ภาพเก่า ไปรษณีย์ ยุคสมัยรัชกาลที่ ๕ | ||
![]() |
||
กรมไปษณีย์โทรเลข ปัจจุบันไม่มีชื่อหน่วยงานนี้แล้ว เปลี่ยนไปตามกาลเวลาครับ แปรเปลี่ยน ไป เป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทยส่วนหนึ่ง เมื่อ 25 กพ 20 แต่ยังมี กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นองค์กร ที่บริหารด้านบริหารควา |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
ชูชก เป็นเรื่อง การขอ การกิน การ กินจนท้องแตกตาย เป็นเรื่องในพระพุทธประวัติในอดีต ผมตั้งหัวเรื่อง ว่าการกิน การแสวงหา แบบไม่คำนึงถึงศีลธรรม นั้นน่ากลัวกว่าคนเป็นโรคเรื้อน จริงๆแล้วตั้งใจจะเขียน เรื่องประวัตินิคมโรคเรื้อน โรคที่สูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว อยากนำเรื่องโรคที่ใครๆรังเกียจ ในอดีตมาเล่าสู่กันฟัง ในอดีตนิคมโรคเรื้อน ที่จังหวัดนครศรีฯ มีผู้คน มาจาก ภาคเหนือ ภาคอีสาน รวมอยู่ด้วย ทางภาคอีสานนั้น สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระนิพนธ์ เล่าไว้ชัดเจน มาก โรคเรื้อนน่ารังเกียจ ในอดีต แต่โรคขี้โกง น่ารังเกียจกว่าในวัีนนี้ การย้ายนิคมโรคเรื้อน จากบ้านชะเอียน ที่ตั้งค่ายมณฑลทหารบก ใกล้ท่าแพ มาตั้งที่ บ้านพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากเอกสารเหล่านี้ ทำให้เราทราบประวัติศาสตร์ เมือง นครศรีธรรมราช ดังนี้ 1.การตั้งมณทลทหารบกที่นั้น น่าจะเกิดขึ้น เมื่อ ประมาณ 2480 จากงานเขียน นายแพทย์ ขุทรานนท์ 2. การย้ายถิ่นฐาน อพยพมาตั้งรกราก ของชุมชนคนไม้หลา คนสามร้อยกล้า น่าจะค่อยๆมาเมื่อช่วงนั้น 3.การสร้าง ถนน สายนครศรีธรรม-ปากพนัง น่าจะเกิดช่วง ปี พ.ศ. 2480 เช่นกัน จากบันทึก คุณหมอข้อ 1. 4.ประวัติศาสตร์ การเดินทาง ในอดีต เมื่ออพยพย้ายถิ่นฐาน จึงสัณณิฐานได้ว่า คนลุ่มน้ำปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่ อพยพ มาทางเรือ เข้าสู่ ปากน้ำ คลองปากนคร (ปากคอน) เดินทางผ่านหัวตรุด ขึ้นมา และมีจำนวน ไม่น้อย ไปทางทะเล ไปทิศเหนือ ไปอำเภอสิชล ไปขนอม ฯ ![]() การคัดค้าน การตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อน ที่นิคมพุดหง อำเภอร่อนพิบูลย์ ใน พ.ศ. 2484 ที่ชาวบ้าน ลุ่มน้ำปากพนัง ปลายน้ำคัดค้าน การจัดตั้งโรงพยาบาล ที่ริมคลองพุดหง ในอดีต มีเอกสารที่หอ จดหมายเหตุ มีการโต้แย้งร้องเรียน ผ่าน ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช ![]() จดหมายลงวันที่ 5 เมษายน 2484 ![]() เวลานั้น เรื่องการสาธารณสุข ยังขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย เอกสารชิ้น สำนักเลขานุการรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทยชี้แจง นายเปี่ยม บุณยะโชติ ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ที่.๑๐๓๓๑/๒๔๘๔ สำนักเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ๒๔ เมษายน ๒๔๘๔ เรื่องการสร้างโรงพยาบาลโรคเรื้อน จาก เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถึง นายเปียม บุณยะโชติ ส.ส. หนังสือที่ ๒๔๑๔/ ๒๔๘๔ ลงวันที่ ๕ เมษายน ศกนี้ ขอทราบเรื่อง สร้างโรงพยาบาลโรคเรื้อน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น กระทรวงมหาดไทยพร้อมที่จะชี้แจงให้ความเข้าใจแก่ท่านในเรื่องนี้ จึงขอเชิญท่านไปพบ พระชาญวิธีเวชช์ นายแพทย์ใหญ่สาธารณสุข กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาไทย ในเวลาราชการ ขอแสดงความนับถือ ลายเซ็นต์ ตราประทับหอจดหมายเหตุ ที่ตั้งนิคมโรคเรื้อน วันนี้ คณะมัชชั่นนารี เป็นผู้ริเริ่มในอดีต ประวัติความเป็นมานิคมโรคเรื้อนพุดหง ตั้งอยู่เยื้องๆ เทศบาลหินตก ผมเคยไปพบเอกสาร คัดค้านการตั้งนิคมโรคเรื้อน พุดหง ที่ตั้งอยู่ที่ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่หอจดหมายเหตุ นานหลายปี แล้ว มีหนังสือร้องเรียนผ่าน ท่าน ส.ส.จังหวัดนครศรีฯ ร.ต.อ.เปียม บุณยะโชติ เอกสารร้องเรียนนี้มี ในปี พ.ศ. 2484* ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นขึ้น(บุก)ท่าแพ ขอเสริม ตรงนี้นิดหนึ่ง เพื่อเป็นความรู้ความเข้าใจดังนี้ น้าแดง น้าสร้วง ได้ใช้นามสกุล บุณยะโชติ เพราะ น้าแดง ปัจจุบันนี้ ลูกหลานท่านเป็นนักธุระกิจอยู่ ในเมือง นครศรีธรรมราช หลายคน ที่พอรู้จัก ก็มีเจ๊ซิ้ว ทราบว่า สิ้นบุญไปแล้ว การใช้นามสกุลตรงนี้เนื่องจาก น้าแดงเป็นญาติ ใกล้ชิด ร.ต.อ. เปียม บุณยะโชติ คุณลุงเปียมฯ ไม่มีลูกชาย จึงยินดีให้ หลานคุณลุงใช้หลานๆ เป็นนักธุระกิจ ใน กทม.จะได้ทราบ ขออนุญาต สอดแทรก เรื่องไม่เกี่ยวกับ เรื่องที่จะเขียนนิดหนึ่งนะครับ จริงๆก็เกี่ยวอยู่บ้าง ต้นเดือน กรกฏาคม 2554 ผมได้เค้า เรื่องการจัดตั้งนิคมโรคเรื้อน จากคุณลุง ณรงค์ รังกุพันธุ์ ท่าน เขียน กรรมลิขิต ชีวิต 80 ปี และในเดือนเดียวกัน ได้พบ กับ รศ.เสาวลักษณ์ สุขวิรัช(สิงหโกวินท์) อจ. มร. ทำให้ ผมเริ่มศึกษา เรื่องที่มีการคัดค้าน การตั้งโรงพยาบาลโรคเรื้อนพุดหง เริ่มจับทางถูกนั้นเอง ในหนังสือกรรมลิขิต ชีวิต 80 ปี เลข รหัสหนังสือ ISBN: 978-974-456-701-5 หน้า 74 คุณลุงณรงค์ รังกุพันธุ์ เขียนว่าเข้ารับราชการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2496 ขณะนั้นอายุ 22 ปี 18 วัน ตำแหน่ง สารวัตรสุขาภิบาลตรี โรงพยาบาลโรคเรื้อน จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลตั้งอยู่บ้านไม้หลา ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวหน้าหน่วยงานคือ นายแพทย์ ขุนไพศาลสุขกิจ ท่านเขียนเล่าว่า ในปี พ.ศ.2496 นายแพทย์ ผู้อำนวยการ ใกล้เกษียณอายุราชการ ป่วยอยู่ คุณลุงณรงค์ รังกุพันธุ์ จึงทำหน้าที่ทุกอย่าง บริหารงบประมาณก่อสร้าง วงเงินงบประมาณ 600,000 บาท ขณะที่เงินเดือน ท่าน 90 บาท บวกค่าครองชีพ อีกนิด หน่อยได้รับเงินเดือนไม่มาก คุณลุงภาคภูมิใจถึงการทำงานที่มือสะอาด ไม่คิดคดโกง ปัญหา ที่เกิดขึ้น ราษฏรบุกรุก ที่ดินที่ตั้งนิคมโรคเรื้อน ต้องต่อสู้กับกำนัน และนักการเมือง ท่านมี โอกาสติดตามผู้ว่าราชการจังหวัดหรือข้าหลวงเวลานั้น ชื่อขุนจรรยาวิเศษ เข้าร่วมประชุม ที่กระทรวงมหาดไทย ในหนังสือ กล่าวถึง ร.ต.อ. เปียม บุณยะโชติ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคธรรมมาธิปัตย์ ครับผมไม่ขอลงราย ละเอียด เรื่องราวตรงนี้ แค่ต้องการเกริ่นนำประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น เพื่อให้อนุชนได้สืบค้นต่อไป ไม่อยากลงรายละ เอียดลึกว่างั้นเถอาะ ประวัติ เป็นชาวอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ร.ต.อ.เปี่ยม บุณยะโชติ ต.ม.,ต.ช.,ท.ม.,ท.ช. อดีตข้าราชการ กระทรวงการต่างประเทศ อดีตผู้แทนราษฏร์ จังหวัด นครศรีธรรมราช 3 สมัย อดีตเลขานุการ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตหัวหน้าพรรค ธรรมาธิปัตย์ เรื่องโรงพยาบาลโรคเรื้อน ผมมาได้รายละเอียด มากที่สุด จากหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ นายแพทย์สมพงศ์ ขุทรานนท์ ทราบจาก คุณลุงณรงค์ รังกุพันธุ์ ว่าธิดาของท่าน เป็นนักประวัติศาสตร์ อยู่กรมศิลปากร ด้วยเหตุนี้ จึงคัดสรรค งานเขียน ที่นายแพทย์ สมพงศ์ ขุทรานนท์ เขียนเล่าเหตุการณ์ เรื่องญี่ปุ่น บุกท่าแพ ใช้หัวเรื่องว่า นครศรีธรรมราช เมื่อวันวิกฤต 8 ธันวาคม 2488 บันทึกความทรงจำ ในช่วงเริ่มเกิดสงครามมหาบูรพาอาเซีย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขียนละเอียด ไม่เหมื่อนท่านเป็นนายแพทย์ ปริญญาเลย ท่านเป็นชาวนครศรีธรรมราช บ้านอยู่ใกล้ๆวัดท่าโพธิ์ ที่ผมเคยเขียนถึงท่านเจ้าคุณ เจ้าอาวาสวัดมาแล้ว ในที่นี้ผมขออนุญาต คัดลอก ข้อความ เรื่องโรงพยาบาลโรคเรื้อน จากการบันทึกของคุณหมอ และขอ อนุญาต ทายาทท่าน มาเล่าต่อนะครับ เรื่องราวอนิสงค์ผลบุญ ถ้ามีประโยชน์อยู่บ้างในโลกไซเบอร์ ผมขอยกให้คุณ. หมอสมพงศ์ ขุทรานนท์ ลูกหลานเมืองนครศรีฯ ท่านผู้บันทึก เรื่องราวเหล่า นี้ครับ ผิดพลาดประการใดผมน้อมรับแต่ ผู้เดียวพื้นที่ตั้งนิคมโรคเรื้อน เดิมตั้งอยู่หมู่บ้านชะเอียน เมื่อ เดือนสิงหาคม 2554 ผมจะไปเก็บภาพมาประ กอบเอนทรี นี้ แต่ต้องอ้อมค่ายทหารเข้าไปลำบาก ประกอบกับจะต้องขึ้นเครื่องบินกลับ กทม. จึงไม่ได้ภาพมาประ กอบเอนทรีนี้ นิคมโรคเรื้อน ดำเนินการโดยคณะมิชชันเปรสไบทีเรียน ชาวอเมริกัน เรียกว่านิคมบ้านชะเอียน คณะมิชชันนารี ชุดนี้ น่าจะเป็นชุดเดียวกับที่ผมเคยเขียน โดยนำพระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาเล่าว่า ท่านเสด็จตรวจมณฑลปักษ์ใต้ ปี พ.ศ. 2439 ร.ศ115 ทำรายงานถวาย พระพุทธเจ้าหลวงไว้มากมาย เรื่องนี้ คณะหมอสอนศาสนา ได้ดำเนินด้านการศึกษาด้วย ตั้งโรงเรียนศึกษากุมารี และ โรงเรียนอเมริกันสคูลฟอร์บอย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนศรีธรรมราชวิทยา และดำเนินกิจการโรงพยาบาล ชื่อโรงพยาบาลศรีธรรมราชที่ระลึก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลนครคริสเตียน ดำเนินการโดยนายแพทย์ ตระกูลมิตรกูล ดำเนินมา 3-4 ชั่วอายุคนแล้ว คุณหมอ สมพงศ์ ขุทรานนท์ เขียนเล่าว่านิคมโรคเรื้อน ย้ายไปนิคมพุด หง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดตั้งล่าช้า เพราะเกิดเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงคราม ข้อสังเกตุ เรื่องการจัดตั้งนิคม น่าจะมีปัญหา จากปี พ.ศ. 2484 ที่ทราบข่าวการคัดค้าน แล้วเกิดสง ครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2488 จนกระทั้งคุณลุงณรงค์ รังกุพันธุ์ ไปรับราชการ เหตุการตรงนี้ กว่าจะถึงปี พ.ศ. 2496 นั้น ถ้าอ่านบันทึกอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านนายแพทย์ สมพงศ์ ขุทรานนท์ จะทำให้เข้าใจว่า เพราะเหตุใด ล่าช้ามาก ที่น่าสนใจ ประวัติศาสตร์ การทำสงครามของญี่ปุ่น มาเกียวข้องกับถนน สายนครศรีฯ- ปากพนัง มาเกี่ยวข้องกับ คนญี่ปุ่น ที่มาฝั่งตัว เปิดร้านถ่ายรูป ค้าขายเล็กๆน้อยๆ อยู่ในเมืองนครศรีธรรมราช นับ 10 ปี มารุ่นหลังสุด ในรูปพ่อค้าแร่ มาในรูปวิศกรก่อสร้างทาง แต่เมื่อเกิดสงคราม แปลงตัว เป็นทหารยศ นายร้อย มากมาย นั้นคือนักต่อสู้ซามูไร แดนอาทิตย์อุทัย ผมเขียนเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ใครๆอาจจะเห็นว่าไร้ สาระ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงเราจะต้องรู้จักรากเหง้าของเรา กระทรวงศึกษา ท่านคงแจกแทบโหล๊ดเลท กันอีก คล้ายๆ คอมพิวเตอร์ เอื้ออาทร ใน ปี พ.ศ. 2545 ที่ให้ไปรษณีย์ไทย รับดำเนินการ ผู้จัดทำฟันกำไรไปสบายๆ ฝากว่าอย่าหลงกล คนขี้โกง เล่าเรื่องฮาๆ ว่ายายแก่ๆ จะมาจองคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ในตอนนั้น หลานยาย แค่ 3 ขวบ ยายมาบอกว่ามันถูก อยากมาจองซื้อไว้ให้ไอ้หนูมัน ประชาสัมพันธ์ กันจน......แทบเลท เช่นกัน ใครดำเนิน การฟันหัวคิว ลดเสป็คหรือเปล่า..! เรื่องราวชาวนครศรีธรรมราช ในอดีต ผมมอบ หนังสือ ประวัติ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เล่มหนึ่ง ได้ส่งมอบหนัง หนังสือเล่มนั้น ให้ห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ แต่เมื่อไปสืบค้น ปรากฏว่าไม่ทราบมือดีคนไหนยืมไปพ้นจากห้อง สมุดโรงเรียน ในสันในปกในผมได้เขียนมอบให้โรงเรียนนะครับ ใครนำไปให้ส่งคืนห้องสมุดโรงเรียนด้วย เจตนารมณ์ผู้มอบให้ เราต้องการให้ทุกคนทราบ ว่าป๋าเปรม ติณสูนลานนท์ เกิดที่ลานสกา หนังสือเล่มนั้น จัดทำอย่างดี จากคุณชาตรี โสภณพนิชย์ เจ้าของธนาคารกรุงเทพจำกัด ผมไปได้รับมาจาก บ้านเทเวศน์ เมื่อคราวป๋า เปรมฯ ทำบุญ ครบ 5 รอบ หรือ อายุ 60 ปี ใครยืมไปจนลืมคืนห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ช่วยนำคืน ด้วย เขียนประจานผ่านตรงนี้แหละ พวกมักง่าย นำหนังสือ ห้องสมุดไปแล้วเอาไปเลย หรือ ผมเขียน หนังสือ เขียนจดหมายมอบให้ไป อาจารย์ท่านนั้น อุ๊บซะเอง เพราะเป็นหนังสือที่จัดทำอย่างดี *สาธารณสุข ชื่อหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อ 27 พ.ย.2461 พ.ศ.2485 ยกฐานะเป็นกระทรวง สาธารณสุข โบสถ์คริตส์ ในนิคมโรคเรื้อน วันนี้ ในรายงาน การเสด็จครวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. 2439 ( ร.ศ. 115 ) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนทูลเกล้าฯถว่ายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เนื่องในวันประสูติ เมื่อ 21 มิถุนายน 2534 ในหนังสือ หน้า 41 พระนิพนธ์ว่ามีการแปลกตาอยู่อีก 2 อย่าง คือ 1. ที่มีพวกมิชชันนารีอะเมริกัน มาตั้งสอนสาสนาคฤศเตียนอย่าง 1 พวกมิชชันนารีนี้ได้รับพระราชทานยืมที่ริม ถนนท่าโพ โดยการตกลงอย่างเดียวกับเมืองราชบุรี แต่ยังไม่ได้ปลูกสร้างอันใด นอกจาก โรงจาก 3 ห้อง เปนที่พักหลังหนึ่งในที่นี้ แต่เวลาข้าพระพุทธเจ้าไปถึง พวกมิชชันนารีหาได้มีผู้ใดอยู่ไม่ สืบถามได้ความว่า มีคนเข้ารีด คฤศเตียนประมาณ 100 คนเสศฯ 2. การประหลาดอย่างที่ 2 คือพวกเสื้อดำทำดี ไม่เขียนซ้ำ นำลิงค์มาแปะให้ลิงค์ไปอ่านได้ เขียนไว้ตอนไอ้พวก เสื้อดำ ของพวกเสื้อแดงทำไม่ดีบุกโรงพยาบาลจุฬา ใช้เมาส์คลิกไปอ่านได้ แล้วจะได้ทราบการปฏิสังขรณ์วัด พระธาตุ คนเสื้อดำทำดีที่เมืองนครศรีฯ เมื่อ 115 ปีมาแล้ว โรงคนไข้โรคเรื้อน แบบเปิด ระบบน้ำประปา ในนิคมโรคเรื้อน อำเภอร่อนพิบูลย์ องค์ กรที่ให้การสนับสนุน. ฝ่ายเก็บน้ำในอดีต เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น สถาบันการศึกษาเกิดขึ้น ผม ถามคุณลุงณรงค์ รังกุพันธุ์ ว่าโรงเรียนบ้าน พุดหง ตั้งเมื่อใด คุณลุงตอบว่า..คงหลังจากผมย้ายออกไปแล้ว ผมได้ไปข้อข้อมูล จากท่าน ผอ.โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ท่านถ่ายเอกสารให้มา ผมขึ้นมาถึงกรุงเทพ หาเอกสารที่ถ่ายมาไม่พบ หายไปไหนไม่ทราบ แต่ทราบว่าจัดตั้ง ปี พ.ศ. 2500 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เคยมาที่โรงเรียนนี้ คนกลางคือท่าน ผอ.โรงเรียนครับ สุภาพสตรี คือมโนราห์ ที่เก่งอีกท่านหนึ่ง เป็นญาติ มโนราห์ ปรีชา หนุมาศ ในกรุงเทพมหานครฯ ออกแสดงศิลปะ กับ มโนราห์ ภิญโญ แก้วสุวรรณ ญาติๆผม เขาเป็นผู้จัดการ ธนาคารไทยพานิชย์ ในเวลานี้ รับการแสดง หนังตลุง มโนราห์ ใน เมืองหลวง เคยเขียน ถึงเขาในเอนทรี ก่อนๆครับ เข้าไปตามลิงค์นี้ครับ นำเมาส์คลิกเข้าแลโนราห็ได้ครับ เขียนเมื่องานดือนสิบ ปี 2552 ในกทม. ไปแลมโนราห์ งานสารทเดือนสิบ ในเมืองหลวงยุ้งฉางที่เก็บข้าวสาร ไว้แจกผู้ที่ป่วยเป็นโรคในอดีต |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |