ภาพเก่า ไปรษณีย์ ยุคสมัยรัชกาลที่ ๕ | ||
![]() |
||
กรมไปษณีย์โทรเลข ปัจจุบันไม่มีชื่อหน่วยงานนี้แล้ว เปลี่ยนไปตามกาลเวลาครับ แปรเปลี่ยน ไป เป็นการสื่อสารแห่งประเทศไทยส่วนหนึ่ง เมื่อ 25 กพ 20 แต่ยังมี กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นองค์กร ที่บริหารด้านบริหารควา |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุด ของประเทศไทยยามนี้ เวลานี้ ตั้งแต่ภาคเหนือลงมากรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นมหันตภัย ที่รุนแรงมากที่สุด ก่อนหน้า นี้ มักจะเกิดโอตภัย ให้ได้ยินบ่อยๆ ภัยครั้งนี้ พวกเรา ขอชื่นชม ทหาร หทาร รั่วของชาติ ที่ออกมาช่วยเหลื่อประชาชนผู้ประสบภัย ป่าไม้เป็นแหล่งซับน้ำ ชลอน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ป่าถูกทำลายไปมากมายเวลานี้ มนุษย์ หรือคนเรา บุกรุกทำลายป่าแหล่งต้นน้ำ ก่อนเกิดน้ำท่วมเราจะทราบข่าวว่ามีการบุกรุกป่า วังน้ำเขียว บุกรุกป่าต้นน้ำ สภาพป่าตามธรรมชาติ แหล่งซับน้ำ จะเห็นดังภาพต่างๆต่อไปนี้ ป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งรวมพันธุ์กรรม สิ่งมีชีวิต ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อุทกภัยเกิดจากผลกระทบของการ ทำลายป่าไม้ มนุษย์ผู้ทำลาย ทำลายโดยกิเลศ ความโลภ ไปสร้างที่พักพิง ตามไหลเขา เทือกเขา ตาม สถานที่ต่างๆ ทุกๆแห่งมีเทพยดาสถิตย์อยู่ **************************************************************** อุทกภัยครั้งนี้ เป็นภัยพิบัติที่ใหญ่หลวง เป็นสึนามิน้ำจืด ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งรุนแรง ที่สุดของประเทศไทย เราไม่เคยมีหน่วยงานใดๆ ที่กล่าวถึงสาเหตุของปัญหา หาแนวทางป้องกัน เคยมีเอกสารแผ่นพับ ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นแผ่นพับเล็กๆ ที่กระทรวงไอ.ซี.ที ทำแจก พร้อม บอกหมายเลขสายด่วน 192 และ เวบไซด์ W.W.W. NDWC.GO.Th. กล่าวถึงภัยต่างๆไว้ และบอกวิธีปฏิบัติไว้ แบบย่อๆ แต่ไม่ได้บอกถึงสาเหตุ ของการเกิดภัยพิบัติ ไม่บอกไม่กล่าวถึงที่มา ของการทำให้เกิดภัย มาวันนี้ธรรมชาติเอาคืนผวากันทั่ว เมื่อรัฐมนตรี ปอดแหกออกแถลงการณ์ ในที่นี้ผมเคยศึกษาถึง 25 ลุ่มน้ำในประเทศไทย และศึกษาถึงผลกระทบของการทำลายป่าไม้ ของประเทศไทย รวมกับผู้รู้หลายๆท่าน เพื่อศึกษาการบริหารการจัดการน้ำ ศึกษาการพัฒนาลุ่มน้ำ และ ศึกษาป่าไม้ที่ถือว่าเป็นแหล่งรวมพันธุ์กรรม สิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุด ป่าไม้เป็นแหล่งซับน้ำที่ใหญ่ที่สุด เพื่อ ชลอน้ำฝนให้ไหลลงสู่ที่ราบต่ำให้ช้าลง และศึกษา ป่าไม้ แบบป่าไม้ไม่ผลัดใบ และป่าไม้ผลัดใบ เคยขึ้น ภูเขาไปเก็บภาพ ป่าต้นน้ำไว้ เกิดอุทกภัยที่รุนแรงครั้งนี้ ผมเห็นว่าน่าจะเขียนนำเสนอ แบบลูกชาวบ้านธรรมดาๆที่อยู่กับราวป่า มานานแสนนาน เขียนเล่าแบบชาวบ้าน ไม่ได้เป็นวิชากงวิชาการอะไร โดยการนำภาพมาอธิบายประกอบ แบบเข้าใจง่ายๆนะครับ ว่าทำไม น้ำจึงท่วมรุนแรงในปี พ.ศ. 2554 นั้นหมายถึงเป็นการเตื่อนภัยที่จะเกิดขึ้น อีกต่อไป เราจะแก้ไขอย่างไร? จะหาทางป้องกันอย่างไร? เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2554 เราตื่นเต้นกับฤดูหนาวในภาคกลาง ต้นไม้บ้างประเภทออกดอกหลงฤดูกาล ผมเดินทางไปนครศรีธรรมราชเพื่อเยียมคุณพ่อคุณแม่ คืนวันที่ 20 มีนาคม 2554 ฝนตกหนักมาก คืนวันที่ 21 มีนาคม 2554 ฝนตกดังฟ้ารั่ว เช้าวันที่ 22 มีนาคม 2554 ขึ้นเครื่องบินกลับ กรุงเทพมหานคร เครื่องออกล่าช้าหลายชั่วโมง เมื่อเครื่องขึ้นได้ เครื่องโคลงดัง เรือยนต์โต้คลื่น เย็นวันนั้น น้ำเริ่มท่วมสนามบิน น้ำท่วมหนัก เป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ในภาคใต้ นั้นคือการเตื่อน ภัย ของการเกิดอุทกภัยในครั้งนี้ รัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ฯ แก้ไขปัญหามาตลอด น้ำมันพืชสิ่งของขาดตลาด รัฐบาลถูกด่า มารัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ เกิดภัยพิบัติหนักพื้นที่กว้างกว่า ข้าวจะหายาก อาหารพืชผักจะแพง จะค่อยดู จะติดตามว่าดีแต่พูดหรือไม่ เมื่อโดนด้วยตนเอง พวกกลุ่มพาโล วันนี้เราต้องช่วยกัน อย่าแสดง ออกของกลุ่มสี ทหาร ทหารรั่วของชาติช่วยทุกๆฝ่ายอย่าคิดทลึ่งต่อต้านทหาร ทหารรั่วของชาติ พืชคลุมหน้าดินในป่าทึบ ที่ไม่ถูกบุกรุก เป็นตัวชลอน้ำไม่ให้เกิดน้ำท่วมในพื้นราบอย่างรวดเร็ว เมื่อฝน ตกลงมา ต้นไม้คลุมหน้าดิน จะดูดซับน้ำไว้ น้ำจะค่อยๆไหลลงไปตามซอกหินผา ก่อให้เกิดป่าต้นน้ำ พืชคลุมหน้าดินเพื่อไม่ให้เกิดดินถล่ม ต้นไม้ใหญ่โค่นลงมา ต้นไม้ใหญ่พึ่งต้นไม้เล็กๆ ต่างเกื้อกูลกัน ราวป่ารกชัฏ ความอุดมสมบูรณ์ของป่า เมื่อเราบุกรุกป่า ธรรมชาติเอาคืนทำให้น้ำท่วมใหญ่ นักอนุรักษ์ ทราบและรู้ดี ประมาณ 20 ปี มานี้ ป่าเทื่อกเขา หน่วยงานตัดถนนข้ามภูเขา ทำทางข้ามภูเขา ป่าถูกแอบ ตัด ดังไม้พะยูง ที่ลักลอบตัดกันทางภาคอีสาน เกิดการเตื่อนภัย อุทกภัยขนาดนี้ ผมขอให้หยุดตัดเถอาะ เก็บราวป่าไว้ให้ลูกหลาน ในอนาคตบ้าง กล้วยป่า เป็นพืชคลุมหน้าดินที่มีอยู่ทั่วไป ชาวบ้านเรียกกล้วยเถื่อน มีคุณค่ามากมายกว่าคนเถื่อน ต้นไม้ใหญ่ ต่างพึงพา ต้นไม้เล็กๆที่คลุมหน้าดิน ไม้ให้ดินถล่ม ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มลงมา ดินถล่ม ซอกผา แหล่งอุ้มน้ำ ค่อยๆไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดคลอง แม่น้ำ นี้คือป่าต้นน้ำ ป่าซับน้ำ น้ำค่อยๆไหลลงสู่ที่ราบ ถ้าป่าไม้อุดมสมบูรณ์ นักวนศาสตร์ หรือผู้บุกรุกราวป่ารู้ดี แต่เพราะโลภ มีการทำลายกัน ชาวเขาหยุดทำลายป่าแล้ว แต่ชาวเรานี้แหละยังไม่หยุดบุกรุกป่า หายนะจะตามมา โขดหิน เป็นที่ซับน้ำที่ไหลซึ่มลงมา จากดินป่าซับน้ำ ภาพเหล่านี้ผมปี่นภูเขาไปถ่ายภาพมาเองครับ สัตว์ แมลง มดแดงในแหล่งธรรมชาติ และสัตว์ป่าอื่นๆจะมีอยู่เพื่อสร้า้งดุลย์ตามธรรมชาติ แหล่งน้ำในพื้นราบ ทางไหลของน้ำ เต็มไปด้วยผักตบชวา ภาพนี้ ผมถ่ายเมื่อวันที่ 8 ต.ค.54 ที่ถนนทางหลวง 305 หรือ คลองรังสิต องค์รักษ์ เป็นการประจานให้ทราบว่า คูคลองส่งน้ำไม่ มีการขุดลอก กำจัดผักตบชวาหรือวัชพืชเลย อย่าทลึ่งคิดขุดคลองใหม่ขึ้นมาเลย แค่คลองที่พระ พุทธเจ้าหลวงมีไว้ให้ เราบำรุงรักษา ขุดลอกคูคลองหรือเปล่า? แหล่งน้ำธรรมชาติ บึงต่างๆเราไม่ เคยคิดขุดลอกรองรับน้ำกันเลย ไปมุ่งเน้นสร้า้งถนนขวางทางน้ำกัน สายน้ำเปลี่ยนทิศทางทำให้เกิดน้ำท่วม สภาพคลองรังสิต ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 ต.ค.54 ผู้บริหารชุมชนควรแก้ไข แม้กระทั้ง ทางผู้ว่าราชการจังหวัด อย่าหลงแสงสีกันจนหายนะมาเยื่อน และขอให้ทุกๆแห่ง ช่วยกันขุดลอกคลอง ท่านผู้เฒ่าเล่าเรื่อง...by ภาณุมาศ_ทักษณา เขียนกระทุ้งมาตลอด นำมาให้ดูอีกภาพ จะเห็นว่า ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 ในคลองรังสิต-องค์รักษ์ ในคลองยังเต็มไปด้วย วัชพืช ไม่ได้ขุดลอกคูคลองเตรียมรับมือน้ำท่วม มาก่อนเลย จะเห็น เรือขุด อยู่ 2 ลำบางช่วงเท่านั้น กล้วยเถื่อน หยวกแกงคั่วไก่อร่อยมาก นำภาพต้นกล้วยพืชคลุมหน้าดินตามธรรมชาติมาให้ดู โคลสภาพพันธุ์ไม้ ยึดหน้าดินมาให้เห็นชัดๆครับ ![]() แถมภาพสถานณ์การน้ำ ที่วัดบ้านนอกใกล้ๆบ้านผมวันนี้ เมื่ออาทิตย์ก่อนน้ำไม่ท่วมหนักอย่างนี้ เนินผา ที่ปกคลุมไปด้วยเถาวัลย์ ธรรมชาติเกื้อกูลกัน ขอบคุณโอเคเนชั่นดอทเนท ที่ให้พื้นที่เขียนบล็อก ท่านใดสนใจภาพ ขอให้เครดิตแหล่งที่มาของภาพด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้า เพราะที่ผ่านมา พวก จขบ. ถูกนำภาพไปใช้โดยไม่ให้เครดิตกันเลย ตาชูวิทย์ หายไปไหน มาช่วยน้ำท่วมด้วย เล่นข่าวทหารในสภาแล้วหายตัวไป เสื้อแดงๆนั้น ตาปลอดฯ รวมกับช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ที่หัวลำโพง ภาพนี้ผมถ่ายมาเอง วันก่อนเลื่อกตั้ง เดือนกรกฏาคม 2554 เป็นการดำเนินรายการที่สถานีหัวลำโพงวันที่ 2 ก.ค. 54 นำมาแถมให้ดู นับถึงวันนี้ ท่านๆทั้งหลายเก่งอย่างไร? |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |