*/
<< | มิถุนายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
สังฆราช ฌอง แบปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ / ผู้ประพันธ์ นางสาวเพียงฤทัย วาสบุญมา / ผู้แปล กรมศิลปากร / จัดพิมพ์ พ.ศ.2547 นงค์ลักษณ์ เหล่าวอ / อ่านมาเล่า
***********************************
หนังสือเล่มบาง เอกสารชั้นต้น อ่านแล้วตื่นตาตื่นใจกับภาพชีวิตความเป็นอยู่และสังคมของชาวสยาม ที่ผู้ประพันธ์ได้บันทึกเอาไว้ใน Memoire sur la Mission de Siam เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2396 เป็นงานเขียนและบันทึกที่สนใจ ได้เห็นชีวิตผู้คนสยามผ่านบันทึกเล่มนี้ การบอกเล่าผ่านข้อมูลตามเนื้อผ้าและสิ่งที่สัมผัสได้คือผู้ประพันธ์มิได้ใส่ความรู้สึกส่วนตัวหรือมีอคติหรือมีความคิดเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทุกอย่างเล่าตามเนื้อผ้า ส่วนที่เป็นปัญหาและอุปสรรคของมิสซังและการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามมีการพูดถึงบ้าง แต่ก็เป็นอุปสรรคปกติที่ไม่ได้กล่าวร้ายพุทธศาสนา ขณะเดียวกันไม่ได้พูดว่าพระเจ้าของชาวคริสต์นั้น เหนือกว่าพระพุทธเจ้าของสยามแต่อย่างใด แต่ก็จะเห็นว่ามีการปะทะในความต่างผ่านรูปแบบการทรมานทาสที่เป็นคนนอกศาสนาพุทธเช่นไรบ้างเช่นกัน
ตอนที่ผู้ประพันธ์บรรยายถึงเมืองหลวง ผู้อ่านพลอยอดนึกภาพตามถ้อยความเหล่านั้นไม่ได้ “๖. เมืองหลวง ... ราชธานีของประเทศ มีชื่อเรียก (เช่นเดียวกับราชธานีเก่าอยุธยา) ว่า “กรุงเทพมหานคร” มหานครแห่งเทพ หรือเรียกอย่างธรรมดาๆ ว่า บางกอก (หมู่บ้านมะกอกป่า) เมืองหลวงแห่งนี้มีประชากรรวมทั้งในเขตชานเมืองด้วยทั้งหมดประมาณ ๔ แสนคน ราชธานีแห่งนี้มีลักษณะงดงามราวกับภาพวาด จากทุกทิศทุกทาง เราจะเห็นยอดพระปรางค์ปิดทอง หลังคาโบสถ์และองค์พระเจดีย์ต่างๆ ในแบบโครงสร้างอันน่าชื่นชม พุ่งสูงสู่ท้องฟ้า ประดับประดาไปด้วยลวดลายจากกระเบื้องเคลือบหลากสี หลังคาโบสถ์ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทาทองไว้อย่างงดงาม และมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งวาววับรับแสงอาทิตย์ เรือนแพมากมายหลายพันเรียงรายอยู่ตามสองฟากฝั่งจะคล้อยผ่านสายตาท่านไป ขณะที่ท่านล่องไปตามความคดเคี้ยวของลำน้ำอันสง่าสมภาคภูมิ ลำน้ำแห่งนี้ฝากร่องรอยการสัญจรจากทุกทิศทุกทางของบรรดาเรือนับจำนวนพัน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีความโอ่อ่างดงาม ป้อมปราการทาสีขาวราวหิมะ กำแพงที่ทำเป็นช่องๆ พร้อมป้อมและประตูอันงดงาม ๔๐ แห่ง บรรดาลำคลองที่ตัดผ่านใจกลางเมืองเป็นแถวเป็นแนว ยอดสีทองของปราสาททรงจตุรมุข ความแตกต่างของสิ่งก่อสร้างทั้งแบบอินเดีย จีนและยุโรป เครื่องแต่งกายประจำของชนมากมายหลายชาติ เสียงเครื่องดนตรี เสียงเพลงจากละคร ความเคลื่อนไหวและชีวิตซึ่งสร้างความมีชีวิตจิตใจให้แก่เมืองใหญ่แห่งนี้ สำหรับชาวต่างชาติแล้วทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนเป็นภาพที่ก่อให้เกิดความตื่นตาตื่นใจอย่างน่าชื่นชม” .... ในเรื่องของ “ทาส” ผู้ประพันธ์กล่าวเอาไว้ได้น่าสนใจ “...ถ้าหากว่าวันหนึ่งเขาสามารถหาเงินมาไถ่ตัวได้เขาก็จะต้องจ่ายเงินให้ครบตามจำนวนที่เขาเป็นหนี้ ให้แก่นายเพื่อความเป็นไทของตน เพราะว่าการที่ได้ทำงานรับใช้มาเป็นระยะเวลายาวนานนั้น มีค่าเพียงเป็นตัวประกันแทนเงินกู้เท่านั้น”
หมวด “ขนบประเพณีของชาวสยาม” ก็มีทั้งเรื่องรูปร่างลักษณะ การแต่งกาย สถาปัตยกรรมของที่พักอาศัย อาหารการกิน การทำมาหากิน อุปนิสัย การจัดงานฌาปนกิจศพ การมีภรรยา การคบหากันของหญิงและชาย
หัวข้อหรือหมวดที่ทำให้ชาวสยามหรือคนไทยในปัจจุบันต้องรับรู้คือ หัวข้อ “ประชากรของประเทศ” ที่ผู้ประพันธ์บันทึกเอาไว้ว่า “พลเมืองของอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งนี้มีไม่มากกว่า ๖ ล้านคน ทั้งนี้ประกอบด้วยชาวสยามและลาวประมาณ ๓ ล้านคน ชาวจีนหนึ่งล้าน ๕ แสนคน มลายู ๑ ล้านคน กัมพูชา ๕ แสนคน และมอญ ๕ หมื่นคน นอกจากนี้ยังมีชนเผ่าอื่นๆ อีกมากมาย (ชนเผ่าดั้งเดิมของประเทศ) ซึ่งอาศัยอยู่ท่ามกลางป่าทึบและจะส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระมหากษัตริย์ทุกปี ชนพวกนี้ได้แก่ พวกกะเหรี่ยง ละว้า ข่าและโซ่ง”
ผู้ประพันธ์พาผู้อ่านไปรับรู้เรื่องราวการเข้ามาของมิสซัง คณะเผยแพร่ศาสนาและการเผยแพร่ในสยาม ว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคอะไร รวมถึงการเดินทางไปตามที่ต่างๆ ของคณะแม่ชีเพื่อเผยแพร่ศาสนา เรื่อง โบสถ์คริสต์, วิทยาลัยสงฆ์และโรงเรียนสามเณร, ชีวิตของบรรดามิชชันนารี, การนำเด็กเข้าสู่ศาสนาในสยาม, เงินทุนค่าใช้จ่ายของคณะสอนศาสนา, เด็กคริสต์ศาสนาที่เป็นทาสในบ้านคนนอกศาสนา
ในเรื่อง “เด็กคริสต์ศาสนาที่เป็นทาสในบ้านคนนอกศาสนา” เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนระบบทาสยังมีอยู่ พ่อแม่เด็กหากติดเงินหรือเป็นหนี้ใคร เจ้าหนี้บางคนก็จะมายึดลูกๆ ของพวกเขาไปเป็นทาส เมื่อเด็กสวดมนต์แบบคริสต์ก็จะถูกเฆี่ยนและไม่ยอมให้เด็กไปโบสถ์ บังคับให้เคารพบูชาและทำบุญตักบาตรให้แก่พระภิกษุสงฆ์
หนังสือเล่มบาง ที่บันทึกเรื่องน่าสนใจไว้มากมาย ผู้อ่านจึงรับรู้เรื่องราวเหล่านั้นจากบันทึกชั้นต้นของสังฆราชท่านนี้ เป็นการบอกเล่าความทรงจำที่เล่ากันตามเนื้อผ้า เมื่ออ่านแล้วไม่ตัดสินว่าสิ่งใดคืออารยะหรืออนารยะ แต่กลับเปิดและพาเราย้อนเวลากลับไปรู้จักความดั้งเดิมของบ้านเมือง ว่ามีความเป็นมาและวิวัฒนาการต่อมาเช่นไรบ้าง
เป็นหนังสือเล่มบางที่อ่านแล้วตกหลุมรักโดยไม่รู้ตัวจริงๆ ทรงคุณค่า... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |