิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ที่กล่าวว่า
“It’s easy to lie with statistics, but easier to lie without them” … “เป็นเรื่องง่ายเลยที่จะโกหกด้วยหลักการทางสถิติ (ทำโพลล์) แต่ก็ดูจะง่ายกว่าถ้าจะไม่ใช้มันเลย”
หลายประเทศในโลกนี้เจริญขึ้นได้ด้วยการทำสถิติ (วิจัย) แต่มีบางประเทศยากจนและวิบัติก็เพราะ .. “การทำโพลล์” ....................................
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง สถิติ...จะต้องไม่เป็นแค่ความรู้ฉบับพกพา (อีกต่อไป) .....(คลิก) |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |