สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ช่วงที่ผ่านมาถ้าใครได้ติดตาม Blog ของผมจะพบว่าบทความหรือบทวิเคราะห์ของผมจะเป็นไปในเชิงของ Marketing Communication โดยอิงจากการสื่อสารผ่านโฆษณาเป็นหลัก มาครั้งนี้ผมอยากจะเพิ่มเนื้อหาของ Blog แห่งนีให้เข้มข้นขึ้นโดยจะนำเสนอในเรื่องของการตลาดในแง่ต่าง ๆ รวมถึงกลยุทธ์ทางการตลาด แต่ขณะเดียวกันผมก็จะไม่ลดในส่วนของการแสดงความคิดเห็นในเรื่องของโฆษณา (ท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบโฆษณาอย่าพึ่งตกใจนะครับ ^_^) ทั้งนี้ผมจึงเพิ่มกลุ่มหมวดของบทความเพิ่มเติมจากเดิมที่จะมีเรื่องโฆษณาเพียงอย่างเดียวครับ บทความที่พบนำเอามาฝากใน Entry นี้เป็นบทความที่ผมได้เขียนและลงตีพิมพ์ในหนังสือ Brandage Essential ฉบับ Sub-Division 01/2010 ซึ่งผมเขียนเกี่ยวกับเรื่อง Creative Economy โดยเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้จะเป็นรายละเอียดภาพรวมของผลงาน กรอบคิดของกูรูกลยุทธ์ระดับโลกอย่าง Michael E. Potter ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวคิดของกลยุทธ์ที่น่าศึกษาเป็นอย่างมาก แนวคิดของพอร์เตอร์นั้นให้ความสำคัญกับเรื่องความได้เปรียบเชิงแข่งขันไม่ว่าจะเป็นระดับองค์กร หรือระดับของประเทศ สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่าง ๆ คือการสร้างความมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมของ Value Chain Model ในแง่ของประเทศก็เช่นกัน พอร์เตอร์ได้เน้นในเรื่องของการสร้างความได้เปรียบระดับบริษัทเพื่อที่จะสามารถยกระดับกลายเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันระดับประเทศได้ต่อไป ตั้งแต่วันที่เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของสหรัฐฯ ล้มละลายจนกลายเป็นวิกฤติการเงินที่ยิ่งใหญ่ต่อมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนโครงสร้างของระบบทุนนิยมโลกอย่างแท้จริง แน่นอนที่สุดโครงสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกก็ได้เปลี่ยนไปเช่นกันจากเดิมที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจมาตลอด แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นประเทศแถมเอเชียเช่น จีน ที่ผู้คนต่างคาดหวังว่าจะเป็นผู้นำในการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน จากการที่รัฐบาลพยายามจะผลักดันแนวความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ขึ้นมา ทำให้เกิด Value Added ใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมของไทย แนวความคิดดังกล่าวเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าโดยอาศัยความสามารถเฉพาะตัวและความรู้เชิงบูรณาการของท้องถิ่น เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องพึ่งพาการส่งออกมาตลอด การพึ่งพารายได้หลักเพียงแหล่งเดียวคงไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยในระยะยาวอย่างแน่นอน คำถามที่ต้องถามต่อคือ ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในตลาดโลกหรือไม่ ในภาวะที่ประเทศคู่ค้าหลัก ๆ เช่นสหรัฐฯ มีปัญหาด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ว่าการพึ่งพารายได้หลักจากการส่งออกเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถจะช่วยพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ได้ ดังนั้นการดำเนินยุทธศาสตร์ใหม่ของรัฐบาลแสดงให้เห็นว่าเป็นการปรับตัวเชิงโครงสร้างครั้งยิ่งใหญ่ โดยจะเน้นการสร้างความสามารถเชิงแข่งขันผ่านนวัตกรรมของสินค้า เมื่อเราลองพิจารณาดูแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกในสหรัฐฯ อย่างเช่น แมคโดนัลด์ โค้ก หรือ สตาร์บัคส์ ก็จะสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ประเทศอเมริกากำลังส่งออกไม่ใช่เป็นการสร้างสินค้าเชิงกายภาพเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์กับตลาดโลกต่างหาก แบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลกดังที่ได้กล่าวมานั้นก็ล้วนแต่มีกลิ่นอายความเป็นอเมริกันชนอย่างปฏิเสธไม่ได้ ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2002 สื่อระดับโลกอย่างนิตยสารไทม์สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจด้วยการเลือกให้ คาแร๊กเตอร์การ์ตูนในตำนานของญี่ปุ่นอย่าง โดราเอมอน (Doraemon) ให้เป็น 1 ใน 22 ฮีโร่ของเอเชีย ซึ่งสามารถอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับ ออง ซาน ซูจี ซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง ๆ โดราเอมอนถือว่าเป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาลของญี่ปุ่น เขียนโดย ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ โดราเอมอนได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม ปี 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ความมีชื่อเสียงของการ์ตูนโดราเอมอนนั้นทำให้ โดราเอมอนได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น โดราเอมอนนั้นถือได้ว่าเป็นแบรนด์อันทรงพลังของญี่ปุ่นที่สร้างมารถผงาดในเวทีโลกได้ ธุรกิจการ์ตูนของญี่ปุ่นนั้นไม่เพียงแต่สามารถขายตัวการ์ตูนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถแตกแขนงธุรกิจเป็นของเล่น เกม หรือของที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากความแข่งแกร่งของแบรนด์การ์ตูนญี่ปุ่นในสายตาของต่างชาติทั้งสิ้น ความได้เปรียบเชิงแข่งขันดังกล่าวยังเชื่อมโยงไปถึงวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่นอีกเช่นกัน เฮลโล คิตตี๊ (Hello Kitty) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งคาแร็กเตอร์ของญี่ปุ่นที่มีมูลค่าทางแบรนด์มหาศาลเช่นกัน เฮลโล คิตตี๊ นั้นถูกสร้างขึ้นจาก อิคุโกะ ชิมิซึ และจดลิขสิทธิ์ในปี 1976 ความโด่งดังของเจ้าแมวน้อยตัวนี้ก็ไม่ธรรมดาเช่นกันโดยในปี 1983 คิตตี๊ถูกรับเลือกให้เป็นทูตยูนิเชฟ ไม่ว่าจะเป็น โดราเอมอนหรือ เฮลโล คิตตี๊ก็ตามต่างก็เป็นแบรนด์ที่สามารถสร้างเวทีของตัวเองในตลาดโลกได้ ซึ่งคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธอย่างเน่นอนว่าสินค้าทั้งสองแบรนด์นี้เป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ชั้นเยี่ยมของญี่ปุ่นในตลาดโลก เกาหลีใต้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เติบโตขึ้นมาจากการส่งออกวัฒนาธรรมของตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องของละคร ภาพยนตร์ หรืออาหาร จนไปถึงเกมส์ออนไลน์ การส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีผ่านละครหรือภาพยนตร์นั้นยังสามารถเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอีกด้วย ถือได้ว่าเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของการสร้างสรรค์ Cultural Industry อย่างแท้จริง ย้อนกลับมาที่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ของประเทศไทย แนวความคิดดังกล่าวนั้นไม่ได้ต้องการที่จะสร้างแต่ศิลปิน หรือนักร้องแต่อย่างใด แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังจะเดินต่อไปจากจุดนี้การสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันจากศักยภาพของมูลค่าเพิ่มในตัวเองเป็นหลัก เราต้องไม่ใช่เพียงทางผ่านของการผลิตด้วยต้นทุนแรงงานที่ต่ำอีกต่อไป โจทย์ที่ยากมาก ๆ ของรัฐบาลที่จะผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระยะยาวคือเรื่องของการพัฒนาการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับนโยบายนี้ สภาพสังคมการศึกษาของประเทศไทยนั้นตั้งแต่อดีตไม่ได้เอื้อให้เด็กคิดออกนอกกรอบของสังคมหรือวิถีชีวิตความเป็นอยู่มากนัก สิ่งนี้เองทำให้ประเทศไทยขาดบุคลากรที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตของเราได้ ประเทศไทยในช่วงแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์นั้นอาจจำเป็นต้องพึ่งพาแรงผลักดันจากส่วนกลางซึ่งรัฐบาลต้องเป็นแนวหน้าในการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรม Flagship ก่อน เช่นอาจจะเลือกเอาการท่องเที่ยวหรือการเกษตรก็ได้ มองในแง่ของศักยภาพเรื่องของบุคลากรนั้นเราคงไม่ได้น้อยหน้าไปกว่าชาติอื่น ๆ ในเอเชีย แต่ปัญหาของเราอยู่ที่ขาดความชัดเจนในแนวทางการพัฒนาหรือส่งเสริมในระยะยาวมากกว่า การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นต้องอาศัยการสนับสนุนจากในประเทศก่อนโดยประเทศไทยต้องสร้างสินค้าหรือแบรนด์ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์กับตลาดโลกให้ได้ และในที่สุดก็จะกลายเป็นการสร้างแบรนด์ระดับประเทศได้อย่างแน่นอน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการสร้าง Positioning ของประเทศไทยให้มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันในตลาดโลกนั่นเอง |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | เมษายน 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |